วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

บทความชวนอ่าน - ประวัติศาสตร์อาณาจักรลังกาสุกะ (นครปัตตานี) ตอนที่ ๑๔

ประวัติศาสตร์อาณาจักรลังกาสุกะ (นครปัตตานี) ตอนที่ ๑๔

การเข้าแทรกแซงกิจการรัฐในความปกครองของไทย
ในปี พ.ศ.๒๓๖๔ อังกฤษ ส่งจอห์น ครอเฟิต เข้ามา เจรจา กับ สมเด็จ พระพุทธ เลิศหล้า นภาลัย ขอให้ ฝ่ายไทย คืนรัฐ ไทรบุรี แก่พระยา ไทรบุรี (ตนกู ปะแงรัน) เข้ามา ปกครอง ตามเดิม แต่ฝ่ายไทย ไม่ยินยอม ฝ่ายไทย ให้เหตุผลว่า พระยา ไทรบุรี เป็นข้าราชการ ในพระบาท สมเด็จ พระเจ้า อยู่หัว ถ้ามีเรื่อง จะร้องทุกข์ ก็ควร เข้ามา ถวาย ฎีกา ร้องเรียน ต่อพระเจ้า อยู่หัว โดยตรง มิบังควร ให้บุคคลอื่น มาแทน อนึ่ง พระยา ไทรบุรีเอง ก็เคย ขัดขืน พระบรมราช โองการ ที่ทรง เรียกตัว เข้ามา ชี้แจง ข้อกล่าวหา ของ เจ้าพระยา นครศรี ธรรมราช ว่าเอาใจ ไปฝักใฝ่ ต่อพม่า มีการ ลอบส่ง เครื่องราช บรรณาการ ไปถวาย กษัตริย์ พม่า ทำนอง เป็นข้าสองเจ้า บ่าวสองนาย
เหตุที่ อังกฤษ พยายาม เข้าช่วยเหลือ พระยาไทรบุรี ก็เนื่อง มาจาก เกาะปีนัง ซึ่งอังกฤษ ได้เช่า ไปจาก พระยา ไทรบุรี (อับดุล ละโมกุรัมซะ) นั้น ชาวเกาะ ปีนัง ต้องพึ่งพา ข้าวปลา อาหาร ที่ส่ง ไปจาก รัฐไทรบุรี ซึ่งอยู่ ในความ ปกครอง ของบุตร เจ้าพระยา นครฯ (น้อย) อังกฤษ กลัวไทย จะสกัดกั้น การติดต่อ การค้าขาย หรือ เรียกเก็บ ภาษีสูงขึ้น จะทำให้ ประชาชน ในเกาะปีนัง ต้องเดือดร้อน
ต่อมา ในปี พ.ศ.๒๓๖๘ ขณะที่ กองทัพ เจ้าพระยา นครฯ (น้อย) เตรียมการ จะยกกำลัง ไปช่วยเหลือ รัฐเปรัค เพื่อป้องกัน มิให้ รัฐสลังงอร์ รุกราน ข้าหลวง อังกฤษ ประจำ เกาะปีนัง คือ นายโรเบิร์ต ฟุลเลอตัน ก็ทำการ ขู่เข็ญ เจ้าพระยา นครฯ ให้ยับยั้ง การส่ง ทหาร เข้าไปยัง รัฐเปรัค ด้วยการ ส่งเรือรบ มาคอย สกัดกั้น กองเรือ ของไทย ที่ชุมนุม กันอยู่ ณ ปากน้ำ เมืองตรัง ทำให้ เจ้าพระยา นครฯ ต้องระงับ แผนการไว้
ปี พ.ศ.๒๓๖๙ อังกฤษ ส่งร้อยเอก เฮนรี เบอร์นี เข้ามา เป็นทูต เจรจา ทำสนธิ สัญญา กับไทย อีกครั้งหนึ่ง โดย อังกฤษ ให้สัญญาว่า อังกฤษ จะไม่เข้าไป แทรกแซง กิจการ ของรัฐตรังกานู และ รัฐกลันตัน และ ยอมรับว่า ไทย มีอำนาจ สมบูรณ์ ในรัฐไทรบุรี อังกฤษ ขอสัญญาว่า จะไม่ทำการ รุกราน ต่อรัฐไทรบุรี อีกต่อไป และฝ่ายไทย ยอมรับว่า เกาะปีนัง และ มณฑล เวลเลสเลย์ ที่อังกฤษ ขอเช่า ไปจาก พระยา ไทรบุรี เป็นของ อังกฤษ และไทย จะไม่เก็บ ภาษีสินค้า อาหาร ที่เกาะ ปีนัง และ มณฑล เวลเลสเลย์ ต้องการ จากไทรบุรี
ผลของการ ทำสัญญา เบอร์นี ครั้งนี้ ทำให้ พ่อค้า และ ข้าราชการ อังกฤษ ในมลายู ไม่พอใจ นายเฮนรี เบอร์นี เป็นอันมาก หาว่า เบอร์นี กระทำการ อ่อนข้อ ให้กับไทย ทำให้ไทย คงมีอำนาจ อยู่ในดินแดน มลายู ตอนเหนือ ซึ่งพวกตน ไม่สามารถ ทำการ ค้าขาย กับรัฐ เหล่านั้น ได้สะดวก
ทางด้าน รัฐเปรัค ฟุลเลอตัน ได้ส่ง ร้อยเอก โลว์ นำทหาร ซีปอย และ เรือรบ จำนวนหนึ่ง ไปยัง เมืองเปรัค เพื่อทำการ ยุยง สุลต่าน เปรัค ให้ทำ สัญญา กับอังกฤษ เมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๓๖๙ เป็นใจความว่า "เพื่อเป็นการ ตอบแทน ที่อังกฤษ จะเข้า ช่วยเหลือ ต่อต้าน ผู้ใด ก็ตาม ที่จะ คุกคาม เอกราช ของรัฐ สุลต่าน จะต้อง ไม่ติดต่อ ทางการเมือง กับไทย นครศรี ธรรมราช, สลังงอร์ หรือ รัฐมลายู อื่นๆ และจะต้อง เลิกส่ง ต้นไม้ เงินทอง หรือ บรรณาการใด ไปให้ไทย" เป็นเหตุ ให้สุลต่าน เปรัค หมดความ เกรงกลัวไทย รีบทำการ ปลดข้าราชการ ในราชสำนัก ที่เป็นฝ่าย จงรักภักดี ต่อไทย ตามคำแนะนำ ของฟุลเลอตัน และ ให้ทางไทย ถอนกำลังทหาร ออกไป จากรัฐเปรัค ตั้งแต่นั้นมา อิทธิพลไทย ที่เคยมี ต่อรัฐเปรัค ก็สิ้นสุดลง
ต่อมา ในปี พ.ศ.๒๓๘๕ อังกฤษ ก็พยายาม สนับสนุน ให้เจ้าพระยา ไทรบุรี (ตนกูปะแงรัน) ได้กลับเข้ามา เป็นผู้ว่า ราชการ เมืองไทรบุรี อีกครั้ง ซึ่งทางฝ่ายไทย เห็นว่า เจ้าพระยา ไทรบุรี ชราภาพ มากแล้ว คงไม่คิดอ่าน ที่จะ กระทำการ กระด้าง กระเดื่อง อีกต่อไป อีกทั้ง เมืองไทรบุรี ขณะนั้น ข้าราชการ แตกความ สามัคคี แยกกันห ลายก๊ก หลายฝ่าย ทำให้ การบริหาร บ้านเมือง ไม่มี ประสิทธิภาพ เท่าที่ควร เจ้าพระยา ไทรบุรี เป็นผู้ใหญ่ เป็นที่ เคารพ ยำเกรง ของบุคคล เหล่านั้น คงจะ เข้ามา ไกล่เกลี่ย ให้ผู้คน เกิดความ สมัครสมาน กลมเกลียว กันได้
ปี พ.ศ.๒๓๙๘ อังกฤษ ส่ง เซอร์จอห์น เบาริง เข้ามา ขอทำ สัญญา กับไทยอีก เมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๓๙๘ ผลของ สนธิ สัญญา ฉบับนี้ ทำให้ไทย ต้องสูญเสีย ผลประโยชน์ ทางการค้า และ เอกราช ทางการศาล ไปอย่าง น่าเสียดายยิ่ง คือ
ด้านการค้า จำกัด การเรียกเก็บ ภาษี ขาเข้า จากอังกฤษ ได้ใน อัตรา ร้อยละสาม และ ขาออก ได้ร้อยละหนึ่ง อีกทั้ง ยอมให้ อังกฤษ นำฝิ่น เข้ามาขาย ในเมืองไทย ได้ด้วย
ด้านเอกราช ทางการศาล ไทย ต้องอนุญาต ให้ชาว ต่างประเทศ และคน ในบังคับ ของชาตินั้นๆ เข้ามามี สิทธิภาพ นอกเหนือ อาณาเขตไทย ได้ ไทยจึงต้อง ประสพ ปัญหา ยุ่งยาก ที่ไม่สามารถ จะตัดสิน กรณี พิพาท ระหว่าง คนไทย กับคน ต่างชาติ โดยใช้ กฎหมายไทย ได้
ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๐๕ อังกฤษ กล่าวหาว่า ไทย สนับสนุน พระยา ตรังกานู และ สุลต่าน มะหะหมัด ทำการ โจมตี เมืองปาหัง ทำให้ กิจการค้า ของอังกฤษ ในเมือง ปาหัง ได้รับ ความเสียหาย นายเคเวนนาจ์ ผู้สำเร็จ ราชการ ประจำ สิงคโปร์ จึงสั่ง ให้นาย แมคเฟอร์สัน นำเรือรบ มาระดมยิง เมืองตรังกานู เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๔๐๕ เป็นเวลา ๑ สัปดาห์
รัฐบาลไทย ได้มี หนังสือ ประท้วง ไปยัง ลอร์ดรัชเวลล์ รัฐมนตรี กระทรวง ต่างประเทศ อังกฤษ ที่กรุงลอนดอน โดยอ้าง สิทธิ เหนือรัฐ กลันตัน และ รัฐตรังกานู ตามสนธิ สัญญา เบอร์นี ตามความ ในมาตรา ๑๒ ความว่า
"เมืองไทย ไม่ไป ขัดขวาง ทางการ ค้าขาย ณ เมืองตรังกานู กลันตัน ให้ลูกค้า พวกอังกฤษ ได้ไปมา ค้าขาย โดยสะดวก เหมือนแต่ก่อน อังกฤษ ไม่ไป เบียดเบียน รบกวน เมืองตรังกานู กลันตัน ด้วยการ สิ่งใด" เป็นเหตุให้ รัฐบาลอังกฤษ ต้องเรียกตัว นายเคเวนนาจ์ ผู้สำเร็จ ราชการ ประจำ สิงคโปร์ กลับ และส่ง ผู้สำเร็จ ราชการ คนใหม่ มาแทน ทำให้ เหตุการณ์ ในเมือง ตรังกานู ยุติลง
ใน รัชสมัย พระบาท สมเด็จ พระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว อังกฤษ ก็ยังคง พยายาม ส่งคน เข้ามาคอย ยุแหย่ เจ้าเมือง ในบริเวณ หัวเมืองทั้ง ๗ เพื่อหวัง จะลิดรอน อำนาจ ของไทย ในแหลม มลายู ให้หมดไป เป็นเหตุให้ กระทบกระเทือน ต่อการ ปฏิรูป ระบอบ การบริหาร ราชการ แผ่นดิน ของไทย ซึ่ง พระบาท สมเด็จ พระจุลจอมเกล้าฯ กำลัง ดำเนินการ อยู่ จวนเจียน จะล้มเหลว พระองค์ จึงตัดสิน พระทัย ถอดถอน ตนกู อับดุล กาเดร์ พระยา ตานี ออกจาก ตำแหน่ง ผู้ว่า ราชการ เมืองปัตตานี ซึ่งขัดขืน พระบรมราชโองการ ไม่ยอม ให้ความ ร่วมมือ ในการ จัดการ ปกครองเมือง ปัตตานี ในรูปแบบ มณฑล เทศาภิบาล ที่ทรง นำมาใช้ กับเมืองทั้ง ๗
เพื่อ ผ่อนคลาย นโยบาย รุกราน ทางด้าน การเมือง ของอังกฤษ และ ให้ได้มา ซึ่งเอกราช ทางการศาล ที่ไทย ต้องเสียเปรียบ แก่อังกฤษ จากสัญญา ที่ไทย และ อังกฤษ ทำไว้ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๘ ไทย จำต้อง เอารัฐ กลันตัน ตรังกานู ไทรบุรี และ เปอร์ลิส เข้าทำการ แลกเปลี่ยน (ตามคำ แนะนำ ของ นายเอตเวิด สโตรเบล ชาวอเมริกัน ซึ่งเป็น ที่ปรึกษา ราชการ แผ่นดิน) เพื่อให้ รัฐบาล อังกฤษ ยอมให้คน ในบังคับ ของตน ที่ขึ้นทะเบียน เป็นคน ในบังคับ อังกฤษ ไว้ก่อน ทำสนธิสัญญา ฉบับนี้ มาขึ้น ที่ศาล ต่างประเทศ จนกว่า ทางฝ่ายไทย จะได้ ประกาศใช้ ประมวล กฎหมาย ครบถ้วน แล้ว จึงให้ มาขึ้น ศาลไทย ธรรมดา สนธิสัญญา ฉบับนี้ ได้กระทำกัน ในปี พ.ศ.๒๔๕๒
การปกครองเมืองปัตตานี :
ปัตตานี เป็นส่วนหนึ่ง ของราชอาณาจักรไทย มาตั้งแต่ กรุงสุโขทัย ในรูป ประเทศราช โดยทาง ราชธานี มอบหมาย ให้เจ้าเมือง นครศรี ธรรมราช คอยควบคุม ดูแล นโยบาย การเมือง อยู่อย่างหลวมๆ เพื่อมิให้ เจ้าผู้ครองนคร เอาใจ ออกห่าง เอนเอียง ไปข้าง ประเทศหนึ่ง ประเทศใด อันจะนำภัย มาสู่ ความมั่นคง ของ ราชอาณาจักร ดังจะเห็น ได้จาก คำกล่าว ของ โทเมปีเรส์ ชาวโปรตุเกส ว่า "ผู้เป็นใหญ่ (ในการ บังคับ บัญชา ราชอาณาจักร) รองลงมา (จาก พระเจ้า แผ่นดิน) คืออุปราช แห่งเมือง นคร เรียกกัน ว่า "พ่ออยู่หัว" (Poyobya) เขาเป็น ผู้ว่า ราชการ จากปาหัง ถึง อยุธยา"
หน้าที่ ของประเทศราช ที่มีต่อ ราชธานี ก็คือ การช่วยเหลือ ซึ่งกันและกัน ในการ ทำสงคราม กับ อริราช ศัตรู ที่มา รุกราน และ ส่ง เครื่องราช บรรณาการ ดอกไม้ ทองเงิน ถวาย แก่ พระมหากษัตริย์ เป็นการ ถวาย ความจงรัก ภักดี ๓ ปีต่อครั้ง ส่วน อำนาจ การปกครอง ภายในเมือง นั้นๆ เจ้าผู้ครอง นคร มีอิสระ ที่จะ ดำเนินการ ใดๆ ได้ ภายใต้ ตัวบท กฎหมาย และ ขนบธรรมเนียม ประเพณี ของแต่ละ ท้องถิ่น แต่ ไม่มีสิทธิ อำนาจ ในการ ทำ สนธิ สัญญาใดๆ กับต่างประเทศ ก่อนจะได้รับ ความเห็นชอบ จากราชธานี
สมัย กรุงรัตน โกสินทร์ ปี พุทธ ศักราช ๒๓๕๑ สมเด็จ พระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลกฯ มอบหมาย ให้เจ้าเมือง สงขลา เป็นผู้ ควบคุม ดูแล เมืองปัตตานี แทนเจ้าเมือง นครศรี ธรรมราช
(ปี พ.ศ.๒๓๕๖ สมัย ร.๒ พระยา กลันตัน ทะเลาะ กับพระยา ตรังกานู พระยา กลันตัน ขอไป ขึ้นกับ เจ้าเมือง นครศรี ธรรมราช) (ปี พ.ศ.๒๔๕๒ รัฐบาลไทย ยกรัฐกลันตัน - ตรังกานู - ไทรบุรี ให้แก่ อังกฤษ ตามสนธิ สัญญา ปี พ.ศ.๒๔๕๑)
ด้วยลักษณะ รูปแบบ การปกครอง ที่หละหลวม และ การ คมนาคม ที่ห่างไกล จากศูนย์กลาง การปกครอง จึงยาก แก่การ ควบคุม อีกทั้ง ผู้คน ก็มีความ แตกต่างกัน ในทาง วัฒนธรรม ด้านภาษา ศาสนา ขนบธรรมเนียม ประเพณี เมื่อใด สถานการณ์ เปิดโอกาส ให้ บรรดา ประเทศราช เหล่านี้ ก็พากัน แยกตัว ออกเป็น อิสระ หรือไม่ ก็หันเห ไปยอมอยู่ ในความปกครอง ของผู้ที่ เข้มแข็งกว่า ดังเช่น กรณี ที่พระเจ้า ปราสาททอง ทรงแย่ง ราชสมบัติ จากพระเจ้า อาทิตยวงศ์ เมืองนครศรี ธรรมราช สงขลา และ ปัตตานี ก็พากัน แข็งเมือง
พระบาท สมเด็จ พระจุลจอมเกล้าฯ ทรงเล็งเห็น ว่า หากปล่อย ให้มี การปกครอง (แบบกินเมือง) โดยเจ้าเมือง มีอิสระ อย่างเดิม จะเป็นเหตุ ให้พวกอังกฤษ หยิบฉวย โอกาส นำไป เป็นข้ออ้าง ถึงความ ไร้สมรรถภาพ ทางด้าน การปกครอง ของไทย ทั้งนี้ เพราะมี ชาวเมือง รามันห์ เมืองยะหริ่ง เมืองระแงะ ได้ร้องเรียน กล่าวโทษ เจ้าเมืองว่า ใช้อำนาจ โดยไม่ชอบธรรม กดขี่ ข่มเหง ราษฎร อยู่เสมอ จึงทรงคิด แผนปฏิรูป การปกครอง นำมาใช้ ปกครอง บริเวณ ๗ หัวเมือง ขึ้นใหม่ ในปี พ.ศ.๒๔๓๙ (ดูแผนภูมิท้ายบทความนี้) เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลดียิ่งขึ้น จึงเป็นเหตุให้เจ้าเมืองต่างๆ เกิดความไม่พอใจ ข้าราชการอังกฤษในสิงคโปร์ จึงส่งคนเข้ามายุแหย่เจ้าเมืองปัตตานี ตนกูอับดุลกาเดร์ ทำให้ทำการขัดขืนพระบรมราชโองการ ไม่ยอมให้เจ้าพนักงานของรัฐบาลเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ตามกฎระเบียบการปกครองแผนใหม่ สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปลดตนกูอับดุลกาเดร์ออกจากตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองปัตตานี และนำตัวไปกักกันบริเวณไว้ที่จังหวัดพิษณุโลก ในปี พ.ศ.๒๔๔๕ เป็นเวลา ๒ ปี ครั้งถึงวันที่ ๕ มีนาคม ๒๔๔๗ ก็ได้รับพระราชทานอภัยโทษให้ตนกูอับดุลกลับมาอยู่เมืองปัตตานีได้ หลังจากนั้นตนกูอับดุลกาเดร์ก็อพยพครอบครัวไปพำนักอยู่ในรัฐกลันตัน ซึ่งสุลต่านแห่งรัฐนี้เป็นญาติกับตนกูอับดุลกาเดร์จนกระทั่งถึงแก่กรรมลงในปี พ.ศ.๒๔๗๖
ในปลายรัชสมัยแผ่นดินสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีเหตุไม่สงบเกิดขึ้นในท้องที่ต่างๆ ซึ่งมักจะมีผู้กล่าวพาดพิงไปว่า เบื้องหลังของเหตุการณ์ เนื่องมาจากการสนับสนุนของบรรดาเจ้าเมืองเก่าที่เสียผลประโยชน์ ซึ่งข้อเท็จจริงน่าจะเป็นผลมาจากความบกพร่องของเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองท้องที่อยู่บ้างไม่มากก็น้อย ดังที่สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงตรัสไว้ว่า "เราไม่สันทัดทางพูดและทำ ในการที่จะปกครองชาติอื่น มันจะตกไปในที่กลัวไม่ควรกลัว กล้าไม่ควรกล้า ทำในทางที่ไม่ควรจะทำ ใจดีในที่ไม่ควรจะใจดี ถ้าจะใจร้ายขึ้นมาก็ใช้ถ้อยคำไม่พอที่จะเกลื่อนใจร้ายให้ปรากฏว่า เพราะจะรักษาความสุขและประโยชน์ของคนทั้งปวง ไม่รู้จักใช้อำนาจในที่ควรจะใช้ การที่จะทำได้โดยตรงๆ ก็เกรงอกเกรงใจอะไรไปต่างๆ โดยไม่รู้จักที่จะพูดและหมิ่นอำนาจตัวเอง เมื่อได้เห็นการเป็นเช่นนี้นึกวิตกด้วยการที่จะปกครองเมืองมลายูเป็นอันมาก ขอให้เธอกรมดำรงตริตรองดูให้จงดี" (ม.๓/๔๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวถึงกรมหลวงดำรงราชานุภาพ ๖๐/๒๗๗ ๑๘ พฤษภาคม ๒๔๔๗)
หลังจากนั้น ทางรัฐบาลก็ได้มีการแก้ไขปรับปรุงการบริหารราชการใหม่อีกครั้ง (ดูแผนภูมิท้ายบทนี้) โดยจัดตั้ง มณฑล ปัตตานี ขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๔๙ และ กำหนด นโยบาย การปกครอง บริเวณ หัวเมืองทั้ง ๗ ให้รัดกุม ยิ่งขึ้น คือ
๑.ออกระเบียบ วิธีการ ปฏิบัติการ ให้สอดคล้อง กับขนบ ธรรมเนียม ประเพณี ท้องถิ่น และ ศาสนา ที่แตกต่างกัน เพื่อมิให้ เกิดการ กระทบ กระเทือน จิตใจ ผู้คน เช่น คดี ที่เกี่ยวกับ ทรัพย์มรดก ก็ให้ถือ ปฏิบัติ ตามข้อบัญญัติ ของศาสนา อิสลาม
๒.คัดเลือก บุคลากร ที่จะส่ง เข้ามา เป็นผู้บริหาร กิจการ จากบุคคล ที่มีความรู้ ความเข้าใจ ในวัฒนธรรม ท้องถิ่น เป็นผู้มี จิตใจ บริสุทธิ์ มีคุณธรรม สามารถ เข้ากับ ประชาชนได้
๓.เร่งรัด พัฒนา เศรษฐกิจ การศึกษา การคมนาคม การสาธารณสุข ให้รุดหน้า ยิ่งกว่า หัวเมือง มลายู ที่อังกฤษ ปกครอง เพื่อผล ทางสังคม จิตวิทยา
๔.เมืองใด ที่ผู้ว่า ราชการเมือง ยังมีชีวิตอยู่ ก็คงไว้ สภาพ เป็นเมือง และ เพิ่มเงิน ค่ายังชีพ ให้แก่ ผู้ว่าราชการเมือง สูงขึ้น เมื่อ ผู้ว่า ราชเมือง ถึงแก่กรรมลง ก็รวม หัวเมืองต่างๆ เข้าเป็น จังหวัด ในปี พ.ศ.๒๔๕๙ รวม ๔ จังหวัด คือ ปัตตานี สายบุรี ยะลา และนราธิวาส จนกระทั่งปี พ.ศ.๒๔๗๔ จึงได้ ยุบเลิก มณฑล ปัตตานี และลดฐานะ จังหวัดสายบุรี ลงเป็น อำเภอหนึ่ง ขึ้นกับ จังหวัดปัตตานี และ ที่สำคัญ ที่สุด ก็คือ รัฐบาล สามารถ แก้ปัญหา การคุกคาม ของอังกฤษ ได้สำเร็จ ด้วยการ เสียสละ ดินแดน บางส่วน ของประเทศ คือ รัฐไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู และ รัฐเปอร์ลิส ให้แก่ อังกฤษ ไปในเดือน มีนาคม ร.ศ.๑๒๗ (พ.ศ.๒๔๕๑) เพื่ออังกฤษ จะได้ ยุติ การเข้ามา แทรกแซง งานปฏิรูป การปกครอง บริเวณ หัวเมือง ทั้ง ๗ อีกต่อไป
ต่อมา ในรัชสมัย พระบาท สมเด็จ พระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณา โปรดกเล้าฯ ให้สมเด็จ เจ้าฟ้า ยุคลธร ฑิฆัมพร กรมหลวง ลพบุรี ราเมศวร์ เสด็จ ออกมา ดำรง ตำแหน่ง อุปราช ผู้สำเร็จ ราชการ ประจำหัวเมือง ปักษ์ใต้ ควบคุม ดูแล หัวเมือง ต่างพระเนตร พระกรรณ
ซึ่งผล ของการ ปฏิรูป การปกครอง และ ดำเนิน ตามนโยบาย ที่กล่าวมา แล้วนี้ สามารถ ลดหย่อน ผ่อนคลาย เหตุการณ์ อันไม่สงบ ทางด้านการเมือง ลงได้ จนกระทั่ง เกิดสงครามโลก ครั้งที่สอง (หรือสงคราม มหาเอเซีย บูรพา) อังกฤษ ซึ่งเป็น คู่สงคราม ของไทย ได้ให้ ความ สนับสนุน ตนกู ฮัมหมัดยิดดิน บุตรชาย ของตนกู อับดุล กาเดร์ อดีต เจ้าเมือง ปัตตานี ที่ถูก ปลดออก จากราชการ เพื่อใช้ เป็นเครื่องมือ ในการ แบ่งแยก ดินแดน ๓ จังหวัด ภาคใต้ ออกเป็น รัฐปัตตานี
หลวงประดิษฐ์ มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) เขียนเล่า ถึงเรื่องนี้ ไว้ใน บทความ "ข้อสังเกต เกี่ยวกับ เอกภาพ ของชาติ กับ ประชาธิปไตย" เกี่ยวกับ ตนกู มูฮัมหมัด ยิดดิน ว่า "เสรีไทย คนหนึ่ง เล่าให้ ข้าพเจ้า ฟังว่า ที่กรุงเดลฮี มีชาว อังกฤษ กลุ่มหนึ่ง จัดเลี้ยง เพื่อเป็นเกียรติ แก่ตนกู ผู้นี้ และดื่ม ให้พร (ตนกู) ว่า Long Live The King Patani" ประกอบกับ พรรคการเมือง บางพรรค ในมาเลเซีย คอยให้ความ สนับสนุน ทำให้เกิด ขบวนการ เชื้อชาตินิยม ขึ้น และได้รับ การสนองตอบ จากมุสลิม ที่มี อุดมการณ์ ทางการเมือง เช่น ตนกู ยาลา นาแซ บุตรของ พระยา สุริยะ สุนทรฯ อดีต เจ้าเมือง สายบุรี เป็นต้น
หลังจาก ตนกู มูฮัมหมัด ยิดดิน ถึงแก่กรรมลง ก็เกิด ขบวนการ ต่างๆ อาทิ ขบวนการ โจรก่อการร้าย (ข.จ.ก.) และ โจรคอมมิวนิสต์ มลายา (จคม.) และ ผู้ก่อการร้าย คอมมิวนิสต์ (ผกค.) และอื่นๆ ติดตามมา กลุ่ม ที่รู้จักกัน แพร่หลาย ได้แก่ กลุ่มแนวร่วม ปลดปล่อย แห่งชาติ ปัตตานี (National Liberation Front of Pattani หรือ N.L.F.P.) องค์การ แนวร่วม ปลดปล่อย ปัตตานี (Patani United Liberation Organization หรือ P.U.L.O.) องค์การ แห่งชาติ กู้เอกราช สาธารณรัฐ ปัตตานี (Gerakan National Pemberasan Republic Patani หรือ G.N.R.P.) เป็นต้น ขบวนการ เหล่านี้ ได้รับความ สนับสนุน จากองค์การเมือง ในประเทศ มุสลิม บางประเทศ เพื่อทำการ ก่อกวน ความไม่สงบขึ้น ในดินแดน ๓ จังหวัดภาคใต้ เช่น การจับ ผู้คน ไปเรียก ค่าไถ่ เรียกค่า คุ้มครอง สวนยาง และ ทรัพย์สิน เป็นการ ทำลายขวัญ และ จิตใจ ประชาชน ผู้ประกอบ สัมมาชีพ และ บ่อนทำลาย รากฐาน เศรษฐกิจ ของ ๓ จังหวัด ชายแดน ภาคใต้ มิให้ เจริญ เติบโต เท่าที่ควร จนกระทั่ง ถึงปี พ.ศ.๒๕๑๘ ก็ได้เกิด เหตุการณ์ ประท้วง ครั้งยิ่งใหญ่ ขึ้นเป็น ประวัติการณ์ อันเนื่อง มาจาก กลุ่มบุคคล ผู้ใช้ นามว่า "ศูนย์พิทักษ์ ประชาชน" ได้ทำการ ปลุกระดม ชาวไทย มุสลิมใน ๓ จังหวัด ชายแดน กล่าวหาว่า ทหาร นาวิก โยธิน ฆ่า และ ทำร้าย นายสะมาะแอ ปาแย, นายอารง บราเซะ, นายสะมาแอ อีซอ, นายอุเซ็ง, นายบือราเฮง และเด็กชายลือแม บาราเซะ
การประท้วง เริ่มขึ้น เมื่อวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๑๘ ณ บริเวณ หน้าศาลากลาง จังหวัดปัตตานี ได้มีการ อภิปราย โจมตี การปฏิบัติการ ของเจ้าหน้าที่ และรัฐบาล โดยผู้แทน ของ "ศูนย์พิทักษ์ ประชาชน" เป็นไป ในลักษณะ รุนแรง จนกระทั่ง ถึงคืน วันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๘ เวลาประมาณ ๒๑.๐๐ น. เศษ ก็มี ผู้ปา ลูกระเบิด เข้าไป ในท่ามกลาง ฝูงชน ที่มา ชุมนุม กันอยู่ เป็นเหตุให้ มีผู้ เสียชีวิต ทันที ๑๒ คน และบาดเจ็บ อีกเป็น จำนวนมาก หลังจากนั้น ฝูงชน ที่เหลือ อยู่ ก็พากัน ไปตั้ง ชุมนุม ประท้วงต่อ ที่ลาน มัสยิดกลาง จังหวัด ปัตตานี เป็นการ ประท้วง ที่ใช้เวลา ยืดยาว ติดต่อกัน ถึงหนึ่งเดือน จนกระทั่ง ถึงวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๑๙ นายก รัฐมนตรี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้มอบ อำนาจ ให้นายปรีดา พัฒนถาบุตร รัฐมนตรี ว่าการ สำนัก นายก รัฐมนตรี เป็นผู้แทน ลงมา เจรจา กับผู้แทน ของ "ศูนย์พิทักษ์ ประชาชน" โดยรัฐบาล ยอมรับ เงื่อนไข ของศูนย์ เพื่อดำเนินการ ดังต่อไปนี้
๑.รัฐฯ จะดำเนินการ จับกุม และ ดำเนิน คดี กับผู้ต้องหา ที่ฆ่า บุคคล ทั้ง ๕ และ ทำร้าย เด็กชาย ลือแม บาราเซะ โดยด่วน
๒.รัฐฯ จะจ่ายเงิน ค่าชดใช้ ค่าทำศพ แก่ผู้ตาย และ ผู้บาดเจ็บ เป็นเงิน คนละ ๕ หมื่นบาท แก่ญาติมิตร ของผู้ตาย
๓.จะสั่ง ให้เคลื่อนย้าย หน่วยนาวิก โยธิน ที่ตั้งอยู่ วัดเชิงเขา ไปตั้งอยู่ วัดสักขี อำเภอสายบุรี และจะ สับเปลี่ยน กำลัง ของหน่วย นาวิก โยธิน กลับไป ยังต้น สังกัด เดิม
๔.ข้อเสนอ เกี่ยวกับ นโยบาย ที่จะนำ มาใช้ กับ สี่จังหวัด ชายแดน รัฐบาล จะรับไป พิจารณา ดำเนินการ ต่อไป และ จะควบคุม กำชับ เจ้าหน้าที่ ให้ปฏิบัติ ตามกฎหมาย โดยเคร่งครัด
๕.รัฐบาล จะดำเนินการ ตามกฎหมาย กับคดี ปาระเบิด หน้าศาลากลาง จังหวัด ปัตตานี ในคืน วันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๘ และ จะช่วยเหลือ สงเคราะห์ แก่ญาติ ของผู้ตาย และ บาดเจ็บ ที่เกิด จากการ ระเบิด ทุกคน
๖.ศูนย์ พิทักษ์ ประชาชน และ กลุ่มต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง กับการ ประชุม ประท้วง จะต้อง ดำเนินการ ให้ผู้ เข้าร่วม ชุมนุม สลายตัว โดยเร็ว ที่สุด
๗.รัฐบาล ไม่เอาผิด ข้าราชการ นักเรียน นักศึกษา ที่หยุด ภารกิจ และ การศึกษา เพื่อมา ร่วมชุมนุม
หลังจาก เหตุการณ์ ประท้วง ผ่านพ้น ไปแล้ว รัฐบาล ชุดต่างๆ ก็ได้ ดำเนินการ หาแนวทาง บริหาร ๕ จังหวัด ชายแดน ภาคใต้ จนกระทั่งปี พ.ศ.๒๕๒๔ รัฐบาล โดยการนำ ของ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ จึงมี มติ เห็นชอบ ตามข้อเสนอ ของสภา ความมั่นคง แห่งชาติ ให้ตั้ง ศูนย์อำนวยการ บริหาร จังหวัด ชายแดน ภาคใต้ขึ้น ตามคำสั่ง สำนัก นายก รัฐมนตรี ที่ ๘/๒๕๒๔ ลงวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๒๔
ลักษณะ พิเศษ ของศูนย์ อำนวยการ บริหาร จังหวัด ชายแดน ภาคใต้ คือ ให้มี เอกภาพ ในการ บริหาร สั่งการ ทำให้ มีความ คล่องตัว ในการ ปฏิบัติงาน ที่จะ ดำเนินการ แก้ไข ปัญหา สำคัญ ๓ ประการ ของจังหวัด ชายแดน ภาคใต้ ได้แก่
๑.ปัญหาด้านเศรษฐกิจ
๒.ปัญหาด้านสังคมจิตวิทยา
๓.ปัญหาการก่อการร้าย
และกำหนด สายงาน การบริหาร แผ่นดิน ขึ้นตรง กับนายก รัฐมนตรี โดยผ่าน การกลั่นกรอง ของแม่ทัพ ภาคที่ ๔ และ สภา ความมั่นคง แห่งชาติ ซึ่งจะทำ ให้ศูนย์ฯ สามารถ เสนอปัญหา ข้อแก้ไข วิธีการ ดำเนินการ แผนงาน และ โครงการ ไปยัง นายก รัฐมนตรี เพื่อ ดำเนินการ แก้ไข สภาพ ปัญหา ต่างๆ ได้สะดวก รวดเร็ว ยิ่งขึ้น กว่าที่เคย ปฏิบัติ กันมา แต่เดิม
เป้าหมาย ภารกิจ และอำนาจหน้าที่ของศูนย์ฯ มีดังนี้
ก.เป้าหมาย
๑.ให้ประชาชน ในจังหวัด ชายแดน ภาคใต้ นิยมพูด และใช้ ภาษาไทย โดยถือเอา ยุวชน รุ่นใหม่ เป็นเป้าหมาย สำคัญ
๒.ให้ประชาชน ในจังหวัด ชายแดน ภาคใต้ มีความ เชื่อมั่น ศรัทธา ในการปกครอง และ สถาบันหลัก ของชาติ มีทัศนคติ ที่ถูกต้อง ในความ เป็นคนไทย ไม่ใช่ คนกลุ่มน้อย และ ไม่นำ เอาความ แตกต่าง ทางศาสนา มาเป็น เครื่องแบ่งแยก
๓.ให้สภาวะ ความเป็นอยู่ และ รายได้ ของประชากร สูงขึ้น หรือ แตกต่างกัน น้อยที่สุด
๔.ให้ประชาชน ในจังหวัด ชายแดน ภาคใต้ ปลอดภัย จากภัย คุกคาม ของโจร ผู้ร้าย และ การดำเนินการ ทั้งปวง ที่มี วัตถุ ประสงค์ ในทาง ก่อความ ไม่สงบ บ่อนทำลาย หรือล้มล้าง การปกครอง ระบอบ ประชาธิปไตย ซึ่งมี พระมหากษัตริย์ เป็นประมุข หรือการ เปลี่ยนแปลง บูรณภาพ แห่งดินแดน ของชาติ
๕.ให้กลุ่ม ประเทศ มุสลิม มีความเข้าใจ สถานการณ์ ที่แท้จริง เกี่ยวกับ การปกครอง และ ความเป็นอยู่ ของคนไทย มุสลิม และ เข้าใจ ในนโยบาย ของรัฐบาล ที่ได้ให้ ความเป็นธรรม แก่คนไทย มุสลิม เพื่อให้ กลุ่มประเทศ มุสลิม ระงับ การช่วยเหลือ จขก. ทางลับ หรือ ดำเนินการ ใดๆ อันจะเป็น ผลร้าย ต่อไป
๖.ให้การ บริหารงาน การแก้ ปัญหา จังหวัด ชายแดน ภาคใต้ มีประสิทธิภาพ ยิ่งขึ้น
ข.ภารกิจที่สำคัญของศูนย์ฯ
๑.ประสานงาน กับ หน่วยงาน ต่างๆ ในการ แก้ไข ปัญหา จังหวัด ชายแดน ภาคใต้
๒.ประสานงาน การป้องกัน และ ปราบปราม การก่อ การร้าย
๓.ปรับปรุง ประสิทธิภาพ ข้าราชการ
๔.พัฒนา เศรษฐกิจ และ สังคม ในจังหวัด ชายแดน ภาคใต้
ค.อำนาจหน้าที่ของศูนย์ฯ
๑.ควบคุม กำกับ ดูแล และ ประสานการ ปฏิบัติงาน ของส่วนราชการ ต่างๆ ในจังหวัด ชายแดน ภาคใต้
๒.บังคับ บัญชา ข้าราชการ และ รับผิดชอบ ดำเนินงาน ของศูนย์
๓.เสนอแนะ ต่อแม่ทัพ ภาคที่ ๔ เกี่ยวกับ การโยกย้าย ข้าราชการ ที่ปฏิบัติ หน้าที่ ไม่เหมาะสม ออกจาก พื้นที่ จังหวัด ชายแดน ภาคใต้
๔.พัฒนา ประสิทธิภาพ ข้าราชการ ทุกกระทรวง ทบวง กรม ในพื้นที่
๕.รวบรวม กลั่นกรอง การจัดทำ แผน และ โครงการต่างๆ ตลอดจน การประสานงาน ติดตาม และ ประเมินผล
๖.แต่งตั้ง ที่ปรึกษา ได้ตามความ เหมาะสม โดยให้มี ผู้นำ ท้องถิ่น ร่วมอยู่ด้วย
๗.ปฏิบัติงาน อื่นๆ ตามที่ แม่ทัพ ภาคที่ ๔ มอบหมาย
จากการ ดำเนินการ บริหาร ราชการ จังหวัด ชายแดน ภาคใต้ ซึ่งศูนย์ฯ ทำหน้าที่ ควบคุม กำกับดูแล และ ประสาน การปฏิบัติงาน ของ ส่วน ราชการ ต่างๆ ในจังหวัด ชายแดน ภาคใต้ ล่วงมา ถึงปี พ.ศ.๒๕๒๗ พลโท วันชัย จิตต์จำนง แม่ทัพภาคที่ ๔ ผู้มี หน้าที่ รับผิดชอบ ต่อความ มั่นคง และ ความ สงบ เรียบร้อย ของพื้นที่ จังหวัด ภาคใต้ ได้ประกาศ ต่อหน้า พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก ผู้บัญชาการ ทหาร สูงสุด ในพิธี รับขวัญ ผู้ร่วม พัฒนา ชาติไทย เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๒๗ ณ สนามหน้า ศาลากลาง จังหวัด ปัตตานีว่า "นับแต่ บัดนี้ เป็นต้นไป จังหวัด ปัตตานี เป็นพื้นที่ สันติสุข ถาวร แล้ว และ ข้าพเจ้า ขอยืนยัน ว่า จะร่วมมือ ร่วมใจ กับพี่น้อง ประชาชน และ เจ้าหน้าที่ ของรัฐบาล ทุกฝ่าย ธำรงไว้ ซึ่งความ สงบเรียบร้อย และ พัฒนา ถาวร สืบไป"
คำกล่าว ของพลโทวันชัย จิตต์จำนง แสดงว่า การบริหาร ราชการ ๕ จังหวัด ชายแดน ภาคใต้ โดยศูนย์ อำนายการฯ (ศอ.บต.) ได้ประสบ ความสำเร็จ ในการ แก้ไข ปัญหา สำคัญ บางประการ ได้ผล รวดเร็ว เกินความ คาดหมาย
ภารกิจ ที่สำคัญ ของศูนย์ฯ เกี่ยวกับ การปรับปรุง ประสิทธิภาพ ข้าราชการ และ การคัดเลือก ข้าราชการ เข้าไป ประจำอยู่ ใน ๕ จังหวัด ชายแดน นับเป็น ความคิด ที่ดี และ สามารถ แก้ไข สถานการณ์ ได้ เพราะ ข้าราชการ เป็นตัวจักรกล สำคัญ ในการ แก้ปัญหา แต่บางครั้ง ก็กลับ เป็นผู้สร้า งปัญหา ขึ้นมาเอง ความคิดนี้ มีมา ตั้งแต่ สมัย การปกครอง แบบสมบูรณาญา สิทธิราช ที่ศูนย์ฯ รื้อฟื้น ขึ้นมา ปฏิบัติ อีก นับเป็นการ ดียิ่ง แต่การ คัดเลือก ให้ได้ คนดีจริง นั้น มีความ ลำบากใจ อยู่ มิใช่น้อย ดังที่ พลเอก สิทธิ จิรโรจน์ อดีต รัฐมนตรี ว่าการ กระทรวง มหาดไทย กล่าวว่า
"ต้องมองถึง พฤติกรรม อื่น (ของข้าราชการผู้นั้น) นอกที่ทำงาน ด้วย เป็นต้นว่า เข้าบ่อน หรือเปล่า ร่วมรับ ผลประโยชน์ จากบ่อน หรือไม่ มีการ กินแร่ กินไม้ กินของเถื่อนต่างๆ หรือไม่ ใช้อำนาจ หน้าที่ แสวงหา ประโยชน์ หรือกดดัน พ่อค้า ข้าราชการ เพื่อผลประโยชน์ ตน ประโยชน์ พรรคหรือไม่ ถ้ากล้าทำ จึงจะได้ ประโยชน์ ถ้าปากว่า ตาขยิบ ก็คง จะไม่เกิดผล"
สรุปปัญหาอุปสรรคต่อการปกครองหัวเมืองประเทศราช
ประการแรก เนื่องจาก สภาพ ภูมิศาสตร์ การคมนาคม อยู่ห่างไกล จากศูนย์กลาง การปกครอง ยาก แก่การ ควบคุม ดูแล ได้ทั่วถึง
ประการที่สอง คือความ แตกต่างกัน ในทาง วัฒนธรรม ศาสนา ภาษา ขนบธรรมเนียม และ เชื้อชาติ
ประการที่สาม รูปแบบ การปกครอง ประเทศราช หรือแบบ "กินเมือง" เจ้าเมือง มีอำนาจมาก จึงเป็น ช่องทาง ให้ใช้ อำนาจ ไปในทาง ไม่เป็นธรรม แก่ราษฎร แม้แต่ เจ้าเมือง สงขลา ซึ่งได้รับ มอบอำนาจ ให้ดูแล ควบคุม เจ้าเมือง เหล่านั้น ก็ไม่สามารถ จะเข้าไป จัดการ กับ บรรดา เจ้าเมือง ได้โดย เด็ดขาด
ประการที่สี่ การเมือง ภายนอก ประเทศ ซึ่งมี อังกฤษ เป็นผู้ ดำเนินการ ลิดรอน อำนาจ ของไทย ให้หมดไป จากแหลม มลายู เพื่อขยาย อำนาจ ทางการเมือง และ เศรษฐกิจ ไว้แต่ ผู้เดียว บุคคล สำคัญ ในการ ดำเนินการ วางแผน ทำลาย อิทธิพล ทางการเมือง ไทย ก็คือ นายโรเบิร์ต ฟลูเลอร์ดัน ข้าหลวง ประจำ เกาะปีนัง เซอร์แฟรงค์ เสวตเทนนั่ม ข้าหลวง อังกฤษ และ ข้าราชการ ของรัฐบาล สเตรต เสตเติลเมนต์ ที่เข้ามา ยุยง สุลต่าน รัฐเปรัค ปัตตานี ให้สลัดตัว ออกไป จากอำนาจ การปกครอง ของไทย
ประการที่ห้า ข้าราชการทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคที่มีหน้าที่ควบคุมบริเวณหัวเมืองทั้ง ๗ มีความ ขัดแย้ง เพื่อช่วงชิง อำนาจ และผลประโยชน์ กันเอง ดังปรากฏ หลักฐาน ในกองจดหมายเหตุ แห่งชาติ สมัย ร.๔ ม.๒๑๔/๙๘ ความว่า
"พระยา สงขลา ได้ฟ้อง พระยา สายบุรี อนุญาต ให้จีน จากสิงคโปร์ และ ปีนัง เข้ามา ปลูกมัน สำปะหลัง โดยไม่ได้รับ อนุญาต จากสงขลา ก่อน ส่วนพระยา สายบุรี ไม่ยอมรับ กลับฟ้องว่า เป็นเรื่อง พระองค์ เจ้าสายฯ ตกลงกับ พระวิเศษ วังสา ซึ่งเป็น ผู้ช่วย ราชการ พระยา สงขลาฯ พระยา สายบุรี และ พระองค์ เจ้าสายฯ จึงโกรธเคือง กันไปหมด ขณะเดียวกัน พระอนันต สมบัติ นอกจาก ขัดแย้ง กับพระองค์ เจ้าสายฯ ในเรื่อง ถอดพระยา ยะหริ่ง แล้ว ก็ไม่ถูก กับพระยา สงขลา พี่ชาย ด้วยเรื่อง ส่วนตัว อีกด้วยฯ"
ดังนั้น การจัดตั้ง ศูนย์อำนวยการ บริหาร จังหวัด ชายแดน ภาคใต้ ขึ้นเพื่อ ดำเนินการ แก้อุปสรรค ปัญหา ดังกล่าว จึงเป็น ความหวัง ขั้นสุดท้าย ของประชาชน ในภูมิภาคนี้ นั่นก็คือ ความอยู่ดี กินดี มีความ ปลอดภัย ในการ ประกอบ สัมมา อาชีวะ
(๑ นามและพระนามข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลปัตตานี
๑.พระยาศักดิ์เสนีย์ (พระยาเดชานุชิต {หนา บุนนาค}) ๒๔๔๙-๒๔๖๖
๒.หม่อมเจ้าสฤษดิ์เดช ชยางกูร ๒๔๖๖-๒๔๖๙
๓.พระยาอุดมพงษ์เพ็ญสวัสดิ์ (ม.ร.ว.ประยูร อิศรภักดี) ๒๔๖๙-๒๔๗๔
๒ ยุบเมืองระแงะเป็นจังหวัดนราธิวาส พ.ศ.๒๔๕๘
๓ พ.ศ.๒๔๕๙ ยุบเมืองปัตตานี สายบุรี ยะลา นราธิวาส ลงเป็นจังหวัด
พ.ศ.๒๔๗๕ ยุบจังหวัดสายบุรีเป็นอำเภอสายบุรี ยุบมณฑลปัตตานีเป็นจังหวัด)

บทความชวนอ่าน - ประวัติศาสตร์อาณาจักรลังกาสุกะ (นครปัตตานี) ตอนที่ ๑๓

ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับเจ้าเมืองปัตตานี
ครั้งที่ ๑ เกิดขึ้น ในแผ่นดิน สมเด็จ พระมหา จักรพรรดิ์ สาเหตุ ของการ ขัดแย้ง ที่เกิดขึ้น ในครั้งนั้น พงศาวดาร เมืองปัตตานี และ พงศาวดาร กรุงศรี อยุธยา ฉบับ พระราชหัตถเลขา ได้บันทึกไว้ แตกต่างกัน ดังนี้
สยาเราะห์ ปัตตานี ฉบับ ของนาย หวันอาซัน ว่า สุลต่าน มาดฟาร์ชาฮ์ เสด็จไป อยุธยา ๒ คราว อ้างว่า เพื่อเยี่ยมเยียน พระเจ้า กรุงสยาม ในฐานะ ที่เป็น พระญาติ กับพระองค์ คราวแรก ประทับอยู่ ๒ เดือน ระหว่าง ที่พำนักอยู่ พระเจ้า กรุงสยาม ให้ออกญา กลาโหม มาทูล มาดฟาร์ชาฮ์ ว่า หากสุลต่าน มาดฟาร์ชาฮ์ ต้องการ ได้หญิงงาม ไว้เป็น ภรรยา ก็จะจัด มามอบให้ สุลต่าน ตอบไปว่า "พระองค์ เป็นเพียง เจ้าผู้ครอง ที่ต่ำต้อย หาควร ที่จะ ใฝ่สูง ให้เกินศักดิ์ มิอาจเอื้อม รับหญิงงาม ไว้เป็นศรี ภรรยา ได้ตาม ที่ทรง พระกรุณา โปรดเกล้าฯ"
ส่วนการ เสด็จ ครั้งที่ ๒ "มีไพร่พล ที่ชำนาญ เพลงกริช ตามเสด็จ ไป ๑,๐๐๐ คน ผู้หญิง ๑๐๐ คน และ ได้เกิด การรบพุ่ง กัน ไพร่พล ที่ตาม เสด็จ หาได้ กลับเมือง ปัตตานี แม้แต่ คนเดียว"
สยาเราะห์ กรียาอัน มลายู ปัตตานี ซึ่งอิบรอฮิม ชุกรี ชาวกลันตัน เป็นผู้เขียน ความว่า "สุลต่าน มัดฟาร์ชาร์ ได้เสด็จ ไปเยือน สยาม เพื่อเชื่อม สัมพันธ ไมตรี กันและกัน ในการ เสด็จ ครั้งนั้น กษัตริย์ สยาม ได้ให้การ ต้อนรับ ไม่สมพระเกียรติ จึงเสด็จ กลับมา เมืองปัตตานี ด้วยความ รู้สึก น้อยพระทัย และ อีกตอนหนึ่ง ว่า กษัตริย์ สยาม ได้มอบ ข้าทาส ซึ่งเป็น ชาวพม่า และเขมร ที่นับถือ พุทธศาสนา มาให้ เป็นกำลังเมือง"
เชลยทาส เหล่านั้น ได้ไปตั้ง หลักแหล่ง อยู่ใน ท้องที่ บ้านกะดี ตำบลจะรัง อำเภอยะหริ่ง ต่อเขต อำเภอ ปานาเระ แห่งหนึ่ง และ ที่บ้านกดี ระหว่างเขต อำเภอเมือง กับอำเภอยะหริ่ง (คือวัดบ้านกะดี) อีกแห่งหนึ่ง ต่อมา เมื่อสุลต่าน มาดฟาร์ชาฮ์ ทราบว่า พม่า ยกกองทัพ มาตีเมือง ศรีอยุธยา "จึงได้ ตกลงใจ นำกองทัพ เมืองปัตตานี เข้าไปตี กรุงศรีอยุธยา เพื่อลบรอยแค้น ที่ตราตรึง อยู่ใน พระทัย ของพระองค์ มีกองเรือรบ จำนวน ๒๐๐ ลำ ทหาร ๑,๐๐๐ คน และ ผู้หญิง ๑๐๐ คน เมื่อกองทัพ ไปถึง กรุงศรีอยุธยา สุลต่าน เห็นว่า ทัพพม่า กำลัง ล้อมเมือง สยาม อยู่อย่างหนาแน่น พระองค์ จึงฉวย โอกาส นำกำลัง ทหาร บุกเข้าสู่ ราชสำนัก เจ้ากรุงสยาม ทันที กษัตริย์ ซึ่งประทับ อยู่ใน พระบรม ราชวัง ทรงได้ยิน เสียงโห่ร้อง ของทหาร เมืองปัตตานี จึงเสด็จ หนีออกจาก ประตูเมือง ด้านหลัง หนีไปหลบซ่อน พระองค์ อยู่ที่ เกาะมหาพราหมณ์ ต่อมา ทหาร เมืองสยาม ก็ได้ รวบรวม กำลัง โต้ตอบ กองทหาร เมืองปัตตานี จนถอยร่น ออกจากเขต พระบรม มหาราชวัง หนีไป ลงเรือ เมื่อ ขบวนเรือ ไปถึง ปากอ่าว แม่น้ำ เจ้าพระยา สุลต่าน มาดฟาร์ชาฮ์ ก็ได้สิ้นพระชนม์ชีพ พระศพ ถูกนำ ไปฝังไว้ บนหาดทราย ปากอ่าว เมือง สยาม"
ส่วน พระราช พงศาวดาร ฉบับ พระราชหัตถเลขา ได้บันทึก เรื่องราว เกี่ยวกับเมือง ปัตตานี ในตอนนี้ ว่า "ขณะนั้น พระยา ตานี ศรีสุลต่าน ยกเรือรบ หยาหยับ สองร้อยลำ เข้ามา ช่วย ราชการ สงคราม ถึงทอดสมออ ยู่หน้าวัด กุฎี บางกะจะ รุ่งขึ้น ยกเข้ามา ทอดอยู่ ประตูไชย พระยา ตานี ศรีสุลต่าน ได้ที กลับเป็น กบฏ ก็ยก เข้าไป ในพระราชวัง สมเด็จ พระมหา จักรพรรดิ ราชาธิราชเจ้า ไม่ทันรู้ตัว เสด็จ ลงเรือ พระที่นั่ง ศรีสักหลาด หนีไป เกาะมหาพราหมณ์ และ เสนาบดี มนตรีมุข พร้อมกัน เข้าใน พระราชวัง สะพัดไล่ ชาวตานี แตกฉาน ลงเรือ รุดหนีไป"
ต่อมา เมื่อสุลต่าน มันดูชาฮ์ ผู้เป็น พระราช อนุชา ของสุลต่าน มาดฟาร์ชาฮ์ ขึ้นครอง ราชสมบัติ เมืองปัตตานี ก็ได้ส่งทูต ชื่อ โอรัง กายา สรีอากาคชา มาเฝ้า พระเจ้า กรุงสยาม เหตุการณ์ต่างๆ ก็ยุติลง
ครั้งที่ ๒ เกิดขึ้น ในสมัย นางพญาบีรู หนังสือ ชื่อ เอกสาร ฮอลันดา กล่าวถึง สาเหตุ แห่งการ ขัดแย้ง ในคราวนี้ ว่า เนื่องมาจาก นางพญาบีรู ไม่พอพระทัย พระเจ้า ปราสาททอง โดยกล่าวว่า พระเจ้า ปราสาททอง "เป็นคนชิง ราชสมบัติ (จากพระเจ้า อาทิตยวงศ์) คนโกง ฆาตกร และ คนทรยศ ไม่มีทาง ที่พระนาง จะทรง ตั้งพระทัย แสดงความ เคารพ ยำเกรง เหมือนอย่างที่ พระเจ้าแผ่นดิน ของปัตตานี ในสมัยโบราณ ทรงแสดง ต่อพระเจ้า แผ่นดิน สยาม องค์ก่อนๆ"
ประจวบกับ หัวเมือง ปักษ์ใต้ ได้แก่ เมืองนครศรี ธรรมราช และ สงขลา ต่างก็ พากัน กระด้าง กระเดื่อง ไม่ยอม อ่อนน้อม ต่อพระเจ้า ปราสาททอง อีกด้วย พระเจ้า ปราสาททอง จึงส่ง กองทัพ มาปราบ เมืองนครศรี ธรรมราช และ สงขลาได้ส่ง กองทัพ มาตี เมืองปัตตานี โดย ฮอลันดา สัญญาว่า จะส่ง กองทัพเรือ มาช่วย อีกกองหนึ่ง กองทัพ กรุงศรี อยุธยา และ นครศรี ธรรมราช ล้อมเมือง ปัตตานี อยู่เป็น เวลา ๑ เดือน กองทัพเรือ ฮอลันดา ก็ยังมาไม่ถึง จนเสบียง อาหาร ที่จะ เลี้ยงดู ทหาร หมดลง จึงได้ ถอยทัพ กลับไป
หลังจาก นางพญาบีรู สิ้นพระชนม์ แล้ว เจ้าหญิง อูงู ก็ขึ้น ครองราช สมบัติ เมืองปัตตานี ผู้แทน บริษัท อิสต์อินเดีย ของฮอลันดา และ เจ้าเมือง ไทรบุรี ได้ทำการ เกลี้ยกล่อม นางพญา อูงู โดยให้ เหตุผล ว่า "การค้าขาย ไม่อาจ ดำเนิน ไปได้ เนื่องจาก การเกลียดชัง ต่อประเทศ สยาม" เพราะ เรือสำเภา สยาม ไม่สามารถ นำสินค้า จากสยาม เข้ามา จำหน่าย และ แลกเปลี่ยน กับ สินค้า พ่อค้า ต่างประเทศ ได้ ทำให้ พ่อค้า ที่ต้องการ สินค้า ของสยาม ไม่แวะเมือง ปัตตานี เหมือนอย่าง แต่ก่อน นางพญาอูงู จึงเปลี่ยน นโยบาย ซึ่งเคยใช้ ความแข็งกร้าว กลับมาใช้ การทูต แทน โดยส่งเรือ ๔ ลำ พร้อมด้วย ราชทูต ๒ นายคือ Siratwarra Radja (สรีรัตวรราชา) และ Soyradja Natsawari (โสรัจนาถวารี) นำดอกไม้ ทองเงิน และ เครื่องราช บรรณาการ เข้าไป ถวาย สมเด็จ พระเจ้า ปราสาททอง เมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๑๘๔ ทำให้ สภาวะ สงคราม ระหว่าง อยุธยา และ ปัตตานี ยุติลง ด้วยดี มีการ ติดต่อ สัมพันธ์กัน ทั้งทาง การค้า และ การเมือง ตามปกติ จนกระทั่ง กรุงศรี อยุธยา เสียแก่ พม่า ในปี พ.ศ.๒๓๑๐
ครั้งที่ ๓ สมัย สมเด็จ พระเจ้า ตากสิน มหาราช การเสีย กรุงศรี อยุธยา ในครั้งที่ ๒ นอกจาก พม่า ปล้นสดมภ์ เอาทรัพย์สิน และ จับผู้คน ไปเป็น เชลย เป็นจำนวนมากแล้ว ยังสูญสิ้น เชื้อพระราชวงศ์ ที่จะสืบ พระราชสมบัติ ไปอีกด้วย บรรดา เจ้าพระยา มหานคร น้อยใหญ่ ต่างก็ พากัน ตั้งตน ขึ้นเป็น อิสระ แยกเป็นก๊ก สำคัญ ได้ ๔ ก๊ก ภาคใต้ ได้แก่ ก๊กของ เจ้าพระยา นครศรี ธรรมราช ซึ่งเป็น เมืองใหญ่ มีผู้คน และ เสบียง อาหาร บริบูรณ์ สมเด็จ พระเจ้า ตากสิน จึงทรง นำทัพ มาปราบ ก๊ก เจ้าพระยา นครศรี ธรรมราช เจ้าพระยานครฯ หนีมา อาศัย อยู่ใน เมืองปัตตานี กับสุลต่าน โมหะหมัด สมเด็จ พระเจ้า ตากสิน ให้พระยา จักรี ติดตาม มาเจรจา กับสุลต่าน โมหะหมัด ขอตัว เจ้าพระยานครฯ พระยาสงขลา พร้อมกับ ขอยืมเงิน ๒๐,๐๐๐ เหรียญ เพื่อทดลอง น้ำใจ เจ้าเมือง ปัตตานี ว่า ยังมี ความยำเกรง ในพระองค์ เพียงใด สุลต่าน โมหะหมัด จึงยอม ส่งตัว เจ้าพระยานครฯ และ เจ้าเมือง สงขลา ให้แก่ สมเด็จ พระเจ้า ตากสิน แต่โดยดี แต่เงินยืมนั้น สุลต่าน โมหะหมัด ขอผัดผ่อน เนื่องจาก สุลต่านเอง ก็ขัดสน ไม่สามารถ จะจัดหา ให้ได้ แต่ด้วยเหตุ ที่สมเด็จ พระเจ้า ตากสิน มีพระราช ภารกิจ ที่จะต้อง ปราบก๊ก ของพระฝาง ซึ่งเป็น ก๊กสำคัญ ให้เสร็จ ไปเสียก่อน จึงยับยั้ง การปราบปราม เมืองปัตตานีไว้
ครั้งที่ ๔ สมัย กรุงรัตน โกสินทร์ เมื่อ พระบาท สมเด็จ พระพุทธ ยอดฟ้า จุฬาโลกฯ ได้เสด็จขึ้น เถลิงวัลย์ ราชสมบัติ แล้ว จึง โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จ กรมพระราชวัง บวร มหา สุรสิงหนาท เสด็จ ออกไป ช่วยเหลือ หัวเมือง ปักษ์ใต้ ที่กองทัพ พม่า เข้ามา โจมตี เมืองภูเก็ต นครศรี ธรรมราช พัทลุง หลังจาก กองทัพ พม่า แตกหนี ไปแล้ว ก็ทรงมี พระราชสาสน์ มาแจ้งแก่ สุลต่าน โมหะหมัด ให้ยินยอม ส่ง เครื่องราช บรรณาการ และ ต้นไม้ ทองเงิน ตามพระราช ประเพณี ของประเทศราช ที่เคย ปฏิบัติ มาแต่ครั้ง กรุงศรี อยุธยา แต่สุลต่านฯ ปฏิเสธ สมเด็จ กรมพระราชวัง บวรฯ จึงระดมทัพ เมืองสงขลา พัทลุง ยกมา ตีเมือง ปัตตานี ได้ในปี พ.ศ.๒๓๒๙
ครั้งที่ ๕ เหตุขัดแย้ง เกิดขึ้น จากการ ที่ต่วนกู ลัมมิเด็น ซึ่งทรง พระกรุณา โปรดให้ ดำรงตำแหน่ง ผู้ว่า ราชการ เมืองปัตตานี มีเจตนา ที่จะ ปกครอง เมืองปัตตานี โดยอิสระ ไม่ต้องการ เป็นประเทศราช ส่งดอกไม้ ทองเงิน แก่ กษัตริย์ แห่งกรุงสยาม ภายใต้ การควบคุม ของเจ้าพระยา นครศรี ธรรมราช จึงส่งทูต นำสาสน์ พร้อมเครื่องราชบรรณาการ ไปกับ นายสำเภา ชื่อ "นะคุดาซุง" เพื่อถวาย องค์เชียงสือ กษัตริย์ญวน เกลี้ยกล่อม องค์เชียงสือ ให้ร่วมมือ นำกองทัพญวน และ ปัตตานี มาตี กรุงเทพฯ แต่องค์เชียงสือ หาได้ ปฏิบัติ ตามคำ ชักชวน ของตนกู ลัมมิเด็น เพราะยังคง สำนึก ในพระมหา กรุณาธิคุณ ของพระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลกฯ ที่เคยให้ ความอุปถัมภ์ แก่องค์เชียงสือ และ สมเด็จ พระราช มารดา คราวที่ หลบหนีภัย กบฏ ไตเซิน เข้ามา พึ่งพา พระบรม โพธิสมภาร อยู่ใน กรุงเทพฯ ทั้งยัง ช่วยเหลือ เกื้อหนุน ให้อาวุธ ยุทโธปกรณ์ ในการ กอบกู้ พระราชบัลลังก์ กลับคืน จากพวก กบฏ สำเร็จ จึงนำสาสน์ ของตนกู ลัมมิเด็น ให้ขุนนางไทย ชื่อ พระพิมล วารี และ พระราชมนตรี มาทูลเกล้าฯ ถวาย แก่ สมเด็จ พระพุทธ ยอดฟ้าฯ ทรงทราบ ข้อความ ในสาร ฉบับนั้น มีความว่า "เดือน ๑๑ ปีระกา เอกศกจุล ศักราช ๑๑๕๑ รายา ตานี จะยกทัพ มาตีกรุง ให้องค์เชียงสือ มาร่วมกับ รายาตานี" ดังนั้น ในปี พ.ศ.๒๓๓๔ สมเด็จ พระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลกฯ จึงทรง โปรดเกล้า ให้ "พระยา กลาโหม ราชเสนา เป็นแม่ทัพเรือ ยกไปตี เมืองตานี จับรายาตานี ได้ใน กุฎี พระสงฆ์ ที่วัด แห่งหนึ่ง" แต่ก่อนที่กองทัพกรุงจะยกลงไปตีเมืองตานีนั้น ตวนกูลัมมิเด็นได้อาศัยกำลังจาก "แขกเซียะ" บนฝั่งเกาะสุมาตรามาสมทบ ยกไป ตีเมือง สงขลา ดังข้อความ ในพงศาวดาร เมืองสงขลา ที่บันทึก ไว้ว่า "ปีกุนตรีศก ศักราช ๑๑๕๓ (พ.ศ.๒๓๓๔) โต๊ะสาเหย็ด (สาเหย็ด (ไซยิด) หมายถึง ผู้มีสาย สืบเนื่อง มาจาก พระนาบี โมหะหมัด ในที่นี้ คงจะ หมายถึง ผู้นำ ศาสนา ที่มีคน เคารพ นับถือ เท่านั้น) คบคิด กับพระยา ตานี ยกกองทัพ ไปตีเมือง สงขลา พระยา สงขลา ขอกำลัง กองทัพหลวง จากกรุงเทพฯ และนำ กองทัพ เมือง นครศรี ธรรมราช มาช่วยเหลือ แต่ก่อน ที่กองทัพหลวง จากพระนครฯ ยกไป ถึงเมือง สงขลา เพียง ๔ วัน กองทัพ เมืองสงขลา เมืองนครศรี ธรรมราช ก็สามารถ ตีกองทัพ พระยา ตานี ที่มา ตั้งค่าย ล้อมเมือง สงขลา แตกถอย กลับไป โต๊ะสาเหย็ด (ไซยิด) ถูกปืนตาย ขณะ เสกน้ำมนต์ ประพรม ประตูค่าย"
หลังจากการ ปราบปราม กบฏ เมืองปัตตานี ในครั้งนี้ พระยาสงขลา (บุญฮุย) มีความชอบ ที่สามารถ ป้องกันเมือง สงขลา ไว้ได้ และ ช่วยกองทัพหลวง ตีเอาเมือง ปัตตานี กลับคืน สมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าฯ จึงโปรด พระราชทาน ให้เลื่อน บรรดาศักดิ์ พระยา สงขลา (บุญฮุย) ขึ้นเป็น เจ้าพระยา อินทคีรี ศรีสมุทร สงคราม รามภักดี อภัย พิริยะ ปรากรม พาหุ และให้ ยกเมือง สงขลา ขึ้นเป็น เมืองชั้นเอก ขึ้นตรง ต่อกรุงเทพ มหานครฯ และมอบ อำนาจ ให้เจ้าเมือง สงขลา เป็นผู้ ควบคุม ดูแล เมืองปัตตานี กลันตัน ตรังกานู ซึ่งเมือง เหล่านี้ เดิมขึ้น อยู่กับ เมือง นครศรีธรรมราช
ครั้งที่ ๖ กบฏ ระตู ปะกาลัน "ระตูปะกาลัน" เป็นสมมตินาม ไม่ใช่ ชื่อบุคคล ที่แท้จริง เทียบได้กับ ตำแหน่ง ขุนนางไทย สมัยโบราณ ได้แก่ เจ้ากรมท่า (ซ้าย - ขวา) ในความหมาย ของคำ "ระตู" แปลว่า "เจ้าเมือง" ปะกาลัน แปลว่า "ท่าเรือ" รวมความ ก็คือ เจ้าท่า เจ้ากรมท่า นั่นเอง มลายู เรียก ตำแหน่งนี้ว่า ชาฮ์บันดาร์ (Shah bandar)
หลังจาก ต่วนกู ลัมมิเด็น ถูกจับตัว นำไป กักกัน ไว้ที่ กรุงเทพฯ แล้ว พระยา กลาโหม ราชเสนา เสนอให้ ระตูปะกาลัน เข้าดำรง ตำแหน่ง เจ้าเมือง ปัตตานี ในปี พ.ศ.๒๓๓๔ ต่อมา ในปี พ.ศ.๒๓๕๑ ระตูปะกาลัน มีความ คิดเห็น ขัดแย้ง กับขุนนางไทย หรือที่ มลายู เรียกว่า "ลักษมณา ดายัน" ซึ่งมีหน้าที่ ให้ความคิดเห็น ในการ บริหาร กิจการ เมืองปัตตานี แทน ผู้สำเร็จ ราชการ เมืองสงขลา ระตูปะกาลัน ใช้ทหาร เข้าทำการ ขับไล่ ขุนนางไทย ออกไป จากเมือง ปัตตานี เจ้าพระยา อินทคีรีฯ ผู้สำเร็จ ราชการ เมืองสงขลา มีใบบอก เข้าไป กรุงเทพฯ สมเด็จ พระพุทธ ยอดฟ้าฯ จึงทรง โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยา พลเทพ (บุนนาค) นำกองทัพกรุง ออกไปสมทบ กับกองทัพ เมืองสงขลา เมืองพัทลุง ยกไปตี เมืองปัตตานี ระตู ปะกาลัน เห็นกองทัพกรุง ลงมา ช่วยเหลือ เมืองสงขลา เกิดความกลัว จึงหลบหนี ไปทางเมือง เประ ปลัดจะนะ (ขวัญซ้าย) ได้นำ กองทหาร ติดตาม ไปทันกัน ที่ชายแดน ระหว่างเมือง รามันห์ กับเมือง เประ ได้สู้รบกัน ระตูปะกาลัน ถูกปืน ถึงแก่กรรม
ผู้สำเร็จ ราชการ เมืองสงขลา จึงเสนอ นายขวัญซ้าย มหาดเล็ก ดำรงตำแหน่ง ผู้ว่า ราชการ เมืองปัตตานี และในปีนี้ ก็มี พระบรม ราโชบาย ให้แยกเมือง ปัตตานี ออกเป็น ๗ หัวเมือง คือ เมืองหนองจิก ส่วนชื่อ ผู้ว่า ราชการ เมืองอื่นๆ ไม่ปรากฏ หลักฐานว่า ได้แต่งตั้งผู้ใด สันนิษฐานว่า คงจะอยู่ ในระยะ การคัดเลือก สรรหา บุคคล ที่มี ความเหมาะสม เพื่อนำขึ้น ทูลเกล้าฯ ถวาย ให้ทรง พระกรุณา โปรดเกล้า แต่งตั้ง แต่ สมเด็จ พระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลก ได้สวรรคต เสียก่อน
ครั้งที่ ๗ ต่วนกูสุหลง ผู้ว่า ราชการ เมืองปัตตานี เป็นผู้นำ ในการ กบฏ สาเหตุ ที่ทำ ให้เกิด การกบฏ ในครั้งนี้ สืบเนื่อง มาจาก เหตุการณ์ ที่เกิดขึ้น ในเมือง ไทรบุรี เมื่อปี พ.ศ.๒๓๖๓ โดยตนกูหม่อม ทำเรื่อง กล่าวโทษ เจ้าพระยา สงคราม รามภักดี ศรีสุลต่าน มหะหมัด รัตราช วังสา (ปะแงรัน) เจ้าเมือง ไทรบุรี ผู้เป็น พี่ชาย ว่าเอาใจ ออกห่าง ไปสามิภักดิ์ ต่อพระเจ้า กรุงอังวะ กษัตริย์ พม่า เจ้าพระยา นครฯ (น้อย) ผู้ควบคุม หัวเมือง ประเทศราช ในภาคใต้ จึงนำ กองทัพ ไปตีเมือง ไทรบุรี เจ้าพระยา ไทรบุรี นำครอบครัว หลบหนี ไปอาศัย อยู่ ณ เกาะปีนัง
เจ้าพระยานครฯ จึงขอ พระราชทาน แต่งตั้ง บุตรชาย ซึ่งต่อมา ได้รับ สัญญาบัตร เป็นพระยา อภัยธิเบศร มหา ประเทศ ราชา ธิบดินทร์ อินทร ไอสวรรย์ ขัณฑ เสมา มาตยา นุชิต สิทธิ สงคราม รามภักดี พิริยพาหุ (แสง) เป็นเจ้าเมือง ไทรบุรี
ต่อมาในปี พ.ศ.๒๓๗๓ - ๒๓๗๔ เมืองไทรบุรี ประสบ ทุพภิกขภัย ฝนแล้ง ติดต่อกัน ราษฎร ทำนา ไม่ได้ผล ชาวเมือง อดอยาก และ เกิดโจรกรรม ขึ้นชุกชุม ตนกูเดน บุตรของ ตนกูรายา พี่ชาย ของเจ้าพระยา ไทรบุรี (ปะแงรัน) ฉวยโอกาส จากการ เกิดภัย พิบัติ ขึ้นใน เมืองไทรบุรี นำสมัคร พรรคพวก เข้ามา เกลี้ยกล่อม ยุยง ราษฎร ให้ร่วมใจ กันก่อกบฏ ชิงเอาเมือง ไทรบุรี ไว้ได้ การกบฏ ในครั้งนี้ ศาสตราจารย์ ฮอลล์ กล่าวว่า "ได้มีการ วางแผน กันที่ ปีนัง ต่อหน้า ต่อตา เจ้าหน้าที่ อังกฤษ ทีเดียว"
พระยา อภัยธิเบศรฯ อพยพ ผู้คน ถอยไป ตั้งทัพ คอยรับ การต่อสู้ ตนกูเดน อยู่ที่ เมืองพัทลุง แล้วรายงาน การเสีย เมืองไทรบุรี ให้ เจ้าพระยา นคร (น้อย) ทราบ ขณะนั้น พระสุรินทร์ ข้าหลวง ในกรม พระราชวัง บวรฯ ออกมา ปฏิบัติ ราชการ อยู่ที่เมือง นครศรี ธรรมราช เจ้าพระยานครฯ จึงให้ พระสุรินทร์ นำคำสั่ง ออกไปเกณฑ์ กองทัพ เมืองสงขลา (เถี้ยนเส้ง) มอบหมาย ให้พระสุรินทร์ นำคำสั่ง ไปยัง หัวเมือง ทั้ง ๗ ชาวเมือง เหล่านั้น ทราบว่า ถูกเกณฑ์ ไปรบ กับเมือง ไทรบุรี ก็พากัน หลบหนี พระสุรินทร์ จึงลงโทษ กรมการเมือง
เจ้าเมือง ปัตตานี ยะลา หนองจิก สาย รามันห์ และ เมืองระแงะ ไม่พอใจ ในการ กระทำ ของพระสุรินทร์ จึงสมคบกัน ทำการ กบฏขึ้น ต่วนสุหลง เจ้าเมือง ปัตตานี ได้ขอ ความช่วยเหลือ ไปยัง สุลต่าน เมืองกลันตัน ตรังกานู ให้ส่ง กองทัพ มาช่วย
"พระยา กลันตัน ให้พระยา บาโงย พระยา บ้านทะเล ผู้น้อง พระยา บาโงย เป็นแม่ทัพเรือ คุมเรือ ๕๐ ลำ พระยา บ้านทะเล เป็นแม่ทัพบก" และ "เมืองตรังกานู ให้ตนกู คาเร เจ๊ะกูหลง หวันกามา เจ๊ะสะมาแอ คุมเรือ ๓๐ ลำ มาช่วย เมืองตานี" (พระราช พงศาวดาร รัชกาลที่ ๓ ของ เจ้าพระยา ทิพากรวงศ์ หน้า ๑๒๔ พิมพ์โดย สำนักพิมพ์ องค์การค้า ของคุรุสภา)
เจ้าพระยา พระคลัง (ดิศ บุนนาค) นำกองทัพ เดินทาง ไปถึง เมืองสงขลา เมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๓๗๕ หลังจาก กองทัพ ของเจ้าพระยา นครฯ (น้อย) ตีเมือง ไทรบุรี กลับคืน มาได้แล้ว พระยา พระคลัง (ดิศ) จึงแต่งตั้ง ให้พระยา เพชรบุรี พระยา สงขลา (เถี้ยนเส้ง) นำทัพบก และ ทัพเรือ ไปถึงเมือง ปัตตานี เมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๓๗๕ ตีเมือง ปัตตานีแตก ต่วนสุหลง อพยพ ครอบครัว หนีไปเมือง กลันตัน พร้อมกับ ต่วนกูยาโล เจ้าเมืองสาย รามันห์ และ เมืองระแงะ ยอมเข้ามา มอบตัว เจ้าพระยา พระคลัง (ดิศ) จึงขอ พระราชทาน อภัยโทษ ให้ (พระราช พงศาวดาร รัชกาลที่ ๓ ของเจ้าพระยา ทิพากรวงศ์ หน้า ๑๒๔ พิมพ์โดย สำนักพิมพ์ องค์การค้า ของคุรุสภา)
สุลต่าน หลงมูฮัมหมัด เจ้าเมือง กลันตัน เกรงกลัวว่า กองทัพไทย จะติดตาม ไปตีเมือง จึงส่งตัว ต่วนสุหลง เจ้าเมือง ปัตตานี ต่วนยาโล เจ้าเมือง ยะลา และ แม่ทัพ นายกอง เมืองปัตตานี คือ ดามิด มะหะหมุด และ อาหะหมัด มามอบให้ เจ้าพระยา พระคลัง (ดิศ) และ ยินยอม ชดใช้ ค่าเสียหาย ให้แก่ กองทัพไทย เป็นเงิน ๕๐,๐๐๐ เหรียญ ส่วนเจ้าเมือง ตรังกานู (มะหะหมัด) สมเด็จ พระนั่งเกล้าฯ โปรดให้ ปลดออก จากตำแหน่ง และทรง แต่งตั้ง ตนกูอุมา ซึ่งเป็นญาติ กับพระยา ตรังกานู (มะหะหมัด) ซึ่งดำรงตำแหน่ง ผู้ว่า ราชการ เมืองตรังกานู แทน
ครั้งที่ ๘ ความขัดแย้ง เกิดขึ้น เนื่องจาก การปฏิรูป ระบบ การปกครอง ประเทศ ของสมเด็จ พระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ทำให้ พระยา วิชิต ภักดี (ตนกู อับดุล กาเดร์) ไม่พอใจ ที่รัฐบาล ได้ออก กฎข้อบังคับ สำหรับ ปกครอง บริเวณ เจ็ดหัวเมือง ขึ้นมา บังคับใช้ ตั้งแต่ วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๔๔ ซึ่ง ผู้ว่า ราชการ เมือง ถือว่า กฎข้อบังคับ ดังกล่าว เป็นการ ลิดรอน อำนาจ ทางด้าน การเมือง เศรษฐกิจ การคลัง และ อำนาจ อาญาสิทธิ์ ที่เคยมี ต่อราษฎร คือสามารถ ทำการ ประหารชีวิต บุคคล ได้โดย รัฐบาลกลาง แต่งตั้ง ปลัดเมือง ยกกระบัตรเมือง และ ผู้ช่วย ราชการ เมือง เข้ามา ปฏิบัติ ราชการ ช่วยเหลือ ผู้ว่า ราชการเมือง ด้านการคลัง รัฐ ก็ส่ง เจ้าพนักงาน สรรพกร ออกทำการ เก็บภาษี อากร ตาม พิกัด อัตรา ซึ่งกำหนด ขึ้นตาม ระเบียบ ของ กระทรวง การคลัง แทนการ ให้ผู้ว่า ราชการเมือง ดำเนินการเก็บ และ ใช้สอยเอง โดยพละการ ส่วนตัว พระยาเมือง รัฐบาล จะจ่ายเงิน ค่ายังชีพ ให้อย่าง เพียงพอ แก่การ ดำรงชีพ เพื่อมิให้ เสื่อมเสียเกียรติ ของผู้ว่า ราชการเมือง ทันที ที่พระยา ตานี ได้รับทราบ สารตรา แจ้งเรื่อง กฎข้อบังคับ ที่เจ้าพนักงาน เชิญไปแจ้ง ให้ทราบ ก็แสดง ปฏิกิริยา ไม่เห็นชอบด้วย กับ กฎ ข้อบังคับ นั้น ครั้นเจ้าพนักงาน สรรพากร เข้าไป ปฏิบัติงาน ตามหน้าที่ พระยาตานี ก็ทำการ ขัดขวาง เจ้าพนักงาน มิให้ ปฏิบัติการ ใดๆ ทั้งสิ้น นอกจากนั้น พระยาตานี ยังเดินทาง ไปขอร้อง ข้าหลวงใหญ่ อังกฤษ ที่ประจำ อยู่ที่เมือง สิงคโปร์คือ เซอร์แฟร็งค์ สเวทเทนนั่ม ให้ช่วยเหลือ เจรจา กับ รัฐบาล ไทย พร้อมทั้ง เสนอให้ อังกฤษ ยึดเมือง ปัตตานี เป็นเมืองขึ้น
ทางรัฐบาล ถือว่า พระยา วิชิต ภักดี จงใจ ขัดขืน พระบรม ราชโองการ ไม่ให้ ความร่วมมือ ในการ ปฏิรูป การปกครอง ประเทศ ให้เหมาะสม กับกาลสมัย กระทรวง มหาดไทย จึงส่ง พระยา สิงหเทพ กับ กำลัง ตำรวจ ภูธร เดินทาง มาโดย เรือรบหลวง ทำการ จับกุมตัว พระยาตานี ในวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๔๕ และ ส่งตัว ไปกักกัน บริเวณ ไว้ที่ เมืองพิษณุโลก แล้วแต่งตั้ง ให้พระยา พิทักษ์ ธรรมสุนทร (ต่วนกูเดร์) ขึ้นเป็น ผู้รั้ง เมืองปัตตานี
ปี ร.ศ.๑๒๓ (พ.ศ.๒๔๔๗) ตนกู อับดุล กาเดร์ ได้รับ พระกรุณา โปรดเกล้าฯ อนุญาต ให้กลับมา อยู่ที่เมือง ปัตตานี ได้ด้วย คำมั่น สัญญาว่า "จะไม่ เกี่ยวข้อง การบ้านเมือง อย่างหนึ่ง อย่างใด เป็นอันขาด"
ครั้นเมื่อ สมเด็จ พระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้น เถลิงถวัลย์ ราชสมบัติ แล้ว ตนกู อับดุล กาเดร์ ก็ได้ทำ หนังสือขึ้น กราบบังคมทูล ขอพระราชทาน เงินค่ายังชีพ พระบาท สมเด็จ พระมงกุฎเกล้าฯ ก็ทรง พระกรุณา พระราชทาน เงินค่ายังชีพ ให้แก่ ตนกู อับดุล กาเดร์ เป็นเงิน เดือนๆ ละ ๓๐๐ บาท (จาก จดหมาย ของ พระยา พิบูลย์ พิทยาพรรค ธรรมการ มณฑล ปัตตานี มีไปถึง ขุนศิลปกรรม พิเศษ อดีต ศึกษาธิการ เขตการศึกษา ๒ จังหวัดยะลา) หลังจากนั้น ไม่นาน ตนกู อับดุล กาเดร์ ก็ได้ อพยพ ครอบครัว ไปพำนัก อยู่ที่รัฐ กลันตัน จนกระทั่ง ถึงแก่กรรม ในปี พ.ศ.๒๔๗๖
สาเหตุ ที่ตนกู อับดุล กาเดร์ ขัดขืน พระบรมราช โองการ ไม่ยอม ปฏิบัติ ตามกฎ ข้อบังคับ สำหรับ ปกครอง บริเวณ เจ็ดหัวเมือง ที่รัฐบาล ตราขึ้น ในปี พ.ศ.๒๔๔๔ สมเด็จ กรมพระยาดำรงฯ ได้กล่าวสรุป ไว้ใน หนังสือ สาสน์สมเด็จ ตอนที่ ๖ ว่าด้วย การบำรุง หัวเมือง ฝ่ายตะวันตก ชั้นหลังว่า
"ใน พ.ศ.๒๔๔๔ นั้น ประจวบ เวลา พวกอังกฤษ ที่เมือง สิงคโปร์ คิดอยาก จะรุก แดนไทย ทางแหลม มลายู แต่ รัฐบาล อังกฤษ ที่เมือง ลอนดอน ไม่ให้ อนุมัติ พวกเมือง สิงคโปร์ จึงคิด อุบาย หาเหตุ เพื่อที่ จะให้ รัฐบาล ที่ลอนดอน ต้องยอมตาม ในอุบาย ของพวก สิงคโปร์ ในครั้งนั้น อย่างหนึ่ง แต่สาย ไปยุยง พวกมลายู เจ้าเมือง ในมณฑล ปัตตานี ให้เอาใจ ออกห่าง จากไทย พระยาตานี (อับดุลกาเดร์) หลงเชื่อ จึงทำการ ขัดแข็ง ขึ้น สมเด็จ พระพุทธเจ้าหลวง ดำรัสสั่ง ให้จับ และ ถอด พระยา ตานี แล้วเอาตัว ขึ้นไปคุม ไว้ที่เมือง พิษณุโลก การหยุกหยิก ในมณฑล ปัตตานี จึงสงบ ลงไป"
อิทธิพลอังกฤษในแหลมมลายูและประเทศราชของไทย :
ฟราซิสไลท์ นายทหารเรือ อังกฤษ หลังพ้น จากการ ประจำการ อยู่ใน กองราชนาวี อังกฤษ แล้ว ก็มาทำ หน้าที่ กัปตันเรือ ของ บริษัท จูร์เดน ซัลลิวัน นำเรือ แล่นไปมา ค้าขาย ระหว่าง เมืองมัทราช กับหัวเมือง ชายทะเล ด้านฝั่ง ตะวันตก ของประเทศไทย อยู่เป็นประจำ จนเกิด ความ สนิทสนม ชอบพอ กับ สุลต่าน อับดุล ละโมคุรัมซะ เจ้าเมืองไทรบุรี
ขณะนั้น แคว้นไทรบุรี กำลัง ถูกพวก บูกิส ที่เข้ามา ครอบครอง แคว้นสลังงอร์ ทำการ คุกคาม สุลต่าน อับดุลละ จึงขอ ความช่วยเหลือ จาก ฟรานซิสไลท์ ให้ช่วย ป้องกัน เมืองไทรบุรี โดยสุลต่าน จะให้ สิทธิ พิเศษ ในการ ที่ ฟรานซิสไลท์ จะเข้ามา ทำการค้า ในเมืองไทรบุรี ฟรานซิสไลท์ จึงเสนอ ต่อ บริษัท อีสต์อินเดีย ให้ส่ง ผู้คน เข้ามา คุ้มครอง เมืองไทรบุรี ดังนั้นในปี พ.ศ.๒๓๒๙ อังกฤษ จึงส่ง กองทหาร เข้ามา ตั้งอยู่ บนเกาะ ปีนัง เพื่อใช้ น่านน้ำ บริเวณ เกาะปีนัง เป็นฐาน ชุมนุม กองเรือ และ ช่วยให้ ความอารักขา เมืองไทรบุรี ให้พ้น จากการ คุกคาม ของพวก บูกิส โดยทาง บริษัท ให้ค่าเช่า เกาะนี้ แก่สุลต่าน ปีละ ๖,๐๐๐ เหรียญ
ประจวบกับ ในปีนั้นเอง พระยา ไทรบุรี ก็ถูก ฝ่ายไทย บีบบังคับ ให้ยอมรับ สภาพ ในความเป็น รัฐบรรณาการ ข องไทย เช่น สมัย อยุธยา พระยาไทรบุรี จึงขอร้อง ต่ออังกฤษ ให้ช่วยเหลือ แต่ทางฝ่าย บริษัท อิสต์อินเดีย อ้างว่า ตามข้อตกลง ระหว่าง พระยาไทรบุรี ที่ทำไว้ กับบริษัท นั้น ให้อังกฤษ ทำหน้าที่ ปกป้อง คุ้มครอง เฉพาะ ตัวเกาะ ปีนัง เท่านั้น พระยาไทรบุรี ไม่พอใจ จึงพยายาม ทำการ ขับไล่ อังกฤษ บีบบังคับ ให้พระยา ไทรบุรี ยกผืน แผ่นดิน ที่อยู่ ตรงข้าม กับเกาะ ปีนัง ให้อังกฤษ เช่าอีก โดยฝ่าย อังกฤษ เพิ่มค่าเช่า ให้เป็นเงิน ปีละ ๑๐,๐๐๐ เหรียญดอลลาร์ ทั้งนี้ เพราะ ปีนัง ต้องอาศัย อาหาร สำหรับ เลี้ยงดู ชาวเกาะ จากพื้น แผ่นดิน ใหญ่ จึงจำเป็น ต้องเข้า ยึดครอง ดินแดน ในส่วน นั้นไว้ เพื่อความ ปลอดภัย จากการ ปิดล้อม เมื่อมีการ ขัดแย้ง ทางการเมือง เกิดขึ้น
ต่อมา ในปี พ.ศ.๒๓๖๒ สเตมฟอร์ด รัสเฟิล ได้รับ คำสั่ง จากมาควิส เฮสติงส์ ข้าหลวงใหญ่ ที่อินเดีย ให้ดำเนินการ ตามโครงการ ก่อตั้ง ท่าเรือ และ ศูนย์กลาง การค้า กับหมู่เกาะ มลายู เดินทาง มาพบ เกาะ สิงคโปร์ เข้าโดย บังเอิญ ระหว่าง ที่เขา แล่นเรือ จะไปยัง ยะโฮร์ เมื่อเขา ขึ้นบก สำรวจ เกาะ สิงคโปร์ ในวันที่ ๒๘ มกราคม ๒๓๖๒ แล้ว เขาจึง ตัดสินใจ เลือกเอา สิงคโปร์ เป็นที่ตั้ง ท่าเรือ และ ศูนย์การค้า ทันที หลังจากนั้น เขาก็ ออกอุบาย อุปโหลก ตนกูฮุสเซน พี่ชาย ของตนกู อับดุลรามัน ซึ่งเป็น สุลต่าน แห่งรัฐ ยะโฮร์ว่า เป็นเจ้าของ เกาะสิงคโปร์ แล้วทำ สัญญา เช่า จากตนกูฮุสเซน โดย ตนกูฮุสเซน ได้รับเงิน เป็นค่าเช่า ปีละ ๕,๐๐๐ เหรียญ และ ตะมะหงง ได้ปีละ ๓,๐๐๐ เหรียญ
ครั้นถึงปี พ.ศ.๒๓๖๙ ชาวอังกฤษ ได้รวมเอา รัฐมะละกา ปีนัง และ สิงคโปร์ จัดตั้ง เป็นเขต การปกครอง สเตรตส์ เซตเติลเมนต์ ขึ้น และ ในปี พ.ศ.๒๓๗๕ ได้ย้ายศูนย์ การบริหาร สเตรตส์ เซตเติลเมนต์ จากปีนัง มาไว้ที่ สิงคโปร์ ประกอบกับ มีชาวจีน อพยพ เข้ามา ขายแรงงาน เป็นอันมาก ทำให้ มีกำลัง ในการผลิต สูงขึ้น และ สิงคโปร์ ได้ประกาศ เป็นเมือง ปลอดภาษี จึงทำให้ สิงคโปร์ เจริญขึ้น อย่างรวดเร็ว ต่อมา ในปี พ.ศ.๒๔๑๐ บริษัท อีสต์อินเดีย ได้ตัดสินใจ เลิกกิจการค้า และได้ โอนกิจการ ของ สเตรตส์ เซตเติลเมนต์ ไปขึ้นกับ กระทรวง อาณานิคม ในลอนดอน ทำให้ ดินแดน ของรัฐทั้ง ๓ กลายเป็นรัฐ ในอารักขา ของอังกฤษ การเข้า แทรกแซง ในกิจการต่างๆ ของรัฐ บนแหลม มลายู ในระยะแรก จะเห็นได้ว่า เกิดจาก พวกข้าราชการ สเตรตส์ เซตเติลเมนต์ ทั้งสิ้น โดยที่ รัฐบาลอินเดีย มิได้ เห็นชอบ ด้วย แต่เมื่อ โอนกิจการ ไปสังกัด อยู่กับ กระทรวง อาณานิคมแล้ว ก็ได้ มีการ ส่งเสริม นโยบาย แทรกแซง ขึ้นอย่าง เป็นทางการ โดยเริ่ม จากการ เข้ามา แทรกแซง ในรัฐ เปรัค ก่อน คือ อังกฤษ มีคำสั่ง ให้เซอร์ แอนดรูคล๊าก เป็นผู้ ดำเนินการ ด้วยการ เข้าไปช่วย สุลต่าน เปรัค ทำการ ปราบปราม อิทธิพล ของพวก กรรมกร เหมืองแร่ ชาวจีน ที่ก่อความ ไม่สงบขึ้น หลังจากนั้น ก็เข้ามา ทำหน้าที่ เป็นที่ปรึกษา ด้านการ เก็บภาษี อากร และ การปกครอง จากนั้น เซอร์ แอนดรูคล๊าก ก็แนะนำ ให้สุลต่าน เปรัค ทำสัญญา กับสุลต่าน แห่งรัฐ เนกรี เซมบิลัน และ รัฐสลังงอร์ เพื่อจัดตั้ง เป็นสหพันธรัฐ มลายูขึ้น

บทความชวนอ่าน - ประวัติศาสตร์อาณาจักรลังกาสุกะ (นครปัตตานี) ตอนที่ ๑๒

วัฒนธรรม
วัฒนธรรม ในความหมาย โดยทั่วไป คือ "แนวทาง การดำรง ชีวิต ของสังคม หรือ ของกลุ่ม แต่ละกลุ่ม ที่สืบทอด จากรุ่นหนึ่ง ไปอีก รุ่นหนึ่ง อย่างไม่ขาดสาย วัฒนธรรม เป็นสิ่งที่ แต่ละ สังคม ถือว่า เป็นสิ่ง ที่ดีงาม เป็นแบบฉบับ ของชีวิต ซึ่ง คนส่วนมาก หวงแหน และ ปกปักษ์ รักษา" เมื่อเป็น เช่นนี้ วัฒนธรรม กับ ศาสนา ก็คือ เรื่องเดียวกัน แยกกัน ไม่ออก เพราะ ส่วนหนึ่ง ของ ศาสนา (อิสลาม) คือ แนวทาง การดำรง ชีวิต ที่สังคม (มุสลิม) ถือว่า ถูกต้อง ซึ่ง ถ้ามอง อีกแง่หนึ่ง ก็คือ วัฒนธรรม ของ สังคม นั่นเอง
ความเชื่อ และ หลักปฏิบัติ ประจำวัน ของชาวไทย มุสลิม ในสี่จังหวัด ภาคใต้ มีแหล่ง ที่มา สองทาง คือ
๑.จากบทบัญญัติ คำสอน ทางศาสนา โดยตรง และ
๒.จากจารีต ประเพณี และ การปฏิบัติ ตั้งแต่ ดั้งเดิม ซึ่งสืบทอด มาจนถึง ปัจจุบัน
อย่างไรก็ดี ทั้งสองแหล่ง มีความ กลมกลืน ประสานกัน อย่างแนบแน่น สนิท ชาวบ้าน ธรรมดา อาจจะแยก ไม่ออก ว่า ส่วนใด มาจาก บทบัญญัติ (ของศาสนา) โดยตรง และ ส่วนใด มาจาก จารีต ประเพณี ส่วนมากแล้ว ถือว่า แนวทาง การปฏิบัติ ทุกอย่าง ในชีวิต ประจำวัน ล้วนมี นัยสำคัญ ทางศาสนา ทั้งสิ้น ถ้ามีการ ฝ่าฝืน หรือ เบี่ยงบ่าย แล้ว มักจะ มีบาป (ดู ปัญหา ความขัดแย้ง ใน ๔ จังหวัด ภาคใต้ ของ ดร.อารง สุทธาศาสน์)
ปัจจุบัน จะเห็นได้ว่า ประเพณี วัฒนธรรม ท้องถิ่น ได้มี การละเว้น ปฏิบัติ ตามที่ ยึดถือ สืบทอด กันมา เนื่องจาก การเปลี่ยนแปลง ของ สังคม การศึกษา การแพร่ ของ วัฒนธรรม ภายนอก เข้ามา เช่น ประเพณี การทำบุญ เพื่อ อุทิศ ส่วนกุศล ให้แก่ ผู้ตาย เดิม มีการ กำหนด ระยะ เวลา ทำบุญไว้ ๓ วัน ๗ วัน ๔๐ วัน และ ๑๐๐ วัน หลังจาก ผู้ตาย ตายจากไป บางท้องที่ ก็ได้รับ การแนะนำ จากผู้นำ ท้องถิ่น ให้ละเว้น เสีย แต่บางที่ ก็ยังคง ปฏิบัติ กันอยู่
ประเพณี โกนผมไฟ พิธี เปิดปาก ทารก พิธี นำเด็ก ขึ้นเปล และ นำเด็ก ลงล่าง ย่างดิน การไว้ผมแกละ ของเด็กชาย ประเพณี เลือกที่ดิน สร้างบ้าน ปลูกเรือน ประเพณี ไล่ห่า (ตอเลาะ บาลอ)ฯ ซึ่งเป็น ประเพณี ที่สืบทอด กันมา ทั้งใน สังคม ไทยมุสลิม และ สังคม ไทยพุทธ ปัจจุบัน ต่างฝ่าย ต่างก็ ละเว้น ปฏิบัติ กันไป ตาม กาลสมัย โดยเฉพาะ คนรุ่นใหม่ ที่มี การศึกษา สูงขึ้น สิ่งที่ ยังคง หลงเหลืออยู่ ก็คือ เรื่องโชค วาสนา และ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ (keramat) วิญญาณ บรรพบุรุษ ที่เชื่อกันว่า สามารถ บันดาล คุณและโทษ ให้แก่ มนุษย์ได้ แม่จะ เป็นข้อห้าม ของมุสลิม คือ ห้าม การบูชา รูปเจว็ด ดวงดาว โขดเขา ต้นไม้ ก้อนวัตถุ ธาตุใดๆ หากผู้ใด ฝ่าฝืน ก็จะ ขาดจาก สภาพ การเป็น มุสลิม ก็ตาม เรายัง พบเห็น การปฏิบัติ กันอยู่ ในกลุ่มคน บางหมู่ ตามชนบท ทั่วไป เช่นเดียว กับชาวไทย ที่นับถือ พุทธศาสนา
ปอเนาะ สถาบันเผยแพร่ศาสนาอิสลาม :
ปอเนาะ เป็น สถาบัน เผยแพร่ ศาสนา อิสลาม ใน ภาคใต้ หลักการ ของ อิสลาม ถือว่า มุสลิม ทุกคน มีหน้าที่ ที่จะต้อง ศึกษา และ เผยแพร่ ศาสนา ของตน ผู้ใด มีความรู้ แต่ไม่ยอม เผยแพร่ ให้แก่ ผู้อื่น ถือว่า เป็นบาป ดังนั้น การเรียน การสอน ศาสนา จึงตกเป็น ภาระ หน้าที่ ของ ผู้นำ ครอบครัว ต้อง จัดให้ บุตรหลาน ของตน ได้รับ การศึกษา วิชา ศาสนา ตั้งแต่ อยู่ใน วัยเยาว์ เริ่ม ตั้งแต่ บ้าน หรือ สำนัก สอน ศาสนา ของ ผู้ทรง คุณวุฒิ ในหมู่บ้าน ไปจนถึง ปอเนาะ สถาบัน การเรียน การสอน ศาสนา ชั้นสูง ซึ่ง เป็นที่ ยอมรับ นับถือ ของ สังคม มุสลิม ในภาคใต้ มาแต่อดีต
มูฮัมหมัด กาโรส บินเซอ นาวี แห่งรัฐ กลันตัน กล่าวว่า "ระบบ การเรียน ศาสนา ซึ่ง เป็นที่ รู้จัก กันว่า "ปอเนาะ" ที่มี อยู่ใน สถานที่ ต่างๆ ใน มาเลเซีย นับเป็น ระบบ ที่ได้รับ การถ่ายทอด ไปจาก ประเทศไทย ซึ่ง เป็นแหล่ง สอน ศาสนา ที่ ชาวมุสลิม ได้จัดตั้งขึ้น ระบบ การสอน แบบนี้ เลียนแบบ จาก ระบบ พระสงฆ์ ใน พระพุทธ ศาสนา เพราะ เป็น การศึกษา ค้นคว้า หลักศาสนา ที่ พยายาม ปลีกตัว ออกห่าง จาก สังคม อัน สับสน ข้อนี้ สามารถ พูดได้ อย่าง เต็มปาก ว่า ระบบ การสอน แบบ ปอเนาะ ไม่เคย ปรากฏ ขึ้น เลย ใน ประเทศ กลุ่มมุสลิม แน่นอน ที่สุด มลายู ได้รับ อิทธิพล ไปจาก เมืองไทย" (ปัตตานี) (ดู อิทธิพล วัฒนธรรม ไทย ต่อ ชาติ มลายู ของ หะสัน หมัดหมาน วารสาร รูสมิแล ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๓ กรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๑๗)
สถาบัน ปอเนาะ ที่กล่าวนี้ บุคคล ผู้ทรง คุณวุฒิ ทาง ศาสนา อิสลาม เป็นผู้ สร้างขึ้น และ ตั้งตน เป็น เกจิ อาจารย์ เรียกว่า โต๊ะครู ทำการ อบรม สั่งสอน เผยแพร่ ศาสนา โดย มิได้รับ ค่าตอบแทน เพียงเพื่อ ผลบุญ ในปรภพ และ เกียรตินิยม จากการ ยอมรับ ของ สังคม มุสลิม
นักศึกษา ที่มาจาก ท้องถิ่น ห่างไกล จะต้อง มาปลูก กระท่อม หลังเล็กๆ (เรียกว่า ปอเนาะ) เป็นที่พัก อาศัย อยู่เป็น กลุ่มๆ ใน บริเวณ บ้าน ของ โต๊ะครู และ จัดหา เครื่องบริโภค อุปโภค มาใช้สอยเอง สถานที่เรียน ใช้ บาไล หรือ บ้านโต๊ะครู เป็นที่สอน ต่อมา เมื่อมี ผู้เรียน มากขึ้น จึง สร้าง เป็น อาคารเรียน เอกเทศ ถาวร ขึ้นมา ซึ่ง ขึ้นอยู่กับ ฐานะ เศรษฐกิจ ของ สังคม ที่ ปอเนาะ ตั้งอยู่
วิชาที่สอนได้แก่
- วิชาฝึกหัดอ่านคัมภีร์อัล-กุรอาน ให้ถูกต้องและเข้าใจในความหมาย
- วิชา เตาฮิต ว่าด้วยเอกภาพของอัลเลาะฮ์ และคุณลักษณะของอัลเลาะฮ์ และพระนาบี
- วิชาฟิกฮี ว่าด้วยข้อควรและไม่ควรปฏิบัติของมุสลิมและวิธีปฏิบัติศาสนกิจ
- วิชาภาษาอาหรับและภาษามลายู
- วิชาว่าด้วยจริยธรรมอิสลามและวิชากฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัว - มรดกและอื่นๆ
ปัตตานี เป็นแหล่ง กำเนิด ปอเนาะ เป็นศูนย์ การ เผยแพร่ ศาสนา อิสลาม ที่สำคัญยิ่ง ของประเทศไทย มี นักศึกษา จาก จังหวัด ต่างๆ ทั้ง ภาคกลาง และ ภาคใต้ เข้ามา ศึกษา และ นำเอา ระบบ การเรียน การสอน ไปใช้ ในจังหวัด ของตน จนแพร่หลาย
ในปี พ.ศ.๒๕๐๔ รัฐบาล ได้เข้ามา ช่วยเหลือ ส่งเสริม การเรียน การสอน และ เผยแพร่ ศาสนา อิสลาม ในปอเนาะ ให้ได้ผล ดียิ่งขึ้น ด้วยการ มอบหมาย ให้ศูนย์ พัฒนา การศึกษา เขตการศึกษา ๒ จังหวัดยะลา เป็นผู้ ดำเนินการ ปรับปรุง วิธีสอน การเรียน ของ นักศึกษา ให้มี ประสิทธิภาพ สูงขึ้น
ขั้นแรก ได้จัด ประชุม สัมมนา โต๊ะครู วาง "ระเบียบ กระทรวง ศึกษาธิการ ว่าด้วย การ ปรับปรุง ส่งเสริม ปอเนาะ ในภาค ศึกษา ๒ พ.ศ.๒๕๐๔" ขึ้นมาใช้
วัตถุ ประสงค์ ของ ระเบียบการนี้ คือ ให้ปอเนาะ มีหลักสูตร การเรียน การสอน มีชั้นเรียน และ มีการ ประเมินผล การเรียน ในชั้น ตัวประโยค โดย กระทรวง ศึกษาธิการ ให้การ อุดหนุน แก่ ปอเนาะ ทางด้าน การเงิน วัสดุ อุปกรณ์ การศึกษา และ ส่ง วิทยาการ เข้าไป ช่วยเหลือ
ขั้นที่ ๒ ระหว่างปี พ.ศ.๒๕๐๘ - พ.ศ.๒๕๑๒ รัฐบาล ก็ได้ ดำเนินการ แปรสภาพ ปอเนาะ ที่ปรับปรุง ดีแล้ว ขึ้นเป็น โรงเรียน สอนศาสนา อิสลาม ตาม พระราช บัญญัติ โรงเรียนราษฎร์ ปอเนาะใด โต๊ะครู เจ้าของ โรงเรียน มีความ สมัครใจ แปรสภาพ ปอเนาะ เป็น โรงเรียน ราษฎร์ ก็จะ ได้รับ การช่วยเหลือ สนับ สนุน ทั้งทาง การเงิน อุปกรณ์ การเรียน การสอน และครู ช่วยสอน และ ยังได้รับ พระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าของ ปอเนาะ และ โรงเรียน ราษฎร์ สอนศาสนา ที่มี ผลงาน ดีเด่น เข้าเฝ้า รับพระราชทาน รางวัล ประจำปี อีกด้วย
ปัจจัย สำคัญ ปัจจัยหนึ่ง ที่ทำให้ ศาสนา อิสลาม เจริญ รุ่งเรือง แผ่ขยาย ไปทั่ว ภูมิภาค นี้ เห็นจะ ไม่มี สิ่งใด นอกเหนือ ไปจาก ความมี น้ำพระทัย กว้าง ของ พระมหากษัตริย์ ไทย ทุกยุค ทุกสมัย นอกจาก ให้ เสรีภาพ แก่ประชาชน เลือกนับถือ ศาสนา ได้โดย เสรีแล้ว ยังทรง รับเป็น องค์อุปถัมภ์ แก่ศาสนา ทุกศาสนา ดังจะเห็น ได้จาก คำกล่าว ของ ลาลูแบร์ เอก อัครราช ทูต ฝรั่งเศส ที่กล่าวถึง พิธี แห่เจ้าเซน พิธีกรรม ศาสนา อิสลาม นิกาย ชีไอท์ ที่ ชาวเปอร์เซีย ซึ่งเข้ามา พำนัก อาศัย อยู่ใน กรุงศรีอยุธยา จัดขึ้น เพื่อระลึกถึง อิมาน ฮูเซ็น ในเดือน มุฮะรัม ทุกๆ รอบปีว่า
"เป็น พิธีการหนึ่ง ที่อยู่ ในความ อุปถัมภ์ ของ สมเด็จ พระนารายณ์ มหาราช"
โดยเฉพาะ พระบาท สมเด็จ พระเจ้า อยู่หัว ภูมิพล อดุลยเดชฯ นั้น ทรงให้ ความ สนพระทัย เป็นพิเศษ ต่อชาว มุสลิม และ ศาสนา อิสลาม ทุกปี จะเสด็จ พระราชดำเนิน มาประทับ ณ พระตำหนัก ทักษิณ ราชนิเวศน์ เพื่อ เยี่ยมเยียน ชาวไทย มุสลิม ภาคใต้ ทรงคิดค้น โครงการ หมู่บ้าน ปศุสัตว์ เกษตร พัฒนาดิน น้ำ เพื่อช่วย ราษฎร ให้มี ที่ทำกิน ส่งครู มาช่วย ฝึกอบรม วิชาชีพ และ ทรง สละ พระราชทรัพย์ ส่วนพระองค์ จัดพิมพ์ พระคัมภีร์ อัลกุรอาน พระราชทาน แก่ชาว มุสลิม สำหรับ ใช้ศึกษา ค้นคว้า เสด็จ ร่วม กิจกรรม ในงาน วันสำคัญ ทางศาสนา อิสลาม พระราชทาน ที่ดิน และ พระราชทาน ทรัพย์ เพื่อสร้าง มัสยิดฯ
พระราช กรณียกิจ ดังกล่าวมานี้ ย่อมชี้ ให้เห็นว่า สถาบัน พระมหากษัตริย์ เป็นพลัง สำคัญ ในการ ส่งเสริม เผยแพร่ ศาสนา อิสลาม พลังหนึ่ง จาก อดีต ตราบเท่า ถึง ปัจจุบัน
ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ :
โปรตุเกส เป็นชาว ตะวันตก ชาติแรก ที่เข้ามา มีความ สัมพันธ์ กับเมือง ปัตตานี หลังจากที่ โปรตุเกส เข้ายึดครอง เมืองมะละกา จาก สุลต่าน โมฮัมหมัด ขณะที่ เมืองมะละกา กำลัง เป็นศูนย์ การค้า ระหว่าง ซีกโลก ตะวันตก กับ ตะวันออก ในปี พ.ศ.๒๐๕๔ บรรดา พ่อค้า ชาวอาหรับ เปอร์เซีย และอินเดีย ที่ ไม่พอใจ พวก โปรตุเกส ที่เข้ามา แย่งชิง กิจการค้า ของตน ซึ่งกำลัง เฟื่องฟู อยู่ ต่างก็ หันเห มาใช้ เมืองปัตตานี ขณะนั้น มีพ่อค้า ชาวจีน และ ญี่ปุ่น เข้ามา ค้าขาย อยู่ก่อน แล้ว ทั้งสินค้า ของชาวจีน และ ญี่ปุ่น เข้ามา ค้าขาย อยู่ก่อนแล้ว ทั้ง สินค้า ของ ชาวจีน และ ญี่ปุ่น ก็เป็นที่ ต้องการ ของชาว ตะวันตก อีกด้วย เช่น เครื่องถ้วยชาม แพร ไหม และ ทองแดง โปรตุเกส เอง ก็ต้องการ ได้สินค้า จากประเทศ จีน และ ญี่ปุ่น เพื่อส่งไป จำหน่าย ในตลาด ประเทศ ตะวันตก อัลบูเกิกร์ ผู้สำเร็จ ราชการ เมืองมะละกา จึงส่ง ดวตเต ฟอร์นันเด มาเฝ้า สมเด็จ พระรามา ธิบดีที่ ๒ เพื่อ ขออนุญาต เข้ามา ทำการ ค้าขาย กับเมืองท่าต่างๆ ในแหลมมลายู ซึ่งเป็น ประเทศราช ของไทย ดังนั้น ในปี พ.ศ.๒๐๕๙ โปรตุเกส จึงส่ง นาย มานูเอล ฟัลเซา เข้ามา ตั้งห้างร้าน ค้าขาย ขึ้นใน เมืองปัตตานี เป็นครั้งแรก
ต่อมา โปรตุเกส เกิดกรณี พิพาท กับชนชาติ ฮอลันดา จนกระทั่ง ต้องเสียเมือง มะละกา ให้แก่ ชาวฮอลันดา ในปี พ.ศ.๒๑๘๔ ชาวโปรตุเกส จึงต้อง เลิกกิจการค้า ของตน ในแหลม มลายู รวมทั้ง สถานี การค้า ที่เมือง ปัตตานีอีกด้วย รวม ระยะเวลา ที่โปรตุเกส เข้ามา ตั้งสถานี การค้า อยู่ใน ปัตตานี ถึง ๑๒๕ ปี
ฮอลันดา ชาวฮอลันดา เป็นชาติ ที่สอง รองจาก ชาติโปรตุเกส ที่เข้ามา ค้าขาย ในเมือง ปัตตานี ในปลาย รัชสมัย สมเด็จ พระนเรศวร มหาราช เมื่อปี พ.ศ.๒๑๔๔ - ๒๑๔๕ โดย กัปตัน วันเน็ค ได้นำเรือ แอมสเตอร์ดัม (Amsterdam) และ เรือกูดา (Gouda) เข้ามา เจรจา กับ เจ้าหญิง ฮียา เมื่อวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๑๔๔ เพื่อขอ อนุญาต จัดตั้ง สถานี การค้า ขึ้น มีนายดาเนียล วันเดอร์เล็ค (Daniel Vanderlek) รับหน้าที่ เป็นหัวหน้า สถานี การค้า และ นายปีเตอร์ วอลิคส์ (Pieter Walieksx) เป็นผู้ช่วย ทำการ ค้าขาย ติดต่อ ระหว่าง อยุธยา - ปัตตานี - ไทรบุรี - นครศรีธรรมราช - สงขลา - ภูเก็ต และ เมืองบันตัม ในเกาะชวา
สินค้า ที่ฮอลันดา ต้องการ ได้แก่ ดีบุก หนังกวาง ไม้ฝาง ข้าวสาร ข้าวเปลือก หนังปลากระเบน เพื่อนำไป จำหน่าย แก่ประเทศ ญี่ปุ่น
ในสมัย พญาบีรู ปกครอง เมือง ปัตตานี นางพญา มีความขัดแย้ง กับ กษัตริย์ อยุธยา คือ พระเจ้า ปราสาททอง เนื่องจาก นางพญาบีรู รังเกียจ พระเจ้า ปราสาททอง ว่า ได้ราชสมบัติ มาโดย มิชอบ "เป็นคนชิง ราชสมบัติ (จากพระอาทิตยวงศ์)" พระนาง จึงไม่ยอม ส่ง เครื่องราช บรรณาการ ไปถวาย ตามราชประเพณี ของเมือง ประเทศราช นายแอนโทน์ เคน ได้ชี้แจง ให้เหตุผล ต่อพระนาง ว่า "การค้าขาย ไม่อาจ ดำเนิน ไปได้ เนื่องมาจาก การเกลียดชัง ต่อประเทศ สยาม" แต่นางพญาบีรู ก็หา ได้เชื่อฟังไม่ พระเจ้า ปราสาททอง จึงส่ง กองทัพ มาตี เมือง ปัตตานี ล้อมเมืองไว้ ๑ เดือน จนกระทั่ง หมด เสบียง อาหาร จึงถอย กองทัพ กลับไป
หลังจาก เจ้าหญิงบีรู สิ้นพระชนม์ แล้ว เจ้าหญิงอูงู ซึ่งได้รับ การสถาปนา ขึ้นเป็น เจ้าเมือง ปัตตานี ก็ได้รับ การไกล่เกลี่ย จากเจ้าเมือง นครศรี ธรรมราช และ เจ้าเมือง ไทรบุรี พระนาง จึงยินยอม ส่งทูต ไปขอขมาโทษ ต่อพระเจ้า ปราสาททอง สงคราม จึงได้ ยุติลง
นายฟอนฟลีต (วันวลิต) ได้บันทึก เรื่องราว เกี่ยวกับ พระราชอำนาจ การตัดสิน พระทัย ของพระนาง ในนโยบาย การเมือง ซึ่งแตกต่าง ไปจาก ข้อเขียน ของ นายนิโกลาส์ แชร์แวส ชาวฝรั่งเศส ที่เขียนไว้ ในหนังสือ ประวัติศาสตร์ ธรรมชาติ และ การเมือง แห่ง ราชอาณาจักร สยาม นิโกลาส์ กล่าวว่า "ประชาชน ปัตตานี นั้น ครั้นเบื่อหน่าย ต่อการ ที่ถูก เจ้าประเทศ บีบคั้น เอาแล้ว จึงได้ ดำเนินการ สลัดแอก และ โค่นกษัตริย์ องค์ปัจจุบัน ลงจาก ราชบัลลังก์ แล้วสถาปนา เจ้าหญิง องค์หนึ่ง แทนที่ ตั้งให้ เป็นนางพระยา แต่ก็ มิได้ ถวาย พระราชอำนาจ ให้เลย พวกเขา เลือก ผู้ทรง คุณวุฒิ ขึ้นบริหาร ราชการ แผ่นดิน ในพระนามาภิไธย ที่พระนาง ไม่ต้อง เข้าไป เกี่ยวข้อง กับ ราชการ งานเมือง เลย เพียงแต่ ได้รับ การยกย่อง นับถือ ให้เป็น เจ้านาย เท่านั้น"
ข้อเขียน ของ นายฟอนฟลีต (วันวลิต) ซึ่งได้ มีโอกาส เข้าเฝ้า นางพญาอูงู เมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๑๘๕ และ ได้บันทึก ถ้อยคำ ที่นางพญา ตรัส โต้ตอบ กับ นายฟอนฟลีตไว้ แสดงถึง ความมี พระราชอำนาจ ทางด้าน การเมือง อันเต็มเปี่ยม ความว่า "การกระทำ ของบรรดา เจ้าเมือง ปัตตานี คนก่อนๆ พระนางนั้น ได้ถูก ลืมเลือน ไปแล้ว และหลังจาก ที่พระนาง ทรงสืบ ราชสมบัติ แล้ว ไม่นานนัก ก็ทรงทำ สันติ ไมตรี กับพระเจ้า แผ่นดิน สยาม โดยมิได้ ใช้ค่า เสียหาย แต่อย่างใด และว่า พระนาง ก็ทรง ต้องการ ปฏิบัติ ในวิธี เดียวกัน กับท่าน ผู้สำเร็จ ราชการ (ฮอลันดา) ด้วย"
การค้า ของ ฮอลันดา ในระยะแรก ต้องประสพ ปัญหา อยู่ หลายประการ ประการแรก คือ ถูกชาว โปรตุเกส ชาวจีน และ ชาวญี่ปุ่น กีดกัน ประการที่สอง เรื่องเงินทุน ซึ่งมัก ขาดแคลน บ่อยๆ นายคอร์เนลิส ฟอนนิวรุท หัวหน้า สถานี การค้า ต้องขอยืมเงิน จากเจ้าหญิง ฮียา เพื่อซื้อ เส้นไหม จากพ่อค้าจีน มาเก็บ สำรองไว้ แต่ต่อมา เมื่อฮอลันดา รวบรวม เงินทุน จัดตั้ง เป็นบริษัท ดัชอีสต์ อินเดีย ขึ้นมาแล้ว กิจการค้า ของ ฮอลันดา ก็ประสพ ความสำเร็จ เป็นอย่างดี ทั้งที่ อยุธยา และ ปัตตานี (จากการ เก็บข้อมูล จากเศษ ถ้วยชาม ตามบริเวณ ที่ตั้ง ชุมชน โบราณ และท่าเรือ บ้านตันหยง ลุโละ ในจังหวัด ปัตตานี พบเศษ ถ้วยชาม อันเป็น สินค้า ของฮอลันดา มีจำนวน ไล่เลี่ย กับของจีน)
สินค้า พื้นเมือง จำพวก สมุนไพร ของปัตตานี ที่ปรากฏชื่อ อยู่ใน เอกสาร ของฮอลันดา ได้แก่ ขิง น้ำตาล พริกไทย และ sarrassas (ซะราเซะ หรือ กะเพรา) นายสปรินซ์เคล เจ้าหน้าที่ สถานี การค้า เมืองปัตตานี รายงาน ไปถึง นายมาทีโอโคตัลส์ และ นายมาทีโอฯ ได้เขียน มาแจ้ง ให้ นายเอชแวนส์เซน ที่ปัตตานี เมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๑๕๖ ความว่า "ตามที่ นายปรินซ์เคล ว่าปีนี้ sarrassas งดงามมาก แต่ราคา ไม่คงที่"
ฮอลันดา เลิกสถานี การค้า ในปัตตานี เมื่อปี พ.ศ.๒๑๘๕ เนื่องจาก ฮอลันดา เข้ามา ตั้งสถานี การค้า ของตน อยู่ในเมือง ปัตตานี เวลา ๔๑ ปี
อังกฤษ บริษัท อิสต์อินเดีย ของอังกฤษ ได้ส่ง กองเรือ โดยการนำ ของกัปตัน จอนเดวิส มาสำรวจ เมืองปัตตานี เพื่อตั้ง สถานี การค้า ของตน ขึ้น ในเมืองนี้ เมื่อปี พุทธศักราช ๒๑๔๘ แต่กองเรือ ของอังกฤษ ถูกโจรสลัด ญี่ปุ่น โจมตี ในอ่าว หน้าเมือง ปัตตานี ทำให้ กัปตัน จอนเดวิส ได้เสีย ชีวิต ลงทันที ต่อมา กัปตัน แอนโธนี ฮิปปอน ก็ได้นำ เรือโกลป์ เข้ามาสู่ เมืองปัตตานี อีกครั้ง เมื่อวันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๑๕๔ แอนโธนี ฮิปปอน ได้เข้าเฝ้า นางพระยา ฮียา ขอตั้ง สถานี การค้า ขึ้นใน เมืองปัตตานี เป็นผลสำเร็จ แต่ตัวกัปตัน เกิดล้มป่วย ถึงแก่กรรม อย่างกระทันหัน หลังจาก เจรจา ทำความ ตกลง กับนาง พระยา ฮียาได้เพียง ๑๕ วัน โทมัส เอสซิงตัน จึงรับ หน้าที่ แทนกัปตัน แอนโธนี ฮิปปอน ได้เดินทาง เข้าไปเฝ้า สมเด็จ พระเอกา ทศรถ ขอพระราชทาน ที่ดิน เพื่อจัดตั้ง สถานี การค้า ขึ้น ทั้งใน กรุงศรีอยุธยา และ ที่เมือง ปัตตานี ซึ่ง สมเด็จ พระเอกา ทศรถ ก็ทรง พระกรุณา ประทานให้
สถานี การค้า ของอังกฤษ ก็เริ่ม ดำเนิน กิจการ ในเมือง ปัตตานี เมื่อปี พ.ศ.๒๑๕๕ นายปีเตอร์ ฟอลริส ได้รับตำแหน่ง ผู้อำนวยการ ชื่อลูกัส (Lucus Antheunis) ต่อมา นายลูกัส ได้ย้าย ไปประจำ อยู่ที่ สถานี การค้า ที่กรุงศรีอยุธยา การค้า ที่กรุงศรี อยุธยา และ ปัตตานี ขณะนั้น คึกคักมาก มีเรือ สินค้า ของชาติ ต่างๆ ไปมา ค้าขาย กันขวักไขว่ เฉพาะ เรือสินค้า ของอังกฤษ ที่เข้าออก ประจำ ได้แก่ เรือ Daling, Cloue, Hector, Peppecorn, Solomon และ James รวม ๖ ลำ
หัวหน้า สถานี การค้า ที่ปัตตานี คนต่อมา ได้แก่ นายอาดัม เค็นตัน นาย Benjamin และ John Gurney
ในปี พ.ศ.๒๑๖๑ เกิดยุทธนาวี ขึ้นระหว่าง เรือรบ อังกฤษ กับ เรือรบ ฮอลันดา ครั้งแรก เรือรบ อังกฤษ ๒ ลำ คือ แซมป์ซัน และ เฮาวน์ ในการ บังคับ บัญชา ของกัปตัน จอน จูรเดน ได้ทำการ ยึดเรือ ของ ฮอลันดา ชื่อ แบล็คไลออน ไว้
ต่อมา ฮอลันดา ได้ส่ง เรือรบ ของตน มา ๓ ลำ เข้ารุมล้อม โจมตี เรืออังกฤษ ทั้งสองลำ ในเดือน กรกฎาคม ในขณะที่ จูรเดน เจรจา ขอยอม จำนน ก็ถูกพวกเฟลมมิงยิงด้วยปืนคาบศิลาถึงแก่ความตาย ลูกเรือถูกฮอลันดาจับไปเป็นเชลย ที่เหลือรอด มาได้ ก็เนื่องจาก ไปขอ ความคุ้มครอง จากเจ้าหญิง ฮียา ตั้งแต่นั้นมา กิจการค้า ของอังกฤษ ในเมืองปัตตานี ก็ถูก พวกฮอลันดา คอยขัดขวาง ทำให้ กิจการ ซบเซา ลงเรื่อยๆ ในที่สุด บริษัท อิสต์อินเดีย จึงมีมติ ให้เลิก สถานี การค้า ใน ปัตตานี เสียในปี พ.ศ.๒๑๖๖ รวมเวลา ที่อังกฤษ เข้ามาตั้ง สถานี การค้า อยู่เพียง ๑๑ ปี
ญี่ปุ่น ชาวญี่ปุ่น เข้ามา ค้าขาย ณ เมืองปัตตานี ในเวลา ไล่เลี่ย กับชาวจีน (เซอรเออเนสต์ ซาเตา ว่า ญี่ปุ่น เข้ามา ค้าขาย ยังเมือง ปัตตานี ราว พ.ศ.๒๑๓๕ ในเวลา เดียวกัน เรือสำเภา ของปัตตานี ก็เข้าไป ค้าขาย ถึงประเทศ ญี่ปุ่น) นอกจาก จะเป็น พ่อค้า แล้ว นายสำเภา ชาวญี่ปุ่น ยังทำตัว เป็นโจรสลัด คอยตี ชิงปล้น เรือสินค้า อีกด้วย สลัด ญี่ปุ่น ใช้อ่าว เมืองปัตตานี เป็นแหล่ง แอบซุ่ม โจมตี เรือสินค้า ชาวต่างประเทศ นักเดินเรือ ผู้มี ชื่อเสียง ของอังกฤษ คือ กัปตันจอน เดวิส ก็ถูก โจรสลัด ญี่ปุ่น ทำการ ปล้นเรือ ของเขา เมื่อปี พ.ศ.๒๑๔๘ ในขณะ เข้ามา สำรวจ เมืองปัตตานี เพื่อจัดตั้ง คลังสินค้า ของบริษัท อีสต์อินเดีย ขึ้นใน เมืองนี้
สินค้า ญี่ปุ่น ที่เป็นที่ ต้องการ ของตลาด เมืองปัตตานี ขณะนั้น ได้แก่ ทองแดง เครื่องถ้วย ฉากญี่ปุ่น ส่วนสินค้า ที่ชาว ญี่ปุ่น ต้องการซื้อ ได้แก่ ดินปืน ปืนใหญ่ หนังกวาง หนังปลา กระเบน และ ไม้หอม จำพวก ไม้กฤษณา และ ไม้จันทน์ แต่ละปี จะมี เรือสำเภา ญี่ปุ่น เข้ามา แวะที่ เมือง ปัตตานี ปีละ หลายลำ โดยเฉพาะ สำเภา ของพ่อค้า ที่มาจาก หมู่เกาะ ริวกิว จนกระทั่ง เมืองปัตตานี สมัยนั้น ได้ สมญานาม ว่า "เป็นเมืองท่า สองพี่น้อง ระหว่าง เมืองฮิราโดะ ของญี่ปุ่น" ดังนั้น พ่อค้า ชาวญี่ปุ่น จึงเป็น คู่แข่งขัน แย่งชิง ซื้อขาย สินค้า กับพ่อค้า ชาวฮอลันดา และ อังกฤษ อยู่เสมอ จนกระทั่ง คราวหนึ่ง ชาวญี่ปุ่น ได้ลอบ เข้าไป วางเพลิง เผาโกดัง สินค้า ของชาว ฮอลันดา เสียหาย ยับเยิน ชาวญี่ปุ่น อยู่ใน เมือง ปัตตานี นานเท่าไร ไม่ปรากฏ หลักฐาน เมื่อเกิด สงครามโลก ครั้งที่ ๒ (สงคราม มหาเอเซีย บูรพา) ข้าพเจ้า ได้รู้จัก กับพ่อค้า ชาวญี่ปุ่น ซึ่งเป็น ทันตแพทย์ ตั้งคลีนิค อยู่ที่ร้าน เฉาะเฉิน ในตลาด เขตเทศบาล เมืองปัตตานี และ เจ้าของร้าน นานเชนโชไก จำหน่าย ถ้วยชาม ชั้นดี ของญี่ปุ่น อยู่ที่ ถนนปรีดา ซึ่งทราบ ภายหลัง ว่า พ่อค้า เหล่านี้ ล้วนเป็น จารชน เข้ามา ทำการ วางแผน ยึดเมือง ปัตตานี เพื่อใช้ เป็นหัวหาด ยกพล ขึ้นบก ผ่านไป ตีประเทศ สิงคโปร์ หลังจาก สงคราม มหาเอเซีย บูรพาแล้ว ไม่ปรากฏว่า ชาวญี่ปุ่น เข้ามา ค้าขาย ในเมือง ปัตตานี อีกเลย
ในรัชสมัย สมเด็จ พระเจ้า ปราสาททอง เมืองนครศรี ธรรมราช ปัตตานี สงขลา เป็นกบฏ ไม่ยอม ส่งเครื่องราช บรรณาการ ตามราชประเพณี สมเด็จ พระเจ้า ปราสาททอง แต่งตั้ง ให้ออกญา เสนาภิมุข (ยามาดา นางามาสา) ออกไปเป็น เจ้าเมือง นครศรี ธรรมราช ออกญา เสนาภิมุข ได้นำ กองทัพ จากเมือง นครศรี ธรรมราช มาร่วมกับ กองทัพกรุงฯ มาปราบ เมืองปัตตานี ออกญา เสนาภิมุข (ยามาดา นางามาสา) ถูกอาวุธ ที่ขา เมื่อกลับ ไปถึง เมืองนครฯ แผลเกิดพิษ กำเริบ จนถึงแก่ อสัญกรรม (บ้างก็ว่า ออกญา เสนาภิมุข ถึงแก่กรรม เพราะถูก ยาพิษ ของออก พระมริต)
จีน ชาวจีน เข้ามา ค้าขาย ในเมือง ปัตตานี เมื่อไร ยังไม่ปรากฏ หลักฐาน แน่นอน แต่ในด้าน ปริมาณ พ่อค้า ชาวจีน มีจำนวน สูงกว่า ชาติอื่นๆ นอกจากนั้น ชาวจีน ยังสมัครใจ สมรส กับชาว พื้นเมือง และ นิยม ตั้งรกราก อยู่ในเมือง ปัตตานี อย่างถาวร จนกลาย เป็นส่วนหนึ่ง ของพลเมือง ปัตตานี ไปใน ที่สุด ผู้เขียน รู้จัก กับครอบครัว ชาวเมือง ปัตตานี หลายครอบครัว อ้างว่าตน มีบรรพบุรุษ เป็นชาวจีน หนังสือ Purchase his Pilgrimage เขียนโดย ชาวอังกฤษ ที่เข้ามา เมืองปัตตานี ในปี พ.ศ.๒๑๖๐ ได้บรรยาย ถึงสภาพ บ้านเมือง ปัตตานี และ ผู้คน ไว้ตอนหนึ่ง ว่า "ปัตตานี เป็นนครหนึ่ง อยู่ทาง ตอนใต้ ของสยาม อาคาร บ้านเรือน เป็นไม้ และแฝก แต่เป็นงาน ที่สร้างขึ้น ด้วยฝีมือ อย่างมีศิลปะ มีสุเหร่า หลายแห่ง มีชาวจีน มากกว่า ชาวพื้นเมือง (คงหมายถึง บริเวณ ท่าเรือ หรือตัวเมือง ปัตตานี) พลเมือง ภาษาใช้กัน ๓ ภาษา คือ ภาษา มาลายัน ภาษาไทย และ ภาษาจีน ชาวจีน สร้างศาลเจ้า ชาวไทย สร้างพระพุทธรูป พระสงฆ์ นุ่งเหลือง ห่มเหลือง"
ที่ฮวงซุ้ย โบราณ ของชาวจีน ในท้องที่ ตำบล ตันหยงลุโละ อำเภอเมือง ปัตตานี ปัจจุบัน ถูกน้ำทะเล กัดเซาะ ดินพังทะลาย ลงไป ในทะเล หมดแล้ว คงเหลือ แต่แผ่นป้าย ศิลา จารึก ชื่อผู้ตาย ที่ชาวบ้าน เก็บมาวางไว้ สำหรับ เป็นที่ ชำระเท้า หน้าบันได บ้าน ข้อความ ในแผ่น ศิลา เป็นอักษรจีน จารึกนาม ผู้ตาย "ชื่อชูฉิน นามสกุล เฉิน ถึงแก่กรรม ในปี เหยินเฉิน ศักราช ว่านลี ราชวงศ์ เหม็ง ตรงกับปี พุทธศักราช ๒๑๓๕" และ หิน เหนือหลุมศพ (แนแซ) ของพญา อินทิรา ผู้สร้างเมือง ปัตตานี ระหว่างปี พ.ศ.๒๐๑๒-๒๐๕๗ ก็เป็น ลวดลายเมฆ ซึ่งเป็น ศิลปกรรม ของช่าง ศิลปะจีน ที่หมายถึง บุคคล ผู้สูงศักดิ์, ความมีเกียรติ, อำนาจ, วาสนา แสดง ให้เห็นว่า เป็นฝีมือ ของช่าง ชาวจีน แกะสลัก ขึ้น และ บริเวณ ฮวงซุ้ย แห่งนี้ ก็คง เป็นที่ตั้ง ชุมนุม ชาวจีน มาตั้งแต่ สมัย เริ่มสร้าง เมืองปัตตานี ทีเดียว ภายใน ศาลเจ้า ซูก๋ง (หรือเล่งจูเกียง) ก็พบ จารึก ภาษาจีน บอกปี ที่สร้าง ศาลเจ้า หลังนี้ ว่า สร้างขึ้นเมื่อ "วันชัย มงคล ปีปวน และ ที่ ๒ ศักราช ราชวงศ์เหม็ง" ตรงกับปี พุทธศักราช ๒๑๑๗ ซึ่งเป็น หลักฐาน การเข้ามา วางรกราก ของชาวจีน ในเมือง ปัตตานี เป็นอย่างดี
สินค้า ชาวจีน ที่นำ เข้ามา จำหน่าย ในตลาด เมืองปัตตานี ได้แก่ เครื่องถ้วยชาม ลายคราม ทั้งชนิดดี และ เลว ซึ่งข้าพเจ้า เก็บรวบรวม ได้จาก บริเวณ บ้านบานา บ้านกรือเซะ เป็นจำนวน มากมาย นอกจากนี้ ยังมี ผ้าแพร และ เส้นไหม ซึ่ง ชาวเมือง ปัตตานี นิยม ซื้อ มาทอ เป็นผ้า ชั้นดี ขึ้นจำหน่าย เรียกว่า "ผ้าจวนตานี" "ผ้ายกตานี" ดังปรากฏชื่อ อยู่ใน วรรณคดีไทย ได้แก่ หนังสือ เสภา เรื่อง ขุนช้าง ขุนแผน และ เรื่องอิเหนา (ดาหลัง) จนกระทั่ง เมืองปัตตานี ในสมัยนั้น ได้สมญานาม ว่าเป็น "แหล่งรวม สินค้า ผ้าไหม ชั้นนำ นอกเหนือ จากกวางตุ้ง" ปัตตานี สมัย อยุธยา เป็นศูนย์รวม สินค้า ที่ผลิต จากประเทศจีน สำหรับ จำหน่าย แก่พ่อค้า นานาชาติ ที่ต้องการ นำไปขาย ในต่างประเทศ อีกต่อหนึ่ง

บทความชวนอ่าน - ประวัติศาสตร์อาณาจักรลังกาสุกะ (นครปัตตานี) ตอนที่ ๑๑

วัฒนธรรมและศาสนา :
ก่อนที่ วัฒนธรรม อินเดีย จีน อาหรับ จะเข้ามา มีบทบาท ในสังคม ของชาวเอเซีย ตะวันออก เฉียงใต้ ผู้คน ในดินแดน แถบนี้ มีจารีต ประเพณี ความเชื่อถือ เป็นของ ตน อยู่ก่อนแล้ว คือ ลัทธิ นับถือ ภูตผี มีความเชื่อว่า ทุกสิ่ง ที่มีชีวิต และ ไม่มี ชีวิต ได้แก่ ภูเขา ทะเล สิงห์สา ราสัตว์ ต้นไม้ มีความศักดิ์สิทธิ์ (Keranmat) สิงห์สถิตย์ อยู่เช่นเดียวกับ วิญญาณ บรรพบุรุษ หรือ บุคคล สามารถ ให้คุณ และ โทษ แก่มนุษย์ได้ มีหัวหน้าเผ่า เป็นผู้ปกครอง มี ระเบียบ และ กฎเกณฑ์ สำหรับ ใช้ เพื่อ ควบคุม ความประพฤติ ความเป็นอยู่ของชุมชน มีความรู้ ความสามารถ ในการ ทำเครื่องมือ เครื่องใช้ ในการ ดำรง ชีวิต ของตน ดีพอสมควร ดังที่ จะเห็น ได้จาก โบราณ วัตถุ ที่ขุดพบ ตามภูมิภาคต่างๆ ซึ่ง นักโบราณคดี ทำการ วิจัย หา อายุ สมัย ของ โบราณ วัตถุ เหล่านั้น มีอายุ ไม่ต่ำกว่า ๑,๐๐๐ ปี
ต่อมา มีการ ไปมา หาสู่ กับผู้คน ภายนอก เชื่อกันว่า คนพวกแรก ที่นำเอา วัฒนธรรม และ ศาสนา เข้ามา สู่ดินแดน สุวรรณภูมิ ได้แก่ ชาวภารตะ หรือ ชมภูทวีป (อินเดีย) ซึ่ง มีเรื่อง กล่าวไว้ ในวรรณคดี ทางพุทธศาสนา ได้แก่เรื่อง สังขชาดก และ มหาชนก ชาดก ว่า ได้แต่ง สำเภา เดินทาง มาค้าขาย ใน สุวรรณ ภูมิ ทวีป ซึ่ง หมายถึง ดินแดน ในแถบ เอเซีย ตะวันออก เฉียงใต้ รวมทั้ง แหลมไทย มลายู เมื่อ ๒,๐๐๐ ปี มา แล้ว ด้าน ศาสนาฮินดู (พราหมณ์) ก็ปรากฏ วรรณคดี ที่เกี่ยวกับ ศาสนานี้ แพร่หลาย เป็นที่ นิยม ของชนชาติ ต่างๆ ในแถบนี้ ได้แก่ กาพย์ รามายณะ และ คัมภีร์ ปุราณะ
จดหมายเหตุ ชาวจีน สมัย ราชวงศ์ เหลียงกล่าวว่า "ในประเทศตันซุน มีพวกฮู (พ่อค้า) มาจากอินเดียกว่า ๕๐๐ ครอบครัว มีฮุตโต (พระภิกษุ) ๒ รูป และ พวกพราหมณ์กว่า ๑,๐๐๐ คน มาจาก อินเดีย พวก ราษฎร ชาวตันซุน นับถือ ศาสนา ของชาวอินเดีย และ ยกบุตรสาว ให้แต่งงาน กับ พวกพราหมณ์ พวกพราหมณ์ จึงตั้ง รกราก อาศัยอยู่ ในเมืองนี้"
ศาสตราจารย์ เซเดส์ว่า "พวกพราหมณ์ นั่นเอง เป็นผู้นำ จารีต ของ อินเดีย เข้ามา ตามคำ เรียกร้อง ของพวก หัวหน้า พื้นเมือง ในลักษณะ ค่อย แทรกซึม เข้าไป มี อิทธิพล ในสังคม ของ ชาว เอเซีย ตะวันออก เฉียงใต้ ผสม ผสาน กับ ขนบ ธรรมเนียม ดั้งเดิม จนกลายเป็น เอกลักษณ์ เฉพาะ ของ แต่ละ ท้องถิ่น ไปใน ที่สุด
ร่องรอย ทาง โบราณ คดี ที่บ่งบอก ถึงต้นกำเนิด โบราณวัตถุ ว่า มาจาก อินเดีย หรือ ได้รับ อิทธิพล จาก ศาสนาพราหมณ์ ที่เก่า ที่สุด ที่พบ บนแหลมไทย - มลายู ได้แก่ เทวรูป พระวิษณุ ซึ่งพบ ที่วัด ศาลาทึง อำเภอไชยา จังหวัด สุราษฎร์ ธานี บริเวณ จังหวัดนี้ นัก โบราณ คดี สันนิษฐาน ว่า เป็นที่ตั้ง ของรัฐ ตันซุน ที่กล่าวแล้ว ประมาณ อายุ ของ เทวรูป พระวิษณุ องค์นี้ ตกราว ปี พุทธ ศักราช ๗๐๐ ถึง ๘๐๐
ส่วน อาณาบริเวณ ที่เชื่อกันว่า เคยเป็น ที่ตั้งเมือง ลังกาสุกะ เมือง โกตา มหลิฆัย จนกระทั่ง มีการ แปรเปลี่ยน สภาพ มาเป็นเมือง ปัตตานี ในปัจจุบัน พบโบราณวัตถุ อันเนื่อง ใน ศาสนา พราหมณ์ และ ศาสนาพุทธ ได้แก่ ศิวะลึงค์ และ โยนีโธรณะ ในท้องที่ อำเภอ ยะรัง ยะหริ่ง จังหวัด ปัตตานี เทวรูป ปาง แสดง ธรรม เทศนา สัมฤทธิ์ ครอง อุตราสงฆ์ ห่มเฉียง จีบเป็นริ้ว ที่เรียก กันว่า พระพุทธรูป สมัย อมรวดี ที่ อำเภอ สุไหงโก-ลก จังหวัด นราธิวาส พระพุทธรูป ศิลา ปาง ประทาน พรพระ ธรรมจักร ซึ่ง แกะสลัก จากหินทราย และ สถูป จำลอง ดินเผา ที่มี ลวดลาย ศิลป ในการสร้าง คล้ายคลึง กับ ศิลป สมัย คุปตะ ปาละ และ ศรีวิชัย ที่ตำบลวัด ตำบลยะรัง จังหวัด ปัตตานี และ ซาก ปรัก หักพัง ของสถูป เป็นจำนวนมาก
ที่จังหวัด ยะลา บริเวณ วัดคูหา ภิมุข ถ้ำศิลป์ ถ้ำกำปั่น และ ถ้ำใกล้เคียง พบ พระพิมพ์ ดินดิบ พระพุทธรูป โลหะ ในรูปแบบ สมัย ต่างๆ ตั้งแต่ สมัย คุปตะ ปาละ และ ศรีวิชัย เช่นเดียวกับ ที่ จังหวัด ปัตตานี ศิลป วัตถุ ใน ศาสนาพราหมณ์ และ ศาสนาพุทธ ที่หลงเหลือ อยู่ เหล่านี้ เป็ นประจักษ์ พยาน แสดงถึง การที่ ศาสนา พราหมณ์ และ ศาสนาพุทธ เข้ามา ฝังรกราก อยู่ใน สังคม ของ ชาวเมือง ปัตตานี ในอดีต ประมาณ กาลเวลา โดยอาศัย จดหมายเหตุ ของชาวจีน และ การตีความ จากรูปแบบ ศิลปวัตถุ ประมาณ ๘๐๐ ถึง ๑,๐๐๐ ปีมาแล้ว
ศาสนาอิสลามเข้าสู่ภาคใต้
ศาสนา อิสลาม มีกำเนิด บน คาบสมุทร อาระเบีย เมื่อปี ค.ศ.๖๒๒ (พ.ศ.๑๑๖๕) ที่เมือง เมกกะ ในสมัย ที่ พระศาสดา นบี มูฮัมมัด ศ็อลฯ ยังมี พระชนม์ชีพ อยู่ มีศูนย์กลาง อยู่ ณ นคร เมดินา ต้น คริสศตวรรษ ที่ ๘ ได้แพร่ เข้าสู่ ประเทศ อินเดีย โดย การนำ ของ มูฮัมมัด อิบน์ อัลกาซิม แม่ทัพ ของกษัตริย์ อับดุล มาลิค กาหลิบ ราชวงศ์ โอเมยาด แห่ง นคร ดามัสคัส ทำให้เกิด รัฐ อิสลาม แห่งแรก ขึ้นใน บริเวณ ลุ่มแม่น้ำ สินธุ
ค.ศ.๙๙๘ (พ.ศ.๑๕๔๑) สุลต่าน มามุด แห่งราชวงศ์ กาซนี ประเทศ อาฟกานิสถาน ได้นำ ศาสนา อิสลาม เข้ามา ยังแคว้น ปันจาบ มีศูนย์กลาง ปกครอง อยู่ที่เมือง ละฮอร์
ต่อมา กษัตริย์ ราชวงศ์ นี้ สูญเสีย อำนาจ ให้แก่ ราชวงศ์ กอรี เชื้อสาย เตอร์ค ในปี ค.ศ.๑๑๗๓ (พ.ศ.๑๗๑๖) ครั้นถึงปี ค.ศ.๑๑๙๒ (พ.ศ.๑๗๓๕) กองทัพ กษัตริย์ โมฮัมหมัด กอรี ได้ชัยชนะ ต่อชาว ฮินดู เป็นผล ให้อำนาจ การปกครอง ของราชวงศ์ กอรี แผ่ ปกคลุม ไปทั่วบ ริเวณ อ่าวเบงคอล พร้อมกับ การขยายตัว ของ ศาสนา อิสลาม เข้าสู่ พื้นที่ ดังกล่าว
ที่แคว้น กุจะราท เมือง เคมเบย์ ประเทศ อินเดีย ซึ่งเป็น ศูนย์การค้า ระหว่าง อินเดีย เปอร์เซีย อาหรับ ติดต่อ กับ จีน และ ประเทศ ในแถบ เอเซีย ตะวันออก เฉียงใต้ มาก่อน ที่พวก มุสลิม จะเดินทาง มาถึง เมื่อ ดินแดน แห่งนี้ ตกมาอยู่ ในความ ครอบครอง ของ กษัตริย์ มุสลิม แล้ว จึงเป็นฐาน สำหรับ ศาสนา อิสลาม เดินทาง ไปสู่ ประเทศ อินโดนีเซีย และ แหลมไทย - มลายู ในขั้น ต่อมา
เมื่อปี ค.ศ.๑๒๙๒ (พ.ศ.๑๘๓๕) มาร์โคโปโล เดินทาง จาก ประเทศจีน กลับ ยุโรป มาแวะ ที่เกาะ สุมาตรา เขา ได้บันทึก ไว้ใน รายงาน การเดินทาง ของเขา ว่า ที่เมือง เปอร์ลัค มีพ่อค้า นับถือ ศาสนา อิสลาม เข้ามา ค้าขาย อยู่เป็น อันมาก จากเมืองเปอร์ลัค เขาเดินทาง ไปพัก อยู่ทาง ตอนเหนือ ของเกาะ คือ เมือง สมุท เป็นเวลา ๕ เดือน เนื่องจาก เป็นฤดู มรสุม ขณะที่ เขาพัก อยู่นั้น ชาวเมือง สมุท ยังไม่ได้ เป็น มุสลิม
หลักฐาน การยอมรับ นับถือ ศาสนา อิสลาม ของชาวเกาะ สุมาตรา ปรากฏ อยู่บนหิน เหนือหลุมศพ ของสุลต่าน มาลิค อัลซาเลห์ ที่เข้ารีต เป็นอิสลาม จารึก แผ่นนี้ บอกปี ค.ศ.๑๒๙๗ (พ.ศ.๑๘๔๐) หลังจาก มาร์โคโปโล ออกจาก เมืองนี้ ไปเพียง ๕ ปี
ชาว มอรอคโค ชื่อ อิบน์บาตูตา ซึ่งเดินทาง ไปมา ระหว่าง ประเทศ อินเดีย กับ จีน ในปี ค.ศ.๑๓๔๕ - ค.ศ.๑๓๔๖ ก็ได้ บันทึก ไว้ว่า สุลต่าน แห่งรัฐ สมุท บนเกาะ สุมาตรา นับถือ ศาสนา อิสลาม ตามแบบ ฉบับ ของ อิมานซา ฤาอีย์ (Sufi) (หรือ นิกาย ซาฟีอีย์) แต่ ดินแดน ใกล้เคียง ยังคง นับถือ ศาสนา อื่นอยู่
ศาสนา อิสลาม เป็นศาสนา ที่สำคัญ ศาสนาหนึ่ง ของโลก มีผู้ นับถือ ไม่น้อยกว่า ๘๐๐ ล้านคน ทาง นิรุกติศาสตร์ "อิสลาม" มีความหมาย ตรงกับ คำว่า ศานติ ความปลอดภัย ความสงบสุข เราเรียก ศาสนิก ของ ศาสนา อิสลาม ที่เป็นชายว่า "สุลิมีน" และ เรียก เพศหญิง ว่า "มุสลิหมะ" เรียก ศาสนิกชน ทั่วไป ว่า "มุสลิม"
ศาสนา อิสลาม มีลักษณะ เป็นเอก เทวนิยม คือ นับถือ พระอัลเลาะฮ์ เพียงองค์เดียว และ มีความเชื่อ ว่า สรรพสิ่ง ในโลกนี้ พระอัลเลาะฮ์ เป็นผู้สร้าง และ ทรง ประทาน โองการ คือ บทบัญญัติ การถือ ปฏิบัติ และ การ ละเว้น ปฏิบัติต่างๆ แก่ชาวโลก ผ่านทาง รอซูล ของพระองค์ มี พระนาบี อาดัม เป็นองค์แรก และ องค์สุดท้าย นาบีมุฮัมมัด รวม ๒๕ พระองค์ จึงครบ บริบูรณ์
ต่อมา สาวก ของ พระนาบี มุฮัมมัด ไ ด้รวบรวม บทบัญญัติ หรือ โองการ ที่พระอัลเลาะห์ ประทาน ให้แก่ รอซูล ในที่ต่างๆ มารวบรวม เป็นคัมภีร์อัล - กุรอาน ซึ่ง เปรียบเทียบ ประหนึ่ง ธรรมนูญ การปกครอง การ ดำเนิน วิถี ชีวิต ของ มุสลิม ควบคู่ ไปกับ พระโอวาท และ จริยวัตร ของท่าน นบี มูฮัมมัด ซึ่งได้ มีผู้ บันทึกไว้ เรียกว่า "หะดิษ" (พระวจะ หรือ โอวาท ของ พระนาบี มุฮัมมัด) และ "ซุนนะ" (จริยวัตร ปฏิบัติ ของ พระนาบี มุฮัมมัด) เพื่อใช ้เป็นแบบอย่าง ในการ ดำเนิน ชีวิต ของ ศาสนิกชน
ในกาล ต่อมา "อิมาน" (ผู้นำ ในการ ประกอบ พิธีกรรม ศาสนา) ได้มี การ วินิจฉัย ตีความ เกี่ยวกับ วัตร ปฏิบัติ ในส่วนย่อย แตกต่าง กันตาม ความคิดเห็น ของตน จึงเกิด การปฏิบัติ ตามอย่าง อิมาน ผู้เป็น ต้นคิด นั้นๆ เช่น ของ อิมาน ต่อไปนี้
อิมานซะฟีอีย์ (เรียกว่า นิกายซะฟีอีย์)
อิมานมาลีกี (เรียกว่า นิกายมาลิกี)
อิมานหะนาฟีย์ (เรียกว่า นิกายหะนาฟีย์)
อิมานฮัมบาลี (เรียกว่า นิกายฮัมบาลี)
มุสลิม ในภาคใต้ ส่วนใหญ่ นิยม นับถือ ตามแนว ความคิด ของ อิมานซะฟีอีย์ (หรือสะเปอิง)
อุดมการณ์ ของ ศาสนา อิสลาม มีความหมาย ให้มุสลิม บรรลุ ถึงการ มีชีวิต นิรันดร์ ในปรโลก (อาคีเราะฮ์) แนวทาง ที่จะนำ ไปสู่ จุดหมาย ศาสนา อิสลาม จึงเน้น ในเรื่อง การ ปฏิบัติ ตน ตาม ข้อบัญญัติ ขององค์อัลเลาะฮ์ หรือ คัมภีร์อัล - กุรอาน หาก ผู้ใด ละเว้น ก็จะถือ เป็นบาป หรือ พ้นสภาพ จากการ เป็นมุสลิม
ดร.อารง สุทธาศาสน์ กล่าวถึง ศาสนา อิสลาม ในทัศนะ ของชาว ปัตตานี ว่า "ศาสนา อิสลาม มีลักษณะ แตกต่าง จากศาสนาอื่น อยู่ หลายประการ ประการ ที่สำคัญ คือ เป็นศาสนา ที่มี บทกำหนด ความเชื่อ และ การ ปฏิบัติ ทุกแง่มุม มีคำสอน เกี่ยวกับ วิทยาศาสตร์ ศิลปศาสตร์ จริยศาสตร์ สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ฯ มีคำสอน ทั้งใน ระดับ นโยบาย ทั่วๆ ไป และ ในระดับ การปฏิบัติ ในชีวิต ประจำวัน มีคำสอน เกี่ยวกับ โลกหน้า และโลกนี้ อย่างสมบูรณ์ สรุปแล้ว แทบจะเรียก ได้ว่า ไม่มี พฤติกรรม ใด หรือ แนว ความคิด ใด ของ มนุษย์ ที่จะ พ้น ขอบข่าย ของ ศาสนา อิสลาม"
คำสอน ของ ศาสนา อิสลาม แบ่งออก ได้ ๒ ภาค คือ หลัก ศรัทธา (รุกนอิมาน) และ หลัก ปฏิบัติ (รุกนอิสลาม)
หลักศรัทธา (รุกนอิมาน) มี ๖ ประการ
๑.ศรัทธา ในการมี และ เอกภาพ ของ พระผู้เป็นเจ้า คือ อัลเลาะฮ์ เพียงองค์เดียว ไม่มีสิ่งใดเท่าเทียม
๒.ศรัทธา ในบรรดา มะลาอิกะฮฺ เทวทูต ผู้รับใช้ องค์อัลเลาะฮ์
๓.ศรัทธาในคัมภีร์ (หรืออัล-กุรอาน) ของอัลเลาะฮ์
๔.ศรัทธา ต่อบรรดา รอซูล ขององค์อัลเลาะฮ์ ผู้นำ เอาศาสนา ของพระองค์ มาเผยแพร่ แก่มนุษยโลก
๕.ศรัทธา ในวันสิ้นสุด ของโลกมนุษย์ และ การฟื้นคืนชีพ ของผู้ที่ตายไปแล้ว ว่ามีจริง
๖.ศรัทธา ในกฎ ของอัลเลาะฮ์ ที่กำหนด สภาวะ ความเป็นไป ของมนุษย์ ไว้ว่า ไม่อาจ หลีกเลี่ยง ได้ แต่มนุษย์ มีอิสระ ที่จะเลือก ปฏิบัติ ในสิ่ง ที่ดี และ ชั่ว ได้ตาม สติ ปัญญา ของตน
หลักปฏิบัติ (รุกนอิสลาม มี ๕ ประการ)
๑.ปฏิญาณ ยืนยัน ความศรัทธา ว่า จะเชื่อมั่น ในองค์อัลเลาะฮ์ และ รอซูล ของพระองค์ ไม่มี พระเจ้า อื่นใด
๒.ทำการ ละหมาด แสดง ความภักดี ต่ออัลเลาะฮ์ ด้วยกาย และ จิตใจ อันบริสุทธิ์ วันละ ๕ เวลา
๓.ถือศีลอด ในเดือน รอมฎอน ตั้งแต่ เวลา รุ่งอรุณ ไปจนถึง เวลา ตะวัน ตกดิน และ งดกิน ดื่ม งด การเสพ เมถุน และ หลีกเลี่ยง การทะเลาะ วิวาท การ นินทา กล่าวร้าย
๔.บริจาค ซะกาต (หรือ บริจาคทาน บังคับ) จากผู้มี ทรัพย์สิน ให้แก่ คนยากจน (และ คน ที่มีสิทธิ จะได้รับ ตามที่ กฎหมาย อิสลาม กำหนดไว้)
๕.เดินทาง ไปประกอบ พิธีฮัจญ์ ณ นครเมกกะ ประเทศ ซาอุดิ อารเบีย อย่างน้อย ๑ ครั้ง ในเมื่อมีทรัพย์ และ มีสุขภาพ สมบูรณ์
ศูนย์กลาง การเผยแพร่ ศาสนาอิสลาม บนแหลมไทย - มลายู ซึ่งเป็นที่ ยอมรับ กันทั่วไป คือ มะละกา (ตาม ความเห็น ของ ศาสตราจารย์ ฮอลล์ แต่ เอริเดีย (Eredie) ว่า ปัตตานี และ ปาหัง รับศาสนา อิสลาม ก่อนรัฐ มะละกา สมคิด มณีวงศ์ อ้าง ศิลาจารึก ซึ่งค้นพบ ที่จังหวัด สุโขทัย มีใจความ เกี่ยวกับ คำปฏิญาณ ตน ยอมรับ นับถือ ศาสนา อิสลาม เป็นหลักฐาน ยืนยันว่า ศาสนา อิสลาม แพร่ เข้าสู่ ประเทศไทย ตั้งแต่ สมัย กรุงสุโขทัย เป็นราชธานี (ดู "มุสลิมไทย" ใน สังคมศาสตร์ ปริทัศน์ ปีที่ ๑ ฉบับ ๓ ก.พ.๒๕๐๗) รัฐนี้ เจ้าชาย ปรเมศวร เชื้อสาย ราชวงศ์ ไศเลนทร์ เป็นผู้ สร้างขึ้น ในปี ค.ศ.๑๔๐๓ (พ.ศ.๑๙๔๖) เนื่องมาจาก ทำเล ที่ตั้งเมืองดี สามารถ ควบคุม เรือสินค้า ที่เดินผ่าน ช่องแคบ มะละกา ให้เข้ามา ค้าขาย ในเมืองได้ มะละกา จึงกลายเป็น ศูนย์การค้า ของโลก (สมัยนั้น) เป็นที่ พบปะ แลกเปลี่ยน สินค้า ระหว่าง ประเทศ ตะวันออก กับตะวันตก กล่าวกันว่า ไม่มี สินค้าใด ที่จะ ไม่มี จำหน่าย ในตลาด เมือง มะละกา
ปรเมศวร เป็นกษัตริย์ องค์แรก ของอาณาจักร มะละกา ที่ทรง ยอมเปลี่ยน จากการ นับถือ ศาสนา ฮินดู (ศิวพุทธ) มารับ ศาสนา อิสลาม ในปี ค.ศ.๑๔๑๔ (พ.ศ.๑๙๕๗) และ เปลี่ยน พระนาม เป็น "เมกัตอิสคานเดอร์ชาฮ์" เนื่องจาก พระองค์ ได้อภิเษก สมรส กับ เจ้าหญิง รัฐปาไซ (บนเกาะ สุมาตรา) ที่เป็น มุสลิม
ต่อมา ในสมัย ของสุลต่าน มันสุร์ชาฮ์ ระหว่าง ปี ค.ศ.๑๔๕๙ - ๑๔๗๗ (พ.ศ.๒๐๐๒ - ๒๐๒๐) กองทัพ มะละกา ได้เข้ามา ยึดครอง เมืองปาหัง ตรังกานู กลันตัน และไทรบุรี ซึ่งเป็น เมือง ประเทศราช ของไทย เนื่องจาก สมเด็จ พระบรม ไตรโลกนาถ กำลัง ทำสงคราม ติดพัน อยู่กับ พระเจ้า ติโลกราช แห่งนคร เชียงใหม่ ไม่สามารถ ส่งกองทัพ มาช่วย ป้องกันเมือง เหล่านั้น ไว้ได้ เป็นผล ให้เจ้า ผู้ครอง นครต่างๆ และ พญา อินทิรา ผู้ครองเมือง ปัตตานี ยอมรับ ศาสนา อิสลาม เพื่อโอนอ่อน ผ่อนตาม กษัตริย์ มะละกา
ประวัติ เมืองปัตตานี ว่า พญา อินทิรา มารับ ศาสนา อิสลาม เพราะ ปฏิบัติ ตามสัญญา ที่พระองค์ ให้ไว้ กับนายแพทย์ ชาวเมือง ปาไซ ชื่อ เช็คสะอิด ที่มา รักษา พระองค์ ให้หาย จากโรค ผิวหนัง ประมาณ ปี พ.ศ.๒๐๑๒ ถึงปี พ.ศ.๒๐๕๗ ซึ่งเป็น ระยะ เดียวกับที่ ศาสนา อิสลาม แพร่เข้า ไปสู่ เมืองเกดาห์ ศาสตราจารย์ เบรียญ ฮาร์ริสัน (Brian Harrison) กล่าวว่า "กษัตริย์ เกดาห์ ได้ยอม รับ นับถือ ศาสนา อิสลาม ในปี พ.ศ.๒๐๑๗ (ดู หนังสือ ปัญหา ความขัดแย้ง ใน ๔ จังหวัดภาคใต้ ของ ดร.อารง สุทธาศาสตร์) ศาสนา อิสลาม เข้าสู่ ปัตตานี โดยสายตรง จากพ่อค้า ชาวอาหรับ เป็นผู้ นำเข้ามา หรือผ่าน มาทาง พ่อค้า ชาวอินเดีย อินโดนีเซียนั้น ยังเป็นที่ ถกเถียง กันอยู่ หากพิจารณา จากรูปแบบ พิธี ของศาสนา อิสลาม ในปัตตานี จะเห็นได้ว่า "เป็นแบบอินโด เปอร์เซียน เช่นเดียวกับ ในอินเดีย และ เปอร์เซีย ซึ่งต่าง กับ อิสลาม ในอาระเบีย" (ดูโลกอิสลาม ของ ประจักษ์ ช่วยไล่ หน้า ๒๖๕-๓๖๘) ในแง่ ของ ภาษา จะเห็นได้ว่า ชาวปัตตานี เรียก "ศาสนา" ว่า "อุฆานะ-อุฆามา" ซึ่งเป็นคำ ภาษา สันสกฤต แทนคำว่า "อาดีล" ในภาษา อาหรับ และเรียก การถือ ศีลอด ว่า "บัวซา" แทนคำ "อัส, ซาม์" ฯ จึงเป็น ที่น่า สังเกต ว่า ชาวเมือง ปัตตานี ในอดีต น่าจะ ได้รับ ศาสนา อิสลาม ผ่านทาง มุสลิม อินเดีย และ ชวา สุมาตรา จึงได้ใช้ ภาษา สันสกฤต แทนคำ ใน ภาษา อาหรับ ปะปน อยู่ ในการ เรียกชื่อ ศาสนา และ พิธีกรรม ต่างๆ เช่น เรียก พิธี สุนัต ว่า "มาโซะ ยาวี" (หมายถึง การเข้ารับ ศาสนา อิสลาม ร่วมกับ ชาว ชวา)

บทความชวนอ่าน - ประวัติศาสตร์อาณาจักรลังกาสุกะ (นครปัตตานี) ตอนที่ ๑o

เมืองปัตตานี เจริญ รุ่งเรือง อยู่เพียง หนึ่งศตวรรษ หลังจาก สิ้นราชวงศ์ โกตา มหลิฆัย แล้ว ก็เริ่ม เสื่อมลง สาเหตุ ของความ เสื่อมโทรม สรุป จาก หลักฐาน ที่ชาว ต่างประเทศ บันทึกไว้ จะเห็นได้ว่า เนื่องมาจาก การทำ สงคราม และ เกิดการ จลาจล ขึ้น ภายในเมือง บ่อยครั้ง ดังนี้
ครั้งที่ ๑ จดหมาย ของนายแมร์แทน เฮาท์แมน ลงวันที่ ๒๔ เมษายน ๒๑๕๖ เล่าเรื่อง สงคราม ระหว่าง เมืองปัตตานี กับ นครศรี ธรรมราช ว่า "เรือโอรังคะเช แล่นไปๆ มาๆ ระหว่าง กองเรือ ตาม ชายฝั่ง ทะเล เพื่อ ยึด บรรดา เรือสำเภา ของจีน ซึ่ง เดินทาง ไป นครศรี ธรรมราช และ สงขลา เจ้าเมือง นครศรี ธรรมราช ได้ทราบ เรื่องนี้ และ เตรียม รับมือ ไว้ก่อน อย่าง ไม่ต้อง สงสัย เพราะ เขา ต้องการ หาเรื่อง ทะเลาะ อยู่ เหมือนกัน ดูเหมือน ในที่สุด เขาก็ได้ เมืองปัตตานี เรือสำเภา หลายลำ จากปัตตานี ถูกจับกุม ที่นี่ อย่างเด็ดขาด"
ครั้งที่ ๒ ปี พ.ศ.๒๑๖๑ เมืองปัตตานี ได้ทำ สงคราม กับเจ้าเมือง ยะโฮร์ ปาหัง และบอร์ ทำให้ เรือสินค้า จีน มาค้า เมืองปัตตานี ลดน้อยลง เพราะ ถูกคู่ สงคราม คอยทำการ ปล้นสดมภ์ เรือสินค้า
ครั้งที่ ๓ ปี พ.ศ.๒๒๐๒ สมเด็จ พระนารายณ์ ทรงชักชวน นายยอนรอลินส์ ผู้แทน บริษัท อิสต์อินเดีย ของอังกฤษ ให้มา ค้าขาย ในเมืองไทย โดย พระองค์ ยินดี ยกเมือง ปัตตานี ให้บริษัท จัดทำ เป็นเมือง ป้อมปราการ เช่นเดียวกับ เมือง มัทราช ในอินเดีย แต่เมื่อ อังกฤษ ส่งคน ไปสำรวจ เมือง ปัตตานี พบว่า เมืองปัตตานี กำลังเกิด จลาจล รบพุ่ง กันอยู่ จึงเลิก ความคิด ที่จะ จัดตั้ง เมืองปัตตานี เป็น สถานี การค้า ขึ้นมา ใหม่
ครั้งที่ ๔ จาก รายงาน ของเยอร์ชเดวิส และ จอห์นปอร์ตแมน แห่งเมือง ไทรบุรี ถึง ประธาน และ กรรมการ แห่งเมือง สุรัต ลงวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ค.ศ.๑๖๗๑ (พ.ศ.๒๒๑๓) ว่า "การสงคราม สู้รบ กัน ระหว่าง เจ้าหญิง ปัตตานี กับ เจ้าเมือง สงขลา ยังคง มีอยู่ ต่อไปอีก แม้ว่า ไทรบุรี จะได้ ส่งทูต ไปยัง เมืองทั้งสอง แล้ว เพื่อ ทำการ ไกล่เกลี่ย ปรองดอง กัน" และ อีกฉบับหนึ่ง เป็นของ นายโยซัง เบอร์โรส จากเมือง ไทรบุรี ถึง ประธาน และ กรรมการ แห่งเมือง สุรัต ลงวันที่ ๒๘ ตุลาคม ค.ศ.๑๖๗๔ (พ.ศ.๒๒๑๗) ว่า "เมื่อราว ๙ เดือนมาแล้ว ชาวไทย ได้เมือง ปัตตานี คนใหญ่โต ในเมืองนั้น ได้เสีย ชีวิต ไปมาก ซึ่งเป็น อุปสรรค ขัดขวาง ต่อการค้า ที่นี่ มากมาย" ถึงกระนั้น สงคราม ระหว่าง ปัตตานี กับ สงขลา ก็ยังมี ติดต่อ ยืดเยื้อ กันอีก ต่อไป ดังปรากฏ อยู่ใน จดหมายเหตุ ของ มร.ฟอตส์ มีไปถึง นายฟอร์ด เซนต์ยอร์ช ที่ประจำ อยู่ที่ กรุงศรี อยุธยา ลงวันที่ ๑๘ กันยายน ค.ศ.๑๖๗๘ (พ.ศ.๒๒๒๑) ว่า "การที่ ยังคงมี การสงคราม สู้รบ กันที่ ปัตตานี ต่อไปนั้น ทำลาย ความ ตั้งใจ ตั้งหลักแหล่ง ที่นั่น ของเขา ไปเสียแล้ว"
ครั้งที่ ๕ เกิดกบฏ แย่งชิง กันเป็น เจ้าเมือง ปัตตานี ระหว่าง สุลต่าน ลองนุยุส กับ ดาดู ปะกาลัน เจ้าเมืองสาย ซึ่ง เป็น น้องชาย ของ สุลต่าน ลองยุนุส ประวัติ เมือง ปัตตานี กล่าวว่า "วันศุกร์ ๑๗ ค่ำ เดือนมะหะรัม อิจเราะห์ ๑๑๔๒ (ตรงกับปี พ.ศ.๒๒๖๕ ใน รัชสมัย สมเด็จ พระเจ้า ท้ายสระ ระหว่างปี พ.ศ.๒๒๒๕-๒๒๗๕) สุลต่าน ยุนุส ได้นำ กองทัพ ไปปราบ กบฏ ซึ่งมี ดาดู ปะกาลัน เจ้าเมืองสาย เป็นผู้นำ สุลต่าน ลองยุนุส ได้เสียที แก่ ระตู ปะกาลัน จนถึงกับ เสียชีวิต ในที่รบ" ระตูปุยุด ซึ่งเป็น อนุชา องค์รอง ของ สุลต่าน ลองยุนุส ได้เป็น เจ้าเมือง คนต่อมา และ ได้ย้าย ศูนย์การ ปกครอง เมือง ปัตตานี ไปตั้งอยู่ ที่ตำบล ปุยุด ในปัจจุบัน ซึ่งยังมี ซากกำแพง เมือง ปรากฎอยู่
นอกจาก สาเหตุ แห่งการ ทำสงคราม และ เกิดการ จลาจล ขึ้นใน เมือง ปัตตานี บ่อยครั้งแล้ว บริษัท ดัชอินเดีย ของฮอลันดา ก็ได้ย้าย กิจการ ค้า ของตน ออกไป จากปัตตานี ไปลงทุน ในเมืองมะละกา ซึ่ง ฮอลันดา ยึดมา จาก โปรตุเกส เมื่อปี พ.ศ.๒๑๘๕ และ ยัง ไป ลงทุน ตั้งสถานี การค้า ขึ้นที่ เมือง บันตัม ในเกาะ ชวา การ ยึดครอง เมืองมะละกา ของฮอลันดา สามารถ ทำให้ กองเรือรบ ของตน ควบคุม เส้นทาง เดินเรือ ค้าขาย ในอ่าวไทย ไว้แต่ผู้เดียว ทำให้ เรือสินค้า ชาติต่างๆ มาค้าขาย ที่เมืองปัตตานี ลดลง อีกประการหนึ่ง สินค้า ของป่า ในเมือง ปัตตานี ก็มี จำนวน ลดน้อยลง สู้ตลาด อยุธยา และ หมู่เกาะ ชวา ไม่ได้ พ่อค้า จึงพากัน ไปค้าขาย ที่เมืองท่า อื่นๆ หมด ปัตตานี จึงหมด สภาพ ความเป็น ศูนย์การค้า ตั้งแต่ นั้นมา

บทความชวนอ่าน - ประวัติศาสตร์อาณาจักรลังกาสุกะ (นครปัตตานี) ตอนที่ ๙

เศรษฐกิจเมืองปัตตานี :
สภาพ ทาง ภูมิ ศาสตร์ เมือง ปัตตานี ตั้งอยู่ ที่ เส้น ละติจูด ๐๖-๕๑'-๓๐" และ เส้น ลองติจูด ๑๐๑-๑๕'-๔๐" ทาง ทิศ ใต้ ของเมือง พื้น แผ่นดิน สูง ประกอบด้วย เทือกเขา สันกาลาคีรี อันเป็น ที่เกิด ของ แหล่งน้ำ แล้ว ลาดต่ำ ลงมา จนเกิด เป็น ที่ราบลุ่ม ตาม ชายฝั่ง ทะเล ขึ้นทาง ทิศเหนือ มี แม่น้ำ สำคัญ อยู่ ๒ สาย ได้แก่
แม่น้ำ ตานี ซึ่ง เกิดจาก ยอดน้ำ ระหว่าง ภูเขา ตาปาปาลัง กับ ภูเขาฮันกูส ระหว่าง เขตแดน ประเทศ ไทย กับ ประเทศ มาเลเซีย แม่น้ำนี้ ไหลผ่าน อำเภอ เบตง กิ่ง อำเภอ ธารโต อำเภอ บันนังสตา อำเภอ เมืองยะลา อำเภอ ยะรัง อำเภอ หนองจิก ไปสู่ ปากอ่าว ที่ตำบล สะบารัง อำเภอ เมืองปัตตานี สายหนึ่ง และที่ ตำบล บางตาวา อำเภอ หนองจิก อีกสายหนึ่ง มีความยาว ๑๙๐ กิโลเมตร
แม่น้ำ สายบุรี เกิดจาก ยอดน้ำ ระหว่าง ภูเขา อุลกาโอ กับ ภูเขา ตาโป ระหว่างเขตแดนไทย - มาเลเซีย ในท้องที่ อำเภอ แว้ง จังหวัด นราธิวาส ไหลผ่าน อำเภอ ระแงะ อำเภอ รือเสาะ อำเภอ รามันห์ ลงสู่ ทะเล ในท้องที่ อำเภอ สายบุรี เป็น ระยะทาง ยาว ๑๗๐ กิโลเมตร
แม่น้ำ ทั้งสอง ช่วยพัดพา ดินแดน และ อินทรียวัตถุ มาทับถม พื้น แผ่นดิน สองฟาก แม่น้ำ ที่ไหลผ่าน เป็นระยะ ยาวนาน ทำให้ ผืนแผ่นดิน อุดม ไปด้วย ปุ๋ย อันโอชะ เหมาะ แก่การ ใช้ประโยชน์ ในทาง การ เกษตรกรรม เป็นอย่างดี ประกอบ กับ ที่ตั้ง ของ เมือง อยู่ใน แถบที่ ลม มรสุม พัดผ่าน ไปมา ตลอดปี ทำให้ มีฝน ตกชุก กว่าภาคอื่นๆ จึงทำให้ เมือง ปัตตานี อุดม ไปด้วย พืชผลไม้ นานา ชนิด มีกิน กันตลอดปี ดังที่ มันเดลสโล กล่าวไว้ ว่า "ชาวเมือง ปัตตานี มีผลไม้ กินทุกเดือน เดือนละ หลายๆ ชนิด" ส่วน บริเวณ ที่ราบลุ่ม ใกล้ฝั่ง ทะเล ซึ่งเกิด จากการ ตกตะกอน ของดิน และ โคลน ที่ แม่น้ำ ทั้งสอง พัดมา รวมตัว กันเข้า เมื่อ หลาย พันปี มาแล้ว ได้กลาย สภาพ เป็นที่นา สามารถ เพาะปลูก ข้าว เลี้ยงดู พลเมือง ได้เพียงพอ รองลงมา จากเมืองนครฯ พัทลุง และ สงขลา ดังที่ สมเด็จ กรมพระยา ดำรงฯ ทรง บันทึก ไว้ใน รายงาน การตรวจ ราชการ ว่า "เมืองหนองจิก นาดี หาเมืองใด เปรียบได้" และ เมืองปัตตานี มีท่า เทียบเรือ ที่ดี เนื่องจาก มีแหลมโพธิ์ เป็นที่ กำบัง ลม ทำให้ อ่าว เมืองปัตตานี ปลอดคลื่นลม พายุ ที่ร้ายแรง เหมาะ แก่การใช้ เป็นอู่ ซ่อมแซมเรือ ในคราว จำเป็น และ แวะรับ น้ำจืด และ เสบียง อาหาร ได้ทุก ฤดูกาล
เส้นทางการค้าขาย:
เมืองปัตตานีมีเส้นทางติดต่อค้าขายทั้งทางทะเลและทางบก
ทางทะเล สามารถ ทำการค้า กับพ่อค้า ได้ทั้ง ๒ ฟากสมุทร คือ อ่าวไทย และ ทะเล อันดามัน ทางทะเล อันดามัน มีเมือง เกดาห์ (ไทรบุรี) เป็น ศูนย์กลาง เชื่อว่า เส้นทาง สายนี้ เป็นเส้นทาง ที่เมือง ปัตตานี ติดต่อ กับ ชาวอินเดีย และ อาหรับ เปอร์เซีย ใน ระยะ แรก ของ การ เดินเรือ ของ ชาว ต่างประเทศ ที่ เดินทาง มาค้าขาย ใน แหลมมลายู และ หมู่เกาะ ชวา ซึ่ง เป็นระยะ ที่ชาวเรือ ยังขาด ความรู้ ความชำนาญ ในการ ต่อเรือ สินค้า ขนาดใหญ่ และ ไม่มีความรู้ ในการ ใช้เข็มทิศ และ แผนที่ เดินเรือ อาศัย เรือ ขนาดเล็ก เดินเลียบฝั่ง มหาสมุทร อินเดีย ลัดเลาะ มาตาม ชายฝั่ง สู่ ท่าเรือ น้อยใหญ่ เข้าสู่ เมือง ไทรบุรี ทางฝั่ง ตะวันตก ของ แหลม มลายู แล้ว เดินทางบก ข้ามฟาก มาสู่เมือง ปัตตานี
ดัง ปรากฏ หลักฐาน อยู่ใน ตำนาน เมืองไทรบุรี - ปัตตานี เรื่อง มารงมหาวังสา กล่าวถึง เส้นทาง การ เดินทาง จาก เมืองโรม มา ตั้งเมือง ลังกาสุกะ หรือ เกดาห์ ว่า ได้แล่นเรือ จาก เมือง โรม ใน อินเดีย (อาจ เป็นเมือง โรมวิสัย ในอินเดีย หรือ เมืองคอนยา ดู โลก อิสลาม ของ ประจักษ์ ช่วยไล่ หน้า ๑๕๗) เลียบฝั่ง ทะเล ผ่าน ท่าเรือ เมือง ต่อไปนี้ ตามลำดับ คือ
ปากน้ำจังกง (คือเมืองจิตตกองในพม่า)
ปากน้ำตาไว (เมืองทวาย)
ปากน้ำปาริท (เมืองมฤท)
ปากน้ำซาลัง (เมืองถลาง จังหวัดภูเก็ต)
เกาะลังกาบุรี (อยู่ในจังหวัดสตูล)
เกาะสรี (อยู่ในเมืองเกดาห์)
เส้นทางบก ติดต่อ กับเมือง ไทรบุรี โดย ช้าง เป็น พาหนะ ในการ ลำเลียง สินค้า ซึ่งเพิ่ง จะเลิกใช้ กันใน ปลายรัชสมัย ของ พระบาท สมเด็จ พระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว เนื่องจาก เกิด เส้นทาง ใหม่ ที่ สะดวก รวดเร็ว และ ปลอดภัย กว่า คือ ทางรถไฟ ดัง ปรากฏ อยู่ใน บทขับร้อง ของ ชาว ชนบท ป่าบอน อำเภอ โคกโพธิ์ บทหนึ่งว่า
"หยับโหยงกะโท้งไม้รั้ว (หยับโหยง - การเล่นกระดานหก)
ผัวเล่นเบี้ยเมียเล่นไก่
ผัวไปไทร เมียไปตาหนี
หนามเกี่ยว...หลบหนีไม่ทัน"
เส้นทางบก ที่ใช้กัน ในอดีต มีอยู่ ๒ เส้นทาง ซึ่ง ยังคง ร่องรอย ซาก ปรัก หักพัง ของ โบราณสถาน และ หมู่บ้านเก่าๆ เป็น หลักฐาน แสดง ที่ตั้ง ชุมชน ครั้ง โบราณ ปรากฏ อยู่
เส้นทางที่ ๑ จาก อำเภอเมือง ปัตตานี - สู่ อำเภอ ยะรัง - บ้าน ยาปี โคกหมัก ปรักปรือ อำเภอ หนองจิก สู่บ้านแม่กัง บ้านยางแดง อำเภอ โคกโพธิ์ (เดิมเรียก อำเภอ เมืองเก่า) ผ่านช่องเขา บ้านนาค้อ เข้าบ้านป่าลาม ป่าบอน ที่บริเวณ หมู่บ้านนี้ พบขวานหิน ๑๐ เล่ม เบ้าดิน สำหรับ หล่อทองดำ และ พระพุทธรูป พระโพธิสัตว์ อวโลกิเตศวร สำริด และ เศษถ้วยชาม เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ ยังได้พบ เหรียญทองแดง ขนาด ๔.๕ ซ.ม. เป็นเหรียญ ของจีน สมัย พระเจ้า เจิ้นเต๋อ ระหว่าง ปี พ.ศ.๒๐๔๙ อีกด้วย แสดงว่า เคยเป็น ที่ตั้ง ชุมชน มาแต่ โบราณ ซึ่งตรง กับ ตำนาน เมืองไทรบุรี - ปัตตานี ที่กล่าว ว่า ธิดา เจ้าเมือง ไทรบุรี เสี่ยงช้าง ชื่อ พรหมศักดิ์ มาตั้งเมือง ขึ้นชั่วคราว ที่บ้าน ช้างไห้ (ตก) จากนั้น ก็ข้าม ช่องเขา สันกาลาคีรี เข้าสู่ บ้านควน หินกอง ในเขต อำเภอ สะบ้าย้อย บ้านคูหา ถ้ำหลอด และ สวนชาม สู่เมือง ไทรบุรี
เส้นทางที่ ๒ จาก อำเภอเมือง ปัตตานี - อำเภอยะรัง บ้านวังตระ อำเภอ เมืองยะลา บ้านนาประดู่ อำเภอ โคกโพธิ์ สู่ อำเภอ ยะหา จังหวัดยะลา ผ่าน ช่องเขา ดือบู (ภูขี้เถ้า) ซึ่งเดิม เป็นที่ตั้ง ด่านภาษี ของเมือง ยะลา จากนั้น ก็เดินทาง เข้าสู่ เขตแดน เมืองไทรบุรี
เส้นทางน้ำ ทางฝั่งอ่าวไทย มีการ ติดต่อ ค้าขาย กับเมืองท่า ในบริเวณ อ่าวไทย มีสงขลา นครศรี ธรรมราช อยุธยา กลันตัน ตรังกานู ปาหัง ยะโฮร์ และ มะละกา ตลอด ไปถึง เกาะสุมาตรา มีเมือง ปาไซ เมืองอัจแจ เมืองเซียะ เมืองปาเล็มบัง เมืองมานังกาเบา
สินค้าที่เกิดในท้องถิ่น มี :
เกลือ ดีบุก ทองคำ (จาก บริเวณ เหมือง ในอำเภอ โต๊ะโมะ จังหวัด นราธิวาส และ บริเวณ ต้นน้ำ สายบุรี)
ของป่า ไม้ฝาง กรักขี ไม้มะเกลือ ซาราเซะ (ไม้ตะกูล กะเพรา) เขา และ หนังสัตว์ นอแรด หวาย ไม้เนื้อแข็ง พริกไทย ครั่ง และกำยาน
อาหาร ข้าว เนื้อสัตว์ และปลาเค็ม น้ำมันมะพร้าว ผักและผลไม้
สินค้า หัตถกรรม พื้นบ้าน ที่มีชื่อเสียง ได้แก่ ผ้าจวนตานี ผ้ายกตานี น้ำมันตานี
สินค้า ต่างประเทศ ที่สำคัญ ซึ่ง พ่อค้า นำเข้ามา จำหน่าย ในตลาด เมืองปัตตานี สมัย กรุงศรีอยุธยา ตามที่ ปรากฏอยู่ ในเอกสาร ของชาว ฮอลันดา มี แพร ไหม ถ้วยชาม - จากจีน ทองแดง - จากญี่ปุ่น ของพ่อค้า ชาวเกาะ ริวกิว (เกาะโอกินาวา) ปืนใหญ่ - จากยุโรป ผ้าแพรพรรณ - จากเปอร์เซีย อินเดีย เช่น ผ้าอัตตลัด เข็มขาบ โหมดตาด ยามตานี ผ้ายกเงิน ผ้ายกทอง น้ำหอม
เหตุที่ทำให้เมืองปัตตานีเป็นศูนย์การค้า (ในศตวรรษที่ ๒๑-๒๒) :
๑.เมืองมะละกา ซึ่งเป็น ศูนย์การค้า ระหว่าง ซีกโลก ตะวันตก กับ ซีกโลก ตะวันออก สลายตัวลง เนื่องจาก ถูกชาติ โปรตุเกส เข้ายึดครอง เป็นเหตุ ให้พ่อค้า ชาวมุสลิม และ ชาวอินเดีย เปอร์เซีย อาหรับ และ พ่อค้า ชาวจีน ญี่ปุ่น ไม่พอใจ ในนโยบาย การค้า ของ โปรตุเกส จึงพากัน มาตั้ง สถานี การค้า ของตน ขึ้นใน เมืองปัตตานี
๒.ระหว่างปี พ.ศ.๒๑๑๒-๒๑๔๐ กรุงศรี อยุธยา ซึ่งเป็น ศูนย์การค้า ที่ยิ่งใหญ่ แห่งหนึ่ง ในเอเซีย ตะวันออก เฉียงใต้ ต้อง หยุดชะงัก ลง เพราะ ไทย สูญเสีย อิสรภาพ แก่พม่า บ้านเมือง ตกอยู่ใน สภาวะ ระส่ำ ระสาย ผู้คน แตก กระจัด กระจาย กันไป ตามหัวเมือง ต่างๆ พ่อค้า ชาวจีน ญี่ปุ่น จึงมาใช้ ท่าเรือ เมืองปัตตานี มากขึ้น และ สินค้า ชาวจีน เป็นที่ ต้องการ ของชาว ยุโรป โดยเฉพาะ เครื่องถ้วย ชนิดดี และ สินค้า จำพวก แพร และ ไหมอันมีชื่อเสียง ของจีน เมือง ปัตตานี จึงกลายเป็น ศูนย์การค้า ในบริเวณ อ่าวไทย ขึ้นมา อย่างรวดเร็ว จนพ่อค้า ให้สมญานาม เมืองปัตตานีใ นขณะนั้น ว่า
"เป็นเมือง ศูนย์การค้า แพร ไหม รองจาก เมืองกวางตุ้ง" และ "เป็นเมืองท่า สองพี่น้อง กับเมือง ฮิราโดะ" ของญี่ปุ่น (ความ สัมพันธ์ ในระบบ บรรณาการ ระหว่าง จีนกับไทย หน้า ๑๒๘ และ หน้า ๑๓๔ ของ สืบแสง พรหมบุญ)
๓.นางพญา ปัตตานี มีความ ปรีชา สามารถ ในการ ปกครอง การจูงใจ พ่อค้า พาณิชย์ เป็นอย่างดี เช่น พระราชทาน เงิน ให้พ่อค้า ชาวอังกฤษ และ ชาวฮอลันด ากู้ยืมเงิน เพื่อนำไป ซื้อสินค้า ให้แก่ บริษัท ของตน ในยาม ขาดแคลน เงินลงทุน ดังปรากฏ หลักฐาน อยู่ใน จดหมายเหตุ นายคอร์ลิสฟอนนิวรุท ความว่า "ข้าพเจ้า นำเงิน ที่ขอยืม มาจาก นางพญา ปัตตานี (บีรู) ไปซื้อสินค้า ไว้มากพอ ทีเดียว คือ ซื้อไหมดิบ งามๆ ๒๖ หาบ น้ำตาล ๘๐ หาบ ขิงดอง ๑๖ หม้อ และ เครื่องปั้น ดินเผา" (ดู หนังสือ เอกสาร ของ ฮอลันดา สมัย กรุงศรี อยุธยา หน้า ๘๓ ของนันทนา สุตกุล) และ พระนาง สามารถ ให้ความ คุ้มครอง แก่บรรดา พ่อค้า ที่เข้ามา ค้าขาย เมื่อประสพภัย เช่น ในปี พ.ศ.๒๑๖๑ ชาว ฮอลันดา เกิดรบ กับ ชาวอังกฤษ ที่เข้ามา ค้าขาย อยู่ในเมือง ปัตตานี ชาวอังกฤษ ซึ่งมี กำลัง น้อยกว่า ถูกพวก ฮอลันดา ฆ่า และ จับ เป็นเชลย ที่เหลือรอด มาได้ ก็แต่พวก หลบหนี เข้าไป ขอ ความคุ้มครอง จากเจ้าหญิง บีรู เท่านั้น ในการ รบกัน ครั้งนี้ ชาวอังกฤษ ได้เสีย เรือรบ ไป ๒ ลำ คือเรือ "แซมป์สัน" และ เรือ "เฮาวน์" ถูกกองเรือ ฮอลันดา ยิงล่ม จมลง ในอ่าว หน้าเมือง ปัตตานี
๔.เกิด โจรสลัด ขึ้นใน ช่องแคบ มะละกา ชุกชุม จนพ่อค้า ตะวันออกกลาง และ อินเดีย ไม่กล้า เสี่ยง นำ เรือสินค้า ผ่าน ช่องแคบ มะละกา ดังเช่น สมัยก่อน มาใช้ เมืองมะริท เมืองตะนาวศรี เป็นเมืองท่า ขนสินค้า ทางบก ผ่านมายัง เมืองกุยบุรี เพชรบุรี แล้วบรรทุก เรือ ไปสู่ อยุธยา และ ปัตตานี
๕.มีการ ระดมทุน ของชาวยุโรป เพื่อมาตั้ง สถานี การค้า ขึ้นที่ เมืองปัตตานี เป็นจำนวนมาก ฝรั่ง ชาติแรก ที่เข้ามา ตั้ง หลักแหล่ง ทำการค้า ขึ้นใน เมืองปัตตานี เป็นชาว โปรตุเกส ชื่อ มานูเอลฟัลเซา เมื่อ ปี พ.ศ.๒๐๕๙
ต่อมา ในปี พ.ศ.๒๑๔๕ ชาว ฮอลันดา ก็ได้ตั้ง บริษัท ดัชอิสต์ อินเดีย ขึ้น และได้ ส่ง นายดาเนียล วันเคอร์เลค มาเปิดห้าง ทำการค้า ขึ้นที่ เมืองปัตตานี ในปี พ.ศ.๒๑๔๗ และ ปี พ.ศ.๒๑๕๕ บริษัท อิสต์อินเดีย ของอังกฤษ ก็ได้ส่ง นายปีเตอร์ ฟลอริส เข้ามาตั้ง สถานี การค้า ขึ้นที่ ปัตตานี อีก เป็นชาติที่สาม แต่ การค้า ของ อังกฤษ ในปัตตานี ไม่ประสพ ความสำเร็จ เท่าที่ควร จึงได้เลิก กิจการ ไปในปี พ.ศ.๒๑๘๕ เพื่อ ทุ่มเท ทุนทรัพย์ นำไป ลงทุน ในเมือง มะลากา ปีนัง และ สิงคโปร์ ซึ่ง ต่อมา อังกฤษ ก็ได้ยึด เอาเมือง เหล่านั้น ไว้เป็น อาณานิคม ของตน
นอกจาก บริษัท การค้า ของชาวยุโรป ดังกล่าวแล้ว ชาวจีน และ ญี่ปุ่น ก็มาตั้ง ห้างร้าน ของตน ขึ้นใน เมืองปัตตานี ก่อนที่ ชาวยุโรป จะเข้ามา เสียอีก ชาวจีนนั้น นอกจาก จะเข้ามา ทำการ ค้าขาย แล้ว ยังได้มา ตั้งรกราก มีบุตร ภรรยา กับชาวเมือง ปัตตานี เป็นจำนวนมาก J. Anderson กล่าวว่า ภายใน ตัวเมือง ปัตตานี มีชาวจีน อาศัยอยู่ มากกว่า ชาวพื้นเมือง (ดู หนังสือ ความสัมพันธ์ ในระบบ บรรณาการ ระหว่าง จีน กับ ไทย หน้า ๑๓๔ ของ สืบแสง พรหมบุญ)