วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

บทความชวนอ่าน - ประวัติศาสตร์อาณาจักรลังกาสุกะ (นครปัตตานี) ตอนที่ ๓

ประวัติศาสตร์อาณาจักรลังกาสุกะ (นครปัตตานี) ตอนที่ ๓

ในรัชสมัยของพญาอินทิรา ได้มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น ได้แก่ การเข้ารีตรับศาสนาอิสลามของพญาอินทิรา ประวัติศาสตร์ เมืองปัตตานี กล่าวถึงสาเหตุ ที่พญาอินทิรา ต้องเปลี่ยนจากการนับถือพระพุทธศาสนา มานับถือศาสนาอิสลามว่า เนื่องจากพระองค์ ทรงประชวร ด้วยโรคผิวหนัง (น่าจะเป็นโรคเรื้อน) นายแพทย์ซึ่งเป็นมุสลิม ชื่อ เช็คสอิด (หนังสือสยาเราะห์เกอรจาอันมลายูปัตตานี ของ อิบรอฮิม ซุกรี เรียก "เช็กซาฟานุคดีน") (น่าจะเป็นชาวเมืองปาไซในเกาะสุมาตรา) ซึ่งเข้ามาตั้งนิวาสสถานอยู่ ณ หมู่บ้านปาไซ (บ้านป่าศรี ในท้องที่ อำเภอยะหริ่ง) ได้รับอาสาถวายการพยาบาล โดยมีเงื่อนไขว่า หากพระองค์ได้รับการรักษาจนหายจากโรคแล้ว ขอให้พญาอินทิรา ทรงเปลี่ยนจากการเป็นพุทธมามกะมาเป็นอิสลามิก ซึ่งต่อมา พระองค์ก็ได้รับการพยาบาลจากนายแพทย์เช็คสอิด จนโรคผิวหนังนั้น หายขาดสนิท และทรงปฏิบัติตามสัญญา ที่ให้ไว้แก่นายแพทย์เช็คสอิด ด้วยการเข้ารับศาสนาอิสลาม เป็นพระองค์แรก ของกษัตริย์เมือง โกตามหลิฆัย และทรงเปลี่ยนพระนามพระองค์ตามประเพณีศาสนามีนามว่า สุลต่าน อิสมาเอลชาฮ์ แต่หนังสือ สยาเราะห์ เกอรจาอัน มลายู ปัตตานี ของอิบรอฮิม ซุกรี เรียกว่า สุลต่านมูฮัมหมัดชาฮ์
ดี.จี.อี. ฮอลล์ กล่าวไว้ในหนังสือประวัติศาสตร์เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เล่ม ๑ ว่า "รัฐปัตตานีก็เปลี่ยนศาสนาเพราะมะละกา" สาเหตุเพราะ มะละกา โกรธแค้นไทย ที่เคยไปโจมตีมะละกา สุลต่านมุซัฟฟาร์ชาฮ์ จึงส่งกองทัพมาตีหัวเมืองประเทศราชของไทย คือ ปาหัง ตรังกานู และปัตตานีไว้ได้ระยะหนึ่ง ระหว่างปี พ.ศ.๑๙๘๘ - ๒๐๐๒ ต่อมา ในสมัยของสุลต่านมันสุร์ชาฮ์ ราชโอรสของสุลต่านมุซัฟฟาร์ชาฮ์ ซึ่งครองราช ต่อจากพระราชบิดา ในปี พ.ศ.๒๐๐๒ - ๒๐๒๐ จึงยอมตกลงเป็นมิตรกับไทย ฉะนั้น หัวเมืองประเทศราชของไทย ซึ่งเคยนับถือ ศาสนาพุทธมาก่อน ได้แก่ ปาหัง ตรังกานู กลันตัน ปัตตานี และไทรบุรี ก็คงจะทำการเปลี่ยนศาสนา ในรัชสมัย ของกษัตริย์ มะละกา องค์ใดองค์หนึ่ง ที่กล่าวมาแล้ว เพราะระยะนั้น อาณาจักรมะละกามีอำนาจทางการเมืองเข้มแข็งมาก และยังทำหน้าที่ เป็นศูนย์กลาง การเผยแพร่ศาสนาอิสลามอีกด้วย อนึ่ง ระยะเวลาที่พญาอินทิรา เจ้าเมืองปัตตานี ผู้เปลี่ยนศาสนา มารับอิสลาม ครองเมืองปัตตานี ระหว่างปี พ.ศ.๒๐๑๒ - ๒๐๕๗ นั้น ใกล้เคียงกับสมัยของสุลต่านมันสุร์ชาฮ์ มาก
การตั้งเมืองปัตตานี :
เหตุการณ์ ที่ควรจารึกไว้ อีกประกา หนึ่ง ใน สมัย ของ สุลต่าน อิสมาเอลชาฮ์ ก็คือ การ ย้าย พระนคร โกตา มหลิฆัย (คำ "โกตา มหลิฆัย" โกตา แปลว่า ป้อม ใน ที่ นี้ หมายถึง เมือง "มหลิฆัย" แปล ว่า ปราสาท หรือ พระ เจดีย์) (หรือ ลังกาสุกะ) มา สร้าง พระนคร ใหม่ ขึ้น ที่ สันทราย บริเวณ ตำบล ตันหยง ลุโละ ตำบล บานา หมู่บ้าน กรือเซะ ในท้องที่ อำเภอ เมืองปัตตานี ในปัจจุบัน โดย พระองค์ พระราชทาน นาม เมืองนี้ ว่า "ปัตตานี ดารัสลาม" (นครแห่งสันติ) เหตุที่ ทรงย้าย พระนคร ในครั้งนั้น เนื่องมาจาก
๑. สภาพ ของ แม่น้ำ ลำคลอง ที่เคยใช้ เป็นทาง สัญจร โดย อาศัย เรือ ขนาดเล็ก ขึ้นล่อง ติดต่อ ไปมา ระหว่าง เมือง โกตา มหลิฆัย กับ อ่าว ปัตตานี เกิดการ ตื้นเขิน เรือ เดิน เข้าออก ใช้การได้ เป็นบางฤดู ทำให้ ไม่สะดวก ในการ ลำเลียง สินค้า ที่นับวัน จะเพิ่ม ปริมาณ สูงขึ้น
๒. เป็นเพราะ มีความ จำเป็น ทางด้าน เศรษฐกิจ ที่ต้องการ ติดต่อ ค้าขาย กับ พ่อค้า ชาว ต่างประเทศ ทวี ยิ่งขึ้น จากที่เคย ติดต่อ ค้าขาย กับ พ่อค้า กลุ่มชาว อินเดีย เปอร์เซีย อาหรับ จีน ญี่ปุ่น มาเป็น ชาวยุโรป และ ชาติอื่นๆ มากขึ้น
๓. อ่าวปัตตานี มี แหลมโพธิ์ เป็นที่ กำบัง ลม ทำให้ คลื่นลม สงบ เงียบ เหมาะ แก่ การใช้ เป็น สถานที่ หยุดพัก เรือ สินค้า และ เมือง ปัตตานี มี ไม้ เนื้อแข็ง ที่มี คุณภาพ สูง (ตะเคียน หลุมพลอ) สำหรับ ใช้ ในการ ต่อเรือ สินค้า ใน คราว จำเป็น ได้อีกด้วย
๔. เมือง ปัตตานี สมัย อยุธยา ยัง อุดม ไปด้วย สินค้า ของป่า ได้แก่ ทองคำ ดีบุก เกลือ หนังสัตว์ เขา งา นอแรด ไม้ฝาง ไม้กรักขี ไม้มะเกลือ หวาย และ พืช จำพวก สมุนไพร อันเป็นที่ต้องการ ของ ชาว อาหรับ และ ชาวยุโรป และ ทั้ง ยังมี อาหาร บริบูรณ์ ดังที่ มันเดล สโล กล่าว ไว้ว่า "ชาวเมือง ปัตตานี มีผลไม้ กิน ทุกเดือน เดือนละหลายๆ ชนิด มี แม่ไก่ ฟักไข่ วันละ ๒ ครั้ง บริบูรณ์ ด้วย ข้าว เนื้อวัว แพะ ห่าน เป็ด ไก่ ไก่ตอน นกยูง กวาง กระต่ายป่า นกต่างๆ เนื้อกวาง เค็ม ตากแห้ง และ โดยเฉพาะ ผลไม้ มีตั้ง ๑๐๐ กว่าชนิด" ไว้ สำหรับ จำหน่าย ให้แก่ ชาวเรือ ที่ แวะมา เยี่ยมเยือน เมืองท่า นี้ ได้ ตลอด ทั้งปี
๕. เมือง โกตา มหลิฆัย เป็น เมือง ที่ พระพุทธ ศาสนา มา ปักหลัก ลงราก ฝังลึก มาช้านาน มี ถาวร วัตถุ สถาน ทาง พุทธ ศาสนา ที่ บรรพชน ได้ ก่อสร้าง ไว้ มากมาย ซึ่ง เป็นการยาก ที่ พญา อินทิรา (สุลต่าน อิสมาเอลชาฮ์) ซึ่ง เพิ่ง เปลี่ยน มารับ อิสลาม ใหม่ๆ จะทำการส่งสริมหรือทำลายโบราณวัตถุสถานเหล่านั้นลงได้
สาเหตุ ที่ พญา อินทิรา (สุลต่าน อิสมาเอลชาฮ์) เปลี่ยน ศาสนา นั้น มีผู้ตั้ง ข้อสันนิษฐาน ไว้ อีก แง่มุม หนึ่งว่า เป็นผล มาจาก อิทธิพล ทาง การเมือง บีบบังคับ อันเนื่อง มาจาก มะละกา ซึ่ง เคย เป็น ประเทศราช ของไทย ได้ กลาย เป็น ศูนย์การค้า ที่ เจริญ รุ่งเรือง ทั้ง ด้าน เศรษฐกิจ การเมือง และ การทหาร ตรงกันข้าม กับ อาณาจักร อยุธยา ขณะนั้น กำลัง ทำ สงคราม กับ อาณาจักร ล้านนา เป็น ระยะ ติดต่อ กัน ยาวนาน เป็นเหตุให้ ต้อง สิ้นเปลือง ไพร่พล ทหาร และ ยุทโธปกรณ์ เป็นอันมาก มะละกา จึงถือโอกาส ที่ไทย กำลัง อ่อนเปลี้ย ลง ทำการ แข็งเมือง ไม่ยอม ถวาย เครื่องราช บรรณาการ แก่ กษัตริย์ ไทย ดังที่เคย ถือปฏิบัติ มา
สมเด็จ พระบรม ไตร โลกนาถ จึงได้ ส่ง กองทัพ อยุธยา และ กองทัพ จาก หัวเมือง ปักษ์ใต้ ไป ตี เมือง มะละกา ถึง ๒ ครั้ง แต่ ไม่ประสพ ความสำเร็จ ฝ่าย มะละกา กลับส่ง กองทัพ เข้ามาตี เอาเมืองขึ้น ของไทย ไป จน หมดสิ้น ได้แก่ ปาหัง ตรังกานู กลันตัน ไทรบุรี ฯลฯ ในขณะ เดียวกัน กษัตริย์ มะละกา ก็ ทำหน้าที่ เผยแพร่ ศาสนา อิสลาม ไปด้วย
พญา อินทิรา (สุลต่าน อิสมาเอลชาฮ์) ซึ่ง เคย นับถือ พุทธ ศาสนา มาก่อน ก็ต้อง อ่อนโอน ยอม ผ่อน ตาม สุลต่าน มันสุร์ชาฮ์ กษัตริย์ มะละกา ด้วยการ ยอมรับ นับถือ ศาสนา อิสลาม กล่าวกันว่า ในสมัย ที่ ปัตตานี ถูก รุกราน จาก กองทัพ มะละกา ได้มีการ ทำลาย พระพุทธรูป เทวรูป และ โบราณ สถาน ในเมือง โกตา มหลิฆัย หรือ ลังกา สุกะ ไป จน หมดสิ้น
มีข้อ ที่น่า สังเกตว่า หลังจาก สุลต่าน อิสมาเอลชาฮ์ ตั้ง เมืองปัตตานี ดารัสลาม ขึ้นแล้ว ในระหว่างปี พ.ศ.๒๐๑๒ - ๒๐๕๗ ชื่อ ของ เมือง ลังกา สุกะ ปรากฏ เป็น ครั้ง สุดท้าย ใน บันทึก ของ ชาวอาหรับ ชื่อ เทวาฮูตี ในปี พ.ศ.๑๕๑๑ (พ.ศ.๒๐๕๔) หลังจากนั้น เรื่องราว ของ เมือง ลังกา สุกะ ก็หาย ไปจาก หน้า ประวัติ ศาสตร์ เอเซีย ตะวันออก เฉียงใต้ ปรากฏ ชื่อ เมือง ปัตตานี โดดเด่น ขึ้นมา แทนที่ และ เมื่อ อัลบูเคิก ชาว โปรตุเกส นำ กองทัพ เรือ เข้า ยึดครอง มะละกา ปี พ.ศ.๒๐๕๔ ใน สมัย สุลต่าน มหหมุดชาฮ์ บรรดา พ่อค้า มุสลิม และ จีน ที่ ไม่พอใจ ชาว โปรตุเกส (ชิมาโอ เดอ อังดราเด (Simao De Andrade) ซึ่ง กระทำตน เป็น โจร สลัด) ต่างก็ พากัน เข้ามา ค้าขาย ใน เมือง ปัตตานี เป็น จำนวน มาก ทำให้ เมือง ปัตตานี กลายเป็น ศูนย์ การค้า ที่ สำคัญ อีก แห่งหนึ่ง ใน บริเวณ อ่าวไทย ซึ่ง จะได้ นำไป กล่าวไว้ ในเรื่อง ความสัมพันธ์ กับ ต่างประเทศ ในตอนหลัง
ในรัชสมัย สุลต่าน อิสมาเอลชาฮ์ (พญา อินทิรา) นี้ ได้สร้าง โบราณ วัตถุ ที่มีชื่อ ทาง ศิลปกรรม ที่งดงาม ยิ่ง ไว้ คือ ปืน พญา ตานี โดยฝีมือช่าง "ชาวโรมัน ชื่อ อับดุลซามัด" เป็นปืน หล่อด้วย ทองเหลือง ขนาด ใหญ่ มีความยาว วัดได้ ๖ เมตร ๙๘ เซนติเมตร ปากกระบอก กว้าง ๔๔ เซนติเมตร หนา ๖ เซนติเมตร บรรจุ กระสุน ขนาด ๑๑ นิ้วทางปากกระบอก ปัจจุบัน ปืน กระบอกนี้ ยังคง ตั้ง โดดเด่น อยู่หน้า กระทรวง กลาโหม ใน กรุงเทพ มหานคร (ประวัติ ของปืน ดูได้ จาก เรื่อง ปืน พญา ตานี ในหนังสือ แลหลัง เมืองตานี ของผู้เขียน)
สุสาน ที่ฝังศพ ของ พระองค์ ตั้งอยู่ ในท้องที่ บ้าน ปาเระ ตำบล ตันหยง ลุโละ อำเภอ เมือง ปัตตานี มี "แนแซ" หรือ "ตานอ" บน เนินดิน เหนือ หลุมศพ ตาม ประเพณี ของ ชาวไทย มุสลิม ในภาคใต้ แนแซ หลักนี้ ได้ สร้างขึ้น ตาม ศิลปกรรม ของ ชาวจีน คือ ใช้ หิน แกรนิต แกะสลัก เป็นรูป ก้อนเมฆ ไว้ส่วนบน (ส่วนกลางสลักด้วยอักษรอาหรับต่างลวดลาย) อันเป็นที่มาของคำ "ฮก, ลก, ซิ่ว" ที่ชาวจีนใช้เขียนเป็นคำอวยพร เช่นเดียว กับ คำ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ที่ชาวไทย รับมา จาก คติ ธรรม ของ ชาว อินเดีย
ในเชิง ศิลปกรรม คำว่า "ฮก" ช่างจีน ได้ใช้ สัญลักษณ์ ต่อไปนี้ แทน คือ รูป ขุนนาง จีน รูป ค้างคาว ดำ รูป ก้อนเมฆ รูป พระอาทิตย์ รูป ดอก โบตั๋น หรือ ดอก พุดตาน ฯลฯ หมายถึง เกียรติยศ ชื่อเสียง ผู้มีอำนาจ
คำว่า "ลก" หมายถึง ความ อุดม สมบูรณ์ โภคทรัพย์ บุตร บริวาร สัญลักษณ์ ที่ใช้ แทนคำ "ลก" ได้แก่ รูป เศรษฐี มือ อุ้มเด็ก กวางดาว ดวงจันทร์ ดอกเบญจมาศ ผลทับทิม ทะเลหรือน้ำ และคลื่น
ส่วนคำ "ซิ่ว" นี้ ใช้ สัญลักษณ์ ต่อไปนี้ แทน คือ รูป เซียน หรือ คนชรา ดวงดาว นก ที่มี ขนดำ ต้นสน ซึ่ง หมายถึง ความ ยั่งยืน มั่นคง ความดี (ความหมาย ของ คำ ฮก, ลก, ซิ่ว นี้ อาจจะ แตกต่าง กับ ที่ ผู้อื่น เขียน ไว้บ้าง ขอให้ ผู้อ่าน พิจารณา ตีความ เอาเอง)
แสดง ให้เห็น ถึง อิทธิพล วัฒนธรรม จีน ที่ เข้ามา ผสม ผสาน กลมกลืน ไปกับ วัฒนธรรม ท้องถิ่น และ การ เข้ามา ของ ชาวจีน เพื่อ การค้า และ ตั้ง ถิ่นฐาน วางรกราก อยู่ ในเมือง ปัตตานี มา ตั้งแต่ เริ่ม สร้าง เมือง ปัตตานีแล้ว ดังจะเห็น ได้จาก ข้อความ ในหนังสือ Purchase,-his Pilgrimage ของ ชาว อังกฤษ บรรยาย ถึง สภาพ สังคม และ บ้านเมือง ปัตตานี ใน สมัย นั้นว่า
"ปัตตานี เป็น นคร หนึ่ง อยู่ทาง ใต้ ของ สยาม อาคาร บ้านเรือน เป็นไม้ และ แฝก แต่ เป็น งาน สร้าง ด้วย ฝีมือ อย่าง มีศิลปะ มี สุเหร่า หลายแห่ง สุเหร่า ก่อด้วย อิฐ มี ชาวจีน มากกว่า ชาวพื้นเมือง (หมายถึง บริเวณ เมืองท่า ที่ เป็น ศูนย์ การค้า) พลเมือง มี ภาษา ใช้กัน ๓ ภาษา คือ ภาษา มลายัน ภาษาไทย และ ภาษาจีน ชาวจีน สร้าง ศาลเจ้า ชาวไทย สร้าง พระพุทธรูป พระสงฆ์ นุ่งเหลือง ห่มเหลือง ชาว ปัตตานี นับถือ ศาสนา พระมหะหมัด (ศาสนา อิสลาม) ชาวจีน และ ชาว สยาม นับถือ ศาสนา Ethniks" (เข้าใจ ว่า ตรงกับ ลัทธิ เคารพ บูชา บรรพ บุรุษ ของ ขงจื้อ ดูหนังสือ ภูมิหลัง ของไทย และ แหลมทอง ของ ไพโรจน์ โพธิ์ไทร)
ที่ บริเวณ ตำบล ที่ ฝังพระศพ สุลต่าน องค์นี้ ได้พบ ศิลา จารึก ของ ชาวจีน ที่ใช้ วาง หน้า หลุมศพ ใน ฮวงซุ้ย ร้าง จารึก แจ้ง วัน เดือน ปี นางซู้ฉิน แซ่เฉิน ผู้เป็น มารดา ว่า ถึง แก่กรรม เมื่อ "ปีเหยินเฉิน ศักราช ว่านหลี แห่ง ราชวงศ์ เหม็ง" ซึ่งตรง กับปี พ.ศ.๒๑๓๕
ภายใน เขต เทศบาล เมือง ปัตตานี ก็ยัง มี ศาลเจ้า เก่า ของ ชาวจีน ชื่อ "ศาลเจ้า ซูก๋ง" อยู่หลังหนึ่ง ติดถนน อาเนาะรู ปัจจุบัน เรียก ศาลเจ้า นี้ ว่า "ศาลเจ้า เล่งจูเกียง" ภายใน ศาล แห่งนี้ มีจารึก ภาษาจีน ว่า สร้างขึ้น เมื่อ "วันชัยมงคล ปีบ่วนเละที่ ๒ ศักราช ราชวงศ์ เหม็ง" ตรงกับ ปีพุทธ ศักราช ๒๑๑๗ เป็น หลักฐาน ชี้ถึง ที่ตั้ง ชุมชน ชาวจีน สมัย อยุธยา อย่างเด่นชัด
สุลต่าน อิสมาเอลชาฮ์ (พญา อินทิรา) ครองเมือง ปัตตานี อยู่ เป็น เวลา ๔๕ ปี พญา โกรุป พิชัย พิทักษ์ ราชบุตร ซึ่ง เฉลิม พระนาม ใหม่ ตาม ประเพณี ศาสนา ว่า สุลต่านมาดฟาร์ชาฮ์ ได้มีการ ทนุ บำรุง บ้านเมือง และ การศาสนา โปรดให้สร้าง สุเหร่า (มัสยิด) ขึ้นตามชุมนุมชน เพื่อ ให้ ราษฎร ได้ใช้ ปฏิบัติ ศาสนกิจ ทั่วพระนคร และ โปรด ให้เชิญ ผู้ เชี่ยวชาญ ศาสนา อิสลาม มาจาก เมืองปาไซ ชื่อ เช็คซาฟีนุดดีน มาเป็น ผู้ บรรยาย หลักธรรม แก่ ข้าราชการ ใน ราชสำนัก เพื่อ นำ ความรู้ ออกไป เผยแพร่ แก่ อิสลาม มามกะ ตาม ชนบท แม้ กระทั่ง ชาวเมือง โกตา มหลิฆัย (ลังกา สุกะ) ก็พากัน ยอมรับ นับถือ ศาสนา อิสลาม ตามไปด้วย
สุลต่าน มาดฟาร์ชาฮ์ ได้ เสด็จ ไป เฝ้า กษัตริย์ อยุธยา เนืองๆ (ด้วย พระองค์ ตรัสว่า กษัตริย์ อยุธยา (สมเด็จ พระมหา จักรพรรดิ์) เป็น พระญาติ ของ พระองค์) และ ได้รับ พระราชทาน เชลยทาส มา เป็น กำลัง เมือง เมื่อ สุลต่าน มาดฟาร์ชาฮ์ กลับมาถึง เมืองปัตตานี แล้ว โปรดให้ เชลยทาส ไปตั้ง บ้านเรือน อยู่ที่ บ้านกฎี (ในท้องที่ อำเภอ ยะหริ่ง ต่อเขต อำเภอ ปะนาเระ บริเวณ หมู่บ้านนี้ ยังมี ซาก เจดีย์ ปรากฏ อยู่ เป็น หลักฐาน และ อีกแห่ง คือ บ้านกฎี ซึ่งอยู่ ต่อเขต อำเภอเมืองปัตตานี)
ต่อมา ในปี พ.ศ.๒๐๙๒ พระเจ้า กรุงหงสาวดี (ตะเบ็งชเวตี้) ได้ยก กองทัพ มาตี กรุงศรี อยุธยา สุลต่าน มาดฟาร์ชาฮ์ ได้นำ กำลัง ทหาร ประกอบด้วย "ไพร่พล ที่ชำนาญ เพลงกฤช ติดตาม ไปหนึ่งพันคน และ หญิง อีกร้อยคน" เพื่อ ช่วย กรุงศรี อยุธยา ทำ สงคราม กับพม่า พงศาวดาร กรุงศรี อยุธยา ฉบับ พระราช หัตถ เลขา กล่าวว่า "ขณะนั้น พระยา ตานี ศรีสุลต่าน ยกทัพเรือ หย่าหยับ สองร้อยลำ เข้ามา ช่วย ราชการ สงคราม ถึงทอดอยู่ หน้าวัด กุฎิ บางกะจะ รุ่งขึ้น มาทอด อยู่ ประตูไชย พระยา ตานี ศรีสุลต่าน ได้ที กลับ เป็น ขบถ ก็ยก เข้าใน พระราชวัง สมเด็จ พระมหา จักรพรรดิ์ ราชา ธิราช ไม่ทัน รู้ตัว เสด็จ ลงเรือ พระที่นั่ง ศรีสักหลาด หนีไป เกาะ มหา พราหมณ์ และ เสนา บดี มนตรีมุข พร้อมกัน เข้าไป ใน พระราชวัง สะพัด ไล่ ชาว ตานี แตกฉาน ลงเรือ รุดหนีไป" หนังสือ สยาเราะห์ กรียาอัน มลายู - ปัตตานี ของ อิบรอฮิม ซุกรี ว่า สุลต่าน มาดฟาร์ชาฮ์ สิ้นชนม์ หลังจาก การสู้รบ กับ ทหารไทย พระศพ ถูกทหาร นำไป ฝังไว้ ที่บริเวณ ปากแม่น้ำ เจ้าพระยา สยาเราะห์ เมือง ปัตตานี ฉบับ ของ นาย หวันอาซัน กล่าวว่า "ไพร่พล ที่ตามเสด็จ หาได้ กลับมา เมือง ปัตตานี แม้แต่ คนเดียว"
ปีที่ สุลต่าน มาดฟาร์ชาฮ์ สิ้นพระชนม์ ปรากฏ ใน พระราช พงศาวดาร กรุงศรี อยุธยา ตรงกับ ปี พ.ศ.๒๐๙๒ ซึ่ง เป็น ประโยชน์ อย่างยิ่ง ในการ นำไป เป็น หลัก พิจารณา หาปี ครองราชย์ ของ กษัตริย์ ที่ ครอง กรุง โกตา มหลิฆัย ประกอบกับ หลักฐาน ที่ ชาวต่างประเทศ บันทึกไว้ (โปรด ดูเรื่อง แกะรอย เมือง ลังกาสุกะ จาก พงศาวดาร กรุงศรี อยุธยา ของ วันวลิต ในหนังสือ แลหลัง เมืองตานี ของผู้เขียน)
เนื่องจาก พระราช โอรส ของ สุลต่าน มาดฟาร์ชาฮ์ ยังทรง พระเยาว์ สุลต่านมันดูร์ชาฮ์ พระราช อนุชา ก็ได้รับ การ สถาปนา ขึ้นเป็น กษัตริย์ เมือง ปัตตานี รัชสมัย สุลต่าน พระองค์นี้ ปัตตานี ได้ประสพ กับ ภาวะ สงคราม โดย สุลต่าน เมือง ปาเล็มบัง ในเกาะ สุมาตรา ยก กองทัพเรือ มาปล้น เมือง ปัตตานี ๒ ครั้ง แต่ ชาวเมือง ปัตตานี ก็ สามารถ ปกป้อง เมือง ไว้ได้ ครั้นถึง ปีพุทธ ศักราช ๒๑๐๑ สุลต่าน มันดูร์ชาฮ์ ก็สิ้น พระชนม์ รวมเวลา ที่ปกครอง เมือง ปัตตานี อยู่เพียง ๙ ปี ก่อนที่ พระองค์ จะสิ้น พระชนม์ ได้ทรง มอบหมาย ให้ มุขมนตรี เสนา บดี ให้แต่งตั้ง สุลต่าน ปาเตะเซียม ราชโอรส ของ สุลต่าน มาดฟาร์ชาฮ์ ขึ้นครอง เมืองปัตตานี แต่เนื่องจาก สุลต่าน ปาเตะเซียม มี พระชนมายุ เพียง ๙ พรรษา รานี ไอเซาะ พระมาตุจฉาเจ้า ซึ่ง เป็น พระมเหสี หม้าย ของ สุลต่าน เมืองสาย ที่สิ้น พระชนม์ ไปแล้ว ได้รับ หน้าที่ เป็นผู้ สำเร็จ ราชการ แทน องค์ ยุว กษัตริย์
หนังสือ กรียาอัน มลายู-ปัตตานี กล่าวถึง การถวาย พระนาม ยุว กษัตริย์ พระองค์นี้ ว่า "รายา ปาเตะเซียม (สยาม) เพื่อเป็น อนุสรณ์ แห่ง พระบิดา ที่สิ้น พระชนม์ ณ สยามประเทศ" แต่ข้าพเจ้า สันนิษฐาน ว่า คำ "ปาเตะ" น่าจะ มาจาก คำว่า "อุปปาติก" ในภาษา บาลี ที่แปลว่า "สัตว์โลก ที่เกิดเอง ไม่มี มารดา บิดา" ทั้งนี้ เพราะ ระหว่างที่ ยุว กษัตริย์ องค์นี้ ประสูติ สมเด็จ พระราช บิดา เสด็จไป ราชการ สงคราม และได้ สิ้น พระชนม์ ไปใน ที่สุด เสมือน ผู้ไม่มี บิดา บังเกิดเกล้า อนึ่ง ในราช สำนัก กษัตริย์ ปัตตานี สมัย นั้น มีการ ใช้ภาษา สันสกฤต บาลี ปะปน กับ ภาษาถิ่น อยู่ เช่น ชื่อ ของ ราชฑูต เมือง ปัตตานี ที่ เจ้าหญิง อูงู ส่งไป เฝ้า พระเจ้า ปราสาททอง ก็มี นามว่า Siratavaradja (สีรัตวรราชา) และ โสรัจจ นาถสะวารี (Soyradja Natsawari) แม้แต่ ชื่อเมือง ปัตตานี เอง ก็มี ที่มา จากคำว่า "ปตฺตน" ในภาษา สันสกฤต ที่แปลว่า เมือง, นคร, ธานี
เจ้าหญิง ไอเสาะ ได้ ดำรง ตำแหน่ง ผู้สำเร็จ ราชการ อยู่ได้ เพียง ๑ ปี เกิด ขัดแย้ง กับ บรรดา ข้าราชการ และ พระบรม วงศา นุวงศ์ ซึ่ง มี รายา มาบัง และ รายา บิมา เป็นหัวหน้า สมคบกับ ทหาร รักษา พระราชวัง ทำการ ขบถ ลักลอบ เข้าไป ปลงพระชนม์ สุลต่าน ปาเตะเซียม และ เจ้าหญิง ไอเสาะ ใน อิสตานา
สุลต่าน บาฮ์โดร์ชาฮ์ ราชโอรส ของ สุลต่าน มันดูชาฮ์ ได้รวบรวม ทหาร ที่ จงรัก ภักดี ทำการ ปราบปราม พวก ขบถ จน ราบคาบ ได้ขึ้น ครองเมือง ปัตตานี สืบมา ในปี พ.ศ.๒๑๐๑ ถึงปี พ.ศ.๒๑๓๕ รวมเป็น เวลา ๓๕ ปี ก็สิ้น พระชนม์ เนื่องจาก พระองค์ ไม่มี พระโอรส มีแต่ พระธิดา ๓ องค์ คือ เจ้าหญิง ฮียา เจ้าหญิง บีรู เจ้าหญิง อูงู บรรดา พระบรม วงศา นุวงศ์ และ มุข มนตรี จึงได้ ประชุม ปรึกษา มีมติ แต่งตั้ง ให้ เจ้าหญิง ฮียา ขึ้นครอง เมือง ปัตตานี นับเป็น ปฐม กษัตริย์ ใน ราชวงศ์ โกตา มหลิฆัย ที่มี พระราชินี เป็นผู้ ปกครอง พระนคร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น