ครั้นถึงปี พ.ศ.๒๓๗๔ เกิด ทุพภิกขภัย ขึ้นใน รัฐไทรบุรี ราษฎร ประสพ ความ อดอยาก แร้นแค้น ทำให้ ผู้คน ในเมือง ไทรบุรี เกิดความ ระส่ำ ระสาย ตนกูเด (บุตรชาย ตนกู รายา พี่ชาย เจ้าเมือง พระยา ไทรบุรี (ปะแงรัน) ซึ่งเอาใจ ออกห่าง ไปเข้า กับพม่า) ได้เข้ามา เกลี้ยกล่อม และ ปลุกระดม ชาวเมือง ไทรบุรี ก่อการ จลาจล ขึ้น แล้วยึด เอาเมือง ไทรบุรี จาก พระยา ภักดี บริรักษ์ (แสง) บุตรของ เจ้าพระยา นครศรี ธรรมราช ไว้ได้
การกบฏ ในครั้งนี้ ศาสตราจารย์ ฮอลล์ กล่าวว่า "ได้มีการ วางแผน กันที่ ปีนัง ต่อหน้า ต่อตา เจ้าหน้าที่ อังกฤษ ทีเดียว" การ แทรกแซง ของ อังกฤษ นี้ สืบเนื่อง มาจาก ข้าราชการ และ พ่อค้า ชาว อังกฤษ ในปีนัง เห็นว่า การที่ รัฐบาลไทย เข้ายึดครอง เมือง ไทรบุรีไว้ จะทำ ให้ไทย เข้ามามี อำนาจ ครอบงำ เหนือ รัฐต่างๆ ในมลายู เป็นการ ขัดขวาง ผลประโยชน์ ของพวกตน ในอนาคต ทั้งที่ บริษัท อีสต์ อินเดีย ก็ออก คำสั่ง ให้ ยึด นโยบาย ไม่เข้า แทรกแซง ต่อ กิจการ ของรัฐ มลายู แต่ ชาว อังกฤษ ในปีนัง ก็ พยายาม ฝ่าฝืน
พระยา ภักดี บริรักษ์ (แสง) ได้ อพยพ ผู้คน ถอยไป ตั้งรับ พวก กบฏ อยู่ที่เมือง พัทลุง และ รายงาน การเสีย เมือง ไทรบุรี ไปให้ เจ้าพระยา นคร (น้อย) ทราบ ขณะนั้น พระสุรินทร์ ข้าหลวง ในกรม พระราชวัง บวร สถาน มงคล ออกมา ปฏิบัติ ราชการ อยู่ที่ เมือง นครศรี ธรรมราช เจ้าพระยา นครฯ จึงให้ พระสุรินทร์ ออกไป เกณฑ์ กองทัพ เมืองสงขลา พระยาสงขลา (เถี้ยนจ๋ง) จึง มอบหมาย ให้ พระยา สุรินทร์ นำคำสั่ง ไปยัง หัวเมืองทั้ง ๗ ให้เกณฑ์ ไพร่พล มาสมทบ กับ ทหาร เมืองสงขลา เพื่อยก ไปตี เอาเมือง ไทรบุรีคืน
เมื่อ ชาวเมือง ต่างๆ ทราบว่า ถูกเกณฑ์ ไปทำการรบ กับเมือง ไทรบุรี ก็พากัน หลบหนี พระสุรินทร์ จึง ลงโทษ แก่ กรมการเมือง ด้วยการ ปรับไหม เรียก เป็นเงิน - ทอง เป็นเหตุให้ เจ้าเมือง ต่างๆ (เว้น เจ้าเมืองยะหริ่ง สายบุรี) ไม่พอใจ จึงพากัน ฉวยโอกาส ทำการ ก่อกบฏ ขึ้นอีก
เจ้าเมือง นครศรี ธรรมราช และ เจ้าเมือง สงขลา จึงมี ใบบอก เข้าไป กรุงเทพฯ สมเด็จ พระนั่งเกล้า เจ้าอยู่หัว จึงโปรด ให้ เจ้าพระยา พระคลัง (ดิศ บุนนาค) ยก กองทัพ ออกไปช่วย กองทัพ เจ้าพระยา พระคลัง (ดิศ บุนนาค) เดินทาง ลงไป ถึงเมือง สงขลาเมื่อ วันที่ ๒๒ เมษายน ๒๓๗๕ แต่ กองทัพ ของ เจ้าพระยา นครฯ ตีเมือง ไทรบุรี กลับคืน ได้แล้ว ตนกูเด็น ไม่สามารถ ลงเรือ หลบหนีทัน จึงได้ ฆ่าตัวตาย
ทาง หัวเมือง ทั้ง ๗ (เว้นเมืองยะหริ่ง) ที่ร่วมกัน ก่อกบฏ ตามเมือง ไทรบุรี นั้น เจ้าพระยา พระคลัง (ดิศ บุนนาค) แต่งตั้ง ให้ พระยา เพชรบุรี เป็นแม่ทัพ นำกำลัง ทหาร ไปช่วย เจ้าเมือง สงขลา ทำการ ปราบปราม
ต่วนสุหลง ผู้ว่า ราชการ เมืองปัตตานี ผู้นำ ในการ กบฏ เป็นพี่ชาย ของต่วนกะจิ ผู้ว่า ราชการ เมืองหนองจิก และ เป็นหลาน ของ หลง โมฮัมหมัด เจ้าเมือง กลันตัน (พงศาวดาร เมืองกลันตัน ว่า หลงโมฮัมหมัด เป็นบุตร คนโต ของพระยา บ้านชายทะเล หนังสือ กรียาอัน มลายู ปัตตานี ว่า หลงโมฮัมหมัด เป็นน้อง ต่วนสุหลง)
พระยา กลันตัน จึงให้ รายา มุดอ กำปง ลาโฮะ ตนกู บือซา และ รายา บาโก นำทหาร มาช่วย ผู้ว่า ราชการ เมืองปัตตานี
พระยา ตรังกานู ก็ได้ ส่ง ตนกู อิสเรส เจะบุลัน วันคามาน และเจ๊ะ อิสมาแอล เป็นแม่ทัพเรือ นำ กองทัพ เมือง ตรังกานู มาสมทบ กับเมือง กลันตัน ยกมาช่วย ผู้ว่า ราชการ เมืองปัตตานี (ต่วนสุหลง)
กองทัพ พระยา เพชรบุรี และ เจ้าเมือง สงขลา (เถี้ยนเส้ง) เข้าตี เมืองปัตตานี ทั้งทางบก และ ทางเรือ ต่วนสุหลง เห็นว่า กำลัง ทหาร ของ ตน สู้กับ กองทัพ กรุง และ กองทัพ เมืองสงขลา ไม่ได้ จึงอพยพ ครอบครัว หนีลงเรือ ไปอาศัย อยู่กับ พระยา กลันตัน พร้อมกับ ต่วนกูโน ผู้ว่า ราชการ เมืองรามันห์ ต่วนกะจิ ผู้ว่า ราชการ เมืองหนองจิก และนิดะ ผู้ว่า ราชการเมือง ระแงะ หนีไปทางบก กองทัพ เมือง สงขลา ติดตาม ไปทันกัน ที่บ้านยะรม (บ้านยะรม ปัจจุบัน อยู่ในเขต ท้องที่ อ.เบตง จ.ยะลา) พรมแดน เมืองเประ กับ เมืองรามันห์ ต่วนกะจิ ได้เสียชีวิต ในขณะที่ ต่อสู้กับ กองทหาร เมืองสงขลา แต่ พระยา ระแงะ ได้หลบหนี ไปยังเมือง เประ
ขณะที่ กองทัพไทย เตรียมกำลัง จะยกไป ตีเมือง กลันตัน พระยา กลันตัน ทราบข่าว เกิดความ หวาดกลัว จึงส่ง เจ๊ะยามา เจ๊ะหลง เป็นทูต มาเจรจา กับ พระยา เพชรบุรี ขอชดใช้ เงิน เป็นค่าเสียหาย ให้แก่ กองทัพไทย เป็นเงิน ๕๐,๐๐๐ เหรียญ และ ยอมส่งตัว ต่วนสุหลง ผู้ว่า ราชการ เมืองปัตตานี และ ต่วนกูโน ผู้ว่า ราชการ เมืองรามันห์ มามอบ ให้แก่ แม่ทัพไทย
ทางเมือง ตรังกานู เจ้าพระยา พระคลัง (ดิศ บุนนาค) มอบให้ พระราชวังสัน หลวงโกศาอิศหาก นำกำปั่นรบ ๘ ลำ ไปบังคับ ให้ พระยา ตรังกานู ส่งครอบครัว ชาวเมือง ปัตตานี และ บุคคล สำคัญ ที่มีส่วน ในการ ร่วมกับ พวกกบฏ มี มะหาหมุด ดามิด และ อะหะหมัด ที่หลบหนี มาอาศัย อยู่ใน เมืองตรังกานู พระยา ตรังกานู สำนึก ในความผิด จึงให้ ทหาร ควบคุม ครอบครัว ชาวเมือง ปัตตานี มามอบ ให้ สมเด็จ เจ้าพระยา พระคลัง (ดิศ บุนนาค)
หลังจากนั้น สมเด็จ เจ้าพระยา พระคลัง(ดิศ บุนนาค) ก็ได้ ประชุม ปรึกษา เจ้าเมือง สงขลา พระยาเพชรบุรี พิจารณา คัดเลือก บุคคล ที่มี ความชอบ ในการ ปราบ กบฏ ครั้งนี้ แต่งตั้ง ให้ ดำรง ตำแหน่ง ผู้ว่า ราชการ เมือง ที่ว่างลงคือ
๑. นายทองอยู่ เป็นผู้ว่าราชการเมืองปัตตานี
๒. หลวงสวัสดิ์ภักดี (ยิ้มซ้าย) ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองยะลา
๓. หนิบอซู ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองระแงะ
๒. หลวงสวัสดิ์ภักดี (ยิ้มซ้าย) ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองยะลา
๓. หนิบอซู ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองระแงะ
ส่วนเมือง หนองจิก ไม่ปรากฏว่า แต่ง ผู้ใด ไป ดำรง ตำแหน่ง ผู้ว่า ราชการ เมือง ในระยะนั้น
ปีพุทธ ศักราช ๒๓๘๑ พระบาท สมเด็จ พระนั่งเกล้า เจ้าอยู่หัว จัด พระราชทาน พิธี ถวาย พระเพลิง พระบรมศพ สมเด็จ พระศรี สุลาไลย พระราช ชนนี พระพัน ปีหลวง ในงานนี้ เจ้าพระยา นคร (น้อย) พระยา สงขลา (เถี้ยนเส้ง) และ ผู้ว่า ราชการ เมืองทั้ง ๗ ได้ เข้ามา ร่วมถวาย เพลิงพระศพด้วย ตนกู มะหะหมัด ซาอัด ตนกู อับดุลย์เลาะห์ หลานชาย เจ้าพระยา ไทรบุรี (ปะแงรัน) ร่วมกับ หวัน มะลี หัวหน้า โจรสลัด ยกกำลัง เข้ามาตี เมืองไทรบุรี และ เมืองตรัง ไว้ได้ แล้วก็ยก กำลัง เข้ามา ล้อมเมือง สงขลา
พระบาท สมเด็จ พระนั่งเกล้า เจ้าอยู่หัว จึงทรง พระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้พระยานคร (น้อย) พระยาสงขลา (เถี้ยนเส้ง) และ บรรดา ผู้ว่า ราชการ เมืองทั้ง ๗ รีบเดินทาง ออกไป ป้องกันเมือง และ โปรดให้ พระยา ศรีพิพัฒน์ (ทัด บุนนาค) ยกทัพกรุง ออกไปช่วย
ฝ่าย พวกกบฏ ได้ตีเมือง จะนะ แตก เอาไฟ จุดเผาเมือง และ ส่งคน มาตี ชิงสะเบียง อาหาร ในเมือง สตูล ไปจน หมดสิ้น แล้วยก กำลัง เข้ามา ตั้งค่าย คูรบ อยู่ที่ บ้าน บางกระดาน เขาเก้าเส้ง เขาลูกช้าง บ้านปักแรต บ้านน้ำกระจาย พระยาสงขลา (เถี้ยนเส้ง) จัดให้ พระยา ไชยา พระยาสาย (ต่วนหนิดะ) พระยาตานี (ทองอยู่) พระยายะหริ่ง (พ่าย) หลวงไชยสุรินทร์ หลวงรายามุดา ขุนต่างตา นายช้าง มหาดเล็ก นำทหาร แยกย้าย กันเข้าตี ค่าย พวกบฏ (ซึ่ง ตั้งอยู่ ที่บ้าน บางกระดาน เขาเก้าเส้ง เขาลูกช้าง บ้านปลักแรด บ้านน้ำกระจาย) กองทัพ เมือง สงขลา นำเอา ปืนจ่ารงค์ ยิงถูก หอรบ ฝ่ายกบฏ ทะลาย ลง ห้าหอ นำเอา หม้อดิน บรรจุ ดินปืน จุดไฟ ทิ้งเข้าไป เผาค่าย พวกกบฏ ตกใจ พากัน แตกหนี ไปทั้ง ๕ ค่าย
หลังจากนั้น กองทัพกรุง ชุดแรก ในความ บังคับ บัญชา ของ พระยา วิชิต ณรงค์ และ พระราชรินทร์ ก็ยกไป ถึงเมือง สงขลา ได้ออก ตาม ไล่จับ พวกกบฏ ที่ถอยหนี ได้ปืน คาบศิลา ๒ กระบอก ปืนมเลลา ๒ กระบอก หอก ๑๐ เล่ม และ จับตัว คนไทย (ที่ร่วมมือ กับพวกกบฏ) ได้อีก ๒ คน แขก ๒ คน (พระบาท สมเด็จ พระนั่งเกล้าฯ ทรงตรัส กับหมื่น จงสรสิทธิ ผู้กราบทูล ถวาย รายงานว่า "ได้นักหนา ทีเดียว ได้แต่ ของมัน ลืม ทิ้งอยู่ ที่ไหนนั่นเอง" และ อีกตอนหนึ่ง ว่า "ก็จับได้ คนป่วย คนง่อย ที่มัน ทิ้งอยู่ กลางทาง หนีไม่ทัน นั่นเอง") (ดู จดหมาย เหตุ หลวง อุดม สมบัติ)
ทางด้าน เมืองไทรบุรี กองทัพ ของ เจ้าพระยา นคร (น้อย) ตีเมือง ไทร ได้กลับคืน พวกกบฏ พากัน หลบหนี เข้าไป อาศัย อยู่ในเขต โปรวินซ์เวลสสลีย์ ในความปกครอง ของอังกฤษ ทหารไทย ไม่สามารถ ติดตาม เข้าไป ด้วยเกรง จะกระทบ ถึง สัมพันธ ไมตรี กับ ประเทศ อังกฤษ
ในการ ปราบกบฏ ตนกู มะหะหมัด ซาอัด ครั้งนี้ นายบุญเมน ชาวบ้าน ตัดหวาย เมืองจะนะ กับพวก มีความชอบ ด้วย ได้ ช่วยเหลือ ราชการ ระดม ผู้คน มาช่วย ป้องกัน บ้าน พระจะนะ (บัวแก้ว) ซึ่งไป ช่วยราชการ สงคราม อยู่ที่ เมืองสงขลา ให้รอดพ้น จาก พวกกบฏ นำไฟ เผา บ้านเรือน ไว้ได้ จึงได้ รับการ แต่งตั้ง ให้มา ดำรง ตำแหน่ง ผู้ว่า ราชการ เมืองหนองจิก ที่ยัง ว่างอยู่
ส่วน พระยา ตานี (ทองอยู่) นั้น เข้าใจว่า จะถึง แก่กรรม ลง หลังจาก ไปช่วย ราชการ ปราบกบฏ กลับมา เมืองปัตตานี แล้ว ไม่นาน เพราะ พงศาวดาร เมือง สงขลา กล่าวว่าในปี พ.ศ.๒๓๘๒ พระยาสงขลา (เถี้ยนเส้ง) ได้แต่งตั้ง ให้ พระยา วิชิต ณรงค์ กับ นายแม่น มหาดเล็ก บุตรของ พระยาสงขลา (เถี้ยนจ๋ง) เป็นผู้ รักษา ราชการ เมืองปัตตานี อยู่ชั่วคราว จนกระทั่งถึงปี พ.ศ.๒๓๘๓ จึงได้ แต่งตั้ง ให้ นิยุโซะ (หรือโต๊ะกี) เป็นผู้ว่า ราชการ เมืองคนต่อมา
ฝ่าย ข้างเมือง กลันตัน ตนกูสนิ (ปากแดง) ได้รับ การ แต่งตั้ง ให้เป็น เจ้าเมือง กลันตัน ตนกู ปะสา กับพวก มี ตนกูเงาะ พระยา บาโงย ตนกู หลงอาหมัด และบุตร ของ ตนกู ศรีปัตรา มหา รายา เกิดวิวาท กับ พระยา กลันตัน (ตนกูสนิ-ปากแดง) เนื่องจาก ตนกู ปะสา น้อยเนื้อ ต่ำใจ ว่า ตน และ พวก ได้ช่วยเหลือ สนับ สนุน ให้ ตนกูสนิ (ปากแดง) ให้ได้ เป็น เจ้าเมือง กลันตัน แต่ ตนกู สนิ กลับใช้ อำนาจ ยึดเอา ที่ดิน และ ไร่นา ของตน ไปครอบครอง จึงพากัน ซ่องสุม ผู้คนขึ้น เพื่อที่ จะสู้รบ ชิงที่ดิน กลับคืน
พระยา กลันตัน และ ตนกู ปะสา ต่างก็ ร้องเรียน กล่าวโทษ ซึ่งกัน และกัน ความ ทราบถึง พระบาท สมเด็จ พระนั่งเกล้า เจ้าอยู่หัว จึงทรง รับสั่ง ให้ พระยา ศรีพิพัฒน์ฯ และ เจ้าพระยา นคร (น้อย) ให้หาทาง ไกล่เกลี่ย ระงับ เหตุการณ์ ในเมือง กลันตัน ต่อมา พระยา กลันตัน (สนิปากแดง) ให้เจ๊ะยะปา เจ๊ะสุไลมาน ทำหนังสือ ขอกำลัง ทหาร จาก เจ้าพระยานคร (น้อย) ๒,๐๐๐ คน ให้ไป คุ้มครอง เมืองกลันตัน เจ้าพระยา นคร (น้อย) ให้นายเจ๊ะนุ นายสังข์ ทำหนังสือ ไปตักเตือน ตนกู ปะสา แทนที่ ตนกู ปะสา จะเชื่อฟัง กลับกล่าว ท้าทาย ว่า "อย่าว่า แต่มี หนังสือ เขียนด้วย น้ำหมึก มาห้ามเลย ถึงจะเขียน ด้วยน้ำทอง มาห้าม ก็ไม่ฟัง" แต่ได้ ส่งผู้แทน ขึ้นไป กราบเรียน พระยา ศรีพิพัฒน์ฯ ที่เมือง สงขลาว่า "การที่ จะให้ ฟัง บังคับ บัญชา พระยา กลันตัน นั้น เหลือสติ กำลังคิด เมื่อ พระยา กลันตัน จะได้ เป็น พระยา กลันตัน ตนกู ปะสา ก็ช่วย ว่ากล่าว จึงได้เป็น พระยา กลันตัน ตนกู ปะสา หาได้ ตำแหน่ง อะไรไม่ ครั้น พระยา กลันตัน ได้เป็น พระยา กลันตัน แล้ว ก็ทำการ ข่มเหง พี่น้อง จึงได้ ทะเลาะกัน การครั้งนี้ จะรบสู้กัน อย่างไร ก็เป็นสิทธิ ของ ตนกู ปะสา ทั้งสิ้น ถ้าเมตตา โปรดแล้ว ก็ขอ เอาแผ่นดิน บ้าน ตนกู ปะสา ฟากหนึ่ง ตั้งแต่ ปลายน้ำ ตลอดไป จด ปากน้ำ ให้เป็น ของ ตนกู ปะสา ทำราชการ ต่อไป ถ้า พระยา กลันตัน จะถวาย อย่างไร ตนกู ปะสา ก็จะ ถวายให้ เหมือนอย่าง พระยา กลันตัน" (ดู จดหมายเหตุ หลวง อุดมสมบัติ)
พระยา ศรีพิพัฒน์ (ทัด บุนนาค) เห็นว่า ตนกู ปะสา ยังดื้อดึง อยู่ จึงให้ พระยา ไชยา คุมพล ทหาร ๑ กอง ลงเรือรบ ไปนำ เอาตัว ตนกู ปะสา และ พระยา กลันตัน ขึ้นมา พบกับ พระยา ศรีพิพัฒน์ ที่เมืองสงขลา พระยา ศรีพิพัฒน์ฯ ว่ากล่าว ประนี ประนอม ให้คน ทั้งสอง เข้าใน กันแล้ว ก็ให้ กลับไป เมืองกลันตัน เหตุการณ์ จึงสงบ ไปชั่วคราว
ครั้นถึงปี พ.ศ.๒๓๘๔ ตนกู ปะสา ได้เดินทาง เข้าไป กรุงเทพฯ กล่าวหา พระยา จางวาง และ ตนกู ศรีอินทรา ว่า ริบเอา เรือกสวน ไร่นา ของ ตนไป ฝ่าย พระยา กลันตัน ก็มี ใบบอก ฟ้อง ตนกู ปะสา เข้ามาว่า ตนกู ปะสา ส่งคน ไปชักชวน พระยา บาโงย และ พวก เมือง ตรังกานู เมืองลิงา ให้มาตี เมืองกลันตัน
สมเด็จ พระนั่งเกล้า เจ้าอยู่หัว ทรง พระราช ดำริ เห็นว่า พระยา กลันตัน กับตนกู ปะสา ทะเลาะ วิวาท กันมา หลายครั้ง ไม่สามารถ ทำความเข้าใจ กันได้ หากจะให้ คงอยู่ ร่วมบ้านเมือง เดียวกัน ต่อไป อาจ ทำให้ เมือง กลันตัน เกิดการ จลาจลขึ้น ซึ่งจะ กระทบ กระเมือน ถึง ความ มั่นคง ของ บูรณภาพ แห่งดินแดน ในหัวเมืองทั้ง ๗ จึงโปรด ให้ถาม ตนกู ปะสา ว่า จะแต่งตั้ง ให้มา ดำรง ตำแหน่ง ผู้ว่า ราชการ เมืองหนองจิก จะยินดี รับ หรือไม่ ตนกู ปะสา ก็ยินยอมรับ จะกลับ ไปรับ ครอบครัว พามาอยู่ เมืองหนองจิก จึงโปรด ให้ พระยา ท้ายน้ำ เดินทาง ไปเมือง กลันตัน เพื่อช่วยเหลือ ในการ จัดพาหนะ นำบ่าวไพร่ ของ ตนกู ปะสา ให้มาอยู่ เมืองหนองจิก แต่ครั้น ตนกู ปะสา ลงไป เมือง กลันตัน ชักชวน พระยา บาโงย ตนกู หลงอาหมัด ให้อพยพ ลงไปอยู่ เมืองหนองจิก ด้วยกัน พระยา บาโงย และ ตนกู หลงอาหมัด ไม่เห็นด้วย ตนกู ปะสา จึงกลับใจ ไม่ยอม ลงไป เมืองหนองจิก ด้วยการ เสนอ เงินสินบน ๑๐,๐๐๐ เหรียญ แก่ พระยา ท้ายน้ำ เพื่อ เจรจา หาทาง ให้ ตนกู ปะสา ได้รับ ตำแหน่ง เจ้าเมือง กลันตัน
พระยา ท้ายน้ำ จึงมี ใบบอก พร้อมด้วย หนังสือ ของ ตนกู ปะสา เข้ามา กรุงเทพฯ พระบาท สมเด็จ พระนั่งเกล้า เจ้าอยู่หัว "จึงโปรด ให้ พระนครฯ เกณฑ์ กองทัพ เมืองนครศรี ธรรมราช ๒,๐๐๐ คน และให้ พระเสน่หา มนตรี คุมลงไป สมทบ กับ กองทัพ เมืองสงขลา อีก ๒,๐๐๐ คน พระสุนทรรักษ์ (สังข์) เป็นหัวหน้า ยกลงไป ถึงเมือง กลันตัน" บังคับ ตนกู ปะสา ให้ลงมา ดำรง ตำแหน่ง ผู้ว่า ราชการ เมืองหนองจิก แทน นายบุญเมน ซึ่งถูก ปลดออก จากราชการ ตนกู ปะสา ดำรง ตำแหน่ง ผู้ว่า ราชการ หนองจิกอยู่เพียง ๓ ปี
ครั้นถึง พ.ศ.๒๓๘๘ พระยา ตานี (หนิยุโซะ หรือ โต๊ะกี) ถึงแก่กรรม พระบาท สมเด็จ พระนั่งเกล้า เจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ พระราชทาน บรรดาศักดิ์ ให้ ตนกูปะสา เป็นพระยา วิชิต ภักดีศ รีรัตนา เขต ประเทศราช และ ให้ย้าย มา ดำรง ตำแหน่ง ผู้ว่า ราชการ เมืองปัตตานี แต่งตั้ง นายเกลี้ยง เป็น พระยา วิเชียร ภักดี ศรีสงคราม ให้ดำรง ตำแหน่ง ผู้ว่า ราชการ เมืองหนองจิก
ทางด้าน เมืองยะหริ่ง เมื่อ พระยา ยะหริ่ง (พ่าย) ถึงแก่กรรมลง โปรดให้ ย้าย พระยา ยะลา (ยิ้มซ้าย) มาเป็น ผู้ว่า ราชการ เมืองยะหริ่ง และ แต่งตั้ง นายเมืองบุตร พระยา ยะหริ่ง (พ่าย) ไปเป็น ผู้ว่า ราชการ เมืองยะลา พระยา ยะหริ่ง (ยิ้มซ้าย) เป็นผู้ว่า ราชการ อยู่จนถึง ปี พ.ศ.๒๓๙๖ ก็ได้ ถึงแก่กรรม ลง โปรดให้ พระยา จางวาง (สุลต่านเดวอ) ซึ่ง พระยา นครฯ ขอตัว ไปช่วย ราชการ อยู่เมือง นครศรี ธรรมราช มาเป็น ผู้ว่า ราชการ เมืองยะหริ่ง และแต่งตั้ง นายแตง (นายแตง (ตีมุง) เมื่ออยู่ ในวัยเยาว์ ได้ติดตาม ข้าราชการ ไทย ไปอยู่ กรุงเทพ มหานคร และได้ อุปสมบท เป็น พระภิกษุ มีตำแหน่ง เป็นสมุห์แตง แล้วลา อุปสมบท ออกมา รับราชการ ในสังกัด กรม พระราชวัง บวร สถาน มงคล) บุตร พระยา ตานี (หนิยุโซะ) ซึ่งเป็น ข้าราชการ ในกรม พระราชวัง บวร สถาน มงคล (สมเด็จ พระปิ่นเกล้า เจ้าอยู่หัว) ออกมา เป็นปลัด เมืองยะหริ่ง พระยา จางวาง (สุลต่านเดวอ) ดำรง ตำแหน่ง ผู้ว่า ราชการเมือง ยะหริ่ง ได้เพียง ปีเดียว ก็ถึง แก่กรรม จึงโปรดเกล้าฯ พระราชทาน บรรดาศักดิ์ ให้นายแตง (ตีมุง) เป็น พระยา พิพิธ เสนา มาตยา ธิบดี ศรีสุรสงคราม และ ให้ ดำรง ตำแหน่ง ผู้ว่า ราชการ เมืองยะหริ่ง สืบแทน พระยา จางวาง (สุลต่านเดวอ) แต่งตั้ง หนิละไม เป็น พระยา สุริย สุนทร บวร ภักดี ศรีมหา รายา ปัตตา อับดุล วิบูลย์ เขตประเทศราช ดำรง ตำแหน่ง ผู้ว่า ราชการ เมืองสาย แทนนิดะ พระยา สายบุรี ที่ ถึงแก่กรรม แต่งตั้ง ต่วนติมุง เป็น พระยา รัตน ภักดี ศรี ราชบดินทร์ สุรินทร์ วังสา ดำรง ตำแหน่ง ผู้ว่า ราชการ เมืองรามันห์ แทน พระยา รามันห์ (ต่วนกุโน) แต่งตั้ง ตุวัน โหนะ เป็น พระยา ภูผา ภักดี ศรีสุวรรณ ประเทศ วิเศษ วังสา แทน พระยา ระแงะ (ตุวันบอซู) ที่ ถึงแก่กรรม นายเมือง ผู้ว่า ราชการ เมืองยะลา ล้มป่วย ถึงกับ ทุพลภาพ ว่าราชการ ไม่ได้ พระยา สงขลา (เถี้ยนเส้ง) จึงปลด ออกจาก ราชการ แต่งตั้ง ให้ ตุวันปุเต๊ะ ดำรง ตำแหน่ง ผู้ว่า ราชการ เมืองยะลา แทน
พ.ศ.๒๓๙๙ พระยา วิชิตภักดีฯ (ตนกูปะสา) ถึงแก่กรรม สมเด็จ พระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ต่วนกูปุเต๊ะ บุตรชาย ตนกูปะสา เป็น พระยา วิชิต ภักดี ศรีรัตนา เขต ประเทศราช ดำรง ตำแหน่ง ผู้ว่า ราชการ เมืองปัตตานี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น