วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

บทความชวนอ่าน - ประวัติศาสตร์อาณาจักรลังกาสุกะ (นครปัตตานี) ตอนที่ ๑๔

ประวัติศาสตร์อาณาจักรลังกาสุกะ (นครปัตตานี) ตอนที่ ๑๔

การเข้าแทรกแซงกิจการรัฐในความปกครองของไทย
ในปี พ.ศ.๒๓๖๔ อังกฤษ ส่งจอห์น ครอเฟิต เข้ามา เจรจา กับ สมเด็จ พระพุทธ เลิศหล้า นภาลัย ขอให้ ฝ่ายไทย คืนรัฐ ไทรบุรี แก่พระยา ไทรบุรี (ตนกู ปะแงรัน) เข้ามา ปกครอง ตามเดิม แต่ฝ่ายไทย ไม่ยินยอม ฝ่ายไทย ให้เหตุผลว่า พระยา ไทรบุรี เป็นข้าราชการ ในพระบาท สมเด็จ พระเจ้า อยู่หัว ถ้ามีเรื่อง จะร้องทุกข์ ก็ควร เข้ามา ถวาย ฎีกา ร้องเรียน ต่อพระเจ้า อยู่หัว โดยตรง มิบังควร ให้บุคคลอื่น มาแทน อนึ่ง พระยา ไทรบุรีเอง ก็เคย ขัดขืน พระบรมราช โองการ ที่ทรง เรียกตัว เข้ามา ชี้แจง ข้อกล่าวหา ของ เจ้าพระยา นครศรี ธรรมราช ว่าเอาใจ ไปฝักใฝ่ ต่อพม่า มีการ ลอบส่ง เครื่องราช บรรณาการ ไปถวาย กษัตริย์ พม่า ทำนอง เป็นข้าสองเจ้า บ่าวสองนาย
เหตุที่ อังกฤษ พยายาม เข้าช่วยเหลือ พระยาไทรบุรี ก็เนื่อง มาจาก เกาะปีนัง ซึ่งอังกฤษ ได้เช่า ไปจาก พระยา ไทรบุรี (อับดุล ละโมกุรัมซะ) นั้น ชาวเกาะ ปีนัง ต้องพึ่งพา ข้าวปลา อาหาร ที่ส่ง ไปจาก รัฐไทรบุรี ซึ่งอยู่ ในความ ปกครอง ของบุตร เจ้าพระยา นครฯ (น้อย) อังกฤษ กลัวไทย จะสกัดกั้น การติดต่อ การค้าขาย หรือ เรียกเก็บ ภาษีสูงขึ้น จะทำให้ ประชาชน ในเกาะปีนัง ต้องเดือดร้อน
ต่อมา ในปี พ.ศ.๒๓๖๘ ขณะที่ กองทัพ เจ้าพระยา นครฯ (น้อย) เตรียมการ จะยกกำลัง ไปช่วยเหลือ รัฐเปรัค เพื่อป้องกัน มิให้ รัฐสลังงอร์ รุกราน ข้าหลวง อังกฤษ ประจำ เกาะปีนัง คือ นายโรเบิร์ต ฟุลเลอตัน ก็ทำการ ขู่เข็ญ เจ้าพระยา นครฯ ให้ยับยั้ง การส่ง ทหาร เข้าไปยัง รัฐเปรัค ด้วยการ ส่งเรือรบ มาคอย สกัดกั้น กองเรือ ของไทย ที่ชุมนุม กันอยู่ ณ ปากน้ำ เมืองตรัง ทำให้ เจ้าพระยา นครฯ ต้องระงับ แผนการไว้
ปี พ.ศ.๒๓๖๙ อังกฤษ ส่งร้อยเอก เฮนรี เบอร์นี เข้ามา เป็นทูต เจรจา ทำสนธิ สัญญา กับไทย อีกครั้งหนึ่ง โดย อังกฤษ ให้สัญญาว่า อังกฤษ จะไม่เข้าไป แทรกแซง กิจการ ของรัฐตรังกานู และ รัฐกลันตัน และ ยอมรับว่า ไทย มีอำนาจ สมบูรณ์ ในรัฐไทรบุรี อังกฤษ ขอสัญญาว่า จะไม่ทำการ รุกราน ต่อรัฐไทรบุรี อีกต่อไป และฝ่ายไทย ยอมรับว่า เกาะปีนัง และ มณฑล เวลเลสเลย์ ที่อังกฤษ ขอเช่า ไปจาก พระยา ไทรบุรี เป็นของ อังกฤษ และไทย จะไม่เก็บ ภาษีสินค้า อาหาร ที่เกาะ ปีนัง และ มณฑล เวลเลสเลย์ ต้องการ จากไทรบุรี
ผลของการ ทำสัญญา เบอร์นี ครั้งนี้ ทำให้ พ่อค้า และ ข้าราชการ อังกฤษ ในมลายู ไม่พอใจ นายเฮนรี เบอร์นี เป็นอันมาก หาว่า เบอร์นี กระทำการ อ่อนข้อ ให้กับไทย ทำให้ไทย คงมีอำนาจ อยู่ในดินแดน มลายู ตอนเหนือ ซึ่งพวกตน ไม่สามารถ ทำการ ค้าขาย กับรัฐ เหล่านั้น ได้สะดวก
ทางด้าน รัฐเปรัค ฟุลเลอตัน ได้ส่ง ร้อยเอก โลว์ นำทหาร ซีปอย และ เรือรบ จำนวนหนึ่ง ไปยัง เมืองเปรัค เพื่อทำการ ยุยง สุลต่าน เปรัค ให้ทำ สัญญา กับอังกฤษ เมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๓๖๙ เป็นใจความว่า "เพื่อเป็นการ ตอบแทน ที่อังกฤษ จะเข้า ช่วยเหลือ ต่อต้าน ผู้ใด ก็ตาม ที่จะ คุกคาม เอกราช ของรัฐ สุลต่าน จะต้อง ไม่ติดต่อ ทางการเมือง กับไทย นครศรี ธรรมราช, สลังงอร์ หรือ รัฐมลายู อื่นๆ และจะต้อง เลิกส่ง ต้นไม้ เงินทอง หรือ บรรณาการใด ไปให้ไทย" เป็นเหตุ ให้สุลต่าน เปรัค หมดความ เกรงกลัวไทย รีบทำการ ปลดข้าราชการ ในราชสำนัก ที่เป็นฝ่าย จงรักภักดี ต่อไทย ตามคำแนะนำ ของฟุลเลอตัน และ ให้ทางไทย ถอนกำลังทหาร ออกไป จากรัฐเปรัค ตั้งแต่นั้นมา อิทธิพลไทย ที่เคยมี ต่อรัฐเปรัค ก็สิ้นสุดลง
ต่อมา ในปี พ.ศ.๒๓๘๕ อังกฤษ ก็พยายาม สนับสนุน ให้เจ้าพระยา ไทรบุรี (ตนกูปะแงรัน) ได้กลับเข้ามา เป็นผู้ว่า ราชการ เมืองไทรบุรี อีกครั้ง ซึ่งทางฝ่ายไทย เห็นว่า เจ้าพระยา ไทรบุรี ชราภาพ มากแล้ว คงไม่คิดอ่าน ที่จะ กระทำการ กระด้าง กระเดื่อง อีกต่อไป อีกทั้ง เมืองไทรบุรี ขณะนั้น ข้าราชการ แตกความ สามัคคี แยกกันห ลายก๊ก หลายฝ่าย ทำให้ การบริหาร บ้านเมือง ไม่มี ประสิทธิภาพ เท่าที่ควร เจ้าพระยา ไทรบุรี เป็นผู้ใหญ่ เป็นที่ เคารพ ยำเกรง ของบุคคล เหล่านั้น คงจะ เข้ามา ไกล่เกลี่ย ให้ผู้คน เกิดความ สมัครสมาน กลมเกลียว กันได้
ปี พ.ศ.๒๓๙๘ อังกฤษ ส่ง เซอร์จอห์น เบาริง เข้ามา ขอทำ สัญญา กับไทยอีก เมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๓๙๘ ผลของ สนธิ สัญญา ฉบับนี้ ทำให้ไทย ต้องสูญเสีย ผลประโยชน์ ทางการค้า และ เอกราช ทางการศาล ไปอย่าง น่าเสียดายยิ่ง คือ
ด้านการค้า จำกัด การเรียกเก็บ ภาษี ขาเข้า จากอังกฤษ ได้ใน อัตรา ร้อยละสาม และ ขาออก ได้ร้อยละหนึ่ง อีกทั้ง ยอมให้ อังกฤษ นำฝิ่น เข้ามาขาย ในเมืองไทย ได้ด้วย
ด้านเอกราช ทางการศาล ไทย ต้องอนุญาต ให้ชาว ต่างประเทศ และคน ในบังคับ ของชาตินั้นๆ เข้ามามี สิทธิภาพ นอกเหนือ อาณาเขตไทย ได้ ไทยจึงต้อง ประสพ ปัญหา ยุ่งยาก ที่ไม่สามารถ จะตัดสิน กรณี พิพาท ระหว่าง คนไทย กับคน ต่างชาติ โดยใช้ กฎหมายไทย ได้
ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๐๕ อังกฤษ กล่าวหาว่า ไทย สนับสนุน พระยา ตรังกานู และ สุลต่าน มะหะหมัด ทำการ โจมตี เมืองปาหัง ทำให้ กิจการค้า ของอังกฤษ ในเมือง ปาหัง ได้รับ ความเสียหาย นายเคเวนนาจ์ ผู้สำเร็จ ราชการ ประจำ สิงคโปร์ จึงสั่ง ให้นาย แมคเฟอร์สัน นำเรือรบ มาระดมยิง เมืองตรังกานู เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๔๐๕ เป็นเวลา ๑ สัปดาห์
รัฐบาลไทย ได้มี หนังสือ ประท้วง ไปยัง ลอร์ดรัชเวลล์ รัฐมนตรี กระทรวง ต่างประเทศ อังกฤษ ที่กรุงลอนดอน โดยอ้าง สิทธิ เหนือรัฐ กลันตัน และ รัฐตรังกานู ตามสนธิ สัญญา เบอร์นี ตามความ ในมาตรา ๑๒ ความว่า
"เมืองไทย ไม่ไป ขัดขวาง ทางการ ค้าขาย ณ เมืองตรังกานู กลันตัน ให้ลูกค้า พวกอังกฤษ ได้ไปมา ค้าขาย โดยสะดวก เหมือนแต่ก่อน อังกฤษ ไม่ไป เบียดเบียน รบกวน เมืองตรังกานู กลันตัน ด้วยการ สิ่งใด" เป็นเหตุให้ รัฐบาลอังกฤษ ต้องเรียกตัว นายเคเวนนาจ์ ผู้สำเร็จ ราชการ ประจำ สิงคโปร์ กลับ และส่ง ผู้สำเร็จ ราชการ คนใหม่ มาแทน ทำให้ เหตุการณ์ ในเมือง ตรังกานู ยุติลง
ใน รัชสมัย พระบาท สมเด็จ พระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว อังกฤษ ก็ยังคง พยายาม ส่งคน เข้ามาคอย ยุแหย่ เจ้าเมือง ในบริเวณ หัวเมืองทั้ง ๗ เพื่อหวัง จะลิดรอน อำนาจ ของไทย ในแหลม มลายู ให้หมดไป เป็นเหตุให้ กระทบกระเทือน ต่อการ ปฏิรูป ระบอบ การบริหาร ราชการ แผ่นดิน ของไทย ซึ่ง พระบาท สมเด็จ พระจุลจอมเกล้าฯ กำลัง ดำเนินการ อยู่ จวนเจียน จะล้มเหลว พระองค์ จึงตัดสิน พระทัย ถอดถอน ตนกู อับดุล กาเดร์ พระยา ตานี ออกจาก ตำแหน่ง ผู้ว่า ราชการ เมืองปัตตานี ซึ่งขัดขืน พระบรมราชโองการ ไม่ยอม ให้ความ ร่วมมือ ในการ จัดการ ปกครองเมือง ปัตตานี ในรูปแบบ มณฑล เทศาภิบาล ที่ทรง นำมาใช้ กับเมืองทั้ง ๗
เพื่อ ผ่อนคลาย นโยบาย รุกราน ทางด้าน การเมือง ของอังกฤษ และ ให้ได้มา ซึ่งเอกราช ทางการศาล ที่ไทย ต้องเสียเปรียบ แก่อังกฤษ จากสัญญา ที่ไทย และ อังกฤษ ทำไว้ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๘ ไทย จำต้อง เอารัฐ กลันตัน ตรังกานู ไทรบุรี และ เปอร์ลิส เข้าทำการ แลกเปลี่ยน (ตามคำ แนะนำ ของ นายเอตเวิด สโตรเบล ชาวอเมริกัน ซึ่งเป็น ที่ปรึกษา ราชการ แผ่นดิน) เพื่อให้ รัฐบาล อังกฤษ ยอมให้คน ในบังคับ ของตน ที่ขึ้นทะเบียน เป็นคน ในบังคับ อังกฤษ ไว้ก่อน ทำสนธิสัญญา ฉบับนี้ มาขึ้น ที่ศาล ต่างประเทศ จนกว่า ทางฝ่ายไทย จะได้ ประกาศใช้ ประมวล กฎหมาย ครบถ้วน แล้ว จึงให้ มาขึ้น ศาลไทย ธรรมดา สนธิสัญญา ฉบับนี้ ได้กระทำกัน ในปี พ.ศ.๒๔๕๒
การปกครองเมืองปัตตานี :
ปัตตานี เป็นส่วนหนึ่ง ของราชอาณาจักรไทย มาตั้งแต่ กรุงสุโขทัย ในรูป ประเทศราช โดยทาง ราชธานี มอบหมาย ให้เจ้าเมือง นครศรี ธรรมราช คอยควบคุม ดูแล นโยบาย การเมือง อยู่อย่างหลวมๆ เพื่อมิให้ เจ้าผู้ครองนคร เอาใจ ออกห่าง เอนเอียง ไปข้าง ประเทศหนึ่ง ประเทศใด อันจะนำภัย มาสู่ ความมั่นคง ของ ราชอาณาจักร ดังจะเห็น ได้จาก คำกล่าว ของ โทเมปีเรส์ ชาวโปรตุเกส ว่า "ผู้เป็นใหญ่ (ในการ บังคับ บัญชา ราชอาณาจักร) รองลงมา (จาก พระเจ้า แผ่นดิน) คืออุปราช แห่งเมือง นคร เรียกกัน ว่า "พ่ออยู่หัว" (Poyobya) เขาเป็น ผู้ว่า ราชการ จากปาหัง ถึง อยุธยา"
หน้าที่ ของประเทศราช ที่มีต่อ ราชธานี ก็คือ การช่วยเหลือ ซึ่งกันและกัน ในการ ทำสงคราม กับ อริราช ศัตรู ที่มา รุกราน และ ส่ง เครื่องราช บรรณาการ ดอกไม้ ทองเงิน ถวาย แก่ พระมหากษัตริย์ เป็นการ ถวาย ความจงรัก ภักดี ๓ ปีต่อครั้ง ส่วน อำนาจ การปกครอง ภายในเมือง นั้นๆ เจ้าผู้ครอง นคร มีอิสระ ที่จะ ดำเนินการ ใดๆ ได้ ภายใต้ ตัวบท กฎหมาย และ ขนบธรรมเนียม ประเพณี ของแต่ละ ท้องถิ่น แต่ ไม่มีสิทธิ อำนาจ ในการ ทำ สนธิ สัญญาใดๆ กับต่างประเทศ ก่อนจะได้รับ ความเห็นชอบ จากราชธานี
สมัย กรุงรัตน โกสินทร์ ปี พุทธ ศักราช ๒๓๕๑ สมเด็จ พระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลกฯ มอบหมาย ให้เจ้าเมือง สงขลา เป็นผู้ ควบคุม ดูแล เมืองปัตตานี แทนเจ้าเมือง นครศรี ธรรมราช
(ปี พ.ศ.๒๓๕๖ สมัย ร.๒ พระยา กลันตัน ทะเลาะ กับพระยา ตรังกานู พระยา กลันตัน ขอไป ขึ้นกับ เจ้าเมือง นครศรี ธรรมราช) (ปี พ.ศ.๒๔๕๒ รัฐบาลไทย ยกรัฐกลันตัน - ตรังกานู - ไทรบุรี ให้แก่ อังกฤษ ตามสนธิ สัญญา ปี พ.ศ.๒๔๕๑)
ด้วยลักษณะ รูปแบบ การปกครอง ที่หละหลวม และ การ คมนาคม ที่ห่างไกล จากศูนย์กลาง การปกครอง จึงยาก แก่การ ควบคุม อีกทั้ง ผู้คน ก็มีความ แตกต่างกัน ในทาง วัฒนธรรม ด้านภาษา ศาสนา ขนบธรรมเนียม ประเพณี เมื่อใด สถานการณ์ เปิดโอกาส ให้ บรรดา ประเทศราช เหล่านี้ ก็พากัน แยกตัว ออกเป็น อิสระ หรือไม่ ก็หันเห ไปยอมอยู่ ในความปกครอง ของผู้ที่ เข้มแข็งกว่า ดังเช่น กรณี ที่พระเจ้า ปราสาททอง ทรงแย่ง ราชสมบัติ จากพระเจ้า อาทิตยวงศ์ เมืองนครศรี ธรรมราช สงขลา และ ปัตตานี ก็พากัน แข็งเมือง
พระบาท สมเด็จ พระจุลจอมเกล้าฯ ทรงเล็งเห็น ว่า หากปล่อย ให้มี การปกครอง (แบบกินเมือง) โดยเจ้าเมือง มีอิสระ อย่างเดิม จะเป็นเหตุ ให้พวกอังกฤษ หยิบฉวย โอกาส นำไป เป็นข้ออ้าง ถึงความ ไร้สมรรถภาพ ทางด้าน การปกครอง ของไทย ทั้งนี้ เพราะมี ชาวเมือง รามันห์ เมืองยะหริ่ง เมืองระแงะ ได้ร้องเรียน กล่าวโทษ เจ้าเมืองว่า ใช้อำนาจ โดยไม่ชอบธรรม กดขี่ ข่มเหง ราษฎร อยู่เสมอ จึงทรงคิด แผนปฏิรูป การปกครอง นำมาใช้ ปกครอง บริเวณ ๗ หัวเมือง ขึ้นใหม่ ในปี พ.ศ.๒๔๓๙ (ดูแผนภูมิท้ายบทความนี้) เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลดียิ่งขึ้น จึงเป็นเหตุให้เจ้าเมืองต่างๆ เกิดความไม่พอใจ ข้าราชการอังกฤษในสิงคโปร์ จึงส่งคนเข้ามายุแหย่เจ้าเมืองปัตตานี ตนกูอับดุลกาเดร์ ทำให้ทำการขัดขืนพระบรมราชโองการ ไม่ยอมให้เจ้าพนักงานของรัฐบาลเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ตามกฎระเบียบการปกครองแผนใหม่ สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปลดตนกูอับดุลกาเดร์ออกจากตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองปัตตานี และนำตัวไปกักกันบริเวณไว้ที่จังหวัดพิษณุโลก ในปี พ.ศ.๒๔๔๕ เป็นเวลา ๒ ปี ครั้งถึงวันที่ ๕ มีนาคม ๒๔๔๗ ก็ได้รับพระราชทานอภัยโทษให้ตนกูอับดุลกลับมาอยู่เมืองปัตตานีได้ หลังจากนั้นตนกูอับดุลกาเดร์ก็อพยพครอบครัวไปพำนักอยู่ในรัฐกลันตัน ซึ่งสุลต่านแห่งรัฐนี้เป็นญาติกับตนกูอับดุลกาเดร์จนกระทั่งถึงแก่กรรมลงในปี พ.ศ.๒๔๗๖
ในปลายรัชสมัยแผ่นดินสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีเหตุไม่สงบเกิดขึ้นในท้องที่ต่างๆ ซึ่งมักจะมีผู้กล่าวพาดพิงไปว่า เบื้องหลังของเหตุการณ์ เนื่องมาจากการสนับสนุนของบรรดาเจ้าเมืองเก่าที่เสียผลประโยชน์ ซึ่งข้อเท็จจริงน่าจะเป็นผลมาจากความบกพร่องของเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองท้องที่อยู่บ้างไม่มากก็น้อย ดังที่สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงตรัสไว้ว่า "เราไม่สันทัดทางพูดและทำ ในการที่จะปกครองชาติอื่น มันจะตกไปในที่กลัวไม่ควรกลัว กล้าไม่ควรกล้า ทำในทางที่ไม่ควรจะทำ ใจดีในที่ไม่ควรจะใจดี ถ้าจะใจร้ายขึ้นมาก็ใช้ถ้อยคำไม่พอที่จะเกลื่อนใจร้ายให้ปรากฏว่า เพราะจะรักษาความสุขและประโยชน์ของคนทั้งปวง ไม่รู้จักใช้อำนาจในที่ควรจะใช้ การที่จะทำได้โดยตรงๆ ก็เกรงอกเกรงใจอะไรไปต่างๆ โดยไม่รู้จักที่จะพูดและหมิ่นอำนาจตัวเอง เมื่อได้เห็นการเป็นเช่นนี้นึกวิตกด้วยการที่จะปกครองเมืองมลายูเป็นอันมาก ขอให้เธอกรมดำรงตริตรองดูให้จงดี" (ม.๓/๔๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวถึงกรมหลวงดำรงราชานุภาพ ๖๐/๒๗๗ ๑๘ พฤษภาคม ๒๔๔๗)
หลังจากนั้น ทางรัฐบาลก็ได้มีการแก้ไขปรับปรุงการบริหารราชการใหม่อีกครั้ง (ดูแผนภูมิท้ายบทนี้) โดยจัดตั้ง มณฑล ปัตตานี ขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๔๙ และ กำหนด นโยบาย การปกครอง บริเวณ หัวเมืองทั้ง ๗ ให้รัดกุม ยิ่งขึ้น คือ
๑.ออกระเบียบ วิธีการ ปฏิบัติการ ให้สอดคล้อง กับขนบ ธรรมเนียม ประเพณี ท้องถิ่น และ ศาสนา ที่แตกต่างกัน เพื่อมิให้ เกิดการ กระทบ กระเทือน จิตใจ ผู้คน เช่น คดี ที่เกี่ยวกับ ทรัพย์มรดก ก็ให้ถือ ปฏิบัติ ตามข้อบัญญัติ ของศาสนา อิสลาม
๒.คัดเลือก บุคลากร ที่จะส่ง เข้ามา เป็นผู้บริหาร กิจการ จากบุคคล ที่มีความรู้ ความเข้าใจ ในวัฒนธรรม ท้องถิ่น เป็นผู้มี จิตใจ บริสุทธิ์ มีคุณธรรม สามารถ เข้ากับ ประชาชนได้
๓.เร่งรัด พัฒนา เศรษฐกิจ การศึกษา การคมนาคม การสาธารณสุข ให้รุดหน้า ยิ่งกว่า หัวเมือง มลายู ที่อังกฤษ ปกครอง เพื่อผล ทางสังคม จิตวิทยา
๔.เมืองใด ที่ผู้ว่า ราชการเมือง ยังมีชีวิตอยู่ ก็คงไว้ สภาพ เป็นเมือง และ เพิ่มเงิน ค่ายังชีพ ให้แก่ ผู้ว่าราชการเมือง สูงขึ้น เมื่อ ผู้ว่า ราชเมือง ถึงแก่กรรมลง ก็รวม หัวเมืองต่างๆ เข้าเป็น จังหวัด ในปี พ.ศ.๒๔๕๙ รวม ๔ จังหวัด คือ ปัตตานี สายบุรี ยะลา และนราธิวาส จนกระทั่งปี พ.ศ.๒๔๗๔ จึงได้ ยุบเลิก มณฑล ปัตตานี และลดฐานะ จังหวัดสายบุรี ลงเป็น อำเภอหนึ่ง ขึ้นกับ จังหวัดปัตตานี และ ที่สำคัญ ที่สุด ก็คือ รัฐบาล สามารถ แก้ปัญหา การคุกคาม ของอังกฤษ ได้สำเร็จ ด้วยการ เสียสละ ดินแดน บางส่วน ของประเทศ คือ รัฐไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู และ รัฐเปอร์ลิส ให้แก่ อังกฤษ ไปในเดือน มีนาคม ร.ศ.๑๒๗ (พ.ศ.๒๔๕๑) เพื่ออังกฤษ จะได้ ยุติ การเข้ามา แทรกแซง งานปฏิรูป การปกครอง บริเวณ หัวเมือง ทั้ง ๗ อีกต่อไป
ต่อมา ในรัชสมัย พระบาท สมเด็จ พระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณา โปรดกเล้าฯ ให้สมเด็จ เจ้าฟ้า ยุคลธร ฑิฆัมพร กรมหลวง ลพบุรี ราเมศวร์ เสด็จ ออกมา ดำรง ตำแหน่ง อุปราช ผู้สำเร็จ ราชการ ประจำหัวเมือง ปักษ์ใต้ ควบคุม ดูแล หัวเมือง ต่างพระเนตร พระกรรณ
ซึ่งผล ของการ ปฏิรูป การปกครอง และ ดำเนิน ตามนโยบาย ที่กล่าวมา แล้วนี้ สามารถ ลดหย่อน ผ่อนคลาย เหตุการณ์ อันไม่สงบ ทางด้านการเมือง ลงได้ จนกระทั่ง เกิดสงครามโลก ครั้งที่สอง (หรือสงคราม มหาเอเซีย บูรพา) อังกฤษ ซึ่งเป็น คู่สงคราม ของไทย ได้ให้ ความ สนับสนุน ตนกู ฮัมหมัดยิดดิน บุตรชาย ของตนกู อับดุล กาเดร์ อดีต เจ้าเมือง ปัตตานี ที่ถูก ปลดออก จากราชการ เพื่อใช้ เป็นเครื่องมือ ในการ แบ่งแยก ดินแดน ๓ จังหวัด ภาคใต้ ออกเป็น รัฐปัตตานี
หลวงประดิษฐ์ มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) เขียนเล่า ถึงเรื่องนี้ ไว้ใน บทความ "ข้อสังเกต เกี่ยวกับ เอกภาพ ของชาติ กับ ประชาธิปไตย" เกี่ยวกับ ตนกู มูฮัมหมัด ยิดดิน ว่า "เสรีไทย คนหนึ่ง เล่าให้ ข้าพเจ้า ฟังว่า ที่กรุงเดลฮี มีชาว อังกฤษ กลุ่มหนึ่ง จัดเลี้ยง เพื่อเป็นเกียรติ แก่ตนกู ผู้นี้ และดื่ม ให้พร (ตนกู) ว่า Long Live The King Patani" ประกอบกับ พรรคการเมือง บางพรรค ในมาเลเซีย คอยให้ความ สนับสนุน ทำให้เกิด ขบวนการ เชื้อชาตินิยม ขึ้น และได้รับ การสนองตอบ จากมุสลิม ที่มี อุดมการณ์ ทางการเมือง เช่น ตนกู ยาลา นาแซ บุตรของ พระยา สุริยะ สุนทรฯ อดีต เจ้าเมือง สายบุรี เป็นต้น
หลังจาก ตนกู มูฮัมหมัด ยิดดิน ถึงแก่กรรมลง ก็เกิด ขบวนการ ต่างๆ อาทิ ขบวนการ โจรก่อการร้าย (ข.จ.ก.) และ โจรคอมมิวนิสต์ มลายา (จคม.) และ ผู้ก่อการร้าย คอมมิวนิสต์ (ผกค.) และอื่นๆ ติดตามมา กลุ่ม ที่รู้จักกัน แพร่หลาย ได้แก่ กลุ่มแนวร่วม ปลดปล่อย แห่งชาติ ปัตตานี (National Liberation Front of Pattani หรือ N.L.F.P.) องค์การ แนวร่วม ปลดปล่อย ปัตตานี (Patani United Liberation Organization หรือ P.U.L.O.) องค์การ แห่งชาติ กู้เอกราช สาธารณรัฐ ปัตตานี (Gerakan National Pemberasan Republic Patani หรือ G.N.R.P.) เป็นต้น ขบวนการ เหล่านี้ ได้รับความ สนับสนุน จากองค์การเมือง ในประเทศ มุสลิม บางประเทศ เพื่อทำการ ก่อกวน ความไม่สงบขึ้น ในดินแดน ๓ จังหวัดภาคใต้ เช่น การจับ ผู้คน ไปเรียก ค่าไถ่ เรียกค่า คุ้มครอง สวนยาง และ ทรัพย์สิน เป็นการ ทำลายขวัญ และ จิตใจ ประชาชน ผู้ประกอบ สัมมาชีพ และ บ่อนทำลาย รากฐาน เศรษฐกิจ ของ ๓ จังหวัด ชายแดน ภาคใต้ มิให้ เจริญ เติบโต เท่าที่ควร จนกระทั่ง ถึงปี พ.ศ.๒๕๑๘ ก็ได้เกิด เหตุการณ์ ประท้วง ครั้งยิ่งใหญ่ ขึ้นเป็น ประวัติการณ์ อันเนื่อง มาจาก กลุ่มบุคคล ผู้ใช้ นามว่า "ศูนย์พิทักษ์ ประชาชน" ได้ทำการ ปลุกระดม ชาวไทย มุสลิมใน ๓ จังหวัด ชายแดน กล่าวหาว่า ทหาร นาวิก โยธิน ฆ่า และ ทำร้าย นายสะมาะแอ ปาแย, นายอารง บราเซะ, นายสะมาแอ อีซอ, นายอุเซ็ง, นายบือราเฮง และเด็กชายลือแม บาราเซะ
การประท้วง เริ่มขึ้น เมื่อวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๑๘ ณ บริเวณ หน้าศาลากลาง จังหวัดปัตตานี ได้มีการ อภิปราย โจมตี การปฏิบัติการ ของเจ้าหน้าที่ และรัฐบาล โดยผู้แทน ของ "ศูนย์พิทักษ์ ประชาชน" เป็นไป ในลักษณะ รุนแรง จนกระทั่ง ถึงคืน วันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๘ เวลาประมาณ ๒๑.๐๐ น. เศษ ก็มี ผู้ปา ลูกระเบิด เข้าไป ในท่ามกลาง ฝูงชน ที่มา ชุมนุม กันอยู่ เป็นเหตุให้ มีผู้ เสียชีวิต ทันที ๑๒ คน และบาดเจ็บ อีกเป็น จำนวนมาก หลังจากนั้น ฝูงชน ที่เหลือ อยู่ ก็พากัน ไปตั้ง ชุมนุม ประท้วงต่อ ที่ลาน มัสยิดกลาง จังหวัด ปัตตานี เป็นการ ประท้วง ที่ใช้เวลา ยืดยาว ติดต่อกัน ถึงหนึ่งเดือน จนกระทั่ง ถึงวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๑๙ นายก รัฐมนตรี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้มอบ อำนาจ ให้นายปรีดา พัฒนถาบุตร รัฐมนตรี ว่าการ สำนัก นายก รัฐมนตรี เป็นผู้แทน ลงมา เจรจา กับผู้แทน ของ "ศูนย์พิทักษ์ ประชาชน" โดยรัฐบาล ยอมรับ เงื่อนไข ของศูนย์ เพื่อดำเนินการ ดังต่อไปนี้
๑.รัฐฯ จะดำเนินการ จับกุม และ ดำเนิน คดี กับผู้ต้องหา ที่ฆ่า บุคคล ทั้ง ๕ และ ทำร้าย เด็กชาย ลือแม บาราเซะ โดยด่วน
๒.รัฐฯ จะจ่ายเงิน ค่าชดใช้ ค่าทำศพ แก่ผู้ตาย และ ผู้บาดเจ็บ เป็นเงิน คนละ ๕ หมื่นบาท แก่ญาติมิตร ของผู้ตาย
๓.จะสั่ง ให้เคลื่อนย้าย หน่วยนาวิก โยธิน ที่ตั้งอยู่ วัดเชิงเขา ไปตั้งอยู่ วัดสักขี อำเภอสายบุรี และจะ สับเปลี่ยน กำลัง ของหน่วย นาวิก โยธิน กลับไป ยังต้น สังกัด เดิม
๔.ข้อเสนอ เกี่ยวกับ นโยบาย ที่จะนำ มาใช้ กับ สี่จังหวัด ชายแดน รัฐบาล จะรับไป พิจารณา ดำเนินการ ต่อไป และ จะควบคุม กำชับ เจ้าหน้าที่ ให้ปฏิบัติ ตามกฎหมาย โดยเคร่งครัด
๕.รัฐบาล จะดำเนินการ ตามกฎหมาย กับคดี ปาระเบิด หน้าศาลากลาง จังหวัด ปัตตานี ในคืน วันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๘ และ จะช่วยเหลือ สงเคราะห์ แก่ญาติ ของผู้ตาย และ บาดเจ็บ ที่เกิด จากการ ระเบิด ทุกคน
๖.ศูนย์ พิทักษ์ ประชาชน และ กลุ่มต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง กับการ ประชุม ประท้วง จะต้อง ดำเนินการ ให้ผู้ เข้าร่วม ชุมนุม สลายตัว โดยเร็ว ที่สุด
๗.รัฐบาล ไม่เอาผิด ข้าราชการ นักเรียน นักศึกษา ที่หยุด ภารกิจ และ การศึกษา เพื่อมา ร่วมชุมนุม
หลังจาก เหตุการณ์ ประท้วง ผ่านพ้น ไปแล้ว รัฐบาล ชุดต่างๆ ก็ได้ ดำเนินการ หาแนวทาง บริหาร ๕ จังหวัด ชายแดน ภาคใต้ จนกระทั่งปี พ.ศ.๒๕๒๔ รัฐบาล โดยการนำ ของ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ จึงมี มติ เห็นชอบ ตามข้อเสนอ ของสภา ความมั่นคง แห่งชาติ ให้ตั้ง ศูนย์อำนวยการ บริหาร จังหวัด ชายแดน ภาคใต้ขึ้น ตามคำสั่ง สำนัก นายก รัฐมนตรี ที่ ๘/๒๕๒๔ ลงวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๒๔
ลักษณะ พิเศษ ของศูนย์ อำนวยการ บริหาร จังหวัด ชายแดน ภาคใต้ คือ ให้มี เอกภาพ ในการ บริหาร สั่งการ ทำให้ มีความ คล่องตัว ในการ ปฏิบัติงาน ที่จะ ดำเนินการ แก้ไข ปัญหา สำคัญ ๓ ประการ ของจังหวัด ชายแดน ภาคใต้ ได้แก่
๑.ปัญหาด้านเศรษฐกิจ
๒.ปัญหาด้านสังคมจิตวิทยา
๓.ปัญหาการก่อการร้าย
และกำหนด สายงาน การบริหาร แผ่นดิน ขึ้นตรง กับนายก รัฐมนตรี โดยผ่าน การกลั่นกรอง ของแม่ทัพ ภาคที่ ๔ และ สภา ความมั่นคง แห่งชาติ ซึ่งจะทำ ให้ศูนย์ฯ สามารถ เสนอปัญหา ข้อแก้ไข วิธีการ ดำเนินการ แผนงาน และ โครงการ ไปยัง นายก รัฐมนตรี เพื่อ ดำเนินการ แก้ไข สภาพ ปัญหา ต่างๆ ได้สะดวก รวดเร็ว ยิ่งขึ้น กว่าที่เคย ปฏิบัติ กันมา แต่เดิม
เป้าหมาย ภารกิจ และอำนาจหน้าที่ของศูนย์ฯ มีดังนี้
ก.เป้าหมาย
๑.ให้ประชาชน ในจังหวัด ชายแดน ภาคใต้ นิยมพูด และใช้ ภาษาไทย โดยถือเอา ยุวชน รุ่นใหม่ เป็นเป้าหมาย สำคัญ
๒.ให้ประชาชน ในจังหวัด ชายแดน ภาคใต้ มีความ เชื่อมั่น ศรัทธา ในการปกครอง และ สถาบันหลัก ของชาติ มีทัศนคติ ที่ถูกต้อง ในความ เป็นคนไทย ไม่ใช่ คนกลุ่มน้อย และ ไม่นำ เอาความ แตกต่าง ทางศาสนา มาเป็น เครื่องแบ่งแยก
๓.ให้สภาวะ ความเป็นอยู่ และ รายได้ ของประชากร สูงขึ้น หรือ แตกต่างกัน น้อยที่สุด
๔.ให้ประชาชน ในจังหวัด ชายแดน ภาคใต้ ปลอดภัย จากภัย คุกคาม ของโจร ผู้ร้าย และ การดำเนินการ ทั้งปวง ที่มี วัตถุ ประสงค์ ในทาง ก่อความ ไม่สงบ บ่อนทำลาย หรือล้มล้าง การปกครอง ระบอบ ประชาธิปไตย ซึ่งมี พระมหากษัตริย์ เป็นประมุข หรือการ เปลี่ยนแปลง บูรณภาพ แห่งดินแดน ของชาติ
๕.ให้กลุ่ม ประเทศ มุสลิม มีความเข้าใจ สถานการณ์ ที่แท้จริง เกี่ยวกับ การปกครอง และ ความเป็นอยู่ ของคนไทย มุสลิม และ เข้าใจ ในนโยบาย ของรัฐบาล ที่ได้ให้ ความเป็นธรรม แก่คนไทย มุสลิม เพื่อให้ กลุ่มประเทศ มุสลิม ระงับ การช่วยเหลือ จขก. ทางลับ หรือ ดำเนินการ ใดๆ อันจะเป็น ผลร้าย ต่อไป
๖.ให้การ บริหารงาน การแก้ ปัญหา จังหวัด ชายแดน ภาคใต้ มีประสิทธิภาพ ยิ่งขึ้น
ข.ภารกิจที่สำคัญของศูนย์ฯ
๑.ประสานงาน กับ หน่วยงาน ต่างๆ ในการ แก้ไข ปัญหา จังหวัด ชายแดน ภาคใต้
๒.ประสานงาน การป้องกัน และ ปราบปราม การก่อ การร้าย
๓.ปรับปรุง ประสิทธิภาพ ข้าราชการ
๔.พัฒนา เศรษฐกิจ และ สังคม ในจังหวัด ชายแดน ภาคใต้
ค.อำนาจหน้าที่ของศูนย์ฯ
๑.ควบคุม กำกับ ดูแล และ ประสานการ ปฏิบัติงาน ของส่วนราชการ ต่างๆ ในจังหวัด ชายแดน ภาคใต้
๒.บังคับ บัญชา ข้าราชการ และ รับผิดชอบ ดำเนินงาน ของศูนย์
๓.เสนอแนะ ต่อแม่ทัพ ภาคที่ ๔ เกี่ยวกับ การโยกย้าย ข้าราชการ ที่ปฏิบัติ หน้าที่ ไม่เหมาะสม ออกจาก พื้นที่ จังหวัด ชายแดน ภาคใต้
๔.พัฒนา ประสิทธิภาพ ข้าราชการ ทุกกระทรวง ทบวง กรม ในพื้นที่
๕.รวบรวม กลั่นกรอง การจัดทำ แผน และ โครงการต่างๆ ตลอดจน การประสานงาน ติดตาม และ ประเมินผล
๖.แต่งตั้ง ที่ปรึกษา ได้ตามความ เหมาะสม โดยให้มี ผู้นำ ท้องถิ่น ร่วมอยู่ด้วย
๗.ปฏิบัติงาน อื่นๆ ตามที่ แม่ทัพ ภาคที่ ๔ มอบหมาย
จากการ ดำเนินการ บริหาร ราชการ จังหวัด ชายแดน ภาคใต้ ซึ่งศูนย์ฯ ทำหน้าที่ ควบคุม กำกับดูแล และ ประสาน การปฏิบัติงาน ของ ส่วน ราชการ ต่างๆ ในจังหวัด ชายแดน ภาคใต้ ล่วงมา ถึงปี พ.ศ.๒๕๒๗ พลโท วันชัย จิตต์จำนง แม่ทัพภาคที่ ๔ ผู้มี หน้าที่ รับผิดชอบ ต่อความ มั่นคง และ ความ สงบ เรียบร้อย ของพื้นที่ จังหวัด ภาคใต้ ได้ประกาศ ต่อหน้า พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก ผู้บัญชาการ ทหาร สูงสุด ในพิธี รับขวัญ ผู้ร่วม พัฒนา ชาติไทย เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๒๗ ณ สนามหน้า ศาลากลาง จังหวัด ปัตตานีว่า "นับแต่ บัดนี้ เป็นต้นไป จังหวัด ปัตตานี เป็นพื้นที่ สันติสุข ถาวร แล้ว และ ข้าพเจ้า ขอยืนยัน ว่า จะร่วมมือ ร่วมใจ กับพี่น้อง ประชาชน และ เจ้าหน้าที่ ของรัฐบาล ทุกฝ่าย ธำรงไว้ ซึ่งความ สงบเรียบร้อย และ พัฒนา ถาวร สืบไป"
คำกล่าว ของพลโทวันชัย จิตต์จำนง แสดงว่า การบริหาร ราชการ ๕ จังหวัด ชายแดน ภาคใต้ โดยศูนย์ อำนายการฯ (ศอ.บต.) ได้ประสบ ความสำเร็จ ในการ แก้ไข ปัญหา สำคัญ บางประการ ได้ผล รวดเร็ว เกินความ คาดหมาย
ภารกิจ ที่สำคัญ ของศูนย์ฯ เกี่ยวกับ การปรับปรุง ประสิทธิภาพ ข้าราชการ และ การคัดเลือก ข้าราชการ เข้าไป ประจำอยู่ ใน ๕ จังหวัด ชายแดน นับเป็น ความคิด ที่ดี และ สามารถ แก้ไข สถานการณ์ ได้ เพราะ ข้าราชการ เป็นตัวจักรกล สำคัญ ในการ แก้ปัญหา แต่บางครั้ง ก็กลับ เป็นผู้สร้า งปัญหา ขึ้นมาเอง ความคิดนี้ มีมา ตั้งแต่ สมัย การปกครอง แบบสมบูรณาญา สิทธิราช ที่ศูนย์ฯ รื้อฟื้น ขึ้นมา ปฏิบัติ อีก นับเป็นการ ดียิ่ง แต่การ คัดเลือก ให้ได้ คนดีจริง นั้น มีความ ลำบากใจ อยู่ มิใช่น้อย ดังที่ พลเอก สิทธิ จิรโรจน์ อดีต รัฐมนตรี ว่าการ กระทรวง มหาดไทย กล่าวว่า
"ต้องมองถึง พฤติกรรม อื่น (ของข้าราชการผู้นั้น) นอกที่ทำงาน ด้วย เป็นต้นว่า เข้าบ่อน หรือเปล่า ร่วมรับ ผลประโยชน์ จากบ่อน หรือไม่ มีการ กินแร่ กินไม้ กินของเถื่อนต่างๆ หรือไม่ ใช้อำนาจ หน้าที่ แสวงหา ประโยชน์ หรือกดดัน พ่อค้า ข้าราชการ เพื่อผลประโยชน์ ตน ประโยชน์ พรรคหรือไม่ ถ้ากล้าทำ จึงจะได้ ประโยชน์ ถ้าปากว่า ตาขยิบ ก็คง จะไม่เกิดผล"
สรุปปัญหาอุปสรรคต่อการปกครองหัวเมืองประเทศราช
ประการแรก เนื่องจาก สภาพ ภูมิศาสตร์ การคมนาคม อยู่ห่างไกล จากศูนย์กลาง การปกครอง ยาก แก่การ ควบคุม ดูแล ได้ทั่วถึง
ประการที่สอง คือความ แตกต่างกัน ในทาง วัฒนธรรม ศาสนา ภาษา ขนบธรรมเนียม และ เชื้อชาติ
ประการที่สาม รูปแบบ การปกครอง ประเทศราช หรือแบบ "กินเมือง" เจ้าเมือง มีอำนาจมาก จึงเป็น ช่องทาง ให้ใช้ อำนาจ ไปในทาง ไม่เป็นธรรม แก่ราษฎร แม้แต่ เจ้าเมือง สงขลา ซึ่งได้รับ มอบอำนาจ ให้ดูแล ควบคุม เจ้าเมือง เหล่านั้น ก็ไม่สามารถ จะเข้าไป จัดการ กับ บรรดา เจ้าเมือง ได้โดย เด็ดขาด
ประการที่สี่ การเมือง ภายนอก ประเทศ ซึ่งมี อังกฤษ เป็นผู้ ดำเนินการ ลิดรอน อำนาจ ของไทย ให้หมดไป จากแหลม มลายู เพื่อขยาย อำนาจ ทางการเมือง และ เศรษฐกิจ ไว้แต่ ผู้เดียว บุคคล สำคัญ ในการ ดำเนินการ วางแผน ทำลาย อิทธิพล ทางการเมือง ไทย ก็คือ นายโรเบิร์ต ฟลูเลอร์ดัน ข้าหลวง ประจำ เกาะปีนัง เซอร์แฟรงค์ เสวตเทนนั่ม ข้าหลวง อังกฤษ และ ข้าราชการ ของรัฐบาล สเตรต เสตเติลเมนต์ ที่เข้ามา ยุยง สุลต่าน รัฐเปรัค ปัตตานี ให้สลัดตัว ออกไป จากอำนาจ การปกครอง ของไทย
ประการที่ห้า ข้าราชการทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคที่มีหน้าที่ควบคุมบริเวณหัวเมืองทั้ง ๗ มีความ ขัดแย้ง เพื่อช่วงชิง อำนาจ และผลประโยชน์ กันเอง ดังปรากฏ หลักฐาน ในกองจดหมายเหตุ แห่งชาติ สมัย ร.๔ ม.๒๑๔/๙๘ ความว่า
"พระยา สงขลา ได้ฟ้อง พระยา สายบุรี อนุญาต ให้จีน จากสิงคโปร์ และ ปีนัง เข้ามา ปลูกมัน สำปะหลัง โดยไม่ได้รับ อนุญาต จากสงขลา ก่อน ส่วนพระยา สายบุรี ไม่ยอมรับ กลับฟ้องว่า เป็นเรื่อง พระองค์ เจ้าสายฯ ตกลงกับ พระวิเศษ วังสา ซึ่งเป็น ผู้ช่วย ราชการ พระยา สงขลาฯ พระยา สายบุรี และ พระองค์ เจ้าสายฯ จึงโกรธเคือง กันไปหมด ขณะเดียวกัน พระอนันต สมบัติ นอกจาก ขัดแย้ง กับพระองค์ เจ้าสายฯ ในเรื่อง ถอดพระยา ยะหริ่ง แล้ว ก็ไม่ถูก กับพระยา สงขลา พี่ชาย ด้วยเรื่อง ส่วนตัว อีกด้วยฯ"
ดังนั้น การจัดตั้ง ศูนย์อำนวยการ บริหาร จังหวัด ชายแดน ภาคใต้ ขึ้นเพื่อ ดำเนินการ แก้อุปสรรค ปัญหา ดังกล่าว จึงเป็น ความหวัง ขั้นสุดท้าย ของประชาชน ในภูมิภาคนี้ นั่นก็คือ ความอยู่ดี กินดี มีความ ปลอดภัย ในการ ประกอบ สัมมา อาชีวะ
(๑ นามและพระนามข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลปัตตานี
๑.พระยาศักดิ์เสนีย์ (พระยาเดชานุชิต {หนา บุนนาค}) ๒๔๔๙-๒๔๖๖
๒.หม่อมเจ้าสฤษดิ์เดช ชยางกูร ๒๔๖๖-๒๔๖๙
๓.พระยาอุดมพงษ์เพ็ญสวัสดิ์ (ม.ร.ว.ประยูร อิศรภักดี) ๒๔๖๙-๒๔๗๔
๒ ยุบเมืองระแงะเป็นจังหวัดนราธิวาส พ.ศ.๒๔๕๘
๓ พ.ศ.๒๔๕๙ ยุบเมืองปัตตานี สายบุรี ยะลา นราธิวาส ลงเป็นจังหวัด
พ.ศ.๒๔๗๕ ยุบจังหวัดสายบุรีเป็นอำเภอสายบุรี ยุบมณฑลปัตตานีเป็นจังหวัด)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น