วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

บทความชวนอ่าน - ประวัติศาสตร์อาณาจักรลังกาสุกะ (นครปัตตานี) ตอนที่ ๕

ประวัติศาสตร์อาณาจักรลังกาสุกะ (นครปัตตานี) ตอนที่ ๕

ลำดับกษัตริย์ราชวงศ์โกตามหลิฆัย :
ลำดับที่/ นามกษัตริย์/ ปีครองราชย์/ หมายเหตุ
๑ พระฤทธิเทวา (เจศรีสุตตรา) ๑๘๘๗-๑๙๒๗ - ครองกรุงโกตามหลิฆัย
๒ พระอัยกาพญาอินทิรา ๑๙๒๗-๑๙๖๗ - ครองกรุงโกตามหลิฆัย
๓ พญาตุกุรุปมหาจันทรา ๑๙๖๗-๒๐๑๒ - ครองกรุงโกตามหลิฆัย
๔ พญาอินทิรา (สุลต่าลอิสมาเอลชาฮ์) ๒๐๑๒-๒๐๕๗ - ผู้สร้างเมืองปัตตานี
๕ สุลต่านมูซัฟฟาชาฮ์ ๒๐๕๗-๒๐๙๒ - ปีสิ้นพระชนม์ปรากฏชัดแจ้ง ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพระราชหัตถเลขา ตรงกับปี พ.ศ.๒๐๙๒ ฉบับของเดวิตเคไวอัตว่าเป็นปี พ.ศ.๒๑๐๖
๖ สุลต่านมันดูร์ชาฮ์ (มันโซร์) ๒๐๙๒-๒๑๐๑
๗ สุลต่านปาเตะเซียม ๒๑๐๑-๒๑๐๑
๘ สุลต่านบาร์ฮาดูร์ชาฮ์ ๒๑๐๑-๒๑๓๕
๘ เจ้าหญิงฮียา (เขียว) ๒๑๓๕-๒๑๕๙
๑๐ เจ้าหญิงบีรู (น้ำเงิน) ๒๑๕๙-๒๑๘๓
๑๑ เจ้าหญิงอูงู (ม่วง) ๒๑๘๓-๒๒๐๐
๑๒ เจ้าหญิงกูนิง (เหลือง) ๒๒๐๐-๒๒๓๐
*****************
หมายเหตุ เดวิด เค. ไวอัต ให้ปีครองราชย์ของกษัตริย์ฯ ไว้แตกต่างกันดังนี้
๑.สุลต่านอิสมาเอลชาฮ์ ค.ศ.๑๕๐๐-๑๕๓๐ (พ.ศ.๒๐๔๓-๒๐๗๐)
๒.มาดฟาร์ชาฮ์ ค.ศ.๑๕๓๐-๑๕๖๓ (พ.ศ.๒๐๗๐-๒๑๐๖)
๓.มันดูร์ชาฮ์ ค.ศ.๑๕๖๓-๑๕๗๒ (พ.ศ.๒๑๐๖-๒๒๑๕)
๔.ปาเตะเซียม ค.ศ.๑๕๗๒-๑๕๗๓ (พ.ศ.๒๒๑๕-๒๒๑๖)
๕.บาฮดูร์ ค.ศ.๑๕๗๓-๑๕๘๔ (พ.ศ.๒๒๑๖-๒๑๒๗)
๖.รายาฮียา ค.ศ.๑๕๘๔-๑๖๑๖ (พ.ศ.๒๑๒๗-๒๑๕๙)
๗.รายาบีรู ค.ศ.๑๖๑๖-๑๖๒๓ (พ.ศ.๒๑๕๙-๒๑๖๖)
๘.รายาอูงู ค.ศ.๑๖๒๓-๑๖๓๕ (พ.ศ.๒๑๖๖-๒๑๗๘)
๙.รายากูนิง ค.ศ.๑๖๓๕-๑๖๘๖ (พ.ศ.๒๑๗๘-๒๒๒๙)
ต่อมา ในปี พ.ศ.๒๒๓๐ เจ้าหญิง กูนิง ก็ได้ สิ้นพระชนม์ ลง เนื่องจาก ไม่มี ผู้สืบ เชื้อสาย ราชวงศ์ โกตา มหลิฆัย มุขมนตรี เมือง ปัตตานี ต่างก็มี มติ ยก อาลงบาตง บุตรบุญธรรม ของ เจ้าหญิง เป็นเจ้าเมือง ปัตตานี คนต่อมา
สยาเราะห์ เมืองปัตตานี กล่าวว่า หลังจาก อาลงบาตง ถึงแก่กรรมแล้ว พระเจ้า กรุงสยาม ได้แต่งตั้ง รายา บากา ชาวบ้าน ตาโละ (อำเภอ ยะหริ่ง) มาเป็น เจ้าเมือง ปัตตานี อยู่ชั่ว ระยะหนึ่ง ก็ถึง แก่กรรม รายามัส จากเมือง กลันตัน ก็ได้รับ การแต่งตั้ง ให้มา เป็นเจ้าเมือง ปัตตานี มีธิดา ชื่อ มาสจายัน ได้ปกครอง เมืองปัตตานี สืบต่อมา
เมื่อนาง มาสจายัน ถึงแก่กรรม มุขมนตรี เมือง จึง แต่งตั้ง ให้ ลองยุนุส ซึ่ง สืบเชื้อสาย มาจาก อาลงบาตง เจ้าเมือง ปัตตานี คนก่อน ขึ้นเป็น เจ้าเมือง ปัตตานี
ลองยุนุส มีพี่น้อง รวม ๓ คน แต่ต่าง มารดา กัน คือ ระตูปกาลัน เจ้าเมือง สายบุรี ระตูปูยุด และ อาลงตารับ ลองยุนุส ได้สร้าง มัสยิด ขึ้น หลังหนึ่ง คือ มัสยิดร้าง ที่บ้านกรือเซะ ในปัจจุบัน บ้างก็เรียก มัสยิด นี้ว่า มัสยิด ปิตูกรือบัน ขณะที่ กำลังสร้าง มัสยิด จวนจะเสร็จ ระตู ปะกาลัน เจ้าเมืองสาย ผู้น้อง ได้ก่อการ กบฏขึ้น ลองยุนุส ได้นำ กองทัพ ไปปราบ พวกกบฏ และได้เสีย ชีวิตลง ด้วยเหตุนี้ มัสยิด ปินตูกรือบัน จึงถูก ทอดทิ้ง มิได้ มีการ สร้างต่อเติม เนื่องจาก นายช่าง ผู้สร้าง ก็ได้ หาย สาปสูญ ไปพร้อม กับ สงคราม กลางเมือง ในคราวนั้น
หนังสือ ประชุม พงศาวดาร ภาค ๓ พงศาวดาร เมือง ปัตตานี และ หนังสือ กรียาอัน มลายู - ปัตตานี ว่า มัสยิด หลังนี้ ตนกู สุหลง เป็นผู้สร้าง ระหว่างปี พ.ศ.๒๓๕๙-๒๓๗๕ (ซึ่งอยู่ ใน รัชสมัย ของ สมเด็จ พระนั่งเกล้าฯ) ระบุ เหตุ ที่สร้าง มัสยิด ไม่สำเร็จ ว่า เนื่องจาก ถูก อสุนิบาตถึง ๓ ครั้ง ทำให้ ผู้ก่อสร้าง หวาดกลัว ไม่กล้า ทำการ ก่อสร้าง ต่อเติม ทิ้งไว้ เป็น โบราณ สถาน สืบต่อ กันมา จนกระทั่ง ปี พ.ศ.๒๕๐๐ รัฐบาล มอบหมาย ให้ กรมศิลปากร ส่งช่าง มาทำการ บูรณะ ซ่อมแซม รักษาไว้ เป็นสมบัติ ทางประวัติศาสตร์ ของชาติ สืบไป
หาก สังเกต จากวัสดุ ที่ใช้ เป็น โครงสร้าง อาคาร หลังนี้ จะเห็นได้ว่า ส่วนที่ เป็นไม้ เช่น คาน ไม่ปรากฏ ร่องรอย ของการ ถูก เผาไหม้ และ ผนัง ของ อาคาร ก็มิได้ มีรอย แตกร้าว อันเนื่อง มาจาก แรง ของ อสุนิบาต เลย แม้แต่น้อย
อนึ่ง ความสูง ของ มัสยิด วัดจากพื้น ถึง คานเพียง ๖.๕๐ เมตร อยู่ใน ท่ามกลาง แมกไม้ จึงไม่น่า จะเป็นสื่อ ให้เกิด ฟ้าผ่า ขึ้นได้ ผู้เขียน เชื่อว่า สาเหตุ ที่ มัสยิด ก่อสร้าง ไม่สำเร็จ คงเนื่อง มาจาก สงคราม กลางเมือง มากกว่า คือ ทั้งผู้สร้าง (ลองยุนุส) และ นายช่าง คงจะ เสีย ชีวิต ไปใน การรบ ครั้งนี้ นั้น มากกว่า หาใช่ เกิดจาก อาถรรพ์ และ คำสาป ของ เจ้าแม่ ลิ้มกอเหนี่ยว ตามที่ พงศาวดาร เมือง ปัตตานีกล่าว
ประวัติ เมือง ปัตตานี ฉบับ ของนาย หวันหะซัน ระบุปี ที่สุลต่าน ลองยูนุส เสียชีวิต ไว้ว่า "วันศุกร์ ๑๗ ค่ำ ปีฮิจเราะฮ์ ๑๑๔๒" (ปีฮิจเราะฮ์นี้ ยังไม่มี ข้อมูล อื่นๆ นำมา วิเคราะห์ ว่า ถูกต้อง หรือไม่ เพราะเมือง ปัตตานี สมัยนี้ มีแต่ การ จลาจล แย่งชิง ตำแหน่ง เจ้าเมือง กัน สับสน วุ่นวาย ประวัติ เมือง ปัตตานี แต่ละ ฉบับ กล่าวขัดแย้งกัน จึงยาก แก่การ เชื่อถือได้ เช่น ฉบับ อักษร ยาวี ของ D.K.Wyatt-A.teeuw เป็นต้น มี ข้อความ แตกต่าง กับ ฉบับอื่น มาก เป็นพิเศษ จึงมิ สามารถ กำหนดปี การปกครอง เมือง ปัตตานี ของ เจ้าเมือง สมัยนี้ ได้ถูกต้อง เช่น ของ กษัตริย์ ราชวงศ์ โกตา มหลิฆัย) ตรงกับปี พุทธศักราช ๒๒๖๕ ดังนั้น มัสยิด กรือเซะ หรือ มัสยิด ปิตูกรือบัน จึงมี อายุ ไม่น้อยกว่า ๓๖๕ ปีแล้ว
หลังจาก สุลต่าน ลองยุนุส ถึงแก่กรรม ประวัติ เมืองปัตตานี กล่าวต่อ ไปว่า "บ้านเมือง ไม่มี ความ ปกติสุข เกิดการตี ชิง ปล้นสะดม กันมิขาด" ผู้ที่ ได้รับ ตำแหน่ง เจ้าเมือง คนต่อมา คือ ระตู จาระกัน และ ระตู ปุยุด เป็นคนถัดมา ในสมัย ที่ระตู ปุยุด เป็นเจ้าเมือง ปัตตานี ประวัติ เมือง ปัตตานี ว่า ได้ย้าย ที่ตั้งเมือง ปัตตานี ไปตั้งอยู่ ณ บ้านปุยุด ชั่วระยะหนึ่ง ปัจจุบัน ยังคง มี ซาก กำแพงดิน และ ไม่ไผ่ ปลูกไว้ บนเนิน เป็นค่าย คูเมือง ปรากฏ อยู่
เมื่อ ระตู ปุยุด ถึงแก่กรรม ลง ชาวบ้าน ดูวา (อยู่ในเขต ท้องที่ อำเภอ มายอ) ได้สถาปนา ตน ขึ้นเป็น สุลต่าน มีนามว่า สุลต่าน อาหะหมัด ขึ้นครอง เมืองปัตตานี เช่นเดียวกับ เมือง นครศรี ธรรมราช ปลัดเมือง (หนู) ก็ได้ตั้งตน เป็นเจ้า ผู้ครอง นครฯ ทั้งนี้ เพราะ กรุงศรี อยุธยา เสียแก่พม่า ไร้กษัตริย์ ปกครอง หัวเมืองต่างๆ ในปักษ์ใต้ พากัน ตั้งตน เป็น อิสระ หมด
ครั้นเมื่อ พระเจ้า ตากสิน ตั้งกรุง ธนบุรี ขึ้น ก็ได้ ยกกองทัพ มา ปราบก๊ก เจ้าเมือง นครศรี ธรรมราช เจ้าเมือง นครศรี ธรรมราช ได้หลบหนี มาอยู่ ในเมือง ปัตตานี พระเจ้า ตากสิน ส่ง พระยา จักรี มา เจรจา ขอให้ สุลต่าน อาหะหมัด จับตัว เจ้าเมือง นครศรี ธรรมราช ให้แก่ พระองค์ สุลต่าน อาหะหมัด ก็ยอม ส่งตัว เจ้าเมือง นครศรี ธรรมราช และ เจ้าเมือง สงขลา ให้แก่ พระเจ้า ตากสิน โดยดี แต่เงิน ๒๐,๐๐๐ เหรียญ ที่ พระเจ้า ตากสิน ขอยืม จาก เจ้าเมือง ปัตตานีนั้น สุลต่าน อาหะหมัด ได้ตอบ แสดง เหตุ ขัดข้อง ไปว่า สภาวะ การเงิน ในพระคลัง ของเมือง ปัตตานี ก็อยู่ ในฐานะ ขาดแคลน ไม่น้อย ไปกว่า กรุงธนบุรี จึงไม่สามารถ จะหา มาถวายได้ ตามพระราชประสงค์
ขณะนั้น พระเจ้า ตากสิน ทรงติด ราชการ สงคราม ที่จะ ปราบปราม ก๊กเจ้าพระฝาง ซึ่งเป็นก๊ก ที่มี กำลัง เข้มแข็ง ผู้คน เคารพ นับถือ เป็นอันมาก ให้เสร็จสิ้น เสียก่อน จึงไม่มี พระราชประสงค์ ที่จะ ติดตาม ไปยึด เอาหัวเมือง ประเทศราช กลับคืนมา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น