วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

บทความชวนอ่าน - ประวัติศาสตร์อาณาจักรลังกาสุกะ (นครปัตตานี) ตอนที่ ๑o

เมืองปัตตานี เจริญ รุ่งเรือง อยู่เพียง หนึ่งศตวรรษ หลังจาก สิ้นราชวงศ์ โกตา มหลิฆัย แล้ว ก็เริ่ม เสื่อมลง สาเหตุ ของความ เสื่อมโทรม สรุป จาก หลักฐาน ที่ชาว ต่างประเทศ บันทึกไว้ จะเห็นได้ว่า เนื่องมาจาก การทำ สงคราม และ เกิดการ จลาจล ขึ้น ภายในเมือง บ่อยครั้ง ดังนี้
ครั้งที่ ๑ จดหมาย ของนายแมร์แทน เฮาท์แมน ลงวันที่ ๒๔ เมษายน ๒๑๕๖ เล่าเรื่อง สงคราม ระหว่าง เมืองปัตตานี กับ นครศรี ธรรมราช ว่า "เรือโอรังคะเช แล่นไปๆ มาๆ ระหว่าง กองเรือ ตาม ชายฝั่ง ทะเล เพื่อ ยึด บรรดา เรือสำเภา ของจีน ซึ่ง เดินทาง ไป นครศรี ธรรมราช และ สงขลา เจ้าเมือง นครศรี ธรรมราช ได้ทราบ เรื่องนี้ และ เตรียม รับมือ ไว้ก่อน อย่าง ไม่ต้อง สงสัย เพราะ เขา ต้องการ หาเรื่อง ทะเลาะ อยู่ เหมือนกัน ดูเหมือน ในที่สุด เขาก็ได้ เมืองปัตตานี เรือสำเภา หลายลำ จากปัตตานี ถูกจับกุม ที่นี่ อย่างเด็ดขาด"
ครั้งที่ ๒ ปี พ.ศ.๒๑๖๑ เมืองปัตตานี ได้ทำ สงคราม กับเจ้าเมือง ยะโฮร์ ปาหัง และบอร์ ทำให้ เรือสินค้า จีน มาค้า เมืองปัตตานี ลดน้อยลง เพราะ ถูกคู่ สงคราม คอยทำการ ปล้นสดมภ์ เรือสินค้า
ครั้งที่ ๓ ปี พ.ศ.๒๒๐๒ สมเด็จ พระนารายณ์ ทรงชักชวน นายยอนรอลินส์ ผู้แทน บริษัท อิสต์อินเดีย ของอังกฤษ ให้มา ค้าขาย ในเมืองไทย โดย พระองค์ ยินดี ยกเมือง ปัตตานี ให้บริษัท จัดทำ เป็นเมือง ป้อมปราการ เช่นเดียวกับ เมือง มัทราช ในอินเดีย แต่เมื่อ อังกฤษ ส่งคน ไปสำรวจ เมือง ปัตตานี พบว่า เมืองปัตตานี กำลังเกิด จลาจล รบพุ่ง กันอยู่ จึงเลิก ความคิด ที่จะ จัดตั้ง เมืองปัตตานี เป็น สถานี การค้า ขึ้นมา ใหม่
ครั้งที่ ๔ จาก รายงาน ของเยอร์ชเดวิส และ จอห์นปอร์ตแมน แห่งเมือง ไทรบุรี ถึง ประธาน และ กรรมการ แห่งเมือง สุรัต ลงวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ค.ศ.๑๖๗๑ (พ.ศ.๒๒๑๓) ว่า "การสงคราม สู้รบ กัน ระหว่าง เจ้าหญิง ปัตตานี กับ เจ้าเมือง สงขลา ยังคง มีอยู่ ต่อไปอีก แม้ว่า ไทรบุรี จะได้ ส่งทูต ไปยัง เมืองทั้งสอง แล้ว เพื่อ ทำการ ไกล่เกลี่ย ปรองดอง กัน" และ อีกฉบับหนึ่ง เป็นของ นายโยซัง เบอร์โรส จากเมือง ไทรบุรี ถึง ประธาน และ กรรมการ แห่งเมือง สุรัต ลงวันที่ ๒๘ ตุลาคม ค.ศ.๑๖๗๔ (พ.ศ.๒๒๑๗) ว่า "เมื่อราว ๙ เดือนมาแล้ว ชาวไทย ได้เมือง ปัตตานี คนใหญ่โต ในเมืองนั้น ได้เสีย ชีวิต ไปมาก ซึ่งเป็น อุปสรรค ขัดขวาง ต่อการค้า ที่นี่ มากมาย" ถึงกระนั้น สงคราม ระหว่าง ปัตตานี กับ สงขลา ก็ยังมี ติดต่อ ยืดเยื้อ กันอีก ต่อไป ดังปรากฏ อยู่ใน จดหมายเหตุ ของ มร.ฟอตส์ มีไปถึง นายฟอร์ด เซนต์ยอร์ช ที่ประจำ อยู่ที่ กรุงศรี อยุธยา ลงวันที่ ๑๘ กันยายน ค.ศ.๑๖๗๘ (พ.ศ.๒๒๒๑) ว่า "การที่ ยังคงมี การสงคราม สู้รบ กันที่ ปัตตานี ต่อไปนั้น ทำลาย ความ ตั้งใจ ตั้งหลักแหล่ง ที่นั่น ของเขา ไปเสียแล้ว"
ครั้งที่ ๕ เกิดกบฏ แย่งชิง กันเป็น เจ้าเมือง ปัตตานี ระหว่าง สุลต่าน ลองนุยุส กับ ดาดู ปะกาลัน เจ้าเมืองสาย ซึ่ง เป็น น้องชาย ของ สุลต่าน ลองยุนุส ประวัติ เมือง ปัตตานี กล่าวว่า "วันศุกร์ ๑๗ ค่ำ เดือนมะหะรัม อิจเราะห์ ๑๑๔๒ (ตรงกับปี พ.ศ.๒๒๖๕ ใน รัชสมัย สมเด็จ พระเจ้า ท้ายสระ ระหว่างปี พ.ศ.๒๒๒๕-๒๒๗๕) สุลต่าน ยุนุส ได้นำ กองทัพ ไปปราบ กบฏ ซึ่งมี ดาดู ปะกาลัน เจ้าเมืองสาย เป็นผู้นำ สุลต่าน ลองยุนุส ได้เสียที แก่ ระตู ปะกาลัน จนถึงกับ เสียชีวิต ในที่รบ" ระตูปุยุด ซึ่งเป็น อนุชา องค์รอง ของ สุลต่าน ลองยุนุส ได้เป็น เจ้าเมือง คนต่อมา และ ได้ย้าย ศูนย์การ ปกครอง เมือง ปัตตานี ไปตั้งอยู่ ที่ตำบล ปุยุด ในปัจจุบัน ซึ่งยังมี ซากกำแพง เมือง ปรากฎอยู่
นอกจาก สาเหตุ แห่งการ ทำสงคราม และ เกิดการ จลาจล ขึ้นใน เมือง ปัตตานี บ่อยครั้งแล้ว บริษัท ดัชอินเดีย ของฮอลันดา ก็ได้ย้าย กิจการ ค้า ของตน ออกไป จากปัตตานี ไปลงทุน ในเมืองมะละกา ซึ่ง ฮอลันดา ยึดมา จาก โปรตุเกส เมื่อปี พ.ศ.๒๑๘๕ และ ยัง ไป ลงทุน ตั้งสถานี การค้า ขึ้นที่ เมือง บันตัม ในเกาะ ชวา การ ยึดครอง เมืองมะละกา ของฮอลันดา สามารถ ทำให้ กองเรือรบ ของตน ควบคุม เส้นทาง เดินเรือ ค้าขาย ในอ่าวไทย ไว้แต่ผู้เดียว ทำให้ เรือสินค้า ชาติต่างๆ มาค้าขาย ที่เมืองปัตตานี ลดลง อีกประการหนึ่ง สินค้า ของป่า ในเมือง ปัตตานี ก็มี จำนวน ลดน้อยลง สู้ตลาด อยุธยา และ หมู่เกาะ ชวา ไม่ได้ พ่อค้า จึงพากัน ไปค้าขาย ที่เมืองท่า อื่นๆ หมด ปัตตานี จึงหมด สภาพ ความเป็น ศูนย์การค้า ตั้งแต่ นั้นมา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น