วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

บทความชวนอ่าน - ประวัติศาสตร์อาณาจักรลังกาสุกะ (นครปัตตานี) ตอนที่ ๘

ตนกูปุเต๊ะ ได้สมรส กับ ตนกูจิ ธิดา ของ พระยากลันตัน (ตนกูสนิปากแดง) ได้บุตรชาย ชื่อ ตนกูปะสา (ชาวปัตตานี นิยม เรียกชื่อ บุตรคนแรกว่า "สุหลง" หรือ "บือซา" แปลว่าโต, ใหญ่, และเรียกบุตรคนสุดท้องว่า "บอซู") พระยา กลันตัน ผู้เป็น คุณตา นำไปเลี้ยงดู อยู่ที่ เมืองกลันตัน เมื่อ พระยา กลันตัน ถึงแก่กรรม สมเด็จพระจอมเกล้าฯ โปรดเกล้า แต่งตั้ง ตนกู ปะสา ให้เป็น พระยา รัษฎาบุตร บุรุษ พิเศษ ประเทศราช นฤบดินทร์ สุรินทร์ วังษา ดำรง ตำแหน่ง เจ้าเมือง กลันตัน และ ต่อมา ในปี พ.ศ.๒๔๑๙ เลื่อน บรรดาศักดิ์ เป็น พระยา เดชา นุชิต มหิศ รายา นุกูล วิบูลย์ภักดี ศรีสุลต่าน มะหมัด รัตน ธาดา มหาปธานาธิการ สืบสาย ตระกูล ปกครอง เมือง กลันตัน ตกทอด กันมา ถึงองค์ สุลต่าน แห่งรัฐ กลันตัน ในปัจจุบัน
หลวง วิจิตร วาทการ ได้แสดง ทัศนะ ต่อ ตนกูปะสา ไว้ว่า "ตนกูปะสา ซึ่งไม่ได้ อะไรเลย ในชั้นต้น ลงท้าย ก็ได้หมด ทุกอย่าง ตัวเอง ได้เป็น เจ้าเมือง ปัตตานี ซึ่งมี ความสำคัญ ไม่น้อยกว่า เมืองอื่น ผู้สืบสาย (โลหิต) ของตน นอกจาก จะได้ ครองเมือง ปัตตานีแล้ว ยังได้ไป ปกครอง เมือง กลันตัน ซึ่งตัว ต้องการ มาก่อน อีกด้วย ให้คติที่ว่า หนทาง การเมือง นั้น ถ้าย่อหย่อน ไม่มีปาก ไม่มีเสียง ไม่ได้อะไรเลย ก็ไม่ว่าอะไร ลงท้าย ก็ไม่ได้อะไร จริงๆ จะเป็นเพียง ขั้นบันได หรือ เรือจ้าง ให้คนอื่น เหยียบก้าว ขึ้นไป หรือ โดยสาร ข้ามฝั่ง แล้ว บันได หรือ เรือจ้าง นั้น ก็จะถูก หาว่า เป็นของเลว ของต่ำ เสียอีกด้วย ไม่มีใคร ยกย่อง ไม่มีใคร เห็น คุณงาม ความดี แต่ ตนกูปะสา ทำถูก ตามวิถีทาง ของ การเมือง คือ เมื่อไม่มีใคร ให้ ก็ต้อง แสวงหา เอาเอง แล้วลงท้าย ก็ได้เอง" (ประชุม พงศาวดาร ฉบับ ความสำคัญ ของหลวง วิจิตร วาทการ)
พ.ศ.๒๔๒๔ พระยา วิชิต ภักดีฯ (ตนกูปุเต๊ะ) ถึงแก่กรรม ทรง พระกรุณา โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ตนกูตีมุง ขึ้นเป็น ผู้ว่า ราชการ เมืองปัตตานี มีบรรดาศักดิ์ เป็น พระยา วิชิต ภักดีฯ สืบต่อมา
พ.ศ.๒๔๓๓ พระยา วิชิต ภักดี (ตนกูตีมุง) ถึงแก่กรรม ตนกูสุไลมาน หรือ ตนกูบอซู (บุตร คนสุดท้อง ของ ตนกูปะสา) ได้รับ การแต่งตั้ง ให้เป็น ผู้ว่า ราชการ เมือง ปัตตานี และได้รับ บรรดาศักดิ์ เป็นพระยา วิชิต ภักดีฯ ในสมัย ของ ตนกู สุไลมาน นี้ ได้สร้าง สิ่งที่ เป็น คุณประโยชน์ ที่สำคัญยิ่ง ให้แก่ เมืองปัตตานี ไว้ชิ้นหนึ่ง แต่ก็ เป็นการ ทำลาย เมือง หนองจิก ให้กลายสภาพ เหมือนหนึ่ง คนอัมพาต สืบเนื่อง มาจน กระทั่ง ปัจจุบัน คือ การขุดคลองใหม่ (สุงาบารู) ในเขต ท้องที่ อำเภอ ยะรัง เหตุด้วย ลำน้ำ ตานีเดิม เมื่อไหล มาถึงบ้าน ปรีกี ก็จะไหล วกไป ออก ตำบล คอลอตันหยง ตำบลยาบี ในเขต ท้องที่ อำเภอ หนองจิก สายหนึ่ง แล้วจึงแยก สายน้ำ ไหลมา ออกที่บ้าน อาเนาะ บุโละ (ลูกไม้ไผ่) ตำบลยะรัง สู่ปากน้ำ เมืองปัตตานี ที่ตำบล สะบารัง อีกสายหนึ่ง
ฉะนั้น เรือ แพ ที่ล่อง ขึ้นลง ไปมา ค้าขาย กับเมือง ยะลา รามันห์ ก็ต้องผ่าน ด่านภาษี ของเมือง หนองจิก เรือสินค้า เหล่านี้ จำเป็น ต้องเสีย ค่าภาษี ผ่านด่าน ให้แก่ เมืองหนองจิก โดยเฉพาะ ภาษี ดีบุก ทำให้ เมืองปัตตานี ต้องขาด ผลประโยชน์ ไปเป็น จำนวนมาก ตนกูสุไลมาน จึงทำการ ขุดคลอง ลัดขึ้น ตรงบ้าน คลองใหม่ ออกมาสู่ ตำบลยะรัง ในเขต พื้นที่ ของเมือง ปัตตานี ไม่ต้องผ่าน เมืองหนองจิก
เนื่องจาก คลอง ที่ขุด ขึ้นใหม่ เป็นเส้นทาง ตรง กระแสน้ำ ในแม่น้ำ ตานี จึงเปลี่ยน ทางเดิน ออกมาสู่ คลองใหม่หมด ทำให้ แม่น้ำ ตานี ตอนที่ ไหลผ่าน ไปสู่ เมืองหนองจิก ค่อยๆ ตื้นเขินขึ้น เป็นลำดับ ประกอบกับ มีการ ตัดไม้ ทำลายป่า ในเขต อำเภอ เบตง ธารโต ในจังหวัด ยะลา ซึ่งเป็น ต้นน้ำ ลำธาร เป็นต้นเหตุ ให้ฝนตก น้อยลง เมื่อถึง หน้าแล้ง น้ำ ในแม่น้ำ ลำคลอง จะแห้ง ขาดช่วง เป็นตอนๆ ทำให้ ราษฎร ในท้องที่ อำเภอ หนองจิก ขาดน้ำใช้ ทำการ เกษตรกรรม และ เมื่อไม่มี น้ำจืด ไหลออกไป ผลักดัน น้ำทะเล ตรงปากน้ำ บางตาวา น้ำทะเล ก็ไหลเอ่อ เข้าสู่ พื้นที่นา ทำให้เกิด ดินเค็ม ดินเปรี้ยว ทำนา ไม่ได้ หลายหมื่นไร่ เป็นเหตุ ให้เมือง หนองจิก ที่ สมเด็จ กรมพระยา ดำรง ราชา นุภาพ บันทึกไว้ ในรายงาน การตรวจ ราชการในปี พ.ศ.๒๔๓๙ ว่า "เมืองหนองจิก เป็นแหล่งข้าว ที่นาดี หาเมือง จะเปรียบได้" ต้องกลาย เป็นทุ่งนา รกร้าง ว่างเปล่า ใช้ประโยชน์ มิได้ ราษฎร ส่วนใหญ่ ของเมืองนี้ ล้วนมี อาชีพ เป็นเกษตรกร เมื่อดิน แปรเปลี่ยน สภาพไป ทำนาไม่ได้ ต่างก็ พากัน อพยพ ออกไป หาแหล่ง ประกอบ อาชีพ ต่างท้องที่ จำนวนมาก ตรงกันข้าม เมืองตานี นอกจาก ผู้ว่า ราชการ ได้รับ ค่าดีบุก เพิ่มยิ่งขึ้น แล้ว ราษฎร ก็สามารถ ใช้พื้นที่ ประกอบ การเกษตรกรรม ปลูกพืชผลอื่นๆ นอกจากข้าว เพิ่มขึ้น อีกด้วย เพราะมีน้ำ อุดม สมบูรณ์
ปี พ.ศ.๒๔๔๒ พระยา วิชิต ภักดีฯ (ตนกูสุไลมาน หรือ บอซู) ถึงแก่กรรม พระบาท สมเด็จ พระจุลจอมเกล้าฯ ทรงพระ กรุณา โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ให้ ตนกู อับดุลกาเดร์ เป็นผู้ว่า ราชการ เมืองปัตตานี พระราชทาน บรรดาศักดิ์ เป็น พระยา วิชิต ภักดี ศรีรัตนา เขตประเทศราช และเป็น ผู้ว่า ราชการ เมืองปัตตานี คนสุดท้าย ที่สืบเนื่อง มาจาก พระยา บ้านชายทะเล แห่งรัฐกลันตัน อันมี ตนกูปะสา เป็นผู้ว่า ราชการ เมืองปัตตานี เป็นคนแรก เมื่อ พ.ศ.๒๓๘๘ และ ตนกู อับดุลกาเดร์ เป็นคนสุดท้าย (ระหว่างปี พ.ศ.๒๔๔๒ ถึงปี พ.ศ.๒๔๔๕) รวมเวลา ที่ ตระกูล พระยา บ้านชายทะเล ปกครองเมือง ปัตตานีอยู่เป็นเวลา ๕๗ ปี
สาเหตุ ที่ พระบาท สมเด็จ พระจุลจอมเกล้าฯ ทรงยกเลิก ระบบ การปกครอง เมือง ทำนอง ประเทศราช หรือแบบกินเมือง โดยมี เจ้าเมือง (หรือ ผู้ว่า ราชการ เมือง) และบุตร - หลาน สืบทอด ตำแหน่งต่อๆ กันมานั้น เนื่องมาจาก พระองค์ ได้รับ รายงาน จาก กรมการเมือง สงขลา ว่า ราษฎร ในเมือง ยะหริ่ง เข้ามา ร้องเรียน กล่าวโทษ เจ้าเมือง ยะหริ่งว่า "เข้าปล้นบ้าน หนิควร ฆ่าบุตร ภรรยา บ่าวไพร่ และ เก็บเอา ทรัพย์ สมบัติไป"
ทางเมือง รามันห์ เจ้าเมือง รามันห์ และ บุตรชาย คือ หลวง รายา ภักดี ก็ถูก ราษฎร ร้องทุกข์ กล่าวโทษ หาว่า พระยา รามันห์ และ ญาติพี่น้อง ใช้อำนาจ กดขี่ ราษฎร ด้วยการ เกณฑ์แรงราษฎร ไปทำงาน ส่วนตัว เป็นระยะ เวลานาน จน ราษฎร ไม่มี เวลา จะใช้ ทำไร่นา ของตน ส่วน หลวง รายาภักดี ชอบ ประพฤติผิด แบบแผน ประเพณี ฉุดคร่า อนาจาร หญิง และ ให้บ่าวไพร่ เข้ายึดครอง เรือกสวน ที่ดิน ที่อุดม สมบูรณ์ ไปเป็น ทรัพย์สิน ส่วนตัว จนราษฎร พากัน อพยพ หนีไปอยู่ เสีย ที่เมือง เประ ในความ ปกครอง ของอังกฤษ และ เมือง ปัตตานี บ้างก็ แต่งเรื่อง นิทาน ขึ้นเป็น บัตรสนเท่ห์ ตำหนิ ติเตียน ว่า เจ้าเมือง รามันห์ เป็นรายา ที่โหดร้าย (ดูเรื่อง รายา ซันยาญอ) ในหนังสือ แลหลัง เมือง ตานี ของผู้เขียน) ขณะ เดียวกัน พวกอังกฤษ ในเกาะปีนัง และ สิงคโปร์ ก็พยายาม หาทาง แซกแซง โดยเข้ามา คอยยุยง ส่งเสริม ให้เจ้าเมือง ต่างๆ เอาใจ ออกห่าง จาก รัฐบาลไทย เพื่อพวกตน จะได้ ผนวก เอาดินแดน ในแหลม มลายู ตอนเหนือ ไป ครอบครอง
พระบาท สมเด็จ พระจุลจอมเกล้า จึงทรง ตัดสิน พระราชหทัย ทำการ ปฏิรูป ระบบ การปกครอง หัวเมือง ประเทศราช เสียใหม่ ในปี พุทธ ศักราช ๒๔๓๙ คือให้ "บรรดา เมืองชั้นใน และ ชั้นนอก และ เมืองประเทศราช ที่ แบ่งเป็น ปักษ์ใต้ อยู่ใน กระทรวง กลาโหม ฝ่ายเหนือ อยู่ใน กระทรวง มหาดไทย ก็ดี และ ที่อยู่ ใน กระทรวง ต่างประเทศ ก็ดี ตั้งแต่นี้ สืบไป ให้อยู่ ในบังคับ บัญชา ตราราชสีห์ กระทรวง มหาดไทย" และต่อมา รัฐบาล ก็ได้ตรา กฎข้อบังคับ การปกครอง หัวเมือง ขึ้นใช้ โดย ให้ผู้ว่า ราชการ เมือง ซึ่งเคย บังคับ บัญชา บ้านเมือง โดยอิสระ มาขึ้นกับ ข้าหลวง เทศา ภิบาล มณฑล นครศรี ธรรมราช ดังจะเห็น ได้จาก แผนภูมิ การปกครอง ต่อไปนี้
*****************
รัฐบาล
I
ข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลนครศรีธรรมราช
I
ข้าหลวงใหญ่ประจำบริเวณ
I
กองบัญชาการเมือง
I
พระยาเมือง
I I I
ยกกระบัตร ปลัดเมือง ผู้ช่วยราชการเมือง
*****************
ต่อมา ในวันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๔๔ รัฐบาล ก็ได้ออก พระราช บัญญัติ ลักษณะ ปกครอง ท้องที่ ร.ศ.๑๑๖ ขึ้น มีการ กำหนด ตำแหน่ง หน้าที่ เจ้าพนักงาน ต่างๆ ขึ้นมา เพื่อ ดำเนินการ บริหาร ราชการ และ ให้ พนักงาน เจ้าหน้าที่ นับตั้งแต่
ผู้ว่าราชการเมือง
ปลัดเมือง
ยกกระบัตร
ผู้ช่วยราชการสรรพากร
จ่าเมือง
แพ่ง
เสมียนตราเมือง
ศุภมาตรา
นายด่านภาษีปากน้ำ
พธำมรงค์
แพทย์
ปฏิบัติ หน้าที่ ราชการ ตามที่ กำหนดไว้ โดยเคร่งครัด
จาก กฎ ข้อบังคับ ใหม่ นี้ ทำให้ รัฐบาล สามารถ ลดอำนาจ ของเจ้าเมือง ในด้าน การเมือง การปกครอง ลงได้ อย่างสิ้นเชิง ด้วยมี พนักงาน เจ้าหน้าที่ เข้าทำ หน้าที่ ควบคุม อำนาจ การบริหาร บ้านเมือง ไว้ทั้งหมด ตลอดถึง ตัดทอน ผลประโยชน์ ในทาง การคลัง ซึ่งแต่เดิม เจ้าเมือง เป็นผู้จัดเก็บ ภาษีอากร เอง และนำเงิน ไปจับจ่าย ใช้สอยเอง มาเป็น พนักงาน เจ้าหน้าที่ ของรัฐ คือผู้ช่วย ราชการ สรรพากร ส่วน ผู้ว่า ราชการ เมือง และ วงศ์ญาติ รัฐบาล จัดตั้ง งบประมาณ เป็นค่า ยังชีพ ให้พอเพียง ที่จะใช้สอย เป็นรายปี ให้สมเกียรติ ของผู้ว่า ราชการ เมือง โดย ไม่ต้อง เดือดร้อน
พระยา วิชิต ภักดี (ตนกู อับดุลกาเดร์) ปฏิเสธ ไม่ยอม ปฏิบัติ ตามกฎ ข้อบังคับ สำหรับ ปกครอง บริเวณ เจ็ดหัวเมือง ที่รัฐบาล เป็นผู้ตราขึ้น โดย ขัดขวาง มิให้ เจ้าพนักงาน สรรพากร เข้ามา เก็บภาษี อากร ในท้องที่ เมืองปัตตานี และได้ เดินทาง ไปยัง สิงคโปร์ เพื่อ ขอร้อง ให้เซอร์ แฟรงค์ สเวทเทนนั่ม ข้าหลวงใหญ่ อังกฤษ ที่เมือง สิงคโปร์ ช่วยเหลือ พร้อมทั้ง เสนอให้ อังกฤษ ยึดเอาเมือง ปัตตานี เป็นเมืองขึ้น (ราย ละเอียด ดูเรื่อง พระยาแขก เจ็ดหัวเมือง คบคิด กบฎ ร.ศ.๑๒๑ ในหนังสือ วรรณไวทยากร โครงการ ตำรา สังคมศาสตร์ฯ หน้า ๒๓ ของ นายเตช บุนนาค)
เหตุผล ที่ ตนกู อับดุลกาเดร์ ขัดขืน พระบรม ราช โองการ ในครั้งนี้ สมเด็จ กรมพระยา ดำรง ราชา นุภาพ ทรงกล่าว โดยสรุปว่า
"ใน พ.ศ.๒๔๔๔ นั้น ประจวบ เวลา พวกอังกฤษ ที่เมือง สิงคโปร์ คิด อยากรุก แดนไทย ทางแหลม มลายู แต่ รัฐบาล ที่เมือง ลอนดอน ไม่อนุมัติ พวกเมือง สิงคโปร์ จึงคิด อุบาย หาเหตุ เพื่อให้ รัฐบาล ที่ลอนดอน ต้องยอม ตาม ใน อุบาย ของ พวก สิงคโปร์ ในครั้งนั้น อย่างหนึ่ง แต่งสาย ให้ไป ยุยง พวกมลายู เจ้าเมือง มณฑล ปัตตานี ให้ เอาใจ ออกห่าง จากไทย พระยาตานี (อับดุลกาเดร์) หลงเชื่อ จึงทำการ ขัดแย้ง ขึ้น สมเด็จ พระพุทธ เจ้าหลวง ดำรัสสั่ง ให้จับ และ ถอด พระยา ตานี แล้วเอาตัว ขึ้นไป คุมไว้ ที่เมือง พิษณุโลก การ หยุกหยิก ในมณฑล ปัตตานี ก็สงบไป" (ดู สาสน์ สมเด็จ ของ สำนักพิมพ์ คลังวิทยา ภาค ๓ หน้า ๖๓)
ในปี พ.ศ.๒๔๔๗ ตนกู อับดุลกาเดร์ ได้รับ พระกรุณา จาก สมเด็จ พระจุลจอมเกล้าฯ อนุญาต ให้กลับ มาอยู่ เมืองปัตตานี ได้ตามเดิม ด้วยให้ คำมั่น สัญญา ว่า "จะ ไม่เกี่ยวข้อง แก่บ้านเมือง อย่างหนึ่ง อย่างใด เป็นอันขาด"
ต่อมา เมื่อ พระบาท สมเด็จ พระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้น เถลิง ถวัลย์ ราชสมบัติ ตนกู อับดุลกาเดร์ ก็ได้ทำ หนังสือ ขึ้นกราบ บังคมทูล ขอ พระราชทาน เงินค่ายังชีพ สมเด็จ พระเจ้า อยู่หัว ก็ทรง พระเมตตา พระราชทาน ให้แก่ ตนกู อับดุลกาเดร์ ได้รับเงิน ตามที่ขอ เป็นเงิน เดือนละ ๓๐๐ บาท (จาก จดหมาย พระยา พิบูลย์ พิทยาพรรค ธรรมการ มณฑล ปัตตานี มีไปถึง ขุนศิลปกรรม พิเศษ อดีต ศึกษาธิการ เขตการ ศึกษา ๒ จังหวัดยะลา ลงวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๐๕) หลังจากนั้น ตนกู อับดุลกาเดร์ ก็ได้ อพยพ ครอบครัว ไปพำนัก อยู่ใน รัฐกลันตัน จนกระทั่ง ถึงแก่กรรมในปี พ.ศ.๒๔๗๖
ลำดับที่ / รายนามผู้ว่าราชการเมืองปัตตานี/ ปีที่ดำรงตำแหน่ง
๑ ตนกูลัมบิเด็น ๒๓๒๙-๒๓๓๔
๒ ระตูปะกาลัน ๒๓๓๔-๒๓๕๑
๓ นายขวัญซ้าย ๒๓๕๑-๒๓๕๘
๔ นายพ่าย ๒๓๕๘-๒๓๕๙
๕ ต่วนกูสุหลง ๒๓๕๙-๒๓๗๕
๖ นายทองอยู่ ๒๓๗๕-๒๓๘๒
๗ นายแม่นบุตรพระยาสงขลา (เถี้ยนเส้ง) และพระยาวิชิตณรงค์ รักษาราชการแทน ๒๓๘๒-๒๓๘๓
๘ นิยุโซะ (หรือโต๊ะกี) ๒๓๘๓-๒๓๘๘
๙ พระยาวิชิตภักดีฯ (ตนกูปะสา) ๒๓๘๘-๒๓๙๙
๑๐ พระยาวิชิตภักดีฯ (ตนกูปุเตะ) ๒๓๙๙-๒๔๒๔
๑๑ พระยาวิชิตภักดีฯ (ตนกูตีมุง) ๒๔๒๔-๒๔๓๓
๑๒ พระยาวิชิตภักดีฯ (ตนกูสุไลมาน) ๒๔๓๓-๒๔๔๒
๑๓ พระยาวิชิตภักดีฯ (ตนกูอับดุลกาเดร์) ๒๔๔๒-๒๔๔๕

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น