สภาพ ทาง ภูมิ ศาสตร์ เมือง ปัตตานี ตั้งอยู่ ที่ เส้น ละติจูด ๐๖-๕๑'-๓๐" และ เส้น ลองติจูด ๑๐๑-๑๕'-๔๐" ทาง ทิศ ใต้ ของเมือง พื้น แผ่นดิน สูง ประกอบด้วย เทือกเขา สันกาลาคีรี อันเป็น ที่เกิด ของ แหล่งน้ำ แล้ว ลาดต่ำ ลงมา จนเกิด เป็น ที่ราบลุ่ม ตาม ชายฝั่ง ทะเล ขึ้นทาง ทิศเหนือ มี แม่น้ำ สำคัญ อยู่ ๒ สาย ได้แก่
แม่น้ำ ตานี ซึ่ง เกิดจาก ยอดน้ำ ระหว่าง ภูเขา ตาปาปาลัง กับ ภูเขาฮันกูส ระหว่าง เขตแดน ประเทศ ไทย กับ ประเทศ มาเลเซีย แม่น้ำนี้ ไหลผ่าน อำเภอ เบตง กิ่ง อำเภอ ธารโต อำเภอ บันนังสตา อำเภอ เมืองยะลา อำเภอ ยะรัง อำเภอ หนองจิก ไปสู่ ปากอ่าว ที่ตำบล สะบารัง อำเภอ เมืองปัตตานี สายหนึ่ง และที่ ตำบล บางตาวา อำเภอ หนองจิก อีกสายหนึ่ง มีความยาว ๑๙๐ กิโลเมตร
แม่น้ำ สายบุรี เกิดจาก ยอดน้ำ ระหว่าง ภูเขา อุลกาโอ กับ ภูเขา ตาโป ระหว่างเขตแดนไทย - มาเลเซีย ในท้องที่ อำเภอ แว้ง จังหวัด นราธิวาส ไหลผ่าน อำเภอ ระแงะ อำเภอ รือเสาะ อำเภอ รามันห์ ลงสู่ ทะเล ในท้องที่ อำเภอ สายบุรี เป็น ระยะทาง ยาว ๑๗๐ กิโลเมตร
แม่น้ำ ทั้งสอง ช่วยพัดพา ดินแดน และ อินทรียวัตถุ มาทับถม พื้น แผ่นดิน สองฟาก แม่น้ำ ที่ไหลผ่าน เป็นระยะ ยาวนาน ทำให้ ผืนแผ่นดิน อุดม ไปด้วย ปุ๋ย อันโอชะ เหมาะ แก่การ ใช้ประโยชน์ ในทาง การ เกษตรกรรม เป็นอย่างดี ประกอบ กับ ที่ตั้ง ของ เมือง อยู่ใน แถบที่ ลม มรสุม พัดผ่าน ไปมา ตลอดปี ทำให้ มีฝน ตกชุก กว่าภาคอื่นๆ จึงทำให้ เมือง ปัตตานี อุดม ไปด้วย พืชผลไม้ นานา ชนิด มีกิน กันตลอดปี ดังที่ มันเดลสโล กล่าวไว้ ว่า "ชาวเมือง ปัตตานี มีผลไม้ กินทุกเดือน เดือนละ หลายๆ ชนิด" ส่วน บริเวณ ที่ราบลุ่ม ใกล้ฝั่ง ทะเล ซึ่งเกิด จากการ ตกตะกอน ของดิน และ โคลน ที่ แม่น้ำ ทั้งสอง พัดมา รวมตัว กันเข้า เมื่อ หลาย พันปี มาแล้ว ได้กลาย สภาพ เป็นที่นา สามารถ เพาะปลูก ข้าว เลี้ยงดู พลเมือง ได้เพียงพอ รองลงมา จากเมืองนครฯ พัทลุง และ สงขลา ดังที่ สมเด็จ กรมพระยา ดำรงฯ ทรง บันทึก ไว้ใน รายงาน การตรวจ ราชการ ว่า "เมืองหนองจิก นาดี หาเมืองใด เปรียบได้" และ เมืองปัตตานี มีท่า เทียบเรือ ที่ดี เนื่องจาก มีแหลมโพธิ์ เป็นที่ กำบัง ลม ทำให้ อ่าว เมืองปัตตานี ปลอดคลื่นลม พายุ ที่ร้ายแรง เหมาะ แก่การใช้ เป็นอู่ ซ่อมแซมเรือ ในคราว จำเป็น และ แวะรับ น้ำจืด และ เสบียง อาหาร ได้ทุก ฤดูกาล
เส้นทางการค้าขาย:
เมืองปัตตานีมีเส้นทางติดต่อค้าขายทั้งทางทะเลและทางบก
ทางทะเล สามารถ ทำการค้า กับพ่อค้า ได้ทั้ง ๒ ฟากสมุทร คือ อ่าวไทย และ ทะเล อันดามัน ทางทะเล อันดามัน มีเมือง เกดาห์ (ไทรบุรี) เป็น ศูนย์กลาง เชื่อว่า เส้นทาง สายนี้ เป็นเส้นทาง ที่เมือง ปัตตานี ติดต่อ กับ ชาวอินเดีย และ อาหรับ เปอร์เซีย ใน ระยะ แรก ของ การ เดินเรือ ของ ชาว ต่างประเทศ ที่ เดินทาง มาค้าขาย ใน แหลมมลายู และ หมู่เกาะ ชวา ซึ่ง เป็นระยะ ที่ชาวเรือ ยังขาด ความรู้ ความชำนาญ ในการ ต่อเรือ สินค้า ขนาดใหญ่ และ ไม่มีความรู้ ในการ ใช้เข็มทิศ และ แผนที่ เดินเรือ อาศัย เรือ ขนาดเล็ก เดินเลียบฝั่ง มหาสมุทร อินเดีย ลัดเลาะ มาตาม ชายฝั่ง สู่ ท่าเรือ น้อยใหญ่ เข้าสู่ เมือง ไทรบุรี ทางฝั่ง ตะวันตก ของ แหลม มลายู แล้ว เดินทางบก ข้ามฟาก มาสู่เมือง ปัตตานี
ดัง ปรากฏ หลักฐาน อยู่ใน ตำนาน เมืองไทรบุรี - ปัตตานี เรื่อง มารงมหาวังสา กล่าวถึง เส้นทาง การ เดินทาง จาก เมืองโรม มา ตั้งเมือง ลังกาสุกะ หรือ เกดาห์ ว่า ได้แล่นเรือ จาก เมือง โรม ใน อินเดีย (อาจ เป็นเมือง โรมวิสัย ในอินเดีย หรือ เมืองคอนยา ดู โลก อิสลาม ของ ประจักษ์ ช่วยไล่ หน้า ๑๕๗) เลียบฝั่ง ทะเล ผ่าน ท่าเรือ เมือง ต่อไปนี้ ตามลำดับ คือ
ปากน้ำจังกง (คือเมืองจิตตกองในพม่า)
ปากน้ำตาไว (เมืองทวาย)
ปากน้ำปาริท (เมืองมฤท)
ปากน้ำซาลัง (เมืองถลาง จังหวัดภูเก็ต)
เกาะลังกาบุรี (อยู่ในจังหวัดสตูล)
เกาะสรี (อยู่ในเมืองเกดาห์)
เส้นทางบก ติดต่อ กับเมือง ไทรบุรี โดย ช้าง เป็น พาหนะ ในการ ลำเลียง สินค้า ซึ่งเพิ่ง จะเลิกใช้ กันใน ปลายรัชสมัย ของ พระบาท สมเด็จ พระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว เนื่องจาก เกิด เส้นทาง ใหม่ ที่ สะดวก รวดเร็ว และ ปลอดภัย กว่า คือ ทางรถไฟ ดัง ปรากฏ อยู่ใน บทขับร้อง ของ ชาว ชนบท ป่าบอน อำเภอ โคกโพธิ์ บทหนึ่งว่า
"หยับโหยงกะโท้งไม้รั้ว (หยับโหยง - การเล่นกระดานหก)
ผัวเล่นเบี้ยเมียเล่นไก่
ผัวไปไทร เมียไปตาหนี
หนามเกี่ยว...หลบหนีไม่ทัน"
ผัวเล่นเบี้ยเมียเล่นไก่
ผัวไปไทร เมียไปตาหนี
หนามเกี่ยว...หลบหนีไม่ทัน"
เส้นทางบก ที่ใช้กัน ในอดีต มีอยู่ ๒ เส้นทาง ซึ่ง ยังคง ร่องรอย ซาก ปรัก หักพัง ของ โบราณสถาน และ หมู่บ้านเก่าๆ เป็น หลักฐาน แสดง ที่ตั้ง ชุมชน ครั้ง โบราณ ปรากฏ อยู่
เส้นทางที่ ๑ จาก อำเภอเมือง ปัตตานี - สู่ อำเภอ ยะรัง - บ้าน ยาปี โคกหมัก ปรักปรือ อำเภอ หนองจิก สู่บ้านแม่กัง บ้านยางแดง อำเภอ โคกโพธิ์ (เดิมเรียก อำเภอ เมืองเก่า) ผ่านช่องเขา บ้านนาค้อ เข้าบ้านป่าลาม ป่าบอน ที่บริเวณ หมู่บ้านนี้ พบขวานหิน ๑๐ เล่ม เบ้าดิน สำหรับ หล่อทองดำ และ พระพุทธรูป พระโพธิสัตว์ อวโลกิเตศวร สำริด และ เศษถ้วยชาม เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ ยังได้พบ เหรียญทองแดง ขนาด ๔.๕ ซ.ม. เป็นเหรียญ ของจีน สมัย พระเจ้า เจิ้นเต๋อ ระหว่าง ปี พ.ศ.๒๐๔๙ อีกด้วย แสดงว่า เคยเป็น ที่ตั้ง ชุมชน มาแต่ โบราณ ซึ่งตรง กับ ตำนาน เมืองไทรบุรี - ปัตตานี ที่กล่าว ว่า ธิดา เจ้าเมือง ไทรบุรี เสี่ยงช้าง ชื่อ พรหมศักดิ์ มาตั้งเมือง ขึ้นชั่วคราว ที่บ้าน ช้างไห้ (ตก) จากนั้น ก็ข้าม ช่องเขา สันกาลาคีรี เข้าสู่ บ้านควน หินกอง ในเขต อำเภอ สะบ้าย้อย บ้านคูหา ถ้ำหลอด และ สวนชาม สู่เมือง ไทรบุรี
เส้นทางที่ ๒ จาก อำเภอเมือง ปัตตานี - อำเภอยะรัง บ้านวังตระ อำเภอ เมืองยะลา บ้านนาประดู่ อำเภอ โคกโพธิ์ สู่ อำเภอ ยะหา จังหวัดยะลา ผ่าน ช่องเขา ดือบู (ภูขี้เถ้า) ซึ่งเดิม เป็นที่ตั้ง ด่านภาษี ของเมือง ยะลา จากนั้น ก็เดินทาง เข้าสู่ เขตแดน เมืองไทรบุรี
เส้นทางน้ำ ทางฝั่งอ่าวไทย มีการ ติดต่อ ค้าขาย กับเมืองท่า ในบริเวณ อ่าวไทย มีสงขลา นครศรี ธรรมราช อยุธยา กลันตัน ตรังกานู ปาหัง ยะโฮร์ และ มะละกา ตลอด ไปถึง เกาะสุมาตรา มีเมือง ปาไซ เมืองอัจแจ เมืองเซียะ เมืองปาเล็มบัง เมืองมานังกาเบา
สินค้าที่เกิดในท้องถิ่น มี :
เกลือ ดีบุก ทองคำ (จาก บริเวณ เหมือง ในอำเภอ โต๊ะโมะ จังหวัด นราธิวาส และ บริเวณ ต้นน้ำ สายบุรี)
ของป่า ไม้ฝาง กรักขี ไม้มะเกลือ ซาราเซะ (ไม้ตะกูล กะเพรา) เขา และ หนังสัตว์ นอแรด หวาย ไม้เนื้อแข็ง พริกไทย ครั่ง และกำยาน
อาหาร ข้าว เนื้อสัตว์ และปลาเค็ม น้ำมันมะพร้าว ผักและผลไม้
สินค้า หัตถกรรม พื้นบ้าน ที่มีชื่อเสียง ได้แก่ ผ้าจวนตานี ผ้ายกตานี น้ำมันตานี
สินค้า ต่างประเทศ ที่สำคัญ ซึ่ง พ่อค้า นำเข้ามา จำหน่าย ในตลาด เมืองปัตตานี สมัย กรุงศรีอยุธยา ตามที่ ปรากฏอยู่ ในเอกสาร ของชาว ฮอลันดา มี แพร ไหม ถ้วยชาม - จากจีน ทองแดง - จากญี่ปุ่น ของพ่อค้า ชาวเกาะ ริวกิว (เกาะโอกินาวา) ปืนใหญ่ - จากยุโรป ผ้าแพรพรรณ - จากเปอร์เซีย อินเดีย เช่น ผ้าอัตตลัด เข็มขาบ โหมดตาด ยามตานี ผ้ายกเงิน ผ้ายกทอง น้ำหอม
เหตุที่ทำให้เมืองปัตตานีเป็นศูนย์การค้า (ในศตวรรษที่ ๒๑-๒๒) :
๑.เมืองมะละกา ซึ่งเป็น ศูนย์การค้า ระหว่าง ซีกโลก ตะวันตก กับ ซีกโลก ตะวันออก สลายตัวลง เนื่องจาก ถูกชาติ โปรตุเกส เข้ายึดครอง เป็นเหตุ ให้พ่อค้า ชาวมุสลิม และ ชาวอินเดีย เปอร์เซีย อาหรับ และ พ่อค้า ชาวจีน ญี่ปุ่น ไม่พอใจ ในนโยบาย การค้า ของ โปรตุเกส จึงพากัน มาตั้ง สถานี การค้า ของตน ขึ้นใน เมืองปัตตานี
๒.ระหว่างปี พ.ศ.๒๑๑๒-๒๑๔๐ กรุงศรี อยุธยา ซึ่งเป็น ศูนย์การค้า ที่ยิ่งใหญ่ แห่งหนึ่ง ในเอเซีย ตะวันออก เฉียงใต้ ต้อง หยุดชะงัก ลง เพราะ ไทย สูญเสีย อิสรภาพ แก่พม่า บ้านเมือง ตกอยู่ใน สภาวะ ระส่ำ ระสาย ผู้คน แตก กระจัด กระจาย กันไป ตามหัวเมือง ต่างๆ พ่อค้า ชาวจีน ญี่ปุ่น จึงมาใช้ ท่าเรือ เมืองปัตตานี มากขึ้น และ สินค้า ชาวจีน เป็นที่ ต้องการ ของชาว ยุโรป โดยเฉพาะ เครื่องถ้วย ชนิดดี และ สินค้า จำพวก แพร และ ไหมอันมีชื่อเสียง ของจีน เมือง ปัตตานี จึงกลายเป็น ศูนย์การค้า ในบริเวณ อ่าวไทย ขึ้นมา อย่างรวดเร็ว จนพ่อค้า ให้สมญานาม เมืองปัตตานีใ นขณะนั้น ว่า
"เป็นเมือง ศูนย์การค้า แพร ไหม รองจาก เมืองกวางตุ้ง" และ "เป็นเมืองท่า สองพี่น้อง กับเมือง ฮิราโดะ" ของญี่ปุ่น (ความ สัมพันธ์ ในระบบ บรรณาการ ระหว่าง จีนกับไทย หน้า ๑๒๘ และ หน้า ๑๓๔ ของ สืบแสง พรหมบุญ)
๓.นางพญา ปัตตานี มีความ ปรีชา สามารถ ในการ ปกครอง การจูงใจ พ่อค้า พาณิชย์ เป็นอย่างดี เช่น พระราชทาน เงิน ให้พ่อค้า ชาวอังกฤษ และ ชาวฮอลันด ากู้ยืมเงิน เพื่อนำไป ซื้อสินค้า ให้แก่ บริษัท ของตน ในยาม ขาดแคลน เงินลงทุน ดังปรากฏ หลักฐาน อยู่ใน จดหมายเหตุ นายคอร์ลิสฟอนนิวรุท ความว่า "ข้าพเจ้า นำเงิน ที่ขอยืม มาจาก นางพญา ปัตตานี (บีรู) ไปซื้อสินค้า ไว้มากพอ ทีเดียว คือ ซื้อไหมดิบ งามๆ ๒๖ หาบ น้ำตาล ๘๐ หาบ ขิงดอง ๑๖ หม้อ และ เครื่องปั้น ดินเผา" (ดู หนังสือ เอกสาร ของ ฮอลันดา สมัย กรุงศรี อยุธยา หน้า ๘๓ ของนันทนา สุตกุล) และ พระนาง สามารถ ให้ความ คุ้มครอง แก่บรรดา พ่อค้า ที่เข้ามา ค้าขาย เมื่อประสพภัย เช่น ในปี พ.ศ.๒๑๖๑ ชาว ฮอลันดา เกิดรบ กับ ชาวอังกฤษ ที่เข้ามา ค้าขาย อยู่ในเมือง ปัตตานี ชาวอังกฤษ ซึ่งมี กำลัง น้อยกว่า ถูกพวก ฮอลันดา ฆ่า และ จับ เป็นเชลย ที่เหลือรอด มาได้ ก็แต่พวก หลบหนี เข้าไป ขอ ความคุ้มครอง จากเจ้าหญิง บีรู เท่านั้น ในการ รบกัน ครั้งนี้ ชาวอังกฤษ ได้เสีย เรือรบ ไป ๒ ลำ คือเรือ "แซมป์สัน" และ เรือ "เฮาวน์" ถูกกองเรือ ฮอลันดา ยิงล่ม จมลง ในอ่าว หน้าเมือง ปัตตานี
๔.เกิด โจรสลัด ขึ้นใน ช่องแคบ มะละกา ชุกชุม จนพ่อค้า ตะวันออกกลาง และ อินเดีย ไม่กล้า เสี่ยง นำ เรือสินค้า ผ่าน ช่องแคบ มะละกา ดังเช่น สมัยก่อน มาใช้ เมืองมะริท เมืองตะนาวศรี เป็นเมืองท่า ขนสินค้า ทางบก ผ่านมายัง เมืองกุยบุรี เพชรบุรี แล้วบรรทุก เรือ ไปสู่ อยุธยา และ ปัตตานี
๕.มีการ ระดมทุน ของชาวยุโรป เพื่อมาตั้ง สถานี การค้า ขึ้นที่ เมืองปัตตานี เป็นจำนวนมาก ฝรั่ง ชาติแรก ที่เข้ามา ตั้ง หลักแหล่ง ทำการค้า ขึ้นใน เมืองปัตตานี เป็นชาว โปรตุเกส ชื่อ มานูเอลฟัลเซา เมื่อ ปี พ.ศ.๒๐๕๙
ต่อมา ในปี พ.ศ.๒๑๔๕ ชาว ฮอลันดา ก็ได้ตั้ง บริษัท ดัชอิสต์ อินเดีย ขึ้น และได้ ส่ง นายดาเนียล วันเคอร์เลค มาเปิดห้าง ทำการค้า ขึ้นที่ เมืองปัตตานี ในปี พ.ศ.๒๑๔๗ และ ปี พ.ศ.๒๑๕๕ บริษัท อิสต์อินเดีย ของอังกฤษ ก็ได้ส่ง นายปีเตอร์ ฟลอริส เข้ามาตั้ง สถานี การค้า ขึ้นที่ ปัตตานี อีก เป็นชาติที่สาม แต่ การค้า ของ อังกฤษ ในปัตตานี ไม่ประสพ ความสำเร็จ เท่าที่ควร จึงได้เลิก กิจการ ไปในปี พ.ศ.๒๑๘๕ เพื่อ ทุ่มเท ทุนทรัพย์ นำไป ลงทุน ในเมือง มะลากา ปีนัง และ สิงคโปร์ ซึ่ง ต่อมา อังกฤษ ก็ได้ยึด เอาเมือง เหล่านั้น ไว้เป็น อาณานิคม ของตน
นอกจาก บริษัท การค้า ของชาวยุโรป ดังกล่าวแล้ว ชาวจีน และ ญี่ปุ่น ก็มาตั้ง ห้างร้าน ของตน ขึ้นใน เมืองปัตตานี ก่อนที่ ชาวยุโรป จะเข้ามา เสียอีก ชาวจีนนั้น นอกจาก จะเข้ามา ทำการ ค้าขาย แล้ว ยังได้มา ตั้งรกราก มีบุตร ภรรยา กับชาวเมือง ปัตตานี เป็นจำนวนมาก J. Anderson กล่าวว่า ภายใน ตัวเมือง ปัตตานี มีชาวจีน อาศัยอยู่ มากกว่า ชาวพื้นเมือง (ดู หนังสือ ความสัมพันธ์ ในระบบ บรรณาการ ระหว่าง จีน กับ ไทย หน้า ๑๓๔ ของ สืบแสง พรหมบุญ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น