ก่อนที่ วัฒนธรรม อินเดีย จีน อาหรับ จะเข้ามา มีบทบาท ในสังคม ของชาวเอเซีย ตะวันออก เฉียงใต้ ผู้คน ในดินแดน แถบนี้ มีจารีต ประเพณี ความเชื่อถือ เป็นของ ตน อยู่ก่อนแล้ว คือ ลัทธิ นับถือ ภูตผี มีความเชื่อว่า ทุกสิ่ง ที่มีชีวิต และ ไม่มี ชีวิต ได้แก่ ภูเขา ทะเล สิงห์สา ราสัตว์ ต้นไม้ มีความศักดิ์สิทธิ์ (Keranmat) สิงห์สถิตย์ อยู่เช่นเดียวกับ วิญญาณ บรรพบุรุษ หรือ บุคคล สามารถ ให้คุณ และ โทษ แก่มนุษย์ได้ มีหัวหน้าเผ่า เป็นผู้ปกครอง มี ระเบียบ และ กฎเกณฑ์ สำหรับ ใช้ เพื่อ ควบคุม ความประพฤติ ความเป็นอยู่ของชุมชน มีความรู้ ความสามารถ ในการ ทำเครื่องมือ เครื่องใช้ ในการ ดำรง ชีวิต ของตน ดีพอสมควร ดังที่ จะเห็น ได้จาก โบราณ วัตถุ ที่ขุดพบ ตามภูมิภาคต่างๆ ซึ่ง นักโบราณคดี ทำการ วิจัย หา อายุ สมัย ของ โบราณ วัตถุ เหล่านั้น มีอายุ ไม่ต่ำกว่า ๑,๐๐๐ ปี
ต่อมา มีการ ไปมา หาสู่ กับผู้คน ภายนอก เชื่อกันว่า คนพวกแรก ที่นำเอา วัฒนธรรม และ ศาสนา เข้ามา สู่ดินแดน สุวรรณภูมิ ได้แก่ ชาวภารตะ หรือ ชมภูทวีป (อินเดีย) ซึ่ง มีเรื่อง กล่าวไว้ ในวรรณคดี ทางพุทธศาสนา ได้แก่เรื่อง สังขชาดก และ มหาชนก ชาดก ว่า ได้แต่ง สำเภา เดินทาง มาค้าขาย ใน สุวรรณ ภูมิ ทวีป ซึ่ง หมายถึง ดินแดน ในแถบ เอเซีย ตะวันออก เฉียงใต้ รวมทั้ง แหลมไทย มลายู เมื่อ ๒,๐๐๐ ปี มา แล้ว ด้าน ศาสนาฮินดู (พราหมณ์) ก็ปรากฏ วรรณคดี ที่เกี่ยวกับ ศาสนานี้ แพร่หลาย เป็นที่ นิยม ของชนชาติ ต่างๆ ในแถบนี้ ได้แก่ กาพย์ รามายณะ และ คัมภีร์ ปุราณะ
จดหมายเหตุ ชาวจีน สมัย ราชวงศ์ เหลียงกล่าวว่า "ในประเทศตันซุน มีพวกฮู (พ่อค้า) มาจากอินเดียกว่า ๕๐๐ ครอบครัว มีฮุตโต (พระภิกษุ) ๒ รูป และ พวกพราหมณ์กว่า ๑,๐๐๐ คน มาจาก อินเดีย พวก ราษฎร ชาวตันซุน นับถือ ศาสนา ของชาวอินเดีย และ ยกบุตรสาว ให้แต่งงาน กับ พวกพราหมณ์ พวกพราหมณ์ จึงตั้ง รกราก อาศัยอยู่ ในเมืองนี้"
ศาสตราจารย์ เซเดส์ว่า "พวกพราหมณ์ นั่นเอง เป็นผู้นำ จารีต ของ อินเดีย เข้ามา ตามคำ เรียกร้อง ของพวก หัวหน้า พื้นเมือง ในลักษณะ ค่อย แทรกซึม เข้าไป มี อิทธิพล ในสังคม ของ ชาว เอเซีย ตะวันออก เฉียงใต้ ผสม ผสาน กับ ขนบ ธรรมเนียม ดั้งเดิม จนกลายเป็น เอกลักษณ์ เฉพาะ ของ แต่ละ ท้องถิ่น ไปใน ที่สุด
ร่องรอย ทาง โบราณ คดี ที่บ่งบอก ถึงต้นกำเนิด โบราณวัตถุ ว่า มาจาก อินเดีย หรือ ได้รับ อิทธิพล จาก ศาสนาพราหมณ์ ที่เก่า ที่สุด ที่พบ บนแหลมไทย - มลายู ได้แก่ เทวรูป พระวิษณุ ซึ่งพบ ที่วัด ศาลาทึง อำเภอไชยา จังหวัด สุราษฎร์ ธานี บริเวณ จังหวัดนี้ นัก โบราณ คดี สันนิษฐาน ว่า เป็นที่ตั้ง ของรัฐ ตันซุน ที่กล่าวแล้ว ประมาณ อายุ ของ เทวรูป พระวิษณุ องค์นี้ ตกราว ปี พุทธ ศักราช ๗๐๐ ถึง ๘๐๐
ส่วน อาณาบริเวณ ที่เชื่อกันว่า เคยเป็น ที่ตั้งเมือง ลังกาสุกะ เมือง โกตา มหลิฆัย จนกระทั่ง มีการ แปรเปลี่ยน สภาพ มาเป็นเมือง ปัตตานี ในปัจจุบัน พบโบราณวัตถุ อันเนื่อง ใน ศาสนา พราหมณ์ และ ศาสนาพุทธ ได้แก่ ศิวะลึงค์ และ โยนีโธรณะ ในท้องที่ อำเภอ ยะรัง ยะหริ่ง จังหวัด ปัตตานี เทวรูป ปาง แสดง ธรรม เทศนา สัมฤทธิ์ ครอง อุตราสงฆ์ ห่มเฉียง จีบเป็นริ้ว ที่เรียก กันว่า พระพุทธรูป สมัย อมรวดี ที่ อำเภอ สุไหงโก-ลก จังหวัด นราธิวาส พระพุทธรูป ศิลา ปาง ประทาน พรพระ ธรรมจักร ซึ่ง แกะสลัก จากหินทราย และ สถูป จำลอง ดินเผา ที่มี ลวดลาย ศิลป ในการสร้าง คล้ายคลึง กับ ศิลป สมัย คุปตะ ปาละ และ ศรีวิชัย ที่ตำบลวัด ตำบลยะรัง จังหวัด ปัตตานี และ ซาก ปรัก หักพัง ของสถูป เป็นจำนวนมาก
ที่จังหวัด ยะลา บริเวณ วัดคูหา ภิมุข ถ้ำศิลป์ ถ้ำกำปั่น และ ถ้ำใกล้เคียง พบ พระพิมพ์ ดินดิบ พระพุทธรูป โลหะ ในรูปแบบ สมัย ต่างๆ ตั้งแต่ สมัย คุปตะ ปาละ และ ศรีวิชัย เช่นเดียวกับ ที่ จังหวัด ปัตตานี ศิลป วัตถุ ใน ศาสนาพราหมณ์ และ ศาสนาพุทธ ที่หลงเหลือ อยู่ เหล่านี้ เป็ นประจักษ์ พยาน แสดงถึง การที่ ศาสนา พราหมณ์ และ ศาสนาพุทธ เข้ามา ฝังรกราก อยู่ใน สังคม ของ ชาวเมือง ปัตตานี ในอดีต ประมาณ กาลเวลา โดยอาศัย จดหมายเหตุ ของชาวจีน และ การตีความ จากรูปแบบ ศิลปวัตถุ ประมาณ ๘๐๐ ถึง ๑,๐๐๐ ปีมาแล้ว
ศาสนาอิสลามเข้าสู่ภาคใต้
ศาสนา อิสลาม มีกำเนิด บน คาบสมุทร อาระเบีย เมื่อปี ค.ศ.๖๒๒ (พ.ศ.๑๑๖๕) ที่เมือง เมกกะ ในสมัย ที่ พระศาสดา นบี มูฮัมมัด ศ็อลฯ ยังมี พระชนม์ชีพ อยู่ มีศูนย์กลาง อยู่ ณ นคร เมดินา ต้น คริสศตวรรษ ที่ ๘ ได้แพร่ เข้าสู่ ประเทศ อินเดีย โดย การนำ ของ มูฮัมมัด อิบน์ อัลกาซิม แม่ทัพ ของกษัตริย์ อับดุล มาลิค กาหลิบ ราชวงศ์ โอเมยาด แห่ง นคร ดามัสคัส ทำให้เกิด รัฐ อิสลาม แห่งแรก ขึ้นใน บริเวณ ลุ่มแม่น้ำ สินธุ
ค.ศ.๙๙๘ (พ.ศ.๑๕๔๑) สุลต่าน มามุด แห่งราชวงศ์ กาซนี ประเทศ อาฟกานิสถาน ได้นำ ศาสนา อิสลาม เข้ามา ยังแคว้น ปันจาบ มีศูนย์กลาง ปกครอง อยู่ที่เมือง ละฮอร์
ต่อมา กษัตริย์ ราชวงศ์ นี้ สูญเสีย อำนาจ ให้แก่ ราชวงศ์ กอรี เชื้อสาย เตอร์ค ในปี ค.ศ.๑๑๗๓ (พ.ศ.๑๗๑๖) ครั้นถึงปี ค.ศ.๑๑๙๒ (พ.ศ.๑๗๓๕) กองทัพ กษัตริย์ โมฮัมหมัด กอรี ได้ชัยชนะ ต่อชาว ฮินดู เป็นผล ให้อำนาจ การปกครอง ของราชวงศ์ กอรี แผ่ ปกคลุม ไปทั่วบ ริเวณ อ่าวเบงคอล พร้อมกับ การขยายตัว ของ ศาสนา อิสลาม เข้าสู่ พื้นที่ ดังกล่าว
ที่แคว้น กุจะราท เมือง เคมเบย์ ประเทศ อินเดีย ซึ่งเป็น ศูนย์การค้า ระหว่าง อินเดีย เปอร์เซีย อาหรับ ติดต่อ กับ จีน และ ประเทศ ในแถบ เอเซีย ตะวันออก เฉียงใต้ มาก่อน ที่พวก มุสลิม จะเดินทาง มาถึง เมื่อ ดินแดน แห่งนี้ ตกมาอยู่ ในความ ครอบครอง ของ กษัตริย์ มุสลิม แล้ว จึงเป็นฐาน สำหรับ ศาสนา อิสลาม เดินทาง ไปสู่ ประเทศ อินโดนีเซีย และ แหลมไทย - มลายู ในขั้น ต่อมา
เมื่อปี ค.ศ.๑๒๙๒ (พ.ศ.๑๘๓๕) มาร์โคโปโล เดินทาง จาก ประเทศจีน กลับ ยุโรป มาแวะ ที่เกาะ สุมาตรา เขา ได้บันทึก ไว้ใน รายงาน การเดินทาง ของเขา ว่า ที่เมือง เปอร์ลัค มีพ่อค้า นับถือ ศาสนา อิสลาม เข้ามา ค้าขาย อยู่เป็น อันมาก จากเมืองเปอร์ลัค เขาเดินทาง ไปพัก อยู่ทาง ตอนเหนือ ของเกาะ คือ เมือง สมุท เป็นเวลา ๕ เดือน เนื่องจาก เป็นฤดู มรสุม ขณะที่ เขาพัก อยู่นั้น ชาวเมือง สมุท ยังไม่ได้ เป็น มุสลิม
หลักฐาน การยอมรับ นับถือ ศาสนา อิสลาม ของชาวเกาะ สุมาตรา ปรากฏ อยู่บนหิน เหนือหลุมศพ ของสุลต่าน มาลิค อัลซาเลห์ ที่เข้ารีต เป็นอิสลาม จารึก แผ่นนี้ บอกปี ค.ศ.๑๒๙๗ (พ.ศ.๑๘๔๐) หลังจาก มาร์โคโปโล ออกจาก เมืองนี้ ไปเพียง ๕ ปี
ชาว มอรอคโค ชื่อ อิบน์บาตูตา ซึ่งเดินทาง ไปมา ระหว่าง ประเทศ อินเดีย กับ จีน ในปี ค.ศ.๑๓๔๕ - ค.ศ.๑๓๔๖ ก็ได้ บันทึก ไว้ว่า สุลต่าน แห่งรัฐ สมุท บนเกาะ สุมาตรา นับถือ ศาสนา อิสลาม ตามแบบ ฉบับ ของ อิมานซา ฤาอีย์ (Sufi) (หรือ นิกาย ซาฟีอีย์) แต่ ดินแดน ใกล้เคียง ยังคง นับถือ ศาสนา อื่นอยู่
ศาสนา อิสลาม เป็นศาสนา ที่สำคัญ ศาสนาหนึ่ง ของโลก มีผู้ นับถือ ไม่น้อยกว่า ๘๐๐ ล้านคน ทาง นิรุกติศาสตร์ "อิสลาม" มีความหมาย ตรงกับ คำว่า ศานติ ความปลอดภัย ความสงบสุข เราเรียก ศาสนิก ของ ศาสนา อิสลาม ที่เป็นชายว่า "สุลิมีน" และ เรียก เพศหญิง ว่า "มุสลิหมะ" เรียก ศาสนิกชน ทั่วไป ว่า "มุสลิม"
ศาสนา อิสลาม มีลักษณะ เป็นเอก เทวนิยม คือ นับถือ พระอัลเลาะฮ์ เพียงองค์เดียว และ มีความเชื่อ ว่า สรรพสิ่ง ในโลกนี้ พระอัลเลาะฮ์ เป็นผู้สร้าง และ ทรง ประทาน โองการ คือ บทบัญญัติ การถือ ปฏิบัติ และ การ ละเว้น ปฏิบัติต่างๆ แก่ชาวโลก ผ่านทาง รอซูล ของพระองค์ มี พระนาบี อาดัม เป็นองค์แรก และ องค์สุดท้าย นาบีมุฮัมมัด รวม ๒๕ พระองค์ จึงครบ บริบูรณ์
ต่อมา สาวก ของ พระนาบี มุฮัมมัด ไ ด้รวบรวม บทบัญญัติ หรือ โองการ ที่พระอัลเลาะห์ ประทาน ให้แก่ รอซูล ในที่ต่างๆ มารวบรวม เป็นคัมภีร์อัล - กุรอาน ซึ่ง เปรียบเทียบ ประหนึ่ง ธรรมนูญ การปกครอง การ ดำเนิน วิถี ชีวิต ของ มุสลิม ควบคู่ ไปกับ พระโอวาท และ จริยวัตร ของท่าน นบี มูฮัมมัด ซึ่งได้ มีผู้ บันทึกไว้ เรียกว่า "หะดิษ" (พระวจะ หรือ โอวาท ของ พระนาบี มุฮัมมัด) และ "ซุนนะ" (จริยวัตร ปฏิบัติ ของ พระนาบี มุฮัมมัด) เพื่อใช ้เป็นแบบอย่าง ในการ ดำเนิน ชีวิต ของ ศาสนิกชน
ในกาล ต่อมา "อิมาน" (ผู้นำ ในการ ประกอบ พิธีกรรม ศาสนา) ได้มี การ วินิจฉัย ตีความ เกี่ยวกับ วัตร ปฏิบัติ ในส่วนย่อย แตกต่าง กันตาม ความคิดเห็น ของตน จึงเกิด การปฏิบัติ ตามอย่าง อิมาน ผู้เป็น ต้นคิด นั้นๆ เช่น ของ อิมาน ต่อไปนี้
อิมานซะฟีอีย์ (เรียกว่า นิกายซะฟีอีย์)
อิมานมาลีกี (เรียกว่า นิกายมาลิกี)
อิมานหะนาฟีย์ (เรียกว่า นิกายหะนาฟีย์)
อิมานฮัมบาลี (เรียกว่า นิกายฮัมบาลี)
มุสลิม ในภาคใต้ ส่วนใหญ่ นิยม นับถือ ตามแนว ความคิด ของ อิมานซะฟีอีย์ (หรือสะเปอิง)
อิมานมาลีกี (เรียกว่า นิกายมาลิกี)
อิมานหะนาฟีย์ (เรียกว่า นิกายหะนาฟีย์)
อิมานฮัมบาลี (เรียกว่า นิกายฮัมบาลี)
มุสลิม ในภาคใต้ ส่วนใหญ่ นิยม นับถือ ตามแนว ความคิด ของ อิมานซะฟีอีย์ (หรือสะเปอิง)
อุดมการณ์ ของ ศาสนา อิสลาม มีความหมาย ให้มุสลิม บรรลุ ถึงการ มีชีวิต นิรันดร์ ในปรโลก (อาคีเราะฮ์) แนวทาง ที่จะนำ ไปสู่ จุดหมาย ศาสนา อิสลาม จึงเน้น ในเรื่อง การ ปฏิบัติ ตน ตาม ข้อบัญญัติ ขององค์อัลเลาะฮ์ หรือ คัมภีร์อัล - กุรอาน หาก ผู้ใด ละเว้น ก็จะถือ เป็นบาป หรือ พ้นสภาพ จากการ เป็นมุสลิม
ดร.อารง สุทธาศาสน์ กล่าวถึง ศาสนา อิสลาม ในทัศนะ ของชาว ปัตตานี ว่า "ศาสนา อิสลาม มีลักษณะ แตกต่าง จากศาสนาอื่น อยู่ หลายประการ ประการ ที่สำคัญ คือ เป็นศาสนา ที่มี บทกำหนด ความเชื่อ และ การ ปฏิบัติ ทุกแง่มุม มีคำสอน เกี่ยวกับ วิทยาศาสตร์ ศิลปศาสตร์ จริยศาสตร์ สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ฯ มีคำสอน ทั้งใน ระดับ นโยบาย ทั่วๆ ไป และ ในระดับ การปฏิบัติ ในชีวิต ประจำวัน มีคำสอน เกี่ยวกับ โลกหน้า และโลกนี้ อย่างสมบูรณ์ สรุปแล้ว แทบจะเรียก ได้ว่า ไม่มี พฤติกรรม ใด หรือ แนว ความคิด ใด ของ มนุษย์ ที่จะ พ้น ขอบข่าย ของ ศาสนา อิสลาม"
คำสอน ของ ศาสนา อิสลาม แบ่งออก ได้ ๒ ภาค คือ หลัก ศรัทธา (รุกนอิมาน) และ หลัก ปฏิบัติ (รุกนอิสลาม)
หลักศรัทธา (รุกนอิมาน) มี ๖ ประการ
๑.ศรัทธา ในการมี และ เอกภาพ ของ พระผู้เป็นเจ้า คือ อัลเลาะฮ์ เพียงองค์เดียว ไม่มีสิ่งใดเท่าเทียม
๒.ศรัทธา ในบรรดา มะลาอิกะฮฺ เทวทูต ผู้รับใช้ องค์อัลเลาะฮ์
๓.ศรัทธาในคัมภีร์ (หรืออัล-กุรอาน) ของอัลเลาะฮ์
๔.ศรัทธา ต่อบรรดา รอซูล ขององค์อัลเลาะฮ์ ผู้นำ เอาศาสนา ของพระองค์ มาเผยแพร่ แก่มนุษยโลก
๕.ศรัทธา ในวันสิ้นสุด ของโลกมนุษย์ และ การฟื้นคืนชีพ ของผู้ที่ตายไปแล้ว ว่ามีจริง
๖.ศรัทธา ในกฎ ของอัลเลาะฮ์ ที่กำหนด สภาวะ ความเป็นไป ของมนุษย์ ไว้ว่า ไม่อาจ หลีกเลี่ยง ได้ แต่มนุษย์ มีอิสระ ที่จะเลือก ปฏิบัติ ในสิ่ง ที่ดี และ ชั่ว ได้ตาม สติ ปัญญา ของตน
หลักปฏิบัติ (รุกนอิสลาม มี ๕ ประการ)
๑.ปฏิญาณ ยืนยัน ความศรัทธา ว่า จะเชื่อมั่น ในองค์อัลเลาะฮ์ และ รอซูล ของพระองค์ ไม่มี พระเจ้า อื่นใด
๒.ทำการ ละหมาด แสดง ความภักดี ต่ออัลเลาะฮ์ ด้วยกาย และ จิตใจ อันบริสุทธิ์ วันละ ๕ เวลา
๓.ถือศีลอด ในเดือน รอมฎอน ตั้งแต่ เวลา รุ่งอรุณ ไปจนถึง เวลา ตะวัน ตกดิน และ งดกิน ดื่ม งด การเสพ เมถุน และ หลีกเลี่ยง การทะเลาะ วิวาท การ นินทา กล่าวร้าย
๔.บริจาค ซะกาต (หรือ บริจาคทาน บังคับ) จากผู้มี ทรัพย์สิน ให้แก่ คนยากจน (และ คน ที่มีสิทธิ จะได้รับ ตามที่ กฎหมาย อิสลาม กำหนดไว้)
๕.เดินทาง ไปประกอบ พิธีฮัจญ์ ณ นครเมกกะ ประเทศ ซาอุดิ อารเบีย อย่างน้อย ๑ ครั้ง ในเมื่อมีทรัพย์ และ มีสุขภาพ สมบูรณ์
ศูนย์กลาง การเผยแพร่ ศาสนาอิสลาม บนแหลมไทย - มลายู ซึ่งเป็นที่ ยอมรับ กันทั่วไป คือ มะละกา (ตาม ความเห็น ของ ศาสตราจารย์ ฮอลล์ แต่ เอริเดีย (Eredie) ว่า ปัตตานี และ ปาหัง รับศาสนา อิสลาม ก่อนรัฐ มะละกา สมคิด มณีวงศ์ อ้าง ศิลาจารึก ซึ่งค้นพบ ที่จังหวัด สุโขทัย มีใจความ เกี่ยวกับ คำปฏิญาณ ตน ยอมรับ นับถือ ศาสนา อิสลาม เป็นหลักฐาน ยืนยันว่า ศาสนา อิสลาม แพร่ เข้าสู่ ประเทศไทย ตั้งแต่ สมัย กรุงสุโขทัย เป็นราชธานี (ดู "มุสลิมไทย" ใน สังคมศาสตร์ ปริทัศน์ ปีที่ ๑ ฉบับ ๓ ก.พ.๒๕๐๗) รัฐนี้ เจ้าชาย ปรเมศวร เชื้อสาย ราชวงศ์ ไศเลนทร์ เป็นผู้ สร้างขึ้น ในปี ค.ศ.๑๔๐๓ (พ.ศ.๑๙๔๖) เนื่องมาจาก ทำเล ที่ตั้งเมืองดี สามารถ ควบคุม เรือสินค้า ที่เดินผ่าน ช่องแคบ มะละกา ให้เข้ามา ค้าขาย ในเมืองได้ มะละกา จึงกลายเป็น ศูนย์การค้า ของโลก (สมัยนั้น) เป็นที่ พบปะ แลกเปลี่ยน สินค้า ระหว่าง ประเทศ ตะวันออก กับตะวันตก กล่าวกันว่า ไม่มี สินค้าใด ที่จะ ไม่มี จำหน่าย ในตลาด เมือง มะละกา
ปรเมศวร เป็นกษัตริย์ องค์แรก ของอาณาจักร มะละกา ที่ทรง ยอมเปลี่ยน จากการ นับถือ ศาสนา ฮินดู (ศิวพุทธ) มารับ ศาสนา อิสลาม ในปี ค.ศ.๑๔๑๔ (พ.ศ.๑๙๕๗) และ เปลี่ยน พระนาม เป็น "เมกัตอิสคานเดอร์ชาฮ์" เนื่องจาก พระองค์ ได้อภิเษก สมรส กับ เจ้าหญิง รัฐปาไซ (บนเกาะ สุมาตรา) ที่เป็น มุสลิม
ต่อมา ในสมัย ของสุลต่าน มันสุร์ชาฮ์ ระหว่าง ปี ค.ศ.๑๔๕๙ - ๑๔๗๗ (พ.ศ.๒๐๐๒ - ๒๐๒๐) กองทัพ มะละกา ได้เข้ามา ยึดครอง เมืองปาหัง ตรังกานู กลันตัน และไทรบุรี ซึ่งเป็น เมือง ประเทศราช ของไทย เนื่องจาก สมเด็จ พระบรม ไตรโลกนาถ กำลัง ทำสงคราม ติดพัน อยู่กับ พระเจ้า ติโลกราช แห่งนคร เชียงใหม่ ไม่สามารถ ส่งกองทัพ มาช่วย ป้องกันเมือง เหล่านั้น ไว้ได้ เป็นผล ให้เจ้า ผู้ครอง นครต่างๆ และ พญา อินทิรา ผู้ครองเมือง ปัตตานี ยอมรับ ศาสนา อิสลาม เพื่อโอนอ่อน ผ่อนตาม กษัตริย์ มะละกา
ประวัติ เมืองปัตตานี ว่า พญา อินทิรา มารับ ศาสนา อิสลาม เพราะ ปฏิบัติ ตามสัญญา ที่พระองค์ ให้ไว้ กับนายแพทย์ ชาวเมือง ปาไซ ชื่อ เช็คสะอิด ที่มา รักษา พระองค์ ให้หาย จากโรค ผิวหนัง ประมาณ ปี พ.ศ.๒๐๑๒ ถึงปี พ.ศ.๒๐๕๗ ซึ่งเป็น ระยะ เดียวกับที่ ศาสนา อิสลาม แพร่เข้า ไปสู่ เมืองเกดาห์ ศาสตราจารย์ เบรียญ ฮาร์ริสัน (Brian Harrison) กล่าวว่า "กษัตริย์ เกดาห์ ได้ยอม รับ นับถือ ศาสนา อิสลาม ในปี พ.ศ.๒๐๑๗ (ดู หนังสือ ปัญหา ความขัดแย้ง ใน ๔ จังหวัดภาคใต้ ของ ดร.อารง สุทธาศาสตร์) ศาสนา อิสลาม เข้าสู่ ปัตตานี โดยสายตรง จากพ่อค้า ชาวอาหรับ เป็นผู้ นำเข้ามา หรือผ่าน มาทาง พ่อค้า ชาวอินเดีย อินโดนีเซียนั้น ยังเป็นที่ ถกเถียง กันอยู่ หากพิจารณา จากรูปแบบ พิธี ของศาสนา อิสลาม ในปัตตานี จะเห็นได้ว่า "เป็นแบบอินโด เปอร์เซียน เช่นเดียวกับ ในอินเดีย และ เปอร์เซีย ซึ่งต่าง กับ อิสลาม ในอาระเบีย" (ดูโลกอิสลาม ของ ประจักษ์ ช่วยไล่ หน้า ๒๖๕-๓๖๘) ในแง่ ของ ภาษา จะเห็นได้ว่า ชาวปัตตานี เรียก "ศาสนา" ว่า "อุฆานะ-อุฆามา" ซึ่งเป็นคำ ภาษา สันสกฤต แทนคำว่า "อาดีล" ในภาษา อาหรับ และเรียก การถือ ศีลอด ว่า "บัวซา" แทนคำ "อัส, ซาม์" ฯ จึงเป็น ที่น่า สังเกต ว่า ชาวเมือง ปัตตานี ในอดีต น่าจะ ได้รับ ศาสนา อิสลาม ผ่านทาง มุสลิม อินเดีย และ ชวา สุมาตรา จึงได้ใช้ ภาษา สันสกฤต แทนคำ ใน ภาษา อาหรับ ปะปน อยู่ ในการ เรียกชื่อ ศาสนา และ พิธีกรรม ต่างๆ เช่น เรียก พิธี สุนัต ว่า "มาโซะ ยาวี" (หมายถึง การเข้ารับ ศาสนา อิสลาม ร่วมกับ ชาว ชวา)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น