วันศุกร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2554

บทความชวนอ่าน - ค้นหาต้นกำเนิดคำ " สยาม / SIAM "

ค้นหาต้นกำเนิดคำ  " สยาม / SIAM "
โดย ไมเคิล ไรท


(แผนที่ราชอาณาจักรสยาม [carte de royaume de siam] เขียนโดย บาทหลวง ปลาซิด เดอ แซงต์ เอแลน นักบวชชาวฝรั่งเศส พิมพ์ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในปี พ.ศ. ๒๒๒๙)

กำเนิดปัญหา

     คำว่า siam เป็นปริศนาครั้งแรก ในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๗ เมื่อข้าราชการกรุงศรีอยุธยาสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช บอกราชฑูตฝรั่งเศสว่า "ไม่รู้จักคำสยาม" ในหนังสือ The Kingdom of Siam ราชฑูต La Loubere บันทึกว่า "The name Siam is unknown to the Siamese. Tis one of those words which the Portuguese of the Indies do use , and of which it is very difficult to discover the original".
     แต่ข้อความนี้ไม่น่าเชื่อเพราะในต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๑๖ ท่านรัตนปัญญา ชาวเชียงใหม่ แต่งตำนานภาษาบาลี "ชินกาลมาลีปกรณ์" มีความตอนหนึ่งเรียกลุ่มน้ำเจ้าพระยาว่า "สยามเทส" เราจะเชื่อได้หรือว่าท่านรจนาผิดเพี้ยนไม่รู้ข้อเท็จจริง?
     แต่ปัญหาคำสยามเกิดเป็นเรื่องหนักจริงในยุคจอมพลแปลก พิบูลสงคราม ที่ท่านออกกฎหมายลบล้างคำ "สยาม" เปลี่ยนชื่อประเทศเป็น "ไทย" ทั้งนี้โดยมองข้ามว่าตั้งแต่รัชกาลที่ ๔ (ที่กษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยในเอกสารเป็นครั้งแรก) ท่านใช้ Rex Siamensis (ละติน) และ สยามินทร์ (สันสกฤต) จะว่าท่านทรงเพ้อฝันขึ้นมาหรือ?
     อย่าลืมว่าตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๓ สนทรภู่ให้พระอภัยมณีมีจดหมายถึงนางละเวง "ในสาราว่าพระองค์ทรงสวัสดิ์ สืบกษัตริย์ศาสนาภาษาสยาม" (จากฉบับหอสมุดแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๑๕,น.๕๗๑)
     ว่าโดยสรุปเบื้องต้นคำว่าสยามย่อมมีที่มาดีๆ ไม่น่าเป็นคำใหม่ที่อุปโลกน์ขึ้นมาจากความว่างเปล่า อย่างไรก็ตามเราคว้าน้ำเหลวมานาน เพราะ
     ๑. บางท่านพยามผูกคำนี้เป็นคำสันสกฤต เช่น "ศยาม" ที่แปลว่าดำ แล้วให้ผูกพันกับพระนางกาลีหรือพระกฤษณะที่ต่างมีพรรณดำมืด ผมเคยหลงทางนี้มาแล้ว
     ๒. บางท่านผูกใจกับภาษาไทย จึงพยายามให้คำสยาม เกิดจากคำ "เสียม" (เครื่องขุดดิน) โดยสมมติว่าชาติไทยเป็นผู้ผลิตเหล็กและเครื่องขุดไถดินเป็นชาติแรก
     คำอธิบายทั้งสองนี้ล้มเหลวในเมื่อนำมาเทียบกับข้อมูลสมัยใหม่ ผมจึงหาคำอธิบายแนวใหม่ เป็นไปได้ไหมว่าคำ สยาม / เสียม / เซียน ฯลฯ กร่อนลงมาจากคำ "สุวรรณ (ภูมิ)"?

123456789

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น