วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

บทความชวนอ่าน - ประวัติศาสตร์อาณาจักรลังกาสุกะ (นครปัตตานี) ตอนที่ ๑๒

วัฒนธรรม
วัฒนธรรม ในความหมาย โดยทั่วไป คือ "แนวทาง การดำรง ชีวิต ของสังคม หรือ ของกลุ่ม แต่ละกลุ่ม ที่สืบทอด จากรุ่นหนึ่ง ไปอีก รุ่นหนึ่ง อย่างไม่ขาดสาย วัฒนธรรม เป็นสิ่งที่ แต่ละ สังคม ถือว่า เป็นสิ่ง ที่ดีงาม เป็นแบบฉบับ ของชีวิต ซึ่ง คนส่วนมาก หวงแหน และ ปกปักษ์ รักษา" เมื่อเป็น เช่นนี้ วัฒนธรรม กับ ศาสนา ก็คือ เรื่องเดียวกัน แยกกัน ไม่ออก เพราะ ส่วนหนึ่ง ของ ศาสนา (อิสลาม) คือ แนวทาง การดำรง ชีวิต ที่สังคม (มุสลิม) ถือว่า ถูกต้อง ซึ่ง ถ้ามอง อีกแง่หนึ่ง ก็คือ วัฒนธรรม ของ สังคม นั่นเอง
ความเชื่อ และ หลักปฏิบัติ ประจำวัน ของชาวไทย มุสลิม ในสี่จังหวัด ภาคใต้ มีแหล่ง ที่มา สองทาง คือ
๑.จากบทบัญญัติ คำสอน ทางศาสนา โดยตรง และ
๒.จากจารีต ประเพณี และ การปฏิบัติ ตั้งแต่ ดั้งเดิม ซึ่งสืบทอด มาจนถึง ปัจจุบัน
อย่างไรก็ดี ทั้งสองแหล่ง มีความ กลมกลืน ประสานกัน อย่างแนบแน่น สนิท ชาวบ้าน ธรรมดา อาจจะแยก ไม่ออก ว่า ส่วนใด มาจาก บทบัญญัติ (ของศาสนา) โดยตรง และ ส่วนใด มาจาก จารีต ประเพณี ส่วนมากแล้ว ถือว่า แนวทาง การปฏิบัติ ทุกอย่าง ในชีวิต ประจำวัน ล้วนมี นัยสำคัญ ทางศาสนา ทั้งสิ้น ถ้ามีการ ฝ่าฝืน หรือ เบี่ยงบ่าย แล้ว มักจะ มีบาป (ดู ปัญหา ความขัดแย้ง ใน ๔ จังหวัด ภาคใต้ ของ ดร.อารง สุทธาศาสน์)
ปัจจุบัน จะเห็นได้ว่า ประเพณี วัฒนธรรม ท้องถิ่น ได้มี การละเว้น ปฏิบัติ ตามที่ ยึดถือ สืบทอด กันมา เนื่องจาก การเปลี่ยนแปลง ของ สังคม การศึกษา การแพร่ ของ วัฒนธรรม ภายนอก เข้ามา เช่น ประเพณี การทำบุญ เพื่อ อุทิศ ส่วนกุศล ให้แก่ ผู้ตาย เดิม มีการ กำหนด ระยะ เวลา ทำบุญไว้ ๓ วัน ๗ วัน ๔๐ วัน และ ๑๐๐ วัน หลังจาก ผู้ตาย ตายจากไป บางท้องที่ ก็ได้รับ การแนะนำ จากผู้นำ ท้องถิ่น ให้ละเว้น เสีย แต่บางที่ ก็ยังคง ปฏิบัติ กันอยู่
ประเพณี โกนผมไฟ พิธี เปิดปาก ทารก พิธี นำเด็ก ขึ้นเปล และ นำเด็ก ลงล่าง ย่างดิน การไว้ผมแกละ ของเด็กชาย ประเพณี เลือกที่ดิน สร้างบ้าน ปลูกเรือน ประเพณี ไล่ห่า (ตอเลาะ บาลอ)ฯ ซึ่งเป็น ประเพณี ที่สืบทอด กันมา ทั้งใน สังคม ไทยมุสลิม และ สังคม ไทยพุทธ ปัจจุบัน ต่างฝ่าย ต่างก็ ละเว้น ปฏิบัติ กันไป ตาม กาลสมัย โดยเฉพาะ คนรุ่นใหม่ ที่มี การศึกษา สูงขึ้น สิ่งที่ ยังคง หลงเหลืออยู่ ก็คือ เรื่องโชค วาสนา และ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ (keramat) วิญญาณ บรรพบุรุษ ที่เชื่อกันว่า สามารถ บันดาล คุณและโทษ ให้แก่ มนุษย์ได้ แม่จะ เป็นข้อห้าม ของมุสลิม คือ ห้าม การบูชา รูปเจว็ด ดวงดาว โขดเขา ต้นไม้ ก้อนวัตถุ ธาตุใดๆ หากผู้ใด ฝ่าฝืน ก็จะ ขาดจาก สภาพ การเป็น มุสลิม ก็ตาม เรายัง พบเห็น การปฏิบัติ กันอยู่ ในกลุ่มคน บางหมู่ ตามชนบท ทั่วไป เช่นเดียว กับชาวไทย ที่นับถือ พุทธศาสนา
ปอเนาะ สถาบันเผยแพร่ศาสนาอิสลาม :
ปอเนาะ เป็น สถาบัน เผยแพร่ ศาสนา อิสลาม ใน ภาคใต้ หลักการ ของ อิสลาม ถือว่า มุสลิม ทุกคน มีหน้าที่ ที่จะต้อง ศึกษา และ เผยแพร่ ศาสนา ของตน ผู้ใด มีความรู้ แต่ไม่ยอม เผยแพร่ ให้แก่ ผู้อื่น ถือว่า เป็นบาป ดังนั้น การเรียน การสอน ศาสนา จึงตกเป็น ภาระ หน้าที่ ของ ผู้นำ ครอบครัว ต้อง จัดให้ บุตรหลาน ของตน ได้รับ การศึกษา วิชา ศาสนา ตั้งแต่ อยู่ใน วัยเยาว์ เริ่ม ตั้งแต่ บ้าน หรือ สำนัก สอน ศาสนา ของ ผู้ทรง คุณวุฒิ ในหมู่บ้าน ไปจนถึง ปอเนาะ สถาบัน การเรียน การสอน ศาสนา ชั้นสูง ซึ่ง เป็นที่ ยอมรับ นับถือ ของ สังคม มุสลิม ในภาคใต้ มาแต่อดีต
มูฮัมหมัด กาโรส บินเซอ นาวี แห่งรัฐ กลันตัน กล่าวว่า "ระบบ การเรียน ศาสนา ซึ่ง เป็นที่ รู้จัก กันว่า "ปอเนาะ" ที่มี อยู่ใน สถานที่ ต่างๆ ใน มาเลเซีย นับเป็น ระบบ ที่ได้รับ การถ่ายทอด ไปจาก ประเทศไทย ซึ่ง เป็นแหล่ง สอน ศาสนา ที่ ชาวมุสลิม ได้จัดตั้งขึ้น ระบบ การสอน แบบนี้ เลียนแบบ จาก ระบบ พระสงฆ์ ใน พระพุทธ ศาสนา เพราะ เป็น การศึกษา ค้นคว้า หลักศาสนา ที่ พยายาม ปลีกตัว ออกห่าง จาก สังคม อัน สับสน ข้อนี้ สามารถ พูดได้ อย่าง เต็มปาก ว่า ระบบ การสอน แบบ ปอเนาะ ไม่เคย ปรากฏ ขึ้น เลย ใน ประเทศ กลุ่มมุสลิม แน่นอน ที่สุด มลายู ได้รับ อิทธิพล ไปจาก เมืองไทย" (ปัตตานี) (ดู อิทธิพล วัฒนธรรม ไทย ต่อ ชาติ มลายู ของ หะสัน หมัดหมาน วารสาร รูสมิแล ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๓ กรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๑๗)
สถาบัน ปอเนาะ ที่กล่าวนี้ บุคคล ผู้ทรง คุณวุฒิ ทาง ศาสนา อิสลาม เป็นผู้ สร้างขึ้น และ ตั้งตน เป็น เกจิ อาจารย์ เรียกว่า โต๊ะครู ทำการ อบรม สั่งสอน เผยแพร่ ศาสนา โดย มิได้รับ ค่าตอบแทน เพียงเพื่อ ผลบุญ ในปรภพ และ เกียรตินิยม จากการ ยอมรับ ของ สังคม มุสลิม
นักศึกษา ที่มาจาก ท้องถิ่น ห่างไกล จะต้อง มาปลูก กระท่อม หลังเล็กๆ (เรียกว่า ปอเนาะ) เป็นที่พัก อาศัย อยู่เป็น กลุ่มๆ ใน บริเวณ บ้าน ของ โต๊ะครู และ จัดหา เครื่องบริโภค อุปโภค มาใช้สอยเอง สถานที่เรียน ใช้ บาไล หรือ บ้านโต๊ะครู เป็นที่สอน ต่อมา เมื่อมี ผู้เรียน มากขึ้น จึง สร้าง เป็น อาคารเรียน เอกเทศ ถาวร ขึ้นมา ซึ่ง ขึ้นอยู่กับ ฐานะ เศรษฐกิจ ของ สังคม ที่ ปอเนาะ ตั้งอยู่
วิชาที่สอนได้แก่
- วิชาฝึกหัดอ่านคัมภีร์อัล-กุรอาน ให้ถูกต้องและเข้าใจในความหมาย
- วิชา เตาฮิต ว่าด้วยเอกภาพของอัลเลาะฮ์ และคุณลักษณะของอัลเลาะฮ์ และพระนาบี
- วิชาฟิกฮี ว่าด้วยข้อควรและไม่ควรปฏิบัติของมุสลิมและวิธีปฏิบัติศาสนกิจ
- วิชาภาษาอาหรับและภาษามลายู
- วิชาว่าด้วยจริยธรรมอิสลามและวิชากฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัว - มรดกและอื่นๆ
ปัตตานี เป็นแหล่ง กำเนิด ปอเนาะ เป็นศูนย์ การ เผยแพร่ ศาสนา อิสลาม ที่สำคัญยิ่ง ของประเทศไทย มี นักศึกษา จาก จังหวัด ต่างๆ ทั้ง ภาคกลาง และ ภาคใต้ เข้ามา ศึกษา และ นำเอา ระบบ การเรียน การสอน ไปใช้ ในจังหวัด ของตน จนแพร่หลาย
ในปี พ.ศ.๒๕๐๔ รัฐบาล ได้เข้ามา ช่วยเหลือ ส่งเสริม การเรียน การสอน และ เผยแพร่ ศาสนา อิสลาม ในปอเนาะ ให้ได้ผล ดียิ่งขึ้น ด้วยการ มอบหมาย ให้ศูนย์ พัฒนา การศึกษา เขตการศึกษา ๒ จังหวัดยะลา เป็นผู้ ดำเนินการ ปรับปรุง วิธีสอน การเรียน ของ นักศึกษา ให้มี ประสิทธิภาพ สูงขึ้น
ขั้นแรก ได้จัด ประชุม สัมมนา โต๊ะครู วาง "ระเบียบ กระทรวง ศึกษาธิการ ว่าด้วย การ ปรับปรุง ส่งเสริม ปอเนาะ ในภาค ศึกษา ๒ พ.ศ.๒๕๐๔" ขึ้นมาใช้
วัตถุ ประสงค์ ของ ระเบียบการนี้ คือ ให้ปอเนาะ มีหลักสูตร การเรียน การสอน มีชั้นเรียน และ มีการ ประเมินผล การเรียน ในชั้น ตัวประโยค โดย กระทรวง ศึกษาธิการ ให้การ อุดหนุน แก่ ปอเนาะ ทางด้าน การเงิน วัสดุ อุปกรณ์ การศึกษา และ ส่ง วิทยาการ เข้าไป ช่วยเหลือ
ขั้นที่ ๒ ระหว่างปี พ.ศ.๒๕๐๘ - พ.ศ.๒๕๑๒ รัฐบาล ก็ได้ ดำเนินการ แปรสภาพ ปอเนาะ ที่ปรับปรุง ดีแล้ว ขึ้นเป็น โรงเรียน สอนศาสนา อิสลาม ตาม พระราช บัญญัติ โรงเรียนราษฎร์ ปอเนาะใด โต๊ะครู เจ้าของ โรงเรียน มีความ สมัครใจ แปรสภาพ ปอเนาะ เป็น โรงเรียน ราษฎร์ ก็จะ ได้รับ การช่วยเหลือ สนับ สนุน ทั้งทาง การเงิน อุปกรณ์ การเรียน การสอน และครู ช่วยสอน และ ยังได้รับ พระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าของ ปอเนาะ และ โรงเรียน ราษฎร์ สอนศาสนา ที่มี ผลงาน ดีเด่น เข้าเฝ้า รับพระราชทาน รางวัล ประจำปี อีกด้วย
ปัจจัย สำคัญ ปัจจัยหนึ่ง ที่ทำให้ ศาสนา อิสลาม เจริญ รุ่งเรือง แผ่ขยาย ไปทั่ว ภูมิภาค นี้ เห็นจะ ไม่มี สิ่งใด นอกเหนือ ไปจาก ความมี น้ำพระทัย กว้าง ของ พระมหากษัตริย์ ไทย ทุกยุค ทุกสมัย นอกจาก ให้ เสรีภาพ แก่ประชาชน เลือกนับถือ ศาสนา ได้โดย เสรีแล้ว ยังทรง รับเป็น องค์อุปถัมภ์ แก่ศาสนา ทุกศาสนา ดังจะเห็น ได้จาก คำกล่าว ของ ลาลูแบร์ เอก อัครราช ทูต ฝรั่งเศส ที่กล่าวถึง พิธี แห่เจ้าเซน พิธีกรรม ศาสนา อิสลาม นิกาย ชีไอท์ ที่ ชาวเปอร์เซีย ซึ่งเข้ามา พำนัก อาศัย อยู่ใน กรุงศรีอยุธยา จัดขึ้น เพื่อระลึกถึง อิมาน ฮูเซ็น ในเดือน มุฮะรัม ทุกๆ รอบปีว่า
"เป็น พิธีการหนึ่ง ที่อยู่ ในความ อุปถัมภ์ ของ สมเด็จ พระนารายณ์ มหาราช"
โดยเฉพาะ พระบาท สมเด็จ พระเจ้า อยู่หัว ภูมิพล อดุลยเดชฯ นั้น ทรงให้ ความ สนพระทัย เป็นพิเศษ ต่อชาว มุสลิม และ ศาสนา อิสลาม ทุกปี จะเสด็จ พระราชดำเนิน มาประทับ ณ พระตำหนัก ทักษิณ ราชนิเวศน์ เพื่อ เยี่ยมเยียน ชาวไทย มุสลิม ภาคใต้ ทรงคิดค้น โครงการ หมู่บ้าน ปศุสัตว์ เกษตร พัฒนาดิน น้ำ เพื่อช่วย ราษฎร ให้มี ที่ทำกิน ส่งครู มาช่วย ฝึกอบรม วิชาชีพ และ ทรง สละ พระราชทรัพย์ ส่วนพระองค์ จัดพิมพ์ พระคัมภีร์ อัลกุรอาน พระราชทาน แก่ชาว มุสลิม สำหรับ ใช้ศึกษา ค้นคว้า เสด็จ ร่วม กิจกรรม ในงาน วันสำคัญ ทางศาสนา อิสลาม พระราชทาน ที่ดิน และ พระราชทาน ทรัพย์ เพื่อสร้าง มัสยิดฯ
พระราช กรณียกิจ ดังกล่าวมานี้ ย่อมชี้ ให้เห็นว่า สถาบัน พระมหากษัตริย์ เป็นพลัง สำคัญ ในการ ส่งเสริม เผยแพร่ ศาสนา อิสลาม พลังหนึ่ง จาก อดีต ตราบเท่า ถึง ปัจจุบัน
ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ :
โปรตุเกส เป็นชาว ตะวันตก ชาติแรก ที่เข้ามา มีความ สัมพันธ์ กับเมือง ปัตตานี หลังจากที่ โปรตุเกส เข้ายึดครอง เมืองมะละกา จาก สุลต่าน โมฮัมหมัด ขณะที่ เมืองมะละกา กำลัง เป็นศูนย์ การค้า ระหว่าง ซีกโลก ตะวันตก กับ ตะวันออก ในปี พ.ศ.๒๐๕๔ บรรดา พ่อค้า ชาวอาหรับ เปอร์เซีย และอินเดีย ที่ ไม่พอใจ พวก โปรตุเกส ที่เข้ามา แย่งชิง กิจการค้า ของตน ซึ่งกำลัง เฟื่องฟู อยู่ ต่างก็ หันเห มาใช้ เมืองปัตตานี ขณะนั้น มีพ่อค้า ชาวจีน และ ญี่ปุ่น เข้ามา ค้าขาย อยู่ก่อน แล้ว ทั้งสินค้า ของชาวจีน และ ญี่ปุ่น เข้ามา ค้าขาย อยู่ก่อนแล้ว ทั้ง สินค้า ของ ชาวจีน และ ญี่ปุ่น ก็เป็นที่ ต้องการ ของชาว ตะวันตก อีกด้วย เช่น เครื่องถ้วยชาม แพร ไหม และ ทองแดง โปรตุเกส เอง ก็ต้องการ ได้สินค้า จากประเทศ จีน และ ญี่ปุ่น เพื่อส่งไป จำหน่าย ในตลาด ประเทศ ตะวันตก อัลบูเกิกร์ ผู้สำเร็จ ราชการ เมืองมะละกา จึงส่ง ดวตเต ฟอร์นันเด มาเฝ้า สมเด็จ พระรามา ธิบดีที่ ๒ เพื่อ ขออนุญาต เข้ามา ทำการ ค้าขาย กับเมืองท่าต่างๆ ในแหลมมลายู ซึ่งเป็น ประเทศราช ของไทย ดังนั้น ในปี พ.ศ.๒๐๕๙ โปรตุเกส จึงส่ง นาย มานูเอล ฟัลเซา เข้ามา ตั้งห้างร้าน ค้าขาย ขึ้นใน เมืองปัตตานี เป็นครั้งแรก
ต่อมา โปรตุเกส เกิดกรณี พิพาท กับชนชาติ ฮอลันดา จนกระทั่ง ต้องเสียเมือง มะละกา ให้แก่ ชาวฮอลันดา ในปี พ.ศ.๒๑๘๔ ชาวโปรตุเกส จึงต้อง เลิกกิจการค้า ของตน ในแหลม มลายู รวมทั้ง สถานี การค้า ที่เมือง ปัตตานีอีกด้วย รวม ระยะเวลา ที่โปรตุเกส เข้ามา ตั้งสถานี การค้า อยู่ใน ปัตตานี ถึง ๑๒๕ ปี
ฮอลันดา ชาวฮอลันดา เป็นชาติ ที่สอง รองจาก ชาติโปรตุเกส ที่เข้ามา ค้าขาย ในเมือง ปัตตานี ในปลาย รัชสมัย สมเด็จ พระนเรศวร มหาราช เมื่อปี พ.ศ.๒๑๔๔ - ๒๑๔๕ โดย กัปตัน วันเน็ค ได้นำเรือ แอมสเตอร์ดัม (Amsterdam) และ เรือกูดา (Gouda) เข้ามา เจรจา กับ เจ้าหญิง ฮียา เมื่อวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๑๔๔ เพื่อขอ อนุญาต จัดตั้ง สถานี การค้า ขึ้น มีนายดาเนียล วันเดอร์เล็ค (Daniel Vanderlek) รับหน้าที่ เป็นหัวหน้า สถานี การค้า และ นายปีเตอร์ วอลิคส์ (Pieter Walieksx) เป็นผู้ช่วย ทำการ ค้าขาย ติดต่อ ระหว่าง อยุธยา - ปัตตานี - ไทรบุรี - นครศรีธรรมราช - สงขลา - ภูเก็ต และ เมืองบันตัม ในเกาะชวา
สินค้า ที่ฮอลันดา ต้องการ ได้แก่ ดีบุก หนังกวาง ไม้ฝาง ข้าวสาร ข้าวเปลือก หนังปลากระเบน เพื่อนำไป จำหน่าย แก่ประเทศ ญี่ปุ่น
ในสมัย พญาบีรู ปกครอง เมือง ปัตตานี นางพญา มีความขัดแย้ง กับ กษัตริย์ อยุธยา คือ พระเจ้า ปราสาททอง เนื่องจาก นางพญาบีรู รังเกียจ พระเจ้า ปราสาททอง ว่า ได้ราชสมบัติ มาโดย มิชอบ "เป็นคนชิง ราชสมบัติ (จากพระอาทิตยวงศ์)" พระนาง จึงไม่ยอม ส่ง เครื่องราช บรรณาการ ไปถวาย ตามราชประเพณี ของเมือง ประเทศราช นายแอนโทน์ เคน ได้ชี้แจง ให้เหตุผล ต่อพระนาง ว่า "การค้าขาย ไม่อาจ ดำเนิน ไปได้ เนื่องมาจาก การเกลียดชัง ต่อประเทศ สยาม" แต่นางพญาบีรู ก็หา ได้เชื่อฟังไม่ พระเจ้า ปราสาททอง จึงส่ง กองทัพ มาตี เมือง ปัตตานี ล้อมเมืองไว้ ๑ เดือน จนกระทั่ง หมด เสบียง อาหาร จึงถอย กองทัพ กลับไป
หลังจาก เจ้าหญิงบีรู สิ้นพระชนม์ แล้ว เจ้าหญิงอูงู ซึ่งได้รับ การสถาปนา ขึ้นเป็น เจ้าเมือง ปัตตานี ก็ได้รับ การไกล่เกลี่ย จากเจ้าเมือง นครศรี ธรรมราช และ เจ้าเมือง ไทรบุรี พระนาง จึงยินยอม ส่งทูต ไปขอขมาโทษ ต่อพระเจ้า ปราสาททอง สงคราม จึงได้ ยุติลง
นายฟอนฟลีต (วันวลิต) ได้บันทึก เรื่องราว เกี่ยวกับ พระราชอำนาจ การตัดสิน พระทัย ของพระนาง ในนโยบาย การเมือง ซึ่งแตกต่าง ไปจาก ข้อเขียน ของ นายนิโกลาส์ แชร์แวส ชาวฝรั่งเศส ที่เขียนไว้ ในหนังสือ ประวัติศาสตร์ ธรรมชาติ และ การเมือง แห่ง ราชอาณาจักร สยาม นิโกลาส์ กล่าวว่า "ประชาชน ปัตตานี นั้น ครั้นเบื่อหน่าย ต่อการ ที่ถูก เจ้าประเทศ บีบคั้น เอาแล้ว จึงได้ ดำเนินการ สลัดแอก และ โค่นกษัตริย์ องค์ปัจจุบัน ลงจาก ราชบัลลังก์ แล้วสถาปนา เจ้าหญิง องค์หนึ่ง แทนที่ ตั้งให้ เป็นนางพระยา แต่ก็ มิได้ ถวาย พระราชอำนาจ ให้เลย พวกเขา เลือก ผู้ทรง คุณวุฒิ ขึ้นบริหาร ราชการ แผ่นดิน ในพระนามาภิไธย ที่พระนาง ไม่ต้อง เข้าไป เกี่ยวข้อง กับ ราชการ งานเมือง เลย เพียงแต่ ได้รับ การยกย่อง นับถือ ให้เป็น เจ้านาย เท่านั้น"
ข้อเขียน ของ นายฟอนฟลีต (วันวลิต) ซึ่งได้ มีโอกาส เข้าเฝ้า นางพญาอูงู เมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๑๘๕ และ ได้บันทึก ถ้อยคำ ที่นางพญา ตรัส โต้ตอบ กับ นายฟอนฟลีตไว้ แสดงถึง ความมี พระราชอำนาจ ทางด้าน การเมือง อันเต็มเปี่ยม ความว่า "การกระทำ ของบรรดา เจ้าเมือง ปัตตานี คนก่อนๆ พระนางนั้น ได้ถูก ลืมเลือน ไปแล้ว และหลังจาก ที่พระนาง ทรงสืบ ราชสมบัติ แล้ว ไม่นานนัก ก็ทรงทำ สันติ ไมตรี กับพระเจ้า แผ่นดิน สยาม โดยมิได้ ใช้ค่า เสียหาย แต่อย่างใด และว่า พระนาง ก็ทรง ต้องการ ปฏิบัติ ในวิธี เดียวกัน กับท่าน ผู้สำเร็จ ราชการ (ฮอลันดา) ด้วย"
การค้า ของ ฮอลันดา ในระยะแรก ต้องประสพ ปัญหา อยู่ หลายประการ ประการแรก คือ ถูกชาว โปรตุเกส ชาวจีน และ ชาวญี่ปุ่น กีดกัน ประการที่สอง เรื่องเงินทุน ซึ่งมัก ขาดแคลน บ่อยๆ นายคอร์เนลิส ฟอนนิวรุท หัวหน้า สถานี การค้า ต้องขอยืมเงิน จากเจ้าหญิง ฮียา เพื่อซื้อ เส้นไหม จากพ่อค้าจีน มาเก็บ สำรองไว้ แต่ต่อมา เมื่อฮอลันดา รวบรวม เงินทุน จัดตั้ง เป็นบริษัท ดัชอีสต์ อินเดีย ขึ้นมาแล้ว กิจการค้า ของ ฮอลันดา ก็ประสพ ความสำเร็จ เป็นอย่างดี ทั้งที่ อยุธยา และ ปัตตานี (จากการ เก็บข้อมูล จากเศษ ถ้วยชาม ตามบริเวณ ที่ตั้ง ชุมชน โบราณ และท่าเรือ บ้านตันหยง ลุโละ ในจังหวัด ปัตตานี พบเศษ ถ้วยชาม อันเป็น สินค้า ของฮอลันดา มีจำนวน ไล่เลี่ย กับของจีน)
สินค้า พื้นเมือง จำพวก สมุนไพร ของปัตตานี ที่ปรากฏชื่อ อยู่ใน เอกสาร ของฮอลันดา ได้แก่ ขิง น้ำตาล พริกไทย และ sarrassas (ซะราเซะ หรือ กะเพรา) นายสปรินซ์เคล เจ้าหน้าที่ สถานี การค้า เมืองปัตตานี รายงาน ไปถึง นายมาทีโอโคตัลส์ และ นายมาทีโอฯ ได้เขียน มาแจ้ง ให้ นายเอชแวนส์เซน ที่ปัตตานี เมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๑๕๖ ความว่า "ตามที่ นายปรินซ์เคล ว่าปีนี้ sarrassas งดงามมาก แต่ราคา ไม่คงที่"
ฮอลันดา เลิกสถานี การค้า ในปัตตานี เมื่อปี พ.ศ.๒๑๘๕ เนื่องจาก ฮอลันดา เข้ามา ตั้งสถานี การค้า ของตน อยู่ในเมือง ปัตตานี เวลา ๔๑ ปี
อังกฤษ บริษัท อิสต์อินเดีย ของอังกฤษ ได้ส่ง กองเรือ โดยการนำ ของกัปตัน จอนเดวิส มาสำรวจ เมืองปัตตานี เพื่อตั้ง สถานี การค้า ของตน ขึ้น ในเมืองนี้ เมื่อปี พุทธศักราช ๒๑๔๘ แต่กองเรือ ของอังกฤษ ถูกโจรสลัด ญี่ปุ่น โจมตี ในอ่าว หน้าเมือง ปัตตานี ทำให้ กัปตัน จอนเดวิส ได้เสีย ชีวิต ลงทันที ต่อมา กัปตัน แอนโธนี ฮิปปอน ก็ได้นำ เรือโกลป์ เข้ามาสู่ เมืองปัตตานี อีกครั้ง เมื่อวันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๑๕๔ แอนโธนี ฮิปปอน ได้เข้าเฝ้า นางพระยา ฮียา ขอตั้ง สถานี การค้า ขึ้นใน เมืองปัตตานี เป็นผลสำเร็จ แต่ตัวกัปตัน เกิดล้มป่วย ถึงแก่กรรม อย่างกระทันหัน หลังจาก เจรจา ทำความ ตกลง กับนาง พระยา ฮียาได้เพียง ๑๕ วัน โทมัส เอสซิงตัน จึงรับ หน้าที่ แทนกัปตัน แอนโธนี ฮิปปอน ได้เดินทาง เข้าไปเฝ้า สมเด็จ พระเอกา ทศรถ ขอพระราชทาน ที่ดิน เพื่อจัดตั้ง สถานี การค้า ขึ้น ทั้งใน กรุงศรีอยุธยา และ ที่เมือง ปัตตานี ซึ่ง สมเด็จ พระเอกา ทศรถ ก็ทรง พระกรุณา ประทานให้
สถานี การค้า ของอังกฤษ ก็เริ่ม ดำเนิน กิจการ ในเมือง ปัตตานี เมื่อปี พ.ศ.๒๑๕๕ นายปีเตอร์ ฟอลริส ได้รับตำแหน่ง ผู้อำนวยการ ชื่อลูกัส (Lucus Antheunis) ต่อมา นายลูกัส ได้ย้าย ไปประจำ อยู่ที่ สถานี การค้า ที่กรุงศรีอยุธยา การค้า ที่กรุงศรี อยุธยา และ ปัตตานี ขณะนั้น คึกคักมาก มีเรือ สินค้า ของชาติ ต่างๆ ไปมา ค้าขาย กันขวักไขว่ เฉพาะ เรือสินค้า ของอังกฤษ ที่เข้าออก ประจำ ได้แก่ เรือ Daling, Cloue, Hector, Peppecorn, Solomon และ James รวม ๖ ลำ
หัวหน้า สถานี การค้า ที่ปัตตานี คนต่อมา ได้แก่ นายอาดัม เค็นตัน นาย Benjamin และ John Gurney
ในปี พ.ศ.๒๑๖๑ เกิดยุทธนาวี ขึ้นระหว่าง เรือรบ อังกฤษ กับ เรือรบ ฮอลันดา ครั้งแรก เรือรบ อังกฤษ ๒ ลำ คือ แซมป์ซัน และ เฮาวน์ ในการ บังคับ บัญชา ของกัปตัน จอน จูรเดน ได้ทำการ ยึดเรือ ของ ฮอลันดา ชื่อ แบล็คไลออน ไว้
ต่อมา ฮอลันดา ได้ส่ง เรือรบ ของตน มา ๓ ลำ เข้ารุมล้อม โจมตี เรืออังกฤษ ทั้งสองลำ ในเดือน กรกฎาคม ในขณะที่ จูรเดน เจรจา ขอยอม จำนน ก็ถูกพวกเฟลมมิงยิงด้วยปืนคาบศิลาถึงแก่ความตาย ลูกเรือถูกฮอลันดาจับไปเป็นเชลย ที่เหลือรอด มาได้ ก็เนื่องจาก ไปขอ ความคุ้มครอง จากเจ้าหญิง ฮียา ตั้งแต่นั้นมา กิจการค้า ของอังกฤษ ในเมืองปัตตานี ก็ถูก พวกฮอลันดา คอยขัดขวาง ทำให้ กิจการ ซบเซา ลงเรื่อยๆ ในที่สุด บริษัท อิสต์อินเดีย จึงมีมติ ให้เลิก สถานี การค้า ใน ปัตตานี เสียในปี พ.ศ.๒๑๖๖ รวมเวลา ที่อังกฤษ เข้ามาตั้ง สถานี การค้า อยู่เพียง ๑๑ ปี
ญี่ปุ่น ชาวญี่ปุ่น เข้ามา ค้าขาย ณ เมืองปัตตานี ในเวลา ไล่เลี่ย กับชาวจีน (เซอรเออเนสต์ ซาเตา ว่า ญี่ปุ่น เข้ามา ค้าขาย ยังเมือง ปัตตานี ราว พ.ศ.๒๑๓๕ ในเวลา เดียวกัน เรือสำเภา ของปัตตานี ก็เข้าไป ค้าขาย ถึงประเทศ ญี่ปุ่น) นอกจาก จะเป็น พ่อค้า แล้ว นายสำเภา ชาวญี่ปุ่น ยังทำตัว เป็นโจรสลัด คอยตี ชิงปล้น เรือสินค้า อีกด้วย สลัด ญี่ปุ่น ใช้อ่าว เมืองปัตตานี เป็นแหล่ง แอบซุ่ม โจมตี เรือสินค้า ชาวต่างประเทศ นักเดินเรือ ผู้มี ชื่อเสียง ของอังกฤษ คือ กัปตันจอน เดวิส ก็ถูก โจรสลัด ญี่ปุ่น ทำการ ปล้นเรือ ของเขา เมื่อปี พ.ศ.๒๑๔๘ ในขณะ เข้ามา สำรวจ เมืองปัตตานี เพื่อจัดตั้ง คลังสินค้า ของบริษัท อีสต์อินเดีย ขึ้นใน เมืองนี้
สินค้า ญี่ปุ่น ที่เป็นที่ ต้องการ ของตลาด เมืองปัตตานี ขณะนั้น ได้แก่ ทองแดง เครื่องถ้วย ฉากญี่ปุ่น ส่วนสินค้า ที่ชาว ญี่ปุ่น ต้องการซื้อ ได้แก่ ดินปืน ปืนใหญ่ หนังกวาง หนังปลา กระเบน และ ไม้หอม จำพวก ไม้กฤษณา และ ไม้จันทน์ แต่ละปี จะมี เรือสำเภา ญี่ปุ่น เข้ามา แวะที่ เมือง ปัตตานี ปีละ หลายลำ โดยเฉพาะ สำเภา ของพ่อค้า ที่มาจาก หมู่เกาะ ริวกิว จนกระทั่ง เมืองปัตตานี สมัยนั้น ได้ สมญานาม ว่า "เป็นเมืองท่า สองพี่น้อง ระหว่าง เมืองฮิราโดะ ของญี่ปุ่น" ดังนั้น พ่อค้า ชาวญี่ปุ่น จึงเป็น คู่แข่งขัน แย่งชิง ซื้อขาย สินค้า กับพ่อค้า ชาวฮอลันดา และ อังกฤษ อยู่เสมอ จนกระทั่ง คราวหนึ่ง ชาวญี่ปุ่น ได้ลอบ เข้าไป วางเพลิง เผาโกดัง สินค้า ของชาว ฮอลันดา เสียหาย ยับเยิน ชาวญี่ปุ่น อยู่ใน เมือง ปัตตานี นานเท่าไร ไม่ปรากฏ หลักฐาน เมื่อเกิด สงครามโลก ครั้งที่ ๒ (สงคราม มหาเอเซีย บูรพา) ข้าพเจ้า ได้รู้จัก กับพ่อค้า ชาวญี่ปุ่น ซึ่งเป็น ทันตแพทย์ ตั้งคลีนิค อยู่ที่ร้าน เฉาะเฉิน ในตลาด เขตเทศบาล เมืองปัตตานี และ เจ้าของร้าน นานเชนโชไก จำหน่าย ถ้วยชาม ชั้นดี ของญี่ปุ่น อยู่ที่ ถนนปรีดา ซึ่งทราบ ภายหลัง ว่า พ่อค้า เหล่านี้ ล้วนเป็น จารชน เข้ามา ทำการ วางแผน ยึดเมือง ปัตตานี เพื่อใช้ เป็นหัวหาด ยกพล ขึ้นบก ผ่านไป ตีประเทศ สิงคโปร์ หลังจาก สงคราม มหาเอเซีย บูรพาแล้ว ไม่ปรากฏว่า ชาวญี่ปุ่น เข้ามา ค้าขาย ในเมือง ปัตตานี อีกเลย
ในรัชสมัย สมเด็จ พระเจ้า ปราสาททอง เมืองนครศรี ธรรมราช ปัตตานี สงขลา เป็นกบฏ ไม่ยอม ส่งเครื่องราช บรรณาการ ตามราชประเพณี สมเด็จ พระเจ้า ปราสาททอง แต่งตั้ง ให้ออกญา เสนาภิมุข (ยามาดา นางามาสา) ออกไปเป็น เจ้าเมือง นครศรี ธรรมราช ออกญา เสนาภิมุข ได้นำ กองทัพ จากเมือง นครศรี ธรรมราช มาร่วมกับ กองทัพกรุงฯ มาปราบ เมืองปัตตานี ออกญา เสนาภิมุข (ยามาดา นางามาสา) ถูกอาวุธ ที่ขา เมื่อกลับ ไปถึง เมืองนครฯ แผลเกิดพิษ กำเริบ จนถึงแก่ อสัญกรรม (บ้างก็ว่า ออกญา เสนาภิมุข ถึงแก่กรรม เพราะถูก ยาพิษ ของออก พระมริต)
จีน ชาวจีน เข้ามา ค้าขาย ในเมือง ปัตตานี เมื่อไร ยังไม่ปรากฏ หลักฐาน แน่นอน แต่ในด้าน ปริมาณ พ่อค้า ชาวจีน มีจำนวน สูงกว่า ชาติอื่นๆ นอกจากนั้น ชาวจีน ยังสมัครใจ สมรส กับชาว พื้นเมือง และ นิยม ตั้งรกราก อยู่ในเมือง ปัตตานี อย่างถาวร จนกลาย เป็นส่วนหนึ่ง ของพลเมือง ปัตตานี ไปใน ที่สุด ผู้เขียน รู้จัก กับครอบครัว ชาวเมือง ปัตตานี หลายครอบครัว อ้างว่าตน มีบรรพบุรุษ เป็นชาวจีน หนังสือ Purchase his Pilgrimage เขียนโดย ชาวอังกฤษ ที่เข้ามา เมืองปัตตานี ในปี พ.ศ.๒๑๖๐ ได้บรรยาย ถึงสภาพ บ้านเมือง ปัตตานี และ ผู้คน ไว้ตอนหนึ่ง ว่า "ปัตตานี เป็นนครหนึ่ง อยู่ทาง ตอนใต้ ของสยาม อาคาร บ้านเรือน เป็นไม้ และแฝก แต่เป็นงาน ที่สร้างขึ้น ด้วยฝีมือ อย่างมีศิลปะ มีสุเหร่า หลายแห่ง มีชาวจีน มากกว่า ชาวพื้นเมือง (คงหมายถึง บริเวณ ท่าเรือ หรือตัวเมือง ปัตตานี) พลเมือง ภาษาใช้กัน ๓ ภาษา คือ ภาษา มาลายัน ภาษาไทย และ ภาษาจีน ชาวจีน สร้างศาลเจ้า ชาวไทย สร้างพระพุทธรูป พระสงฆ์ นุ่งเหลือง ห่มเหลือง"
ที่ฮวงซุ้ย โบราณ ของชาวจีน ในท้องที่ ตำบล ตันหยงลุโละ อำเภอเมือง ปัตตานี ปัจจุบัน ถูกน้ำทะเล กัดเซาะ ดินพังทะลาย ลงไป ในทะเล หมดแล้ว คงเหลือ แต่แผ่นป้าย ศิลา จารึก ชื่อผู้ตาย ที่ชาวบ้าน เก็บมาวางไว้ สำหรับ เป็นที่ ชำระเท้า หน้าบันได บ้าน ข้อความ ในแผ่น ศิลา เป็นอักษรจีน จารึกนาม ผู้ตาย "ชื่อชูฉิน นามสกุล เฉิน ถึงแก่กรรม ในปี เหยินเฉิน ศักราช ว่านลี ราชวงศ์ เหม็ง ตรงกับปี พุทธศักราช ๒๑๓๕" และ หิน เหนือหลุมศพ (แนแซ) ของพญา อินทิรา ผู้สร้างเมือง ปัตตานี ระหว่างปี พ.ศ.๒๐๑๒-๒๐๕๗ ก็เป็น ลวดลายเมฆ ซึ่งเป็น ศิลปกรรม ของช่าง ศิลปะจีน ที่หมายถึง บุคคล ผู้สูงศักดิ์, ความมีเกียรติ, อำนาจ, วาสนา แสดง ให้เห็นว่า เป็นฝีมือ ของช่าง ชาวจีน แกะสลัก ขึ้น และ บริเวณ ฮวงซุ้ย แห่งนี้ ก็คง เป็นที่ตั้ง ชุมนุม ชาวจีน มาตั้งแต่ สมัย เริ่มสร้าง เมืองปัตตานี ทีเดียว ภายใน ศาลเจ้า ซูก๋ง (หรือเล่งจูเกียง) ก็พบ จารึก ภาษาจีน บอกปี ที่สร้าง ศาลเจ้า หลังนี้ ว่า สร้างขึ้นเมื่อ "วันชัย มงคล ปีปวน และ ที่ ๒ ศักราช ราชวงศ์เหม็ง" ตรงกับปี พุทธศักราช ๒๑๑๗ ซึ่งเป็น หลักฐาน การเข้ามา วางรกราก ของชาวจีน ในเมือง ปัตตานี เป็นอย่างดี
สินค้า ชาวจีน ที่นำ เข้ามา จำหน่าย ในตลาด เมืองปัตตานี ได้แก่ เครื่องถ้วยชาม ลายคราม ทั้งชนิดดี และ เลว ซึ่งข้าพเจ้า เก็บรวบรวม ได้จาก บริเวณ บ้านบานา บ้านกรือเซะ เป็นจำนวน มากมาย นอกจากนี้ ยังมี ผ้าแพร และ เส้นไหม ซึ่ง ชาวเมือง ปัตตานี นิยม ซื้อ มาทอ เป็นผ้า ชั้นดี ขึ้นจำหน่าย เรียกว่า "ผ้าจวนตานี" "ผ้ายกตานี" ดังปรากฏชื่อ อยู่ใน วรรณคดีไทย ได้แก่ หนังสือ เสภา เรื่อง ขุนช้าง ขุนแผน และ เรื่องอิเหนา (ดาหลัง) จนกระทั่ง เมืองปัตตานี ในสมัยนั้น ได้สมญานาม ว่าเป็น "แหล่งรวม สินค้า ผ้าไหม ชั้นนำ นอกเหนือ จากกวางตุ้ง" ปัตตานี สมัย อยุธยา เป็นศูนย์รวม สินค้า ที่ผลิต จากประเทศจีน สำหรับ จำหน่าย แก่พ่อค้า นานาชาติ ที่ต้องการ นำไปขาย ในต่างประเทศ อีกต่อหนึ่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น