ประเพณีแห่พญายม
เป็นประเพณีที่มีมาช้านานตามที่เล่ากันมาก็เกือบร้อยปีแล้ว นับว่าเป็นวัฒนธรรมพื้นบ้านของชาวเราที่สืบต่อกันมาเป็นเวลาช้านาน ซึ่งในวันไหลวันสุดท้ายของสงกรานต์ ชาวบ้านก็จะทำการแห่พญายมแล้วก็นำไปลอยทะเล
ประวัติความเป็นมา
เกิดจากชาวบ้านอย่างแท้จริง เกิดขึ้นในหมู่บ้าน “บ้านไร่ดินแดง” ซึ่งอยู่ตรงหน้าเขาพระพุทธบาทและพื้นที่ราบหน้าเขาฉลากไปจรดชายทะเล ในราว พ.ศ.2442 ด้วยการริเริ่มของ นายติ้น ชิดเชื้อ และเพื่อนๆได้พากันสร้างพญายมขึ้น แต่ก็ได้เว้นระยะไประยะหนึ่ง จนกระทั่งราวพ.ศ.2500 ชาวบ้านคอเขาบางพระได้ฟื้นฟูขึ้นมาอีกครั้ง โดยการนำของนายต๋อย สุขสวัสดิ์ นายอิ้น บัวเขียว นายผ่อง กุระ นายวิโรจน์ มัชฌิโม นายอำนวย บรรเจิด เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงชักชวนชาวบ้าน มาช่วยกันจัดงานแห่พญายม และทำสืบเนื่องกันมาหลายปี จนนายต๋อย นายอิ้น เสียชีวิตไป นายใส - นายดำ เสริมศรี ที่เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านก็ได้เสริมต่อมาจนถึงทุกวันนี้
แรงจูงใจที่ทำให้เกิดประเพณีนี้คือ การที่บริเวณอาณาบริเวณหมู่บ้านบางพระ และบริเวณหมู่บ้านไร่ดินแดงนั้นขึ้นเติมไปด้วยป่าดงดิบ มีต้นไม้เต็มไปหมด มีสัตว์ภัยนานาชนิดชุกชุมชาวบ้านจึงเป็นไข้ป่าเจ็บป่วยกันเป็นประจำการรักษาก็เป็นไปตามพื้นบ้าน จึงคิดที่จะมุ่งหาสิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ มุ่งที่จะขจัดปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายให้หมดไป เพื่อชาวบ้านจะได้รอดพ้นจากทุกข์การเจ็บไข้ได้ป่วยกันสิ่งชั่วร้ายให้หมดไป เพื่อชาวบ้านจะได้รอดพ้นจากทุกข์การเจ็บไข้ได้ป่วยกัน
ดังนั้นชาวบ้านจึงได้คิดสร้างหุ่น "พญายม" ขึ้น ถือว่าพญายมนี้เป็นเทพเจ้าที่เป็นผู้ควบคุมดูแลภูติผีปีศาจมารร้ายทั้งปวงให้จับเก็บสิ่งชั่วร้ายต่างๆ ไว้กับตัวพญายมไปปล่อยทะเลเสีย จะได้เป็นการปลดปล่อยสิ่งชั่วร้าย ชาวบ้านก็จะอยู่กันอย่างมีความสุขตลอดไป การสร้างหุ่นพญายมนั้นเกิดจากฝีมือของชาวบ้าน แม้จะไม่สวยนัก โดยจะช่วยกันสร้างเป็นเวลา 2 วันก่อนแห่ ใช้ไม้นุ่น ไม้ไผ่ เป็นแพรองข้างล่างไว้เพื่อที่จะสามารถลอยน้ำได้ ตัวพญายมใช้ไม้ไผ่สานอุดด้วยฟางข้าวประกอบกันเป็นตัวหุ่น (เดี๋ยวนี้ใช้กระสอบป่านแทน) แล้วปะด้วยกระดาษ ทาสีตบแต่งหน้าตาให้ดูดุร้ายน่ากลัว
พิธีจะเริ่มหลังวันสงกรานต์ (ราววันที่ 18) ก่อนวันแห่เป็นวันสุกดิบ ชาวบ้านจะนำพญายมมาตั้งไว้กลางลานในตอนเย็น นิมนต์พระสงฆ์ 9 รูป มาเจริญพระพุทธมนต์เย็นแล้วสวดเบิกเนตร พร้อมกับตั้งกองผ้าป่าขึ้นเพื่อชาวบ้านจะได้ช่วยกันทำบุญเอาเงินเข้าวัดมีการก่อพระทรายในบริเวณนั้นตามแต่ประเพณีของวันสงกรานต์
ตอนรุ่งเช้า ชาวบ้านทั้งหลายจะพาลูกหลานนำข้าวปลาอาหารมาถวายพระที่มาเจริญพระพุทธมนต์ แล้วก็ร่วมกันกินอาหารด้วยกันเป็นที่สนุกสนานฉันท์พี่น้อง มีขายธงปักตกแต่งพระทราย และช่วยกันทำบุญกองผ้าป่า (นำเงินไปซื้อสิ่งของเข้าวัด) หลังจากนั้นก็รอเวลาแดดร่มเสียก่อนในราว 4 โมงเย็น ก็จัดเป็นขบวนแห่สนุกสนาน มีกลองยาวนำ ชายหญิงแต่งตัวกันสวยงาม บางคนเป็นชายแต่งหญิง หรือแต่งตัวตามชาดกละคร อย่างเช่น ชูชก กัณหา-ชาลี ยักษ์-ลิง แห่กันเป็นแถวยาวเหยียด มีรถยนต์ร่วมนำขบวนหลายสิบคัน ชาวบ้านหลายร้อยคน นำพญายมที่สร้างไว้ไปตั้งชายทะเลท้ายบ้าน
ที่ชายทะเลก็จะมีหนุ่มสาว ผู้เฒ่า ผู้แก่มาร่วมกันสาดน้ำ เล่นกีฬาพื้นบ้าน อาทิ ชักกะเย่อ ปีนเสาน้ำมัน ตี่จับ ช่วงรำ สะบ้า ฯลฯ
เมื่อถึงเวลาเกือบพลบค่ำ พระสงฑ์ 9 รูป จะสวดคาถาชัยมงคล ชาวบ้านทั้งหลายก็จะจุดธูปเทียนอธิษฐานขอความมีโชคแก่ตนเอง และครอบครัว ขอให้ภูติผีปีศาจสิ่งชั่วร้าย ความทุกข์โศกโรคภัยจางไปกับพญายมนั้นเสีย หลักจากนั้นหนุ่มๆ ร่างกายแข็งแรง จะแบกพญายมเดินลงไปในท้องทะเลที่ลึกจนถึงเพียงคอ พอที่คลื่นจะพาพญายมให้ล่องลอยออกไปในท้องทะเลให้ไกลแสนไกลพิธีจบก็พลบค่ำพอดี
ในช่วงเวลาปี พ.ศ. 2530 มานี้ บ้านเมืองเจริญขึ้นผู้คนมากขึ้น กำนันผู้ใหญ่บ้านก็เข้ามาช่วยเหลือหารจัดสร้างพญายม ช่วยจัดขบวนแห่ให้สวยงามมีระเบียบ การแข่งขันกีฬาพื้นเมืองเล็กก็สนุกยิ่งขึ้น
เมื่อมีสภาตำบลและสุขาภิบาลบางพระ ต่อมาเปลี่ยนแปลงเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล (อ.บ.ต.) และเทศบาลตำบลบางพระทั้งสองหน่วยงานก็รับจัดให้เป็นประเพณีวัฒนธรรมพื้นบ้านการแห่แหนก็เป็นขบวนมากขึ้น มีหลายหน่วยงานมาร่วมกัน อาทิ ชาวบ้าน หมู่ต่างๆ ในตำบลบางพระ ชมรมลูกเสือชาวบ้าน เทศบาลแสนสุข เทศบาลเมืองศรีราชา
ในตอนเย็นที่ชายทะเล มีการเลี้ยงอาหารชาวบ้านที่มาร่วมงาน มีการแข่งขันกีฬาของชุมชนต่างๆ เป็นที่สนุกสนาน ผู้นำชุมชน เช่น ชมรมแม่บาน ชมรมผู้สูงอายุ สมาชิกเทศบาล สจ. ส.ส. อ.บ.ต. ก็ให้เกียรติมาร่วมงานกันอย่างคับคั่ง
ในการปล่อยพญายมในทะเลลึกนั้น ในช่วงหลังนี้ชาวบ้านประมงบางพระที่มีเรือ ก็ช่วยนำเรือมาบรรทุกไปปล่อยไกลถึงหน้าอ่าวบางพระ (ประมาณ 3 กิโลเมตร) นับว่าเป็นความร่วมมือร่วมใจของพี่น้องชาวบางพระหลายฝ่ายที่ช่วยกันผดุงรักษาประเพณี วัฒนธรรมพื้นบ้านไว้ และสืบต่อเนื่องกันไป
-----------------------------------------
บางพระ – วันนี้ (18 เม.ย.54) เมื่อเวลา 14.00 น. ทางเทศบาลตำบลบางพระ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ได้จัดขบวนแห่ องค์พญายม ครั้งที่ 79 จากบริเวณคอเขาบางพระแล้วแห่ไปบนถนนสุขุมวิทแล้วเลี้ยวเข้ารอบตลาดบางพระลงไปที่ชายทะเลบางพระแล้วทำพิธีบวงสรวงองค์พญายมก่อนที่จะนำไปลอยทะเลเพื่อปล่อยสิ่งชั่วร้าย ซึ่งในขบวนแห่นั้นมีประชาชนจากชุมชนต่าง ๆ และหน่วยงานเอกชน ได้ส่งรถตบแต่งสวยงามมาเข้าร่วมขบวนแห่พญายมในครั้งนี้ ยาวถึง 3 กิโลเมตร
สำหรับประเพณีแห่ พญายม สงกรานต์บางพระนั้น ถือว่าเป็นประเพณีที่จัดขึ้นเป็นแห่งเดียวในโลก โดยการจัดงานมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและรักษาไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น , การฟื้นฟูและสืบสานภูมิปัญญาไทย เผยแพร่วัฒนธรรมท้องถิ่นสู่สากล ส่งเสริมการละเล่นพื้นบ้าน , ส่งเสริมการท่องเที่ยว เพื่อเพิ่มรายได้ของประชาชนและเพื่อให้เป็นงานประจำปีของเทศบาลตำบลบางพระอย่างต่อเนื่อง โดยการแห่ พญายม ของเทศบาลตำบลบางพระนี้จะจัดขึ้นทุกวันที่ 18 เมษายน ของทุกปี
จากการบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ที่ยังมีชีวิตอยู่ การแห่ พญายม ในวันสงกรานต์นั้นจากเป็นความเชื่อของชาวบางพระตั้งแต่ปู่ย่าตายายว่าสามารถช่วยสะเดาะเคราะห์ และปล่อยสิ่งเลวร้ายทั้งหลายเช่น การเจ็บไข้และความตายให้ลอยพ้นไปกับองค์พญายม และเพื่อเสริมสร้างความสามัคคี ของประชาชนทั้งสองฝั่งคลองซึ่งชาวตำบลบางพระยึดมั่นมาโดยตลอดในช่วงของฤดูกาล และเป็นสิ่งเดียวที่ทำให้คนทั้งโลกให้ความสนใจ กับประเพณี นี้ก็คือ การแห่พญายม ซึ่งเดิมนั้นตำบลบางพระนั้น เป็นเพียงหมู่บ้านเล็กๆที่อยู่เลียบชายฝั่งทะเล โดยมีชาวบ้านยืดอาชีพ ทำการประมงเป็นหลัก จนอยู่มาวันหนึ่ง ได้เกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดกับหมู่บ้านแห่งนี้ก็คือ มีการแพร่ระบาดของเชื้อโรค อหิวาต์ ที่ทำให้ชาวบ้าน และสัตว์เลี้ยงน้อยใหญ่ต้องล้มป่วยและตายไปเป็นจำนวนมาก ซึ่งไม่มีทางที่จะแก้ไขได้เลย
แต่อยู่มาวันหนึ่ง ได้มีชาวบ้านเกิด นิมิต ว่าการที่จะลบล้างให้ชาวบ้านตำบลบางพระได้พ้นภัย จากเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ได้ก็คือ การสร้างองค์พญายมผู้เป็นใหญ่ ขึ้นมาเพื่อทำการสะเดาะเคราะห์ พร้อมทั้งนำเครื่องบวงสรวงมาเส้นไหว้ แล้วแห่นำไปทั่วหมู่บ้าน โดยให้ชาวบ้านทุกคน มารวมตัวกันที่บริเวณ กลางลานหมู่บ้าน เพื่อเป็นการทำพิธีขอขมาลาโทษ ต่อองค์พญายม ผู้เป็นใหญ่และทำการปล่อย พญายม เมื่อขบวนแห่พญายม มาถึงชายหาดบางพระ ให้ชาวบ้านจะนำองค์พญายมนั่งหันหน้าออกสู่ทะเลแล้วทำพิธีบวงสรวงด้วยเครื่องเซ่นไหว้อาหารคาวหวานก่อน
โดยพิธีการในการปล่อย องค์พญายม เมื่อก่อนนั้นจะทำพิธีบวงสรวง แล้วนำ องค์พญายม ลุยน้ำลงไปในทะเลให้ลึกและไกลที่สุดจากชายฝั่งเพื่อให้องค์พญายมนั้นนำความทุกข์โศก โรคภัยไข้เจ็บและความตายให้พ้นไปจากชาวบางพระ ซึ่งพอพิธีปล่อย องค์พญายม เสร็จสิ้นตะวันก็จะลับจากผิวน้ำไป ความมืดจะค่อยๆเข้ามาปกคลุม ทำให้มองเห็น องค์พญายม ลอยตะคุ่มๆอยู่ในทะเลที่ไกลออกไปทำให้ชาวบ้านมีความคิดว่า สิ่งที่ชั่วร้ายต่างๆได้ถูก องค์พญายม นำไปแล้วและนำมาซึ่งความร่มเย็น ความเจริญ สิ่งดีงามให้แก่ชาวบางพระสืบไปหลังจากนั้นเป็นต้นมาชาวบ้านก็พ้นภัย จากการล้มป่วยด้วยโรคดังกล่าว ซึ่งทำให้ชาวบ้านได้ยืดถือ ประเพณีนี้สืบทอดกันมานับชั่วชีวิตคน จนมาถึงในยุคปัจจุบันประเพณี ดังกล่าวนี้ก็ยังคงมีไว้ให้ลูกหลานสืบทอดและอนุรักษ์ประเพณีแห่ พญายม หนึ่งเดียวในโลกนี้ไว้สืบต่อไป
-----------------------------
ศูนย์ข่าวศรีราชา - ประเพณีแห่พญายม หนึ่งเดียวของโลก ที่ชาวบางพระ จ. ชลบุรี ร่วมกัน อนุรักษ์สืบทอดประเพณีเก่าแก่ของบรรพบุรุษมาจนถึงปัจจุบัน
จากคำบอกเล่าของผู้สูงวัยเกี่ยวกับประเพณีเก่าแก่ของชาวต.บางพระ อ.ศรีราชา จังหวัดชลบุรี การแห่พญายมจะกระทำกันในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เพราะถือว่าเป็นปีใหม่ของไทย โดย นายเป๊ะ-นางหลา บัวเขียว และพรรคพวกได้จัดทำรูปปั้นพญายมขึ้นเพื่อบวงสรวง เจ้าที่เจ้าทาง หลังพิธีบวงสรวงจะนำองค์พญายมหันหน้าออกสู่ทะเลแล้วปล่อยลงในทะเล โดยเชื่อว่าการกระทำดังกล่าวนั้นจะเป็นการสะเดาะเคราะห์ ปล่อยสิ่งชั่วร้ายให้ลอยไปกับพญายม ชาวบ้านจะได้อยู่กันอย่างมีความสุข ในวันขึ้นปีใหม่ของไทย ชาวบ้านจะได้อยู่กันอย่างร่มเย็นเป็นสุขตลอดทั้งปี
ในช่วงเช้าชาวบ้านจะออกมาทำบุญร่วมกันบริเวณชายหาด เนื่องจากชาวบ้านแถบนี้ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมง จึงมีความเชื่อของกลุ่มชนชาวประมงชาวเลในเรื่องของความเหนือจริงในบางเรื่อง เพราะโดยอาชีพต้องอาศัยทรัพยากรธรรมชาติ สภาพภูมิอากาศ ลม ฝน พายุ พวกนี้แสดงออกเป็นรูปธรรมในเรื่องของพิธีกรรม การเซ่นไหว้แม่ย่านางของเรือแต่ละลำ หรือความเชื่อในเรื่องของจิตวิญญาณ เช่น ผีพราย โดยเชื่อว่าหากชาวประมงคนใดออกไปหาปลาแล้วบังเอิญพบศพคนตายลอยอยู่ในน้ำ จะต้องลากเอาศพมาเข้าฝั่งเพื่อทำพิธีทางศาสนา หากทำได้ดังนี้จะทำให้เรือสามารถหาปลาได้เยอะ หากปล่อยทิ้งไม่ยอมดูแลก็จะพบกับอาเพศต่างๆ ที่จะติดตามมา
ชาวบ้านจึงได้มีพิธีกรรม “แห่พญายม” ไปลอยทิ้งทะเล โดยขบวนแห่พญายม จะมีชาวบ้านแต่งตัวเป็น ชูชก กัณหา-ชาลี หนุมาน ยักษ์ ฯลฯ ร่วมขบวนแห่มาด้วย
“องค์พญายม”จะได้รับการตกแต่งให้น่ากลัวและตรงตามจินตนาการ โดยในอดีตจะใช้ วัสดุอุปกรณ์ตัวโครงร่างจะเป็นพวกสุ่มไก่ ลวด แล้วเอากระดาษเหลือใช้มาแปะๆ แล้วระบายสีให้น่ากลัว สยดสยอง
หลังจากนั้นได้มีการสืบสานการทำองค์พญายมโดยร่วมกับเพื่อนบ้านใกล้เคียง ประมาณปี พ.ศ. 2496 การทำพญายมได้ย้ายมาทำอีกฝั่งคลอง ซึ่งอยู่ติดกับชายทะเล หลังวัดเขา พระพุทธบาทบางพระ โดยมีชาวบ้าน และพรรคพวก เพื่อนบ้านใกล้เคียงช่วยกันทำช่วยกันแห่
ประมาณ พ.ศ.2507 การจัดทำพญายมได้ย้ายไปทำที่สี่แยกคอเขาบางพระ บริเวณใต้ต้นพุทรา และเริ่มทำบุญและก่อพระทราย ตอนเช้า ซึ่งถือเป็นสงกรานต์ วันสุดท้ายของสงกรานต์บางพระ โดยช่วงบ่ายจึงแห่พญายม
ต่อมาทางหน่วยงานราชการได้เห็นความร่วมมือร่วมใจของชาวบ้าน ที่ช่วยกันรักษาประเพณีเก่าแก่ของชาวบางพระไว้ จึงได้เข้ามาสนับสนุน และมีการจัดทำองค์พญายมให้สวยงามขึ้น พร้อมทั้งได้มีการจัดกิจกรรมเสริม โดยมีการทำบุญเลี้ยงพระเช้า ก่อพระทราย และมีพิธี แห่พญายมในภาคบ่าย มีงานกองข้าว และปล่อยพญายมลงทะเลในตอนเย็น
การทำรูปปั้นพญายม ชาวตำบลบางพระจะสร้างพญายมให้แลดูน่าเกรงขามแล้วนำมานั่งบนเสลี่ยง แห่นำด้วยขบวนกลองยาว มายังชายหาด นำข้าวปลา อาหารมากอง เซ่นสัมภเวสี เจ้าที่เจ้าทาง หลังพิธีบวงสรวงจะนำองค์พญายมหันหน้าออกสู่ทะเล แล้วปล่อยลงในทะเลเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ ปล่อยสิ่งชั่วร้ายให้ลอยไปกับพญายมชาวบ้านจะได้อยู่กันอย่างมีความสุขในวันงานยังมีการละเล่นพื้นบ้าน ที่สร้างความสนุกสนาน เช่น อุ้มสาวลงน้ำ เล่นตี่จับ ชักกะเย่อ มอญซ่อนผ้า เล่นลูกช่วงรำ ฯลฯ
ประเพณีแห่พญายม จัดเป็นประจำมากว่า 70 ปีแล้ว และเป็นประเพณีที่พบเห็นเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย โดยจะจัดขึ้นในวันที่ 18 เม.ย. ของทุกปี หรือที่ปัจจุบันได้กลายเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวทั่วประเทศว่า “วันไหลบางพระ” หรือ เทศกาลวันไหล ของชาวจังหวัดชลบุรี
“วันไหล” หรือเทศกาลวันไหล อาจเป็นคำที่หลายคนในต่างจังหวัดจะยังสงสัย คือ วันอะไร แต่สำหรับคนในภาคตะวันออก และจังหวัดใกล้เคียงจะเป็นที่ทราบกันว่า “วันไหล” คือวันที่คนชลบุรี จะต้องยกพลขึ้นรถพร้อมอาวุธสงครามครบมือ เช่น ปืนฉีดน้ำ แป้งดินสอพอง ถังแกลลอนสำหรับบรรจุน้ำ เฮโลกันขนขึ้นรถ จะออกศึกละเลงน้ำสงกรานต์ ฉลองวันไหล
“เทศกาลวันไหล” ของชาวจังหวัดชลบุรี ที่นิยมกันที่สุดและเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป ต้อง ‘ไหลพัทยา” โดยจะมีนักท่องเที่ยวจากทั่วสารทิศต่างออกมารวมตัวเล่นน้ำสงกรานต์ที่บริเวณชายหาดพัทยา จนแทบจะไม่ต้องใช้แรงเดิน เพราะจะไหลไปตามแรงของคลื่นมหาชน นอกนั้นก็จะมีที่ บางแสน บางพระ ศรีราชา สัตหีบ ไล่กันไปตามแต่ว่าเขตไหน อำเภอไหนจะเล่นในวันอะไร ส่วนมากแล้วจะอยู่ในช่วงตั้งแต่ 13 - 21 เม.ย.ของทุกๆปี
-----------------------------------------
บางพระ – วันนี้ (18 เม.ย.54) เมื่อเวลา 14.00 น. ทางเทศบาลตำบลบางพระ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ได้จัดขบวนแห่ องค์พญายม ครั้งที่ 79 จากบริเวณคอเขาบางพระแล้วแห่ไปบนถนนสุขุมวิทแล้วเลี้ยวเข้ารอบตลาดบางพระลงไปที่ชายทะเลบางพระแล้วทำพิธีบวงสรวงองค์พญายมก่อนที่จะนำไปลอยทะเลเพื่อปล่อยสิ่งชั่วร้าย ซึ่งในขบวนแห่นั้นมีประชาชนจากชุมชนต่าง ๆ และหน่วยงานเอกชน ได้ส่งรถตบแต่งสวยงามมาเข้าร่วมขบวนแห่พญายมในครั้งนี้ ยาวถึง 3 กิโลเมตร
สำหรับประเพณีแห่ พญายม สงกรานต์บางพระนั้น ถือว่าเป็นประเพณีที่จัดขึ้นเป็นแห่งเดียวในโลก โดยการจัดงานมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและรักษาไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น , การฟื้นฟูและสืบสานภูมิปัญญาไทย เผยแพร่วัฒนธรรมท้องถิ่นสู่สากล ส่งเสริมการละเล่นพื้นบ้าน , ส่งเสริมการท่องเที่ยว เพื่อเพิ่มรายได้ของประชาชนและเพื่อให้เป็นงานประจำปีของเทศบาลตำบลบางพระอย่างต่อเนื่อง โดยการแห่ พญายม ของเทศบาลตำบลบางพระนี้จะจัดขึ้นทุกวันที่ 18 เมษายน ของทุกปี
จากการบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ที่ยังมีชีวิตอยู่ การแห่ พญายม ในวันสงกรานต์นั้นจากเป็นความเชื่อของชาวบางพระตั้งแต่ปู่ย่าตายายว่าสามารถช่วยสะเดาะเคราะห์ และปล่อยสิ่งเลวร้ายทั้งหลายเช่น การเจ็บไข้และความตายให้ลอยพ้นไปกับองค์พญายม และเพื่อเสริมสร้างความสามัคคี ของประชาชนทั้งสองฝั่งคลองซึ่งชาวตำบลบางพระยึดมั่นมาโดยตลอดในช่วงของฤดูกาล และเป็นสิ่งเดียวที่ทำให้คนทั้งโลกให้ความสนใจ กับประเพณี นี้ก็คือ การแห่พญายม ซึ่งเดิมนั้นตำบลบางพระนั้น เป็นเพียงหมู่บ้านเล็กๆที่อยู่เลียบชายฝั่งทะเล โดยมีชาวบ้านยืดอาชีพ ทำการประมงเป็นหลัก จนอยู่มาวันหนึ่ง ได้เกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดกับหมู่บ้านแห่งนี้ก็คือ มีการแพร่ระบาดของเชื้อโรค อหิวาต์ ที่ทำให้ชาวบ้าน และสัตว์เลี้ยงน้อยใหญ่ต้องล้มป่วยและตายไปเป็นจำนวนมาก ซึ่งไม่มีทางที่จะแก้ไขได้เลย
แต่อยู่มาวันหนึ่ง ได้มีชาวบ้านเกิด นิมิต ว่าการที่จะลบล้างให้ชาวบ้านตำบลบางพระได้พ้นภัย จากเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ได้ก็คือ การสร้างองค์พญายมผู้เป็นใหญ่ ขึ้นมาเพื่อทำการสะเดาะเคราะห์ พร้อมทั้งนำเครื่องบวงสรวงมาเส้นไหว้ แล้วแห่นำไปทั่วหมู่บ้าน โดยให้ชาวบ้านทุกคน มารวมตัวกันที่บริเวณ กลางลานหมู่บ้าน เพื่อเป็นการทำพิธีขอขมาลาโทษ ต่อองค์พญายม ผู้เป็นใหญ่และทำการปล่อย พญายม เมื่อขบวนแห่พญายม มาถึงชายหาดบางพระ ให้ชาวบ้านจะนำองค์พญายมนั่งหันหน้าออกสู่ทะเลแล้วทำพิธีบวงสรวงด้วยเครื่องเซ่นไหว้อาหารคาวหวานก่อน
โดยพิธีการในการปล่อย องค์พญายม เมื่อก่อนนั้นจะทำพิธีบวงสรวง แล้วนำ องค์พญายม ลุยน้ำลงไปในทะเลให้ลึกและไกลที่สุดจากชายฝั่งเพื่อให้องค์พญายมนั้นนำความทุกข์โศก โรคภัยไข้เจ็บและความตายให้พ้นไปจากชาวบางพระ ซึ่งพอพิธีปล่อย องค์พญายม เสร็จสิ้นตะวันก็จะลับจากผิวน้ำไป ความมืดจะค่อยๆเข้ามาปกคลุม ทำให้มองเห็น องค์พญายม ลอยตะคุ่มๆอยู่ในทะเลที่ไกลออกไปทำให้ชาวบ้านมีความคิดว่า สิ่งที่ชั่วร้ายต่างๆได้ถูก องค์พญายม นำไปแล้วและนำมาซึ่งความร่มเย็น ความเจริญ สิ่งดีงามให้แก่ชาวบางพระสืบไปหลังจากนั้นเป็นต้นมาชาวบ้านก็พ้นภัย จากการล้มป่วยด้วยโรคดังกล่าว ซึ่งทำให้ชาวบ้านได้ยืดถือ ประเพณีนี้สืบทอดกันมานับชั่วชีวิตคน จนมาถึงในยุคปัจจุบันประเพณี ดังกล่าวนี้ก็ยังคงมีไว้ให้ลูกหลานสืบทอดและอนุรักษ์ประเพณีแห่ พญายม หนึ่งเดียวในโลกนี้ไว้สืบต่อไป
-----------------------------
ศูนย์ข่าวศรีราชา - ประเพณีแห่พญายม หนึ่งเดียวของโลก ที่ชาวบางพระ จ. ชลบุรี ร่วมกัน อนุรักษ์สืบทอดประเพณีเก่าแก่ของบรรพบุรุษมาจนถึงปัจจุบัน
จากคำบอกเล่าของผู้สูงวัยเกี่ยวกับประเพณีเก่าแก่ของชาวต.บางพระ อ.ศรีราชา จังหวัดชลบุรี การแห่พญายมจะกระทำกันในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เพราะถือว่าเป็นปีใหม่ของไทย โดย นายเป๊ะ-นางหลา บัวเขียว และพรรคพวกได้จัดทำรูปปั้นพญายมขึ้นเพื่อบวงสรวง เจ้าที่เจ้าทาง หลังพิธีบวงสรวงจะนำองค์พญายมหันหน้าออกสู่ทะเลแล้วปล่อยลงในทะเล โดยเชื่อว่าการกระทำดังกล่าวนั้นจะเป็นการสะเดาะเคราะห์ ปล่อยสิ่งชั่วร้ายให้ลอยไปกับพญายม ชาวบ้านจะได้อยู่กันอย่างมีความสุข ในวันขึ้นปีใหม่ของไทย ชาวบ้านจะได้อยู่กันอย่างร่มเย็นเป็นสุขตลอดทั้งปี
ในช่วงเช้าชาวบ้านจะออกมาทำบุญร่วมกันบริเวณชายหาด เนื่องจากชาวบ้านแถบนี้ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมง จึงมีความเชื่อของกลุ่มชนชาวประมงชาวเลในเรื่องของความเหนือจริงในบางเรื่อง เพราะโดยอาชีพต้องอาศัยทรัพยากรธรรมชาติ สภาพภูมิอากาศ ลม ฝน พายุ พวกนี้แสดงออกเป็นรูปธรรมในเรื่องของพิธีกรรม การเซ่นไหว้แม่ย่านางของเรือแต่ละลำ หรือความเชื่อในเรื่องของจิตวิญญาณ เช่น ผีพราย โดยเชื่อว่าหากชาวประมงคนใดออกไปหาปลาแล้วบังเอิญพบศพคนตายลอยอยู่ในน้ำ จะต้องลากเอาศพมาเข้าฝั่งเพื่อทำพิธีทางศาสนา หากทำได้ดังนี้จะทำให้เรือสามารถหาปลาได้เยอะ หากปล่อยทิ้งไม่ยอมดูแลก็จะพบกับอาเพศต่างๆ ที่จะติดตามมา
ชาวบ้านจึงได้มีพิธีกรรม “แห่พญายม” ไปลอยทิ้งทะเล โดยขบวนแห่พญายม จะมีชาวบ้านแต่งตัวเป็น ชูชก กัณหา-ชาลี หนุมาน ยักษ์ ฯลฯ ร่วมขบวนแห่มาด้วย
“องค์พญายม”จะได้รับการตกแต่งให้น่ากลัวและตรงตามจินตนาการ โดยในอดีตจะใช้ วัสดุอุปกรณ์ตัวโครงร่างจะเป็นพวกสุ่มไก่ ลวด แล้วเอากระดาษเหลือใช้มาแปะๆ แล้วระบายสีให้น่ากลัว สยดสยอง
หลังจากนั้นได้มีการสืบสานการทำองค์พญายมโดยร่วมกับเพื่อนบ้านใกล้เคียง ประมาณปี พ.ศ. 2496 การทำพญายมได้ย้ายมาทำอีกฝั่งคลอง ซึ่งอยู่ติดกับชายทะเล หลังวัดเขา พระพุทธบาทบางพระ โดยมีชาวบ้าน และพรรคพวก เพื่อนบ้านใกล้เคียงช่วยกันทำช่วยกันแห่
ประมาณ พ.ศ.2507 การจัดทำพญายมได้ย้ายไปทำที่สี่แยกคอเขาบางพระ บริเวณใต้ต้นพุทรา และเริ่มทำบุญและก่อพระทราย ตอนเช้า ซึ่งถือเป็นสงกรานต์ วันสุดท้ายของสงกรานต์บางพระ โดยช่วงบ่ายจึงแห่พญายม
ต่อมาทางหน่วยงานราชการได้เห็นความร่วมมือร่วมใจของชาวบ้าน ที่ช่วยกันรักษาประเพณีเก่าแก่ของชาวบางพระไว้ จึงได้เข้ามาสนับสนุน และมีการจัดทำองค์พญายมให้สวยงามขึ้น พร้อมทั้งได้มีการจัดกิจกรรมเสริม โดยมีการทำบุญเลี้ยงพระเช้า ก่อพระทราย และมีพิธี แห่พญายมในภาคบ่าย มีงานกองข้าว และปล่อยพญายมลงทะเลในตอนเย็น
การทำรูปปั้นพญายม ชาวตำบลบางพระจะสร้างพญายมให้แลดูน่าเกรงขามแล้วนำมานั่งบนเสลี่ยง แห่นำด้วยขบวนกลองยาว มายังชายหาด นำข้าวปลา อาหารมากอง เซ่นสัมภเวสี เจ้าที่เจ้าทาง หลังพิธีบวงสรวงจะนำองค์พญายมหันหน้าออกสู่ทะเล แล้วปล่อยลงในทะเลเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ ปล่อยสิ่งชั่วร้ายให้ลอยไปกับพญายมชาวบ้านจะได้อยู่กันอย่างมีความสุขในวันงานยังมีการละเล่นพื้นบ้าน ที่สร้างความสนุกสนาน เช่น อุ้มสาวลงน้ำ เล่นตี่จับ ชักกะเย่อ มอญซ่อนผ้า เล่นลูกช่วงรำ ฯลฯ
ประเพณีแห่พญายม จัดเป็นประจำมากว่า 70 ปีแล้ว และเป็นประเพณีที่พบเห็นเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย โดยจะจัดขึ้นในวันที่ 18 เม.ย. ของทุกปี หรือที่ปัจจุบันได้กลายเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวทั่วประเทศว่า “วันไหลบางพระ” หรือ เทศกาลวันไหล ของชาวจังหวัดชลบุรี
“วันไหล” หรือเทศกาลวันไหล อาจเป็นคำที่หลายคนในต่างจังหวัดจะยังสงสัย คือ วันอะไร แต่สำหรับคนในภาคตะวันออก และจังหวัดใกล้เคียงจะเป็นที่ทราบกันว่า “วันไหล” คือวันที่คนชลบุรี จะต้องยกพลขึ้นรถพร้อมอาวุธสงครามครบมือ เช่น ปืนฉีดน้ำ แป้งดินสอพอง ถังแกลลอนสำหรับบรรจุน้ำ เฮโลกันขนขึ้นรถ จะออกศึกละเลงน้ำสงกรานต์ ฉลองวันไหล
“เทศกาลวันไหล” ของชาวจังหวัดชลบุรี ที่นิยมกันที่สุดและเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป ต้อง ‘ไหลพัทยา” โดยจะมีนักท่องเที่ยวจากทั่วสารทิศต่างออกมารวมตัวเล่นน้ำสงกรานต์ที่บริเวณชายหาดพัทยา จนแทบจะไม่ต้องใช้แรงเดิน เพราะจะไหลไปตามแรงของคลื่นมหาชน นอกนั้นก็จะมีที่ บางแสน บางพระ ศรีราชา สัตหีบ ไล่กันไปตามแต่ว่าเขตไหน อำเภอไหนจะเล่นในวันอะไร ส่วนมากแล้วจะอยู่ในช่วงตั้งแต่ 13 - 21 เม.ย.ของทุกๆปี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น