เมืองปัตตานีสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ :
ใน สมัย พระบาท สมเด็จ พระพุทธ ยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระเจ้าปะดุง กษัตริย์พม่า ได้ส่งทหาร เข้ามาตีหัวเมืองภาคใต้ ทัพเรือ ของ พม่า ตีได้ เมือง ตะทั่วทุ่ง ตะกั่วป่า แต่ ไม่สามารถ ยึดเอา เมืองถลาง เพราะ คุณหญิงจันทร์ ภรรยา พระถลาง และ นางสาวมุก น้องสาว ได้เกณฑ์ กรมการเมือง ออก ต่อสู้ ป้องกัน เมือง ไว้ได้
ทางบก พม่า ยก เข้าตี ได้เมือง กระบุรี ระนอง ชุมพร แล้วเลย มาตี เมือง นครศรี ธรรมราช ได้ ขณะที่ กองทัพ พม่า จะยก ไปตี เมือง พัทลุง และ สงขลา สมเด็จ พระบวร ราชเจ้า มหา สุรสิงหนาท ซึ่งเสร็จ จากการ รบกับ พม่า ที่เมือง กาญจนบุรี ก็เสด็จ นำ กองทัพ มาช่วยเหลือ หัวเมือง ภาคใต้ ที่ถูก พม่า ยึดไว้ กลับคืน ทรงดำริ เห็นว่า หัวเมือง ประเทศราช ของไทย มีเมือง ปัตตานี ไทรบุรี คิดจะ ตั้งตน เป็น อิสระ ไม่ยอม มาขึ้น กับไทย จึงส่ง กองทัพ หน้า ออกไป ตีเมือง ปัตตานี ได้จาก สุลต่าน อาหะหมัด ในปี พ.ศ.๒๓๒๙ ส่วนเมือง ไทรบุรี ตรังกานู และ กลันตัน เมื่อ ทราบข่าว เมือง ปัตตานี พ่ายแพ้ แก่ กองทัพ ไทย แล้ว ก็มี ความ หวาดกลัว ว่า จะถูก กองทัพ ไทย ยกไป โจมตี จึง ได้ส่ง ทูต นำ เครื่องราช บรรณาการ ดอกไม้ ทองเงิน มาถวาย สมเด็จ พระบวร ราชเจ้า มหา สุรสิงนาท ยอมขึ้น กับ ราชอาณาจักร ไทย เช่นเดิม และ ทรงแต่งตั้ง ให้ ตนกู ลัมมิเด็น ขึ้นเป็น เจ้าเมือง ปัตตานี หนังสือ กรียาอัน มลายู-ปัตตานี กล่าวว่า ตนกูลัมมิเด็น ได้รวบรวม ผู้คน อพยพ เข้าไป ตั้ง ศูนย์กลาง ปกครอง เมือง ปัตตานี อยู่ใน บริเวณ เมืองโบราณ ที่บ้าน ประวัน อำเภอยะรัง และ มอบหมาย ให้ ระตู ปะกาลัน เป็นพนักงาน ด่านภาษี อยู่ที่ ตำบล ตันหยงลุโละ ท้องที่ อำเภอเมือง ปัตตานี ด่านนี้ เพิ่งจะเลิก กิจการไป ใน รัชสมัย สมเด็จ พระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว นี้เอง (ดู ทำเนียบ ข้าราชการ กระทรวง มหาดไทย ปี พ.ศ.๒๔๕๗)
ตวนกู ลัมมิเด็น ได้รับ พระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้ ดำรง ตำแหน่ง สุลต่าน เมือง ปัตตานี ได้ไม่นาน ก็ส่ง ทูต ชื่อ "นาคุดาสุง" ถือสาสน์ พร้อม เครื่องราช บรรณาการ ไป เกลี้ยกล่อม องค์เชียงสือ กษัตริย์ญวน ขอความ ร่วมมือ ให้นำ กองทัพ ไปตี กรุงเทพฯ แต่ องค์เชียงสือ ยังสำนึก ใน พระมหา กรุณาธิคุณ ของ สมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าฯ ซึ่งเคย ชุบเลี้ยง อุปถัมภ์ องค์เชียงสือ และ มารดา ในยาม ที่ หลบหนี พวกกบฏ ไตเซิน เข้ามา พึ่งพา พระบรม โพธิสมภาร อยู่ใน กรุงเทพฯ และ ทั้งยังทรง สนับสนุน เกื้อกูล ให้อาวุธ ยุทโธปกรณ์ ใช้กอบกู้ เอกราช บัลลังก์ กลับคืน จึงมีสาสน์ มากราบทูล ให้สมเด็จ พระพุทธ ยอดฟ้าฯ ทรงทราบ ดังนั้น ในปี พ.ศ.๒๓๓๔ จึงโปรดเกล้า ให้ พระยา กลาโหม ราชเสนา เป็นแม่ทัพเรือ ยกไปตี เมือง ปัตตานี จับตนกู ลัมมิเด็น ได้ ทรงให้นำ เอาตัว มากักกัน ไว้ใน กรุงเทพฯ
พงศาวดาร เมืองสงขลา กล่าวถึง เหตุการณ์ ในครั้งนี้ ว่า "ปีกุนตรีศก ศักราช ๑๑๕๓ (พ.ศ.๒๓๓๔) โต๊ะสาเหย็ด (ไซยิด) คบคิด กับ พระยา ตานี ยกกองทัพ ไปตี เมือง สงขลา พระยา สงขลา ขอกำลัง ทัพหลวง จากกรุงเทพฯ และ กำลัง จาก กองทัพ เมือง นครศรี ธรรมราช มาช่วยเหลือ แต่ก่อน ที่ กองทัพ หลวง จาก พระนคร ยกไปถึง เมือง สงขลา เพียง ๔ วัน กองทัพ เมือง สงขลา และ เมือง นครศรี ธรรมราช ก็สามารถ ตี กองทัพ พระยา ตานี ที่มา ตั้งค่าย คูล้อมเมือง สงขลา แตกทัพ กลับไป โต๊ะสาเหย็ด (ไซยิด) ถูกปืน ตาย ขณะ เสก น้ำมนต์ ประพรม ประตู ค่าย"
หลังจากการ ปราบปราม กบฏ เมือง ปัตตานี ครั้งนี้ พระบาท สมเด็จ พระพุทธ ยอดฟ้าฯ ทรง โปรดเกล้าฯ พระราชทาน บำเหน็จ ความชอบ ให้เลื่อน พระยา สงขลา (บุญฮุย) ขึ้นเป็น เจ้าพระยา อินคีรี สมุทร สงคราม รามภักดีฯ ให้ยก เมือง สงขลา ขึ้นเป็น เมืองชั้นเอก ขึ้นตรง กับกรุงเทพ มหานครฯ และมอบ ให้เจ้าเมือง สงขลา เป็นผู้ ควบคุม ดูแล เมือง ปัตตานี เมืองตรังกานู และกลันตัน
ข้อความ ใน พงศาวดาร เมืองสงขลา มิได้ กล่าวถึง การแต่งตั้ง ผู้ใด เป็นผู้ ปกครอง เมือง ปัตตานี หลังจาก กบฏ ตวนกู ลัมมิเด็น แต่ เรื่องราว การแต่งตั้ง ผู้ครอง เมือง ปัตตานี ไปปรากฏ เป็นหลักฐาน อยู่ใน หนังสือ กรียาอัน มลายู-ปัตตานี ของ อิบรอฮิม ซุกรี ว่า พระยา กลาโหม ราชเสนา ขอ พระราชทาน โปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้ง ระตู ปะกาลัน เป็นเจ้าเมือง ปัตตานี โดยมี คนสยาม ชื่อ "ลักษมณาดายัน" เป็นผู้ ควบคุม ดูแล (ทำหน้าที่ คล้ายกับ ยกกระบัตรเมือง)
ครั้นถึงปี พ.ศ.๒๓๕๑ ระตู ปะกาลัน เกิดมี ความคิด ขัดแย้ง กับ ข้าราชการไทย (ลักษมณาดายัน) ซึ่ง ทำหน้าที่ ควบคุม ดูแล การบริหาร เมือง ปัตตานี อยู่ใน ขณะนั้น จนถึง กับยก กำลัง ไพร่พล เข้า ต่อสู้กัน เป็นเหตุ ให้ ข้าราชการไทย ซึ่งมี กำลัง น้อยกว่า ต้อง หลบหนี ไป รายงาน พฤติกรรม ของ ระตู ปะกาลัน ต่อ เจ้าเมือง สงขลา
เจ้าพระยา อินทคีรี ศรีสมุทร สงคราม รามภักดี อภิริยะ ปรากรม พาหู (บุญฮุย) เจ้าเมือง สงขลา ระดม กำลัง ทหาร จาก เจ้าเมือง จะนะ เมืองพัทลุง และ เมืองสงขลา มอบให้ หลวงนายฤทธิ์ (เถี้ยนจ๋ง) เป็นแม่ทัพ และให้ นายขวัญซ้าย บุตรชาย พระมหา นุภาพ ปราบ สงคราม (เค่ง) เจ้าเมือง จะนะ เป็นกอง ทะลวงหน้า บุก จู่โจม ตีเมือง ปัตตานี ได้ ระตู ปะกาลัน หลบหนี ออกจากเมือง นายขวัญซ้าย นำทหาร ติดตาม ไปจนถึง เขตแดน เมืองเประ กับ เมืองรามันห์ และได้ ยิง ต่อสู้ กันจน กระทั่ง ระตู ปะกาลัน เสียชีวิต
จาก เหตุการณ์ ที่ ตนกู ลัมมิเด็น และ ระตู ปะกาลัน ก่อการ กบฏ ในครั้งนั้น พระบาท สมเด็จ พระพุทธ ยอดฟ้า จุฬาโลก ทรง พระราช ดำริ เห็นว่า เมือง ปัตตานี มี กำลัง ผู้คน เป็น ปึกแผ่น แน่นหนา ยาก แก่การ ปกครอง ได้ทั่วถึง จึงมี พระบรม ราโชบาย ให้แยก เมือง ปัตตานี ออกเป็น เจ็ด หัวเมือง คือ เมืองปัตตานี หนองจิก ยะหริ่ง ยะลา รามันห์ ระแงะ และ เมืองสาย และ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ให้ นายขวัญซ้าย มหาดเล็ก เป็นผู้ว่า ราชการ เมือง ปัตตานี เป็นคนแรก ในปี พ.ศ.๓๒๕๑
เรื่อง ของปี ที่แยก เมือง ปัตตานี ออกเป็น เจ็ด หัวเมือง นี้ ยังมีการ เข้าใจ ไขว้เขว กันอยู่ พงศาวดาร เมืองปัตตานี ที่ พระยา สงขลา แต่ง กล่าวว่า ได้ทำการ แยกในปี พ.ศ.๒๓๒๙ หลังจาก สมเด็จ พระบวร ราชเจ้า มหา สุรสีหนาท ตีเมือง ปัตตานี ได้
สมเด็จ กรมพระยา ดำรง ราชา นุภาพ ทรง อธิบาย เรื่องการ แต่งตั้ง นายขวัญซ้าย ไว้ใน คำนำ หนังสือ ประชุม พงศาวดาร ภาค ๓ ว่า ปลัด จะนะ (ขวัญซ้าย) ได้รับการ แต่งตั้ง เป็นผู้ว่า ราชการ เมืองปัตตานี ในปี พ.ศ.๒๓๓๔ แต่เมื่อ พิจารณา จาก ชีว ประวัติ สังเขป ของ นายขวัญซ้าย ก็ว่า ปีจุลศักราช ๑๑๕๕ (พ.ศ.๒๓๓๖) พระมหานุภาพ ปราบสงคราม ผู้ว่า ราชการ เมืองจะนะ บิดา ของ นายขวัญซ้าย ได้นำ นายขวัญซ้าย เข้า ถวายตัว เป็น มหาดเล็ก ในพระบาท สมเด็จ พระพุทธ ยอดฟ้าฯ รับราชการ ฉลอง พระยุคลบาท อยู่ใน กรุงเทพ มหานคร
พงศาวดาร เมืองสงขลา ก็ กล่าวไว้ เช่นเดียว กันว่า ได้ ทำการ แยกเมือง ปัตตานี หลังจาก ปราบ กบฏ ระตู ปะกาลัน ในปี พ.ศ.๒๓๕๑ ความว่า
"ครั้งนั้น ดาตู ปักหลัน เจ้าเมือง ยิริง คิดขบถ เจ้าพระยา พลเทพ จัดให้ กองทัพ เมืองพัทลุง เมืองสงขลา กับ กองทัพหลวง ให้ หลวงนายฤทธิ์ เป็นแม่ทัพ ยกออกไป ตีเมือง ยิริง หลวงนายฤทธิ์ ยกกองทัพ ออกไป ตีทัพ ดาตู ปักหลัน เมือง ยิริง ถึง ตะลุมบอน จับตัว ดาตู ได้ จึงได้ แยกเมือง ตานี ออกเป็น ๗ เมือง ตาม พระบรม ราชา นุญาต"
นอกจากนี้ ยังมี หลักฐาน การส่ง เครื่องราช บรรณาการ ของหัวเมืองทั้ง ๗ ที่ เจ้าพระยา อัคร มหา เสนา บดี มีหนังสือ ถึง พระยา ตรังกานู พระยา หนองจิก ในปี จ.ศ.๑๑๗๓ (พ.ศ.๒๓๕๔) ความว่า
"เมืองตรังกานู เมืองหนองจิก เคยได้ พำนัก อาศัย เมืองสงขลา มาก่อน ฉันใด ถึง พระยา สงขลา (บุญฮุย) ถึงแก่กรรม แล้ว พระยา วิเศษ สุนทร (เถี้ยนจ๋ง) ออกมา ว่าราชการ อยู่ ถ้าถึง งวดปี เมืองตรังกานู เมืองหนองจิก ส่ง ดอกไม้ ทองเงิน เครื่อง บรรณาการ เข้าไป ทูลเกล้าฯ ถวาย ก็ให้ส่ง ไปเมือง สงขลา ให้พระยา สงขลา จัดแจง แต่ง กรมการ เอา ดอกไม้ ทองเงิน เครื่อง บรรณาการ ไปทูลเกล้าฯ ถวาย อย่าง แต่ก่อน นั้น" (หมู่ จดหมาย เหตุ กรุง รัตน โกสินทร์ ร ๒ เลขที่ ๒/๑๑ จศ ๑๑๗๓ หนังสือ เจ้าพระยา อรรค มหา เสนา บดี ถึง พระยา ตรังกานู พระยา หนองจิก)
ธรรมเนียม การส่ง ดอกไม้ ทองเงิน หัวเมือง ที่อยู่ ภายใต้ การควบคุม ของเมือง สงขลา ได้แก่ เมืองปัตตานี ยะลารามันห์ ระแงะ ยะหริ่ง สาย หนองจิก กลันตัน และ ตรังกานู จะต้องจัด ดอกไม้ ทองเงิน ตามขนาด (ที่กำหนด แต่ละเมือง) ส่งผ่าน เจ้าเมือง สงขลา ตรวจสอบ และ แต่งตั้ง กรมการเมือง เป็นผู้นำ เข้าไป ทูลเกล้า ถวาย ทุกๆ ๓ ปี จากหนังสือ เจ้าพระยา อัคร มหา เสนา บดี เตือน พระยา ตรังกานู และ พระยา หนองจิก ดังกล่าว แสดงว่า อย่างน้อย เมืองหนองจิก เมืองตรังกานู ก็เคยส่ง ดอกไม้ ทองเงิน มาแล้ว ครั้งหนึ่ง คือ ในปี พ.ศ.๒๓๕๑ ครั้นถึงปี พ.ศ.๒๓๕๔ ซึ่งเป็นปี ที่ครบรอบ แห่งการส่ง ดอกไม้ เงินทอง อีก เจ้าพระยา อรรค มหา เสนา บดี จึงมี หนังสือ เตือนมา เร่งรัด หัวเมือง ทั้งสอง
จาก เอกสาร ฉบับ นี้ และ พงศาวดาร เมือง สงขลา ปัญหา การแบ่งแยก เมือง ปัตตานี ออกเป็น ๗ หัวเมือง ปีใด จึงน่า จะยุติ ได้ว่า เมืองปัตตานี ถูกแบ่งแยก ออกเป็น ๗ หัวเมือง ในปี พ.ศ.๒๓๕๑ มิใช่ ปี พ.ศ.๒๓๒๙ หรือ ปี พ.ศ.๒๓๓๔ อันเป็น ปีก่อน สมเด็จ พระพุทธ ยอดฟ้า จุฬาโลก สวรรคต เพียง ๑ ปี
นายขวัญซ้าย ดำรง ตำแหน่ง ผู้ว่า ราชการ เมือง อยู่ได้ ๘ ปี ก็ถึงแก่กรรม สมเด็จ พระพุทธ เลิศหล้า นภาลัย จึงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ให้นายพ่าย น้องชาย นายขวัญซ้าย ขึ้นเป็น ผู้ว่า ราชการ เมืองปัตตานี คนต่อมา
ในสมัย ที่ นายพ่าย ปกครอง เมือง ปัตตานี "พวกสาเหย็ด (ไซยิด) และ พวกรัตนาวง ได้คบคิด กันเข้า ปล้นบ้าน พระยา ตานี (พ่าย) และ บ้าน หลวงสวัสดิ์ ภักดี (ยิ้มซ้าย) ผู้ช่วย ราชการ เมืองตานี" พระยา ตานี พ่าย ได้ทำการ ต่อสู้ ป้องกันเมือง ไว้ได้ แล้ว รายงาน เหตุการณ์ ไปยัง เมือง สงขลาทราบ พระยา สงขลา (เถี้ยนจ๋ง) มีหนังสือ บอกเข้ามา ยัง กรุงเทพฯ สมเด็จ พระพุทธ เลิศหล้า นภาลัย จึง โปรดเกล้าฯ ให้พระยา อภัย สงคราม กับ พระยา สงขลา ออกไป ช่วยเหลือ พระยาตานี (พ่าย) หาทาง ระงับ เหตุการณ์ และ เห็นว่า วิธี ที่ จะช่วย ให้เกิด ความ สงบ สุข ขึ้นใน หัวเมือง ทั้ง ๗ ได้ดี ที่สุด ในขณะนั้น คือ เลือกสรร บุคคล ในท้องถิ่น ที่มี ความสามารถ ขึ้นมา เป็น ผู้ว่า ราชการ เมือง จึงนำความ ขึ้นกราบ บังคมทูล พระบาท สมเด็จ พระพุทธ เลิศหล้า นภาลัย ให้ทรง แต่งตั้ง
ต่วนสุหลง เป็นผู้ว่าราชการเมืองปัตตานี
นายพ่าย เป็นผู้ว่าราชการเมืองยะหริ่ง(ยิริง)
ต่วนสหนิ(หนิ) เป็นผู้ว่าราชการเมืองหนองจิก
ต่วนมาโซ เป็นผู้ว่าราชการเมืองรามันห์
ต่วนหนิเดะ เป็นผู้ว่าราชการเมืองสาย
ต่วนยาลอ เป็นผู้ว่าราชการเมืองยะลา
นายพ่าย เป็นผู้ว่าราชการเมืองยะหริ่ง(ยิริง)
ต่วนสหนิ(หนิ) เป็นผู้ว่าราชการเมืองหนองจิก
ต่วนมาโซ เป็นผู้ว่าราชการเมืองรามันห์
ต่วนหนิเดะ เป็นผู้ว่าราชการเมืองสาย
ต่วนยาลอ เป็นผู้ว่าราชการเมืองยะลา
ปี พ.ศ.๒๓๖๐ ต่วนยาลอ ผู้ว่า ราชการ เมืองยะลา และ ต่วนมาโซ ผู้ว่า ราชการ เมืองรามันห์ และ ต่วนสหนิ ผู้ว่า ราชการ เมืองหนองจิก ถึงแก่กรรม พระยา วิเศษ สุนทร (เถี้ยนจ๋ง) ผู้สำเร็จ ราชการ เมืองสงขลา จึงแต่งตั้งให้
ต่วนบางกอก เป็นผู้ว่าราชการเมืองยะลา
ต่วนกุโน เป็นผู้ว่าราชการเมืองรามันห์
ต่วนกะจิ น้องชายต่วนสุหลง (เจ้าเมืองปัตตานี) เป็นผู้ว่าราชการเมืองหนองจิก
ต่วนกุโน เป็นผู้ว่าราชการเมืองรามันห์
ต่วนกะจิ น้องชายต่วนสุหลง (เจ้าเมืองปัตตานี) เป็นผู้ว่าราชการเมืองหนองจิก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น