วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

บทความชวนอ่าน - ประวัติศาสตร์อาณาจักรลังกาสุกะ (นครปัตตานี) ตอนที่ ๔

ประวัติศาสตร์อาณาจักรลังกาสุกะ (นครปัตตานี) ตอนที่ ๔

ในสมัย ของเจ้าหญิง ฮียานี้ เป็นสมัย ที่เมือง ปัตตานี มีการ ติดต่อ สัมพันธ์ กับชาว ตะวันตก มากขึ้น เป็นลำดับ และ เป็นช่วง ระยะ ที่ เศรษฐกิจ การค้า ของเมือง ปัตตานี เจริญ รุ่งเรือง ที่สุด ดังจะนำ ไปกล่าวไว้ ในเรื่อง การสัมพันธ์ กับชาว ต่าง ประเทศ และ เรื่อง เศรษฐกิจ การค้า กับ นานา ประเทศ ในตอน ต่อไป
เอกสาร ของ ชาว ฮอลันดา ฉบับหนึ่ง ได้กล่าว ยกย่อง ถึง พระปรีชา สามารถ ในการ ปกครอง ของ พระนาง ฮียา ไว้ว่า
"ปัตตานี เป็น อาณาจักร โบราณ แต่อยู่ ในอำนาจ ของ สยาม เสมอมา ในเวลานี้ มี ผู้หญิง ปกครอง เป็นธิดา เมือง ปัตตานี องค์ที่ สิ้น พระชนม์ ไปตั้ง ๓๐ ปีแล้ว ถึงแม้ จะเป็น เมืองที่ ผู้หญิง ปกครอง การปกครอง ก็นับว่า ดีพอควร ชาวต่างประเทศ ไม่มี เรื่องที่ จะร้องถึง ความทุกข์ ลำบาก มีข้อ ที่ควร ร้องทุกข์ อยู่อย่างเดียว คือ เสียภาษีมาก เรือ ทุกลำ ซึ่งมา ที่นี่ ต้องเสีย ภาษี ถึง ๒,๐๐๐ เหรียญ สินค้า ทุกอย่าง ที่นำเข้า ต้องเสีย ภาษี ๕ หาบ สินค้า ที่นำออก ก็ต้อง เสียภาษี เช่นเดียวกัน นอกจากนั้น ยังต้อง เสียของ กำนัล และ สินบน อีกมาก" (เอกสาร ฉบับนี้ ลงปี ที่เขียน ตรงกับ ปี พ.ศ.๒๑๖๕) (ดูเรื่อง ความสัมพันธ์ กับ ต่างประเทศ สมัยอยุธยา หลวงวิจิตร วาทการ รวบรวม พิมพ์ ในงาน พระราชทาน เพลิงศพ นางธำรงนาวาสวัสดิ์)
สภาพ ความเป็นอยู่ ของ เจ้าหญิง ฮียา เจมส์ เนกซี่ (James Naccy) ชาว ฮอลันดา ซึ่ง เข้ามา เยือน เมือง ปัตตานี ในปี ค.ศ.๑๖๐๒ (พ.ศ.๒๑๕๕) ได้ บันทึก ไว้ว่า
"นางพญา เป็นหญิง อายุ ๖๐ ร่างสูง เก็บตัว อยู่ ภายใน พระราชวัง กับ บริวาร สตรี อย่าง ใกล้ชิด สตรี เหล่านั้น บางคน ยัง ไม่ได้ แต่งงาน การแต่งงาน ของ บริวาร จะต้อง ได้รับ อนุญาต จาก นางพญา ก่อน บางครั้ง เราเห็น นาง พญา นั่งบน หลังช้าง เสด็จ ออกไป พักผ่อน หย่อนใจ กีฬา ที่นางพญา ชอบ คือ การล่าสัตว์ มีไพร่พล บริวาร ติดตาม ไปด้วย ถึง ๖๐๐ คน และ มี น้องสาว ของ นางพญา ที่ยัง ไม่แต่งงาน มีอายุ ราว ๔๖ ปี ติดตาม ไปด้วย"
ด้าน การ ปกครอง นางพญา ได้แต่งตั้ง มนตรี ขึ้น ๓ นาย เป็น ที่ปรึกษา และ ช่วย ในการ ควบคุม ดูแล การบริหาร แผ่นดิน ให้เกิด ประสิทธิภาพ คือ หวันยะลา หวันอาหลง และ สีริอากา (ศรีอากา)
ในครั้งนั้น ลำน้ำ ซึ่งอยู่ใกล้ พระราชฐาน เกิดน้ำ ทะเล ไหลบ่า เข้าสู่ ลำคลอง ซึ่ง ตื้นเขินขึ้น ทำให้ ราษฎร ไม่สามารถ ใช้น้ำ ดื่ม อาบ ได้ ดั่ง เช่นเคย พระนาง จึง เสด็จ ออกไป เกณฑ์ ผู้คน และ ควบคุม การ ขุดคลอง ที่บ้าน ตามะงัน (ระหว่าง เขต ตำบล เมาะมาวี กับ ตำบล ปรีกี) อำเภอ ยะรัง เพื่อ ระบาย น้ำ ใน แม่น้ำ ตานี ให้ ไหลลงสู่ คลอง ที่ขุดขึ้นใหม่ จากบ้าน ตะมางัน ถึงบ้าน กรือเซะ ออกสู่ อ่าวกัวรารา ที่ ตำบล ตันหยงลุโละ อำเภอ เมือง ปัจจุบัน ยังผล ให้ราษฎร มีน้ำดื่ม น้ำใช้ และ ประกอบ การเกษตรกรรม ได้ผลดี อีกด้วย
ปี พ.ศ.๒๑๕๕ เจ้าหญิง ฮียา ได้จัด พิธี อภิเษก สมรส ให้แก่ พระขนิษฐา องค์เล็ก (เจ้าห ญิง อูงู) กับ สุลต่าน แห่ง รัฐปาหัง ในพิธี สมรส ครั้งนี้ มี การเชิญ แขก ชาว ต่างประเทศ ที่เข้ามา ค้าขาย อยู่ในเมือง ปัตตานี เข้าร่วม พิธี เป็นจำนวนมาก พ่อค้า ชาวอังกฤษ ชื่อ ปีเตอร์ แวร์โปร์ริส ได้บันทึก เรื่องนี้ ไว้ว่า "วันที่ ๑ สิงหาคม ค.ศ.๑๖๑๒ (พ.ศ.๒๑๕๕) เรา ได้รับเชิญ จาก เจ้าหญิง ไปชม พิธี อภิเษก สมรส ระหว่าง สุลต่าน ปาหัง กับ พระขนิษฐา คือ เจ้าหญิงอูงู สาเหตุ ของการ อภิเษก สมรสนั้น เนื่องจาก นางพญา เมืองตานี มีความ ประสงค์ จะให้ พระขนิษฐา องค์เล็ก เป็นมเหสี ของ สุลต่าน เมืองปาหัง จึงส่ง ราชฑูต ไป ทาบทาม เจ้าเมือง ปาหัง พร้อมกับ ทูลเชิญ สุลต่าน ปาหัง ให้เสด็จ มาทอดพระเนตร เจ้าหญิง อูงู ณ เมืองปัตตานี แต่ สุลต่าน ปาหัง ผัดผ่อน ไม่ยอม เสด็จ มาตาม คำเชิญ พระนาง จึงส่ง ทหาร ๔,๐๐๐ คน เรือรบ ๘๐ ลำ ไปยัง เมือง ปาหัง บังคับ ให้สุลต่าน เมืองปาหัง เสด็จ มา อภิเษก กับ เจ้าหญิง อูงู ที่เมือง ปัตตานี" หลังจากนั้น เจ้าหญิง อูงู ก็ตาม เสด็จ พระสวามี ไป ประทับ อยู่ ณ เมืองปาหัง
เมื่อ เจ้าหญิง ฮียา สิ้น พระชนม์ ลง ในปี พ.ศ.๒๑๕๙ ประชาชน ได้พากัน ขนาน พระนาม ของ พระองค์ว่า "มารโฮม ตามางัน" ทั้งนี้ เพื่อ เป็นการ เทิดทูน พระเกียรติ แด่ พระนาง ที่ได้ ทำการ ขุดคลอง ตะมางัน สำเร็จ
เจ้าหญิง บีรู พระขนิษฐา องค์รอง ได้รับ การ สถาปณา ขึ้น ดำรง ตำแหน่ง ราชินี แห่งเมือง ปัตตานี ด้วย ความเห็นชอบ ของ บรรดา มุขมนตรี และ เสนาบดี ๓ ปีต่อมา คลองตะมางัน ที่ เจ้าหญิง ฮียา ขุดขึ้นใหม่ ถูกกระแสน้ำ ในแม่น้ำ ตานี ไหลบ่า ท่วมท้น เซาะ ตลิ่ง พัง ขยาย ลำน้ำ กว้างยิ่งขึ้น สายน้ำ ได้ไหล เซาะ ตีนสะพาน ตลาด ปินตู ฆาเยาะ (ประตูช้าง) ใกล้ กำแพง เมือง เข้ามา ทุกปี เจ้าหญิง บีรู เกรงว่า กำแพง เมือง จะพัง ทะลาย จึง สั่งให้ ขุนนาง ออกไป เร่งรัด ราษฎร จัดทำ ทำนบ กั้นน้ำ ใน ลำคลอง ไว้ ปัจจุบัน เรียก หมู่บ้าน ที่สร้าง ทำนบ กั้นน้ำ นี้ว่า "กำปง ทาเนาะ บาตู" อยู่ในเขต ท้องที่ อำเภอเมือง ปัตตานี สาเหตุ อีก ประการ หนึ่ง ที่ ทำให้ ต้องสร้าง ทำนบ กั้นน้ำ เนื่องจาก กระแสน้ำ ได้ ไหลบ่า เข้าสู่ คลอง แปแปรี ใน บริเวณ ที่ใช้ ทำนาเกลือ ทำให้ น้ำ ลด ความเค็ม ลง ไม่สามารถ ผลิตเกลือ ซึ่ง เป็น สินค้า สำคัญ ของ เมือง ปัตตานี ออกสู่ ตลาด ได้เช่นเคย ทำให้ รายได้ จากภาษี เกลือ ลดน้อย ลง
หลังจาก สร้างทำนบ กั้น ลำน้ำไว้ คลอง ตะมางัน ก็ค่อยๆ ตื้นเขิน ทิ้งร่องรอย ให้เห็นเพียง "กอจาก" ที่ขึ้นอยู่ ตาม ลำน้ำเก่า จาก สะพาน บ้านปรีกี อำเภอยะรัง ตลอด ริมถนน สิโรรส ด้านขวามือ จนถึง บ้านปุยุด เขตท้องที่ อำเภอ เมืองปัตตานี
ต่อมา ทางเมือง ปาหัง สุลต่าน ผู้เป็น สวามี ของเจ้าหญิง อูงู พระขนิษฐา ของ พระนาง บีรู ได้ สิ้น พระชนม์ ลง พระนาง จึงให้ ขุนนาง นำ ขบวน ออกไป เชิญ เจ้าหญิง อูงู และ เจ้าหญิง กูนิง พระเจ้า หลานเธอ เสด็จ กลับมา ประทับ อยู่เมือง ปัตตานี
ปัตตานี มีความ สัมพันธ์ ทาง การเมือง กับ กรุงศรี อยุธยา ในฐานะ ประเทศราช แต่ เจ้า ผู้ครอง นคร มีอำนาจ สิทธิขาด ในการ ดำเนิน การ ปกครอง กันเอง โดยเสรี หน้าที่ ของ ประเทศราช มีเพียง ส่ง เครื่องราช บรรณาการ คือ ต้นไม้ทองเงิน นำไป ถวาย พระมหา กษัตริย์ ไทยทุกๆ ๓ ปี ขนาด ของ ต้นไม้ทองเงิน ประกอบด้วย
๑. ลำต้นสูง ๒ ศอก ๔ นิ้ว
๒. กิ่ง ๔ ชั้น รวม ๕ ชั้นทั้งยอด
๓. ใบต้นไม้ทอง ๒๗๐ ใบ
๔. ดอก ๑๗ ดอก เป็นทอง
๕. ใบต้นไม้เงิน ๒๕๘ ใบ
๖. ดอกไม้เงิน ๑๗ ดอก
ขนาด ดอกไม้ทองเงิน หลังจาก แยกเมือง ปัตตานี ออกเป็น ๗ หัวเมืองแล้ว ขนาด ของ ต้นไม้ ทองเงิน ได้ เปลี่ยนแปลง ไปตาม ฐานะภาพ ของ แต่ละเมือง หน้าที่ อีกอย่าง หนึ่งก็คือ ยามที่ ราชธานี ตกอยู่ ในภาวะ ต้องทำ สงคราม กับ อริราช ศัตรู เจ้า ประเทศราช มีหน้าที่ ต้องให้ ความช่วยเหลือ ในการ ทำ สงคราม ร่วมกัน แต่ เจ้า ประเทศราช ไม่มีสิทธิ ใน อธิปไตย ภายนอก เช่น การทำ สัญญา หรือ ข้อตกลง ใดๆ กับ ต่างประเทศ โดยลำพัง
สมัย เจ้าหญิง บีรู ตรงกับ สมัย ของ พระเจ้า ปราสาททอง ครอง กรุงศรี อยุธยา พระนาง บีรู รังเกียจ พระเจ้า ปราสาท ทอง ที่ ทำการ แข็งเมือง ไม่ยอม ส่ง เครื่องราช บรรณาการ เข้าไปถวาย เป็นเหตุ ให้ พระเจ้า ปราสาททอง ส่งกองทัพ กรุงศรี อยุธยา และ กองทัพ เมือง นครศรี ธรรมราช ยกมาตี เมือง ปัตตานี ทำการ ล้อมเมือง ปัตตานี อยู่ เป็น เวลา ๑ เดือน แต่ เนื่องจาก ขาด เสบียง อาหาร จึงต้อง ถอยทัพ กลับไป
ครั้น เจ้าหญิง บีรู สิ้นพระชนม์ ลงใน พ.ศ. ๒๑๘๓ บรรดา มุขมนตรี แห่งเมือง ปัตตานี ก็ได้ ประชุม ปรึกษา ลงมติ ยกเจ้าหญิง อูงู พระราช ขนิษฐา องค์เล็ก ซึ่ง เป็น มเหสี หม้าย ของ สุลต่าน ปาหัง ขึ้น ปกครอง เมือง ปัตตานี ด้วยการ เกลี้ยกล่อม ของ พวก พ่อค้า ชาว ฮอลันดา ทำให้ เจ้าหญิง อูงู ทรง เปลี่ยน นโยบาย การเมือง ที่เคย กระด้าง กระเดื่อง กลับมาใช้ นโยบาย ทางการทูต แทนการ ใช้กำลัง ทางทหาร ดังข้อความ ที่ พระนาง ตรัสตอบ นายฟอนฟลีต (วันวลิต) ที่เดินทาง ไปเฝ้า พระนาง ในท้องพระโรง พระราชวัง ว่า "การกระทำ ของ บรรดา เจ้าเมือง ปัตตานี ก่อนๆ พระนาง ได้ลืม ไปเป็น เวลา นานแล้ว และ หลังจาก เรา ขึ้น สืบ ราช สมบัติแล้ว ก็ได้ ทำ สันติ ไมตรี กับ พระเจ้า แผ่นดิน สยาม" โดย พระนาง ได้ส่งทูต ชื่อ สีรัตวรราชา (Siratavaradja) และ โสรัจจ นาถสะวารี (Soyradja Natsawari) กับ ขุนนาง ผู้ใหญ่ ถือ ศุภสาส์น พร้อมด้วย เครื่องราช บรรณาการ และ ดอกไม้ ทองเงิน เข้าไป ขอ พระราชทาน อภัยโทษ ต่อ พระเจ้า ปราสาททอง หลังจากนั้น ภาวะ สงคราม ระหว่าง เมือง ปัตตานี กับ ราชอาณาจักร อยุธยา ก็ยุติลง ทำให้ เรือสินค้า ไปมา ค้าขาย กันเป็น ปกติ กิจการ ค้า ภายใน และ ภายนอก เมือง ก็ค่อย กระเดื้อง ขึ้น เช่น สมัย เจ้าหญิง ฮียา ครองราชย์ อีก วาระ หนึ่ง
ต่อมา สุลต่าน เมืองยะโฮร์ ได้ส่ง ทูต มาสู่ขอ เจ้าหญิง กูนิง ราชธิดา ของพระนาง อูงู ให้แก่ ราชโอรส (ยังดี เปอรตู วันมูดอ) พิธี อภิเษก สมรส ได้จัดขึ้น ณ เมืองปัตตานี ใน ท่ามกลาง แขกเมือง ใกล้เคียง และ พ่อค้า วาณิชย์ ชาว ต่างประเทศ ที่เข้ามา ทำการค้า อยู่ใน เมือง ปัตตานี เป็น จำนวน มาก
สยาเราะฮ์ เมืองปัตตานี ฉบับ ของ นายหวันฮาซัน กล่าวว่า "รายา กูนิง นั้น ได้เข้า พิธี อภิเษก สมรส กับ พญา เดชา (เดโช) มาก่อน ภายหลัง พญา เดชา กลับไป กรุงสยาม และ ได้ถึง แก่กรรม ลง รายา กูนิง จึงกลับ มาอยู่ ที่เมือง ปัตตานี และ ได้เข้า สู่ พิธี อภิเษก สมรส กับ ราชบุตร เจ้าเมือง ยะโฮร์ เป็นครั้ง ที่สอง"
จากเรื่องราว ใน พระราช พงศาวดาร กรุงศรี อยุธยา และ ตำนาน เมือง นครศรี ธรรมราช ซึ่งอยู่ ในช่วง กาลเวลา ใกล้เคียง กัน คือ ทาง กรุงศรี อยุธยา มีนาย ทหารเอก ของ สมเด็จ พระนารายณ์ มหาราช คนหนึ่ง ชื่อ พระยา รามเดโช ได้รับ แต่งตั้ง ให้มา เป็น เจ้าเมือง นครศรี ธรรมราช ครั้น เมื่อ สมเด็จ พระเพท ราชา ได้ขึ้น เสวย ราช สมบัติ เจ้าเมือง นครศรี ธรรมราช ทำการ เป็น กบฏ ด้วย รังเกียจ สมเด็จ พระเพท ราชา ว่า ขาดความ จงรัก ภักดี ต่อ สมเด็จ พระนารายณ์ และ พระบรม วงศา นุวงศ์
สมเด็จ พระเพท ราชา จึงโปรดเกล้าฯ ให้ พระยา ราชวังสัน คุม กองทัพเรือ ยกมาตี เมือง นครศรี ธรรมราช พระยา รามเดโช เห็นว่า จะสู้รบ เอาชนะ กองทัพ กรุงมิได้ จึงลอบ มีหนังสือ ไปถึง พระยา ราชวังสัน ซึ่งเป็น สหาย และ เป็น มุสลิม ด้วยกัน ให้ช่วยเหลือ พระยา ราชวังสัน จึงให้ ทหาร จัดเรือ ให้ พระยา รามเดโช หลบหนี ไปได้ ดังนั้น พญา เดชา หรือ เดโช ในสยาเราะห์ เมือง ปัตตานี ดังกล่าวแล้ว อาจจะ เป็น บุคคล คนเดียว กับ พระยา ราม เดโช เจ้าเมือง นครศรี ธรรมราช ที่กล่าวก็ได้
การสัมพันธ์ ทางการ สมรส ระหว่าง กษัตริย์ และ ขุนนาง เมือง ปัตตานี กับ กรุงศรี อยุธยา มีปรากฏ หลักฐาน อยู่ ดังที่ Tome Pires กล่าวว่า พระบรม ราชาที่ ๑ ได้ธิดา ขุนนาง เมือง ปัตตานี ไปเป็น พระสนม และนาง ได้ประสูติ พระธิดา องค์หนึ่ง ต่อมา นางได้ อภิเษก สมรส กับ เจ้าเมือง ตามาเค็ก (สิงคโปร์) และ ในสมัย กรุงรัตน โกสินทร์ ก็ว่า สมเด็จ พระบวร ราชเจ้า มหา สุรสีหนาท ก็ได้ พระธิดา ของ สุลต่าน อาหะหมัด เจ้าเมือง ปัตตานี ไปเป็น พระสนม ประสูติ ธิดา องค์หนึ่ง ชื่อว่า ตนกูตานี
หลังจาก การ อภิเษก สมรส แล้ว ยังดี เปอร์ตู วันมุดอ (ยะโฮร์) ก็คง อยู่ช่วยเหลือ ราชการ อยู่ ณ เมือง ปัตตานี ไปจน กระทั่ง เจ้าหญิง อูงู สิ้นพระชนม์ ลงในปี พ.ศ.๒๒๐๐
เจ้าหญิงกูนิง ก็ได้รับ การแต่งตั้ง ให้ขึ้น ดำรง ตำแหน่ง ราชินี เมือง ปัตตานี เป็นองค์สุดท้าย แห่ง กษัตริย์ ราชวงศ์ โกตา มหลิฆัย เจ้าหญิง กูนิง นอกจาก ทรงรับ ภาระ ทางด้าน การบริหาร บ้านเมืองแล้ว ยังทรง ประกอบ ธุรกิจ การค้า ทางเรือ สำเภา เป็นส่วน พระองค์ อีกด้วย มีนาย สันดัง ทำหน้าที่ เป็นนายเรือ แล่นไปมา ค้าขาย ติดต่อ กับเมืองท่า ในอ่าวไทย คือ อยุธยา - นครศรี ธรรมราช และ มะละกา อยู่เป็น ประจำ ทำให้ พระนาง มีรายได้ เพียงพอ ในการ ใช้สอย เลี้ยงดู ข้าราช บริพาร ของ พระนาง โดย ไม่ต้อง พึ่งพา เงิน ในท้อง พระคลัง ของเมือง เป็นเหตุ ให้เชื้อ พระวงศ์ มีจิต ริษยา สมคบ กันเป็น กบฏ หมาย ยึดครอง ตำแหน่ง รายา เมือง ปัตตานี ในที่สุด พวกบฏ ซึ่งมี รายา คาลี เป็นผู้นำ ก็ถูก ทหาร ที่จงรัก ภักดี ต่อ พระนาง จับได้ และ นำไป ประหาร ชีวิต หมด
เนื่องจาก เศรษฐกิจ การเงิน ของเมือง ปัตตานี ที่กำลัง เฟื่องฟู และ พระนาง มีรายได้ จากการค้า เรือ สำเภา เป็นอันมาก ในราช สำนัก ของนาง จึงพรั่งพร้อม ไปด้วย นักร้อง และ นักดนตรี จับระบำ ขับร้อง ประสานเสียง ทุกค่ำคืน มีวง มโหรี ที่อยู่ ในความ อุปถัมภ์ ของพระนาง อยู่ ๔ วง คือ
วงของ ตนอามัส ตนเปรัค ตนดาไนย์ และ ตนมาดูซารี และ มีนักร้อง นักระบำ หญิง ที่เลอโฉม อยู่ ๑๒ นาง ได้แก่ ดังซันจอ ดังมาเรียม ดังปิเดาะห์ ดังซิรัต ดังบุษบาซารี ดังอาเล็ต ดังจันทิรา ดังอานัม ดังเซาว์เดาะห์ ดังซาไร ดังสุมารา และ ดังอะลัส
ในจำนวน นักร้องสาว ๑๒ นาง ดังซิรัต แม้จะมี ความงาม สู้นักร้อง คนอื่นๆ ไม่ได้ แต่สำเนียง การขับร้อง และ ท่วงที ลีลา ในการ ร่ายรำ ของนาง อ่อนช้อย น่ารัก ยิ่งนัก จึงสามารถ โน้มน้าว น้ำพระทัย ของ ยังดี เปอร์ตู วันมุดอ ให้มา หลงรักนางได้ จนกระทั่ง มีกำหนด นัดหมาย ทำพิธี วิวาห์ ขึ้น ณ คฤหาสน์ ของ บิดา ดังซิรัต (ปัจจุบัน บริเวณ คฤหาสน์ แห่งนี้ เรียกกันว่า "กอตอโต๊ะเลก" ซึ่ง ยัง ปรากฏ กำแพงดิน และ กอไผ่ เป็นแนว เด่นชัด อยู่ที่ ตำบล กระโด อำเภอยะรัง)
เมื่อ พระนาง กูนิง ทราบข่าว การ สมรส ระหว่าง ดังซิรัต กับ พระสวามี จะมีขึ้น ณ บ้านกระโด (บางฉบับว่า บ้าน ตามางัน) พระนาง จึงสั่ง ทหาร เมือง ปัตตานี ให้ปิด ประตูเมือง และนำ ปืนใหญ่ ไปตั้ง เรียงราย ประจำ ช่อง กำแพงเมือง เตรียมพร้อม ที่จะ ต่อสู้ กับ ทหาร เมืองยะโฮร์ ขณะนั้น ได้ติดตาม ยังดี เปอรตู วันมุดอไป เพื่อร่วม พิธี วิวาห์ กันอยู่ ณ คฤหาสน์ ของ บิดา นางดังซิรัต
ฝ่าย ยังดี เปอร์ตุ วันมุดอ เมื่อทราบ ข่าวว่า เจ้าหญิง กูนิง เตรียมพร้อม ที่จะทำ สงคราม กับชาวยะโฮร์ ก็สั่งงด พิธี วิวาห์ และ ออกเดินทาง กลับไป เมือง ยะโฮร์ ทันที ขณะที่ พระองค์ เสด็จขึ้น ไปประทับ บนหลังช้าง พร้อมกับ นางดังซิรัต ช้าง ได้ใช้งวง ตวัด เอาตัว ดังซิรัต ตกลงมา ทำให้ เครื่องลาง (เครื่องลางที่กล่าว คือ ช้องหมูป่า) ที่นาง ผูกรัด ไว้กับ มวยผม กระเด็น ออกไป จากมวยผม ทันใดนั้น ดวงหน้า ของ ดังซิรัต ที่อิ่มเอิบ แพรวพราย เสน่ห์ น่าชวน พิศมัย ก็แปรเปลี่ยน ไป ประดุจ หน้า ของ ปีศาจ ร้าย ยังดี เปอรตุ วันมุดอ เห็นดังนี้ จึงใช้กริช จ้วงแทง อก ของ ดังซิรัต จนถึง แก่ความตาย เพราะ ความ เคียดแค้น ที่นาง ได้ หลอกลวง พระองค์ ด้วยการ ใช้ เสน่ห์ ยาแฝด และ เครื่องลาง ของขลัง ทำให้ พระองค์ ลุ่มหลง จนลืม เจ้าหญิง กูนิง และ ถูกขับไล่ ออกจาก เมือง ปัตตานี
เมื่อเรื่อง ความรัก หลัง ราชบัลลังก์ แพร่ออกไป สู่ชาว พระนคร ชาวเมือง ก็นำ ไปร้อยกรอง เป็น "ปันตน" ขับร้องกัน ความว่า
"ซามาน ซามานเตอกูโกมาตี มาตีดิบอเวาะฮ์เตอรงเปอรัต
ซามาน ซามาน รายายะโฮร์มารี มารีเมมบูนุสดังซิรัต
ดารีปตานีกะตันหยงคานดิส ดิติยุปอางินสลาตันดายา
ดารีมูลาเอีย-ยามานิส รูปา-งาสุลตันเกอนาดายา"
คำแปล :
อนาถ หนอ นกเขาใหญ่ ชีพดับใต้ต้นพฤกษา
มะเขือขื่นหื่นรสพา มามรณาอยู่เดียวดาย
โอ้อนิจจาจอมโยธา ยะโฮร์คราตานีหมาย
เด็จชีพดังซิรัตวาย ณ ปลายแหลมคานดิส*เนิน
สลาตันโชยระรื่น ราชาชื่นคำสรรเสริญ
บ่รู้เดชวายุเพลิน ดุจพระเผชิญเสน่ห์นวล
*(คานดิส คือต้นกายีชนิดหนึ่ง ถิ่นใต้เรียก ต้นเทียะ มีผลเล็ก รสหวาน)
หลังจาก ยังดี เปอร์ตุ วันมุดอ หนี ออกจาก เมืองปัตตานี ไปแล้ว เมืองปัตตานี ก็ได้ทำ สงคราม กับ เจ้าเมือง สงขลา ดังข้อความ ในรายงาน ของ นายยอร์ช เดวิส และ นายจอห์น ปอร์ตแมน เจ้าหน้าที่ บริษัท อิสต์ อินเดีย ของ ชาวอังกฤษ ที่ประจำ อยู่ ณ เมืองไทรบุรี รายงาน ไปถึง ประธาน กรรมการ บริษัท ที่เมือง สุรัต ความว่า "การสงคราม สู้รบ ระหว่าง เจ้าหญิง เมืองไทรบุรี จักได้ ส่งทูต ไปเกลี้ยกล่อม ปรองดอง เจ้าเมือง ทั้งสอง แล้ว แต่ไม่สำเร็จ" และ อีกฉบับหนึ่ง เป็นของ นาย โยซังเบอร์โรส จากเมือง ไทรบุรี ถึง ประธาน กรรมการ แห่งเมือง สุรัต เช่นเดียวกัน เมื่อวันที่ ๒๘ ตุลาคม ค.ศ.๑๖๗๔ (พ.ศ.๒๒๑๗) ความว่า "เมื่อ ๙ เดือนมาแล้ว ชาวไทย ได้เมือง ปัตตานี และ คนใหญ่โต ในเมืองนั้น เสียชีวิต ไปมาก" ถึงกระนั้น ก็ดี สงคราม ระหว่าง เมืองสงขลา กับ ปัตตานี ก็ยืดเยื้อ กันต่อไป ถึง ๔ ปี ดังปรากฏ ข้อความ ใน จดหมาย ของ นายพอตส์ จาก เมือง สงขลา มีไปถึง ริชาร์ด เบอร์นาบี ที่กรุงศรี อยุธยา ลงวันที่ ๑๙ ธันวาคม ค.ศ.๑๖๗๘ (พ.ศ.๒๒๒๑) ว่า "เจ้าเมือง ไทยที่นี่ (สงขลา) ได้ช่วยเหลือ ข้าพเจ้า เพื่อ ให้ได้ ตั้งหลักแหล่ง โดยเร็ว ที่ปัตตานี และ การที่ ชาว ปัตตานี ส่วนมาก ทำการ เป็นกบฏ ต่อชาวไทยนั้น ไม่ต้อง สงสัย อันความ ยุ่งยาก ทั้งหลาย คงจะ กลับคืน ดีกันได้ ในเดือน มีนาคม หรือ เมษายน"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น