ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับเจ้าเมืองปัตตานี
ครั้งที่ ๑ เกิดขึ้น ในแผ่นดิน สมเด็จ พระมหา จักรพรรดิ์ สาเหตุ ของการ ขัดแย้ง ที่เกิดขึ้น ในครั้งนั้น พงศาวดาร เมืองปัตตานี และ พงศาวดาร กรุงศรี อยุธยา ฉบับ พระราชหัตถเลขา ได้บันทึกไว้ แตกต่างกัน ดังนี้
สยาเราะห์ ปัตตานี ฉบับ ของนาย หวันอาซัน ว่า สุลต่าน มาดฟาร์ชาฮ์ เสด็จไป อยุธยา ๒ คราว อ้างว่า เพื่อเยี่ยมเยียน พระเจ้า กรุงสยาม ในฐานะ ที่เป็น พระญาติ กับพระองค์ คราวแรก ประทับอยู่ ๒ เดือน ระหว่าง ที่พำนักอยู่ พระเจ้า กรุงสยาม ให้ออกญา กลาโหม มาทูล มาดฟาร์ชาฮ์ ว่า หากสุลต่าน มาดฟาร์ชาฮ์ ต้องการ ได้หญิงงาม ไว้เป็น ภรรยา ก็จะจัด มามอบให้ สุลต่าน ตอบไปว่า "พระองค์ เป็นเพียง เจ้าผู้ครอง ที่ต่ำต้อย หาควร ที่จะ ใฝ่สูง ให้เกินศักดิ์ มิอาจเอื้อม รับหญิงงาม ไว้เป็นศรี ภรรยา ได้ตาม ที่ทรง พระกรุณา โปรดเกล้าฯ"
ส่วนการ เสด็จ ครั้งที่ ๒ "มีไพร่พล ที่ชำนาญ เพลงกริช ตามเสด็จ ไป ๑,๐๐๐ คน ผู้หญิง ๑๐๐ คน และ ได้เกิด การรบพุ่ง กัน ไพร่พล ที่ตาม เสด็จ หาได้ กลับเมือง ปัตตานี แม้แต่ คนเดียว"
สยาเราะห์ กรียาอัน มลายู ปัตตานี ซึ่งอิบรอฮิม ชุกรี ชาวกลันตัน เป็นผู้เขียน ความว่า "สุลต่าน มัดฟาร์ชาร์ ได้เสด็จ ไปเยือน สยาม เพื่อเชื่อม สัมพันธ ไมตรี กันและกัน ในการ เสด็จ ครั้งนั้น กษัตริย์ สยาม ได้ให้การ ต้อนรับ ไม่สมพระเกียรติ จึงเสด็จ กลับมา เมืองปัตตานี ด้วยความ รู้สึก น้อยพระทัย และ อีกตอนหนึ่ง ว่า กษัตริย์ สยาม ได้มอบ ข้าทาส ซึ่งเป็น ชาวพม่า และเขมร ที่นับถือ พุทธศาสนา มาให้ เป็นกำลังเมือง"
เชลยทาส เหล่านั้น ได้ไปตั้ง หลักแหล่ง อยู่ใน ท้องที่ บ้านกะดี ตำบลจะรัง อำเภอยะหริ่ง ต่อเขต อำเภอ ปานาเระ แห่งหนึ่ง และ ที่บ้านกดี ระหว่างเขต อำเภอเมือง กับอำเภอยะหริ่ง (คือวัดบ้านกะดี) อีกแห่งหนึ่ง ต่อมา เมื่อสุลต่าน มาดฟาร์ชาฮ์ ทราบว่า พม่า ยกกองทัพ มาตีเมือง ศรีอยุธยา "จึงได้ ตกลงใจ นำกองทัพ เมืองปัตตานี เข้าไปตี กรุงศรีอยุธยา เพื่อลบรอยแค้น ที่ตราตรึง อยู่ใน พระทัย ของพระองค์ มีกองเรือรบ จำนวน ๒๐๐ ลำ ทหาร ๑,๐๐๐ คน และ ผู้หญิง ๑๐๐ คน เมื่อกองทัพ ไปถึง กรุงศรีอยุธยา สุลต่าน เห็นว่า ทัพพม่า กำลัง ล้อมเมือง สยาม อยู่อย่างหนาแน่น พระองค์ จึงฉวย โอกาส นำกำลัง ทหาร บุกเข้าสู่ ราชสำนัก เจ้ากรุงสยาม ทันที กษัตริย์ ซึ่งประทับ อยู่ใน พระบรม ราชวัง ทรงได้ยิน เสียงโห่ร้อง ของทหาร เมืองปัตตานี จึงเสด็จ หนีออกจาก ประตูเมือง ด้านหลัง หนีไปหลบซ่อน พระองค์ อยู่ที่ เกาะมหาพราหมณ์ ต่อมา ทหาร เมืองสยาม ก็ได้ รวบรวม กำลัง โต้ตอบ กองทหาร เมืองปัตตานี จนถอยร่น ออกจากเขต พระบรม มหาราชวัง หนีไป ลงเรือ เมื่อ ขบวนเรือ ไปถึง ปากอ่าว แม่น้ำ เจ้าพระยา สุลต่าน มาดฟาร์ชาฮ์ ก็ได้สิ้นพระชนม์ชีพ พระศพ ถูกนำ ไปฝังไว้ บนหาดทราย ปากอ่าว เมือง สยาม"
ส่วน พระราช พงศาวดาร ฉบับ พระราชหัตถเลขา ได้บันทึก เรื่องราว เกี่ยวกับเมือง ปัตตานี ในตอนนี้ ว่า "ขณะนั้น พระยา ตานี ศรีสุลต่าน ยกเรือรบ หยาหยับ สองร้อยลำ เข้ามา ช่วย ราชการ สงคราม ถึงทอดสมออ ยู่หน้าวัด กุฎี บางกะจะ รุ่งขึ้น ยกเข้ามา ทอดอยู่ ประตูไชย พระยา ตานี ศรีสุลต่าน ได้ที กลับเป็น กบฏ ก็ยก เข้าไป ในพระราชวัง สมเด็จ พระมหา จักรพรรดิ ราชาธิราชเจ้า ไม่ทันรู้ตัว เสด็จ ลงเรือ พระที่นั่ง ศรีสักหลาด หนีไป เกาะมหาพราหมณ์ และ เสนาบดี มนตรีมุข พร้อมกัน เข้าใน พระราชวัง สะพัดไล่ ชาวตานี แตกฉาน ลงเรือ รุดหนีไป"
ต่อมา เมื่อสุลต่าน มันดูชาฮ์ ผู้เป็น พระราช อนุชา ของสุลต่าน มาดฟาร์ชาฮ์ ขึ้นครอง ราชสมบัติ เมืองปัตตานี ก็ได้ส่งทูต ชื่อ โอรัง กายา สรีอากาคชา มาเฝ้า พระเจ้า กรุงสยาม เหตุการณ์ต่างๆ ก็ยุติลง
ครั้งที่ ๒ เกิดขึ้น ในสมัย นางพญาบีรู หนังสือ ชื่อ เอกสาร ฮอลันดา กล่าวถึง สาเหตุ แห่งการ ขัดแย้ง ในคราวนี้ ว่า เนื่องมาจาก นางพญาบีรู ไม่พอพระทัย พระเจ้า ปราสาททอง โดยกล่าวว่า พระเจ้า ปราสาททอง "เป็นคนชิง ราชสมบัติ (จากพระเจ้า อาทิตยวงศ์) คนโกง ฆาตกร และ คนทรยศ ไม่มีทาง ที่พระนาง จะทรง ตั้งพระทัย แสดงความ เคารพ ยำเกรง เหมือนอย่างที่ พระเจ้าแผ่นดิน ของปัตตานี ในสมัยโบราณ ทรงแสดง ต่อพระเจ้า แผ่นดิน สยาม องค์ก่อนๆ"
ประจวบกับ หัวเมือง ปักษ์ใต้ ได้แก่ เมืองนครศรี ธรรมราช และ สงขลา ต่างก็ พากัน กระด้าง กระเดื่อง ไม่ยอม อ่อนน้อม ต่อพระเจ้า ปราสาททอง อีกด้วย พระเจ้า ปราสาททอง จึงส่ง กองทัพ มาปราบ เมืองนครศรี ธรรมราช และ สงขลาได้ส่ง กองทัพ มาตี เมืองปัตตานี โดย ฮอลันดา สัญญาว่า จะส่ง กองทัพเรือ มาช่วย อีกกองหนึ่ง กองทัพ กรุงศรี อยุธยา และ นครศรี ธรรมราช ล้อมเมือง ปัตตานี อยู่เป็น เวลา ๑ เดือน กองทัพเรือ ฮอลันดา ก็ยังมาไม่ถึง จนเสบียง อาหาร ที่จะ เลี้ยงดู ทหาร หมดลง จึงได้ ถอยทัพ กลับไป
หลังจาก นางพญาบีรู สิ้นพระชนม์ แล้ว เจ้าหญิง อูงู ก็ขึ้น ครองราช สมบัติ เมืองปัตตานี ผู้แทน บริษัท อิสต์อินเดีย ของฮอลันดา และ เจ้าเมือง ไทรบุรี ได้ทำการ เกลี้ยกล่อม นางพญา อูงู โดยให้ เหตุผล ว่า "การค้าขาย ไม่อาจ ดำเนิน ไปได้ เนื่องจาก การเกลียดชัง ต่อประเทศ สยาม" เพราะ เรือสำเภา สยาม ไม่สามารถ นำสินค้า จากสยาม เข้ามา จำหน่าย และ แลกเปลี่ยน กับ สินค้า พ่อค้า ต่างประเทศ ได้ ทำให้ พ่อค้า ที่ต้องการ สินค้า ของสยาม ไม่แวะเมือง ปัตตานี เหมือนอย่าง แต่ก่อน นางพญาอูงู จึงเปลี่ยน นโยบาย ซึ่งเคยใช้ ความแข็งกร้าว กลับมาใช้ การทูต แทน โดยส่งเรือ ๔ ลำ พร้อมด้วย ราชทูต ๒ นายคือ Siratwarra Radja (สรีรัตวรราชา) และ Soyradja Natsawari (โสรัจนาถวารี) นำดอกไม้ ทองเงิน และ เครื่องราช บรรณาการ เข้าไป ถวาย สมเด็จ พระเจ้า ปราสาททอง เมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๑๘๔ ทำให้ สภาวะ สงคราม ระหว่าง อยุธยา และ ปัตตานี ยุติลง ด้วยดี มีการ ติดต่อ สัมพันธ์กัน ทั้งทาง การค้า และ การเมือง ตามปกติ จนกระทั่ง กรุงศรี อยุธยา เสียแก่ พม่า ในปี พ.ศ.๒๓๑๐
ครั้งที่ ๓ สมัย สมเด็จ พระเจ้า ตากสิน มหาราช การเสีย กรุงศรี อยุธยา ในครั้งที่ ๒ นอกจาก พม่า ปล้นสดมภ์ เอาทรัพย์สิน และ จับผู้คน ไปเป็น เชลย เป็นจำนวนมากแล้ว ยังสูญสิ้น เชื้อพระราชวงศ์ ที่จะสืบ พระราชสมบัติ ไปอีกด้วย บรรดา เจ้าพระยา มหานคร น้อยใหญ่ ต่างก็ พากัน ตั้งตน ขึ้นเป็น อิสระ แยกเป็นก๊ก สำคัญ ได้ ๔ ก๊ก ภาคใต้ ได้แก่ ก๊กของ เจ้าพระยา นครศรี ธรรมราช ซึ่งเป็น เมืองใหญ่ มีผู้คน และ เสบียง อาหาร บริบูรณ์ สมเด็จ พระเจ้า ตากสิน จึงทรง นำทัพ มาปราบ ก๊ก เจ้าพระยา นครศรี ธรรมราช เจ้าพระยานครฯ หนีมา อาศัย อยู่ใน เมืองปัตตานี กับสุลต่าน โมหะหมัด สมเด็จ พระเจ้า ตากสิน ให้พระยา จักรี ติดตาม มาเจรจา กับสุลต่าน โมหะหมัด ขอตัว เจ้าพระยานครฯ พระยาสงขลา พร้อมกับ ขอยืมเงิน ๒๐,๐๐๐ เหรียญ เพื่อทดลอง น้ำใจ เจ้าเมือง ปัตตานี ว่า ยังมี ความยำเกรง ในพระองค์ เพียงใด สุลต่าน โมหะหมัด จึงยอม ส่งตัว เจ้าพระยานครฯ และ เจ้าเมือง สงขลา ให้แก่ สมเด็จ พระเจ้า ตากสิน แต่โดยดี แต่เงินยืมนั้น สุลต่าน โมหะหมัด ขอผัดผ่อน เนื่องจาก สุลต่านเอง ก็ขัดสน ไม่สามารถ จะจัดหา ให้ได้ แต่ด้วยเหตุ ที่สมเด็จ พระเจ้า ตากสิน มีพระราช ภารกิจ ที่จะต้อง ปราบก๊ก ของพระฝาง ซึ่งเป็น ก๊กสำคัญ ให้เสร็จ ไปเสียก่อน จึงยับยั้ง การปราบปราม เมืองปัตตานีไว้
ครั้งที่ ๔ สมัย กรุงรัตน โกสินทร์ เมื่อ พระบาท สมเด็จ พระพุทธ ยอดฟ้า จุฬาโลกฯ ได้เสด็จขึ้น เถลิงวัลย์ ราชสมบัติ แล้ว จึง โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จ กรมพระราชวัง บวร มหา สุรสิงหนาท เสด็จ ออกไป ช่วยเหลือ หัวเมือง ปักษ์ใต้ ที่กองทัพ พม่า เข้ามา โจมตี เมืองภูเก็ต นครศรี ธรรมราช พัทลุง หลังจาก กองทัพ พม่า แตกหนี ไปแล้ว ก็ทรงมี พระราชสาสน์ มาแจ้งแก่ สุลต่าน โมหะหมัด ให้ยินยอม ส่ง เครื่องราช บรรณาการ และ ต้นไม้ ทองเงิน ตามพระราช ประเพณี ของประเทศราช ที่เคย ปฏิบัติ มาแต่ครั้ง กรุงศรี อยุธยา แต่สุลต่านฯ ปฏิเสธ สมเด็จ กรมพระราชวัง บวรฯ จึงระดมทัพ เมืองสงขลา พัทลุง ยกมา ตีเมือง ปัตตานี ได้ในปี พ.ศ.๒๓๒๙
ครั้งที่ ๕ เหตุขัดแย้ง เกิดขึ้น จากการ ที่ต่วนกู ลัมมิเด็น ซึ่งทรง พระกรุณา โปรดให้ ดำรงตำแหน่ง ผู้ว่า ราชการ เมืองปัตตานี มีเจตนา ที่จะ ปกครอง เมืองปัตตานี โดยอิสระ ไม่ต้องการ เป็นประเทศราช ส่งดอกไม้ ทองเงิน แก่ กษัตริย์ แห่งกรุงสยาม ภายใต้ การควบคุม ของเจ้าพระยา นครศรี ธรรมราช จึงส่งทูต นำสาสน์ พร้อมเครื่องราชบรรณาการ ไปกับ นายสำเภา ชื่อ "นะคุดาซุง" เพื่อถวาย องค์เชียงสือ กษัตริย์ญวน เกลี้ยกล่อม องค์เชียงสือ ให้ร่วมมือ นำกองทัพญวน และ ปัตตานี มาตี กรุงเทพฯ แต่องค์เชียงสือ หาได้ ปฏิบัติ ตามคำ ชักชวน ของตนกู ลัมมิเด็น เพราะยังคง สำนึก ในพระมหา กรุณาธิคุณ ของพระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลกฯ ที่เคยให้ ความอุปถัมภ์ แก่องค์เชียงสือ และ สมเด็จ พระราช มารดา คราวที่ หลบหนีภัย กบฏ ไตเซิน เข้ามา พึ่งพา พระบรม โพธิสมภาร อยู่ใน กรุงเทพฯ ทั้งยัง ช่วยเหลือ เกื้อหนุน ให้อาวุธ ยุทโธปกรณ์ ในการ กอบกู้ พระราชบัลลังก์ กลับคืน จากพวก กบฏ สำเร็จ จึงนำสาสน์ ของตนกู ลัมมิเด็น ให้ขุนนางไทย ชื่อ พระพิมล วารี และ พระราชมนตรี มาทูลเกล้าฯ ถวาย แก่ สมเด็จ พระพุทธ ยอดฟ้าฯ ทรงทราบ ข้อความ ในสาร ฉบับนั้น มีความว่า "เดือน ๑๑ ปีระกา เอกศกจุล ศักราช ๑๑๕๑ รายา ตานี จะยกทัพ มาตีกรุง ให้องค์เชียงสือ มาร่วมกับ รายาตานี" ดังนั้น ในปี พ.ศ.๒๓๓๔ สมเด็จ พระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลกฯ จึงทรง โปรดเกล้า ให้ "พระยา กลาโหม ราชเสนา เป็นแม่ทัพเรือ ยกไปตี เมืองตานี จับรายาตานี ได้ใน กุฎี พระสงฆ์ ที่วัด แห่งหนึ่ง" แต่ก่อนที่กองทัพกรุงจะยกลงไปตีเมืองตานีนั้น ตวนกูลัมมิเด็นได้อาศัยกำลังจาก "แขกเซียะ" บนฝั่งเกาะสุมาตรามาสมทบ ยกไป ตีเมือง สงขลา ดังข้อความ ในพงศาวดาร เมืองสงขลา ที่บันทึก ไว้ว่า "ปีกุนตรีศก ศักราช ๑๑๕๓ (พ.ศ.๒๓๓๔) โต๊ะสาเหย็ด (สาเหย็ด (ไซยิด) หมายถึง ผู้มีสาย สืบเนื่อง มาจาก พระนาบี โมหะหมัด ในที่นี้ คงจะ หมายถึง ผู้นำ ศาสนา ที่มีคน เคารพ นับถือ เท่านั้น) คบคิด กับพระยา ตานี ยกกองทัพ ไปตีเมือง สงขลา พระยา สงขลา ขอกำลัง กองทัพหลวง จากกรุงเทพฯ และนำ กองทัพ เมือง นครศรี ธรรมราช มาช่วยเหลือ แต่ก่อน ที่กองทัพหลวง จากพระนครฯ ยกไป ถึงเมือง สงขลา เพียง ๔ วัน กองทัพ เมืองสงขลา เมืองนครศรี ธรรมราช ก็สามารถ ตีกองทัพ พระยา ตานี ที่มา ตั้งค่าย ล้อมเมือง สงขลา แตกถอย กลับไป โต๊ะสาเหย็ด (ไซยิด) ถูกปืนตาย ขณะ เสกน้ำมนต์ ประพรม ประตูค่าย"
หลังจากการ ปราบปราม กบฏ เมืองปัตตานี ในครั้งนี้ พระยาสงขลา (บุญฮุย) มีความชอบ ที่สามารถ ป้องกันเมือง สงขลา ไว้ได้ และ ช่วยกองทัพหลวง ตีเอาเมือง ปัตตานี กลับคืน สมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าฯ จึงโปรด พระราชทาน ให้เลื่อน บรรดาศักดิ์ พระยา สงขลา (บุญฮุย) ขึ้นเป็น เจ้าพระยา อินทคีรี ศรีสมุทร สงคราม รามภักดี อภัย พิริยะ ปรากรม พาหุ และให้ ยกเมือง สงขลา ขึ้นเป็น เมืองชั้นเอก ขึ้นตรง ต่อกรุงเทพ มหานครฯ และมอบ อำนาจ ให้เจ้าเมือง สงขลา เป็นผู้ ควบคุม ดูแล เมืองปัตตานี กลันตัน ตรังกานู ซึ่งเมือง เหล่านี้ เดิมขึ้น อยู่กับ เมือง นครศรีธรรมราช
ครั้งที่ ๖ กบฏ ระตู ปะกาลัน "ระตูปะกาลัน" เป็นสมมตินาม ไม่ใช่ ชื่อบุคคล ที่แท้จริง เทียบได้กับ ตำแหน่ง ขุนนางไทย สมัยโบราณ ได้แก่ เจ้ากรมท่า (ซ้าย - ขวา) ในความหมาย ของคำ "ระตู" แปลว่า "เจ้าเมือง" ปะกาลัน แปลว่า "ท่าเรือ" รวมความ ก็คือ เจ้าท่า เจ้ากรมท่า นั่นเอง มลายู เรียก ตำแหน่งนี้ว่า ชาฮ์บันดาร์ (Shah bandar)
หลังจาก ต่วนกู ลัมมิเด็น ถูกจับตัว นำไป กักกัน ไว้ที่ กรุงเทพฯ แล้ว พระยา กลาโหม ราชเสนา เสนอให้ ระตูปะกาลัน เข้าดำรง ตำแหน่ง เจ้าเมือง ปัตตานี ในปี พ.ศ.๒๓๓๔ ต่อมา ในปี พ.ศ.๒๓๕๑ ระตูปะกาลัน มีความ คิดเห็น ขัดแย้ง กับขุนนางไทย หรือที่ มลายู เรียกว่า "ลักษมณา ดายัน" ซึ่งมีหน้าที่ ให้ความคิดเห็น ในการ บริหาร กิจการ เมืองปัตตานี แทน ผู้สำเร็จ ราชการ เมืองสงขลา ระตูปะกาลัน ใช้ทหาร เข้าทำการ ขับไล่ ขุนนางไทย ออกไป จากเมือง ปัตตานี เจ้าพระยา อินทคีรีฯ ผู้สำเร็จ ราชการ เมืองสงขลา มีใบบอก เข้าไป กรุงเทพฯ สมเด็จ พระพุทธ ยอดฟ้าฯ จึงทรง โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยา พลเทพ (บุนนาค) นำกองทัพกรุง ออกไปสมทบ กับกองทัพ เมืองสงขลา เมืองพัทลุง ยกไปตี เมืองปัตตานี ระตู ปะกาลัน เห็นกองทัพกรุง ลงมา ช่วยเหลือ เมืองสงขลา เกิดความกลัว จึงหลบหนี ไปทางเมือง เประ ปลัดจะนะ (ขวัญซ้าย) ได้นำ กองทหาร ติดตาม ไปทันกัน ที่ชายแดน ระหว่างเมือง รามันห์ กับเมือง เประ ได้สู้รบกัน ระตูปะกาลัน ถูกปืน ถึงแก่กรรม
ผู้สำเร็จ ราชการ เมืองสงขลา จึงเสนอ นายขวัญซ้าย มหาดเล็ก ดำรงตำแหน่ง ผู้ว่า ราชการ เมืองปัตตานี และในปีนี้ ก็มี พระบรม ราโชบาย ให้แยกเมือง ปัตตานี ออกเป็น ๗ หัวเมือง คือ เมืองหนองจิก ส่วนชื่อ ผู้ว่า ราชการ เมืองอื่นๆ ไม่ปรากฏ หลักฐานว่า ได้แต่งตั้งผู้ใด สันนิษฐานว่า คงจะอยู่ ในระยะ การคัดเลือก สรรหา บุคคล ที่มี ความเหมาะสม เพื่อนำขึ้น ทูลเกล้าฯ ถวาย ให้ทรง พระกรุณา โปรดเกล้า แต่งตั้ง แต่ สมเด็จ พระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลก ได้สวรรคต เสียก่อน
ครั้งที่ ๗ ต่วนกูสุหลง ผู้ว่า ราชการ เมืองปัตตานี เป็นผู้นำ ในการ กบฏ สาเหตุ ที่ทำ ให้เกิด การกบฏ ในครั้งนี้ สืบเนื่อง มาจาก เหตุการณ์ ที่เกิดขึ้น ในเมือง ไทรบุรี เมื่อปี พ.ศ.๒๓๖๓ โดยตนกูหม่อม ทำเรื่อง กล่าวโทษ เจ้าพระยา สงคราม รามภักดี ศรีสุลต่าน มหะหมัด รัตราช วังสา (ปะแงรัน) เจ้าเมือง ไทรบุรี ผู้เป็น พี่ชาย ว่าเอาใจ ออกห่าง ไปสามิภักดิ์ ต่อพระเจ้า กรุงอังวะ กษัตริย์ พม่า เจ้าพระยา นครฯ (น้อย) ผู้ควบคุม หัวเมือง ประเทศราช ในภาคใต้ จึงนำ กองทัพ ไปตีเมือง ไทรบุรี เจ้าพระยา ไทรบุรี นำครอบครัว หลบหนี ไปอาศัย อยู่ ณ เกาะปีนัง
เจ้าพระยานครฯ จึงขอ พระราชทาน แต่งตั้ง บุตรชาย ซึ่งต่อมา ได้รับ สัญญาบัตร เป็นพระยา อภัยธิเบศร มหา ประเทศ ราชา ธิบดินทร์ อินทร ไอสวรรย์ ขัณฑ เสมา มาตยา นุชิต สิทธิ สงคราม รามภักดี พิริยพาหุ (แสง) เป็นเจ้าเมือง ไทรบุรี
ต่อมาในปี พ.ศ.๒๓๗๓ - ๒๓๗๔ เมืองไทรบุรี ประสบ ทุพภิกขภัย ฝนแล้ง ติดต่อกัน ราษฎร ทำนา ไม่ได้ผล ชาวเมือง อดอยาก และ เกิดโจรกรรม ขึ้นชุกชุม ตนกูเดน บุตรของ ตนกูรายา พี่ชาย ของเจ้าพระยา ไทรบุรี (ปะแงรัน) ฉวยโอกาส จากการ เกิดภัย พิบัติ ขึ้นใน เมืองไทรบุรี นำสมัคร พรรคพวก เข้ามา เกลี้ยกล่อม ยุยง ราษฎร ให้ร่วมใจ กันก่อกบฏ ชิงเอาเมือง ไทรบุรี ไว้ได้ การกบฏ ในครั้งนี้ ศาสตราจารย์ ฮอลล์ กล่าวว่า "ได้มีการ วางแผน กันที่ ปีนัง ต่อหน้า ต่อตา เจ้าหน้าที่ อังกฤษ ทีเดียว"
พระยา อภัยธิเบศรฯ อพยพ ผู้คน ถอยไป ตั้งทัพ คอยรับ การต่อสู้ ตนกูเดน อยู่ที่ เมืองพัทลุง แล้วรายงาน การเสีย เมืองไทรบุรี ให้ เจ้าพระยา นคร (น้อย) ทราบ ขณะนั้น พระสุรินทร์ ข้าหลวง ในกรม พระราชวัง บวรฯ ออกมา ปฏิบัติ ราชการ อยู่ที่เมือง นครศรี ธรรมราช เจ้าพระยานครฯ จึงให้ พระสุรินทร์ นำคำสั่ง ออกไปเกณฑ์ กองทัพ เมืองสงขลา (เถี้ยนเส้ง) มอบหมาย ให้พระสุรินทร์ นำคำสั่ง ไปยัง หัวเมือง ทั้ง ๗ ชาวเมือง เหล่านั้น ทราบว่า ถูกเกณฑ์ ไปรบ กับเมือง ไทรบุรี ก็พากัน หลบหนี พระสุรินทร์ จึงลงโทษ กรมการเมือง
เจ้าเมือง ปัตตานี ยะลา หนองจิก สาย รามันห์ และ เมืองระแงะ ไม่พอใจ ในการ กระทำ ของพระสุรินทร์ จึงสมคบกัน ทำการ กบฏขึ้น ต่วนสุหลง เจ้าเมือง ปัตตานี ได้ขอ ความช่วยเหลือ ไปยัง สุลต่าน เมืองกลันตัน ตรังกานู ให้ส่ง กองทัพ มาช่วย
"พระยา กลันตัน ให้พระยา บาโงย พระยา บ้านทะเล ผู้น้อง พระยา บาโงย เป็นแม่ทัพเรือ คุมเรือ ๕๐ ลำ พระยา บ้านทะเล เป็นแม่ทัพบก" และ "เมืองตรังกานู ให้ตนกู คาเร เจ๊ะกูหลง หวันกามา เจ๊ะสะมาแอ คุมเรือ ๓๐ ลำ มาช่วย เมืองตานี" (พระราช พงศาวดาร รัชกาลที่ ๓ ของ เจ้าพระยา ทิพากรวงศ์ หน้า ๑๒๔ พิมพ์โดย สำนักพิมพ์ องค์การค้า ของคุรุสภา)
เจ้าพระยา พระคลัง (ดิศ บุนนาค) นำกองทัพ เดินทาง ไปถึง เมืองสงขลา เมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๓๗๕ หลังจาก กองทัพ ของเจ้าพระยา นครฯ (น้อย) ตีเมือง ไทรบุรี กลับคืน มาได้แล้ว พระยา พระคลัง (ดิศ) จึงแต่งตั้ง ให้พระยา เพชรบุรี พระยา สงขลา (เถี้ยนเส้ง) นำทัพบก และ ทัพเรือ ไปถึงเมือง ปัตตานี เมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๓๗๕ ตีเมือง ปัตตานีแตก ต่วนสุหลง อพยพ ครอบครัว หนีไปเมือง กลันตัน พร้อมกับ ต่วนกูยาโล เจ้าเมืองสาย รามันห์ และ เมืองระแงะ ยอมเข้ามา มอบตัว เจ้าพระยา พระคลัง (ดิศ) จึงขอ พระราชทาน อภัยโทษ ให้ (พระราช พงศาวดาร รัชกาลที่ ๓ ของเจ้าพระยา ทิพากรวงศ์ หน้า ๑๒๔ พิมพ์โดย สำนักพิมพ์ องค์การค้า ของคุรุสภา)
สุลต่าน หลงมูฮัมหมัด เจ้าเมือง กลันตัน เกรงกลัวว่า กองทัพไทย จะติดตาม ไปตีเมือง จึงส่งตัว ต่วนสุหลง เจ้าเมือง ปัตตานี ต่วนยาโล เจ้าเมือง ยะลา และ แม่ทัพ นายกอง เมืองปัตตานี คือ ดามิด มะหะหมุด และ อาหะหมัด มามอบให้ เจ้าพระยา พระคลัง (ดิศ) และ ยินยอม ชดใช้ ค่าเสียหาย ให้แก่ กองทัพไทย เป็นเงิน ๕๐,๐๐๐ เหรียญ ส่วนเจ้าเมือง ตรังกานู (มะหะหมัด) สมเด็จ พระนั่งเกล้าฯ โปรดให้ ปลดออก จากตำแหน่ง และทรง แต่งตั้ง ตนกูอุมา ซึ่งเป็นญาติ กับพระยา ตรังกานู (มะหะหมัด) ซึ่งดำรงตำแหน่ง ผู้ว่า ราชการ เมืองตรังกานู แทน
ครั้งที่ ๘ ความขัดแย้ง เกิดขึ้น เนื่องจาก การปฏิรูป ระบบ การปกครอง ประเทศ ของสมเด็จ พระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ทำให้ พระยา วิชิต ภักดี (ตนกู อับดุล กาเดร์) ไม่พอใจ ที่รัฐบาล ได้ออก กฎข้อบังคับ สำหรับ ปกครอง บริเวณ เจ็ดหัวเมือง ขึ้นมา บังคับใช้ ตั้งแต่ วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๔๔ ซึ่ง ผู้ว่า ราชการ เมือง ถือว่า กฎข้อบังคับ ดังกล่าว เป็นการ ลิดรอน อำนาจ ทางด้าน การเมือง เศรษฐกิจ การคลัง และ อำนาจ อาญาสิทธิ์ ที่เคยมี ต่อราษฎร คือสามารถ ทำการ ประหารชีวิต บุคคล ได้โดย รัฐบาลกลาง แต่งตั้ง ปลัดเมือง ยกกระบัตรเมือง และ ผู้ช่วย ราชการ เมือง เข้ามา ปฏิบัติ ราชการ ช่วยเหลือ ผู้ว่า ราชการเมือง ด้านการคลัง รัฐ ก็ส่ง เจ้าพนักงาน สรรพกร ออกทำการ เก็บภาษี อากร ตาม พิกัด อัตรา ซึ่งกำหนด ขึ้นตาม ระเบียบ ของ กระทรวง การคลัง แทนการ ให้ผู้ว่า ราชการเมือง ดำเนินการเก็บ และ ใช้สอยเอง โดยพละการ ส่วนตัว พระยาเมือง รัฐบาล จะจ่ายเงิน ค่ายังชีพ ให้อย่าง เพียงพอ แก่การ ดำรงชีพ เพื่อมิให้ เสื่อมเสียเกียรติ ของผู้ว่า ราชการเมือง ทันที ที่พระยา ตานี ได้รับทราบ สารตรา แจ้งเรื่อง กฎข้อบังคับ ที่เจ้าพนักงาน เชิญไปแจ้ง ให้ทราบ ก็แสดง ปฏิกิริยา ไม่เห็นชอบด้วย กับ กฎ ข้อบังคับ นั้น ครั้นเจ้าพนักงาน สรรพากร เข้าไป ปฏิบัติงาน ตามหน้าที่ พระยาตานี ก็ทำการ ขัดขวาง เจ้าพนักงาน มิให้ ปฏิบัติการ ใดๆ ทั้งสิ้น นอกจากนั้น พระยาตานี ยังเดินทาง ไปขอร้อง ข้าหลวงใหญ่ อังกฤษ ที่ประจำ อยู่ที่เมือง สิงคโปร์คือ เซอร์แฟร็งค์ สเวทเทนนั่ม ให้ช่วยเหลือ เจรจา กับ รัฐบาล ไทย พร้อมทั้ง เสนอให้ อังกฤษ ยึดเมือง ปัตตานี เป็นเมืองขึ้น
ทางรัฐบาล ถือว่า พระยา วิชิต ภักดี จงใจ ขัดขืน พระบรม ราชโองการ ไม่ให้ ความร่วมมือ ในการ ปฏิรูป การปกครอง ประเทศ ให้เหมาะสม กับกาลสมัย กระทรวง มหาดไทย จึงส่ง พระยา สิงหเทพ กับ กำลัง ตำรวจ ภูธร เดินทาง มาโดย เรือรบหลวง ทำการ จับกุมตัว พระยาตานี ในวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๔๕ และ ส่งตัว ไปกักกัน บริเวณ ไว้ที่ เมืองพิษณุโลก แล้วแต่งตั้ง ให้พระยา พิทักษ์ ธรรมสุนทร (ต่วนกูเดร์) ขึ้นเป็น ผู้รั้ง เมืองปัตตานี
ปี ร.ศ.๑๒๓ (พ.ศ.๒๔๔๗) ตนกู อับดุล กาเดร์ ได้รับ พระกรุณา โปรดเกล้าฯ อนุญาต ให้กลับมา อยู่ที่เมือง ปัตตานี ได้ด้วย คำมั่น สัญญาว่า "จะไม่ เกี่ยวข้อง การบ้านเมือง อย่างหนึ่ง อย่างใด เป็นอันขาด"
ครั้นเมื่อ สมเด็จ พระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้น เถลิงถวัลย์ ราชสมบัติ แล้ว ตนกู อับดุล กาเดร์ ก็ได้ทำ หนังสือขึ้น กราบบังคมทูล ขอพระราชทาน เงินค่ายังชีพ พระบาท สมเด็จ พระมงกุฎเกล้าฯ ก็ทรง พระกรุณา พระราชทาน เงินค่ายังชีพ ให้แก่ ตนกู อับดุล กาเดร์ เป็นเงิน เดือนๆ ละ ๓๐๐ บาท (จาก จดหมาย ของ พระยา พิบูลย์ พิทยาพรรค ธรรมการ มณฑล ปัตตานี มีไปถึง ขุนศิลปกรรม พิเศษ อดีต ศึกษาธิการ เขตการศึกษา ๒ จังหวัดยะลา) หลังจากนั้น ไม่นาน ตนกู อับดุล กาเดร์ ก็ได้ อพยพ ครอบครัว ไปพำนัก อยู่ที่รัฐ กลันตัน จนกระทั่ง ถึงแก่กรรม ในปี พ.ศ.๒๔๗๖
สาเหตุ ที่ตนกู อับดุล กาเดร์ ขัดขืน พระบรมราช โองการ ไม่ยอม ปฏิบัติ ตามกฎ ข้อบังคับ สำหรับ ปกครอง บริเวณ เจ็ดหัวเมือง ที่รัฐบาล ตราขึ้น ในปี พ.ศ.๒๔๔๔ สมเด็จ กรมพระยาดำรงฯ ได้กล่าวสรุป ไว้ใน หนังสือ สาสน์สมเด็จ ตอนที่ ๖ ว่าด้วย การบำรุง หัวเมือง ฝ่ายตะวันตก ชั้นหลังว่า
"ใน พ.ศ.๒๔๔๔ นั้น ประจวบ เวลา พวกอังกฤษ ที่เมือง สิงคโปร์ คิดอยาก จะรุก แดนไทย ทางแหลม มลายู แต่ รัฐบาล อังกฤษ ที่เมือง ลอนดอน ไม่ให้ อนุมัติ พวกเมือง สิงคโปร์ จึงคิด อุบาย หาเหตุ เพื่อที่ จะให้ รัฐบาล ที่ลอนดอน ต้องยอมตาม ในอุบาย ของพวก สิงคโปร์ ในครั้งนั้น อย่างหนึ่ง แต่สาย ไปยุยง พวกมลายู เจ้าเมือง ในมณฑล ปัตตานี ให้เอาใจ ออกห่าง จากไทย พระยาตานี (อับดุลกาเดร์) หลงเชื่อ จึงทำการ ขัดแข็ง ขึ้น สมเด็จ พระพุทธเจ้าหลวง ดำรัสสั่ง ให้จับ และ ถอด พระยา ตานี แล้วเอาตัว ขึ้นไปคุม ไว้ที่เมือง พิษณุโลก การหยุกหยิก ในมณฑล ปัตตานี จึงสงบ ลงไป"
อิทธิพลอังกฤษในแหลมมลายูและประเทศราชของไทย :
อิทธิพลอังกฤษในแหลมมลายูและประเทศราชของไทย :
ฟราซิสไลท์ นายทหารเรือ อังกฤษ หลังพ้น จากการ ประจำการ อยู่ใน กองราชนาวี อังกฤษ แล้ว ก็มาทำ หน้าที่ กัปตันเรือ ของ บริษัท จูร์เดน ซัลลิวัน นำเรือ แล่นไปมา ค้าขาย ระหว่าง เมืองมัทราช กับหัวเมือง ชายทะเล ด้านฝั่ง ตะวันตก ของประเทศไทย อยู่เป็นประจำ จนเกิด ความ สนิทสนม ชอบพอ กับ สุลต่าน อับดุล ละโมคุรัมซะ เจ้าเมืองไทรบุรี
ขณะนั้น แคว้นไทรบุรี กำลัง ถูกพวก บูกิส ที่เข้ามา ครอบครอง แคว้นสลังงอร์ ทำการ คุกคาม สุลต่าน อับดุลละ จึงขอ ความช่วยเหลือ จาก ฟรานซิสไลท์ ให้ช่วย ป้องกัน เมืองไทรบุรี โดยสุลต่าน จะให้ สิทธิ พิเศษ ในการ ที่ ฟรานซิสไลท์ จะเข้ามา ทำการค้า ในเมืองไทรบุรี ฟรานซิสไลท์ จึงเสนอ ต่อ บริษัท อีสต์อินเดีย ให้ส่ง ผู้คน เข้ามา คุ้มครอง เมืองไทรบุรี ดังนั้นในปี พ.ศ.๒๓๒๙ อังกฤษ จึงส่ง กองทหาร เข้ามา ตั้งอยู่ บนเกาะ ปีนัง เพื่อใช้ น่านน้ำ บริเวณ เกาะปีนัง เป็นฐาน ชุมนุม กองเรือ และ ช่วยให้ ความอารักขา เมืองไทรบุรี ให้พ้น จากการ คุกคาม ของพวก บูกิส โดยทาง บริษัท ให้ค่าเช่า เกาะนี้ แก่สุลต่าน ปีละ ๖,๐๐๐ เหรียญ
ประจวบกับ ในปีนั้นเอง พระยา ไทรบุรี ก็ถูก ฝ่ายไทย บีบบังคับ ให้ยอมรับ สภาพ ในความเป็น รัฐบรรณาการ ข องไทย เช่น สมัย อยุธยา พระยาไทรบุรี จึงขอร้อง ต่ออังกฤษ ให้ช่วยเหลือ แต่ทางฝ่าย บริษัท อิสต์อินเดีย อ้างว่า ตามข้อตกลง ระหว่าง พระยาไทรบุรี ที่ทำไว้ กับบริษัท นั้น ให้อังกฤษ ทำหน้าที่ ปกป้อง คุ้มครอง เฉพาะ ตัวเกาะ ปีนัง เท่านั้น พระยาไทรบุรี ไม่พอใจ จึงพยายาม ทำการ ขับไล่ อังกฤษ บีบบังคับ ให้พระยา ไทรบุรี ยกผืน แผ่นดิน ที่อยู่ ตรงข้าม กับเกาะ ปีนัง ให้อังกฤษ เช่าอีก โดยฝ่าย อังกฤษ เพิ่มค่าเช่า ให้เป็นเงิน ปีละ ๑๐,๐๐๐ เหรียญดอลลาร์ ทั้งนี้ เพราะ ปีนัง ต้องอาศัย อาหาร สำหรับ เลี้ยงดู ชาวเกาะ จากพื้น แผ่นดิน ใหญ่ จึงจำเป็น ต้องเข้า ยึดครอง ดินแดน ในส่วน นั้นไว้ เพื่อความ ปลอดภัย จากการ ปิดล้อม เมื่อมีการ ขัดแย้ง ทางการเมือง เกิดขึ้น
ต่อมา ในปี พ.ศ.๒๓๖๒ สเตมฟอร์ด รัสเฟิล ได้รับ คำสั่ง จากมาควิส เฮสติงส์ ข้าหลวงใหญ่ ที่อินเดีย ให้ดำเนินการ ตามโครงการ ก่อตั้ง ท่าเรือ และ ศูนย์กลาง การค้า กับหมู่เกาะ มลายู เดินทาง มาพบ เกาะ สิงคโปร์ เข้าโดย บังเอิญ ระหว่าง ที่เขา แล่นเรือ จะไปยัง ยะโฮร์ เมื่อเขา ขึ้นบก สำรวจ เกาะ สิงคโปร์ ในวันที่ ๒๘ มกราคม ๒๓๖๒ แล้ว เขาจึง ตัดสินใจ เลือกเอา สิงคโปร์ เป็นที่ตั้ง ท่าเรือ และ ศูนย์การค้า ทันที หลังจากนั้น เขาก็ ออกอุบาย อุปโหลก ตนกูฮุสเซน พี่ชาย ของตนกู อับดุลรามัน ซึ่งเป็น สุลต่าน แห่งรัฐ ยะโฮร์ว่า เป็นเจ้าของ เกาะสิงคโปร์ แล้วทำ สัญญา เช่า จากตนกูฮุสเซน โดย ตนกูฮุสเซน ได้รับเงิน เป็นค่าเช่า ปีละ ๕,๐๐๐ เหรียญ และ ตะมะหงง ได้ปีละ ๓,๐๐๐ เหรียญ
ครั้นถึงปี พ.ศ.๒๓๖๙ ชาวอังกฤษ ได้รวมเอา รัฐมะละกา ปีนัง และ สิงคโปร์ จัดตั้ง เป็นเขต การปกครอง สเตรตส์ เซตเติลเมนต์ ขึ้น และ ในปี พ.ศ.๒๓๗๕ ได้ย้ายศูนย์ การบริหาร สเตรตส์ เซตเติลเมนต์ จากปีนัง มาไว้ที่ สิงคโปร์ ประกอบกับ มีชาวจีน อพยพ เข้ามา ขายแรงงาน เป็นอันมาก ทำให้ มีกำลัง ในการผลิต สูงขึ้น และ สิงคโปร์ ได้ประกาศ เป็นเมือง ปลอดภาษี จึงทำให้ สิงคโปร์ เจริญขึ้น อย่างรวดเร็ว ต่อมา ในปี พ.ศ.๒๔๑๐ บริษัท อีสต์อินเดีย ได้ตัดสินใจ เลิกกิจการค้า และได้ โอนกิจการ ของ สเตรตส์ เซตเติลเมนต์ ไปขึ้นกับ กระทรวง อาณานิคม ในลอนดอน ทำให้ ดินแดน ของรัฐทั้ง ๓ กลายเป็นรัฐ ในอารักขา ของอังกฤษ การเข้า แทรกแซง ในกิจการต่างๆ ของรัฐ บนแหลม มลายู ในระยะแรก จะเห็นได้ว่า เกิดจาก พวกข้าราชการ สเตรตส์ เซตเติลเมนต์ ทั้งสิ้น โดยที่ รัฐบาลอินเดีย มิได้ เห็นชอบ ด้วย แต่เมื่อ โอนกิจการ ไปสังกัด อยู่กับ กระทรวง อาณานิคมแล้ว ก็ได้ มีการ ส่งเสริม นโยบาย แทรกแซง ขึ้นอย่าง เป็นทางการ โดยเริ่ม จากการ เข้ามา แทรกแซง ในรัฐ เปรัค ก่อน คือ อังกฤษ มีคำสั่ง ให้เซอร์ แอนดรูคล๊าก เป็นผู้ ดำเนินการ ด้วยการ เข้าไปช่วย สุลต่าน เปรัค ทำการ ปราบปราม อิทธิพล ของพวก กรรมกร เหมืองแร่ ชาวจีน ที่ก่อความ ไม่สงบขึ้น หลังจากนั้น ก็เข้ามา ทำหน้าที่ เป็นที่ปรึกษา ด้านการ เก็บภาษี อากร และ การปกครอง จากนั้น เซอร์ แอนดรูคล๊าก ก็แนะนำ ให้สุลต่าน เปรัค ทำสัญญา กับสุลต่าน แห่งรัฐ เนกรี เซมบิลัน และ รัฐสลังงอร์ เพื่อจัดตั้ง เป็นสหพันธรัฐ มลายูขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น